โปรดใช้วิจารณญาณในการไถฟีด! ช้าลงอีกนิด แต่ดีต่อชีวิตมาก

โปรดใช้วิจารณญาณในการไถฟีด! ช้าลงอีกนิด แต่ดีต่อชีวิตมาก

โลกในปัจจุบันนั้นหมุนเร็วขึ้นเรื่อยๆ จึงทำให้มีข้อมูลและข่าวสารต่างๆ ไหลผ่านหูผ่านตาเราไปมากมาย จริงบ้าง ลวงบ้าง โดยเฉพาะเนื้อหาแบบ misinformation ที่เต็มไปด้วยข้อมูลที่ผิดและคลาดเคลื่อน ปะปนกันไป ซึ่งถ้าไม่มีการตรวจสอบความถูกต้อง แล้วมีใครแม้แค่คนเดียวหลงเชื่อข้อมูลเหล่านี้ คงทำให้เข้าใจผิดไปไกลจนส่งผลเสียต่อผู้รับสารแน่ๆ

เช่นเดียวกันกับ TikTok ที่เห็นความสำคัญในเรื่องนี้ จึงตั้งใจจะเปลี่ยนพื้นที่บนโลกออนไลน์ให้กลายเป็นชุมชนแห่งความสร้างสรรค์ที่ดีกว่าเดิม ผ่านแคมเปญ #โปรดใช้วิจารณญาณในการไถฟีด ด้วยการตอกย้ำในการตรวจสอบข้อเท็จจริงอย่างจริงจัง เพื่อให้ทุกคนสามารถแยกแยะข้อเท็จจริงออกจากเรื่องที่แต่งขึ้นได้ และสามารถเลือกนำข้อมูลต่างๆ มาใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

มาดูกันว่าเราจะเปลี่ยนโลกการไถฟีดให้ปลอดภัยขึ้นได้อย่างไรบ้าง?

อย่าเชื่อทั้งหมดที่เห็น

บางสิ่งที่คุณเห็น หรือข้อมูลที่ได้จากโลกออนไลน์นั้นอาจจะไม่ได้หมายความว่าจะเป็นข้อมูลที่ถูกต้องหรือความจริงเสมอไป เพราะสิ่งที่คุณเห็น ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหา content หรือรูปภาพบางภาพอาจผ่านการตัดต่อ ดัดแปลง หรือตกแต่ง จนทำให้เกิดความเข้าใจผิดได้ 

เพราะฉะนั้นทางที่ดีก็ควรเช็กให้แน่ใจก่อนจะเชื่ออะไรว่าสิ่งที่เราเห็นนั้นถูกสร้างมาเพื่อความบันเทิงหรือไม่ น่าเชื่อถือมากน้อยแค่ไหน หรือเป็นแค่ข้อมูลที่ “เค้าเล่าว่า…” แบบบอกต่อๆ กันมา

สร้างคอนเทนต์ทั้งที​ บันเทิงได้แต่ต้องรับผิดชอบสังคมด้วย

สำหรับครีเอเตอร์​แล้วการสร้างสรรค์งานให้สนุกและแปลกใหม่นั้นเป็นสิ่งที่ดี แต่ทุกๆ การสร้างสรรค์นั้นควรให้ผลลัพธ์ในรูปแบบที่เป็นมิตร ไม่เป็นพิษ และพร้อมที่จะรับผิดชอบต่อคนดูและสังคมด้วย เพราะบางคอนเทนต์ที่เป็นกระแสนั้นอาจจะถูกปรุงแต่งด้วยข้อมูลที่ดูเหมือนจริง แต่ไม่จริง เพื่อเพิ่มอรรถรส เพิ่ม่ความบันเทิง หรือเพิ่มเรื่องราวให้มีความน่าสนใจ

ในฐานะของคนผลิต Content คนหนึ่ง ยืนยันว่าผู้ผลิตเนื้อหาไม่ว่าจะเป็นประเภทไหน จำเป็นอย่างมากที่จะต้องตรวจสอบข้อมูลความถูกต้องให้ดีเสียก่อนเพราะด้วยความรวดเร็วของของข้อมูลที่เป็นคุณสมบัติหลักของโลกออนไลน์ อาจทำให้ผู้รับสารไม่ทันได้ฉุกคิด หรือตรวจสอบก่อน จนนำไปสู่การเข้าใจผิดมากมายจนเกิดภัยต่อผู้รับสารก็เป็นได้

โปรดใช้วิจารณญาณในการไถฟีด

TikTok เองก็เป็นอีกคอมมูนิตี้หนึ่งที่เน้นย้ำจุดยืนในการส่งเสริมให้เกิดสุขภาวะทางดิจิทัลกับผู้ใช้งานขึ้นอย่างแท้จริง โดยการส่งแคมเปญ TikTok for Good x Cofact เพื่อรณรงค์และสนับสนุนให้ Creator สร้างสรรค์คอนเทนต์ที่สนุกอย่างรับผิดชอบต่อสังคม และส่งเสริมให้ผู้ใช้ ( Users) ไตร่ตรองก่อนส่งต่อหรือแชร์ข้อมูล

รายชื่อของผู้ที่เข้าร่วมแคมเปญ:
TikTok Creators: หมอแล็บแพนด้า / Artymilk / Thomastom.tiktok / Ning.arisaa / Eve_tsu / Papaparty_feelgood / Kengtachaya / Krumod_bkma

ผู้สื่อข่าว: Newpolawat / Amchonti / Monai_y / Yimpipat / Yokanakorn
สำนักข่าว: PPTV.thailand / Thaipbsnews / Mono29news / Siamrathonline / Thaich8_news

แม้ว่าในโลกดิจิทัลจะหมุนไปอย่างรวดเร็วก็จริง แต่ถ้าเราใช้วิจารณญาณสักนิด ลอง ‘หยุด คิด ตัดสินใจ และลงมือทำ’ ก็จะช่วยให้สังคมในชุมชนออนไลน์น่าอยู่ขึ้นอีกเป็นกอง

หยุด คิด

ในการผลิตคอนเทนต์ออกไปทุกครั้งเหล่าครีเอเตอร์ทุกคนควรหยุดคิดสักนิดก่อนว่าประเภทของเนื้อหาที่เรานำเสนอนั้นมีความเสี่ยงอะไรบ้างไหม จะเสี่ยงจากการถูกแสวงหาผลประโยชน์ในโลกออนไลน์ เข้าข่ายยาเสพติด ผิดกฎหมาย กระทบต่อศีลธรรมอันดี หรือเป็นชาเลนจ์ที่เป็นอันตรายหรือเปล่า

ในขณะเดียวกัน แง่มุมของ user ก็สามารถหยุดคิดเพื่อพิจารณาเนื้อหาที่กำลังดูอยู่ได้เช่นกัน

ตัดสินใจ

เมื่อคิดจนได้คำตอบแล้วก็ต้องมาตัดสินใจ ลองชั่งน้ำหนักดูว่าสิ่งที่เราทำนั้นส่งผลอะไรกับใครบ้าง ทำเพื่อความบันเทิงอย่างเดียวหรือเปล่า ถ้าทำแล้วมีประโยชน์ หรือจะให้โทษมากกว่ากัน แล้วมีทางไหนบ้างที่บันเทิงได้แถมไม่กระทบหรือส่งผลร้ายกับใครด้วย ส่วน user เอง ก็สามารถตัดสินใจได้ว่า จะแชร์เนื้อหานั้นๆ ต่อหรือไม่ หรือจะรายงานถ้าเนื้อหานั้นๆ ไม่เหมาะสม

ในขั้นตอนการตัดสินใจนี้อยากให้ค่อยๆ ใช้เวลากับมันสักหน่อย ลองทบทวนในห้วงความคิดของเราให้ดี ให้ถี่ถ้วน แล้วค่อนตัดสินใจว่าจะทำต่อ หรือพอแค่นี้ 

ลงมือทำ

ขั้นตอนนี้ถือว่าสำคัญที่สุดเลย เพราะถึงจะคิดมาดีและตัดสินใจอย่างถี่ถ้วนแล้วว่าจะครีเอทเนื้อหาของเราไปในทิศทางไหน แต่ถ้าไม่ลงมือทำ ผลลัพธ์ที่ดี ที่มีประโยชน์ย่อมไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน เพราะฉะนั้นคิดให้ดีแล้วก็อย่าลืมลงมือทำด้วย

ในทางกลับกันไม่เพียงแต่คำคอนเทนต์เราให้ดี ในหมวกของผู้เสพคอนเทนต์เองก็ต้องคอยช่วยกันสอดส่องด้วย ถ้าหากพบเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมต่อความปลอดภัยของชุมชนก็ขออย่าปล่อยผ่าน กดรายงานให้ทาง TikTok รู้สักนิดก็จะช่วยลดการมีอยู่ของเนื้อหาที่ไม่ปลอดภัยไปได้มากเลยทีเดียว

การรับข่าวสารหรือเสพความบันเทิงอย่างรวดเร็วในยุคสมัยนี่ทำให้เราไม่ตกเทรนด์และทันเหตุการณ์ต่างๆ อยู่เสมอก็จริง แต่การคัดกรองข้อมูลคุณภาพ ข้อมูลที่มั่นใจ แน่ใจแล้วว่าจริงนั้นสำคัญกว่า เพราะฉะนั้นก่อนเสพข่าว หรืออัปเดตข้อมูลใหม่แต่ละครั้งก็อย่าลืมเอาวิธี ‘หยุดคิด ตัดสินใจ และลงมือทำ’ ไปใช้ดูได้นะครับ

แม้ว่าทาง TikTok เองจะให้ความสนใจและใส่ใจเรื่องความปลอดภัยบนโลกออนไลน์อยู่แล้วก็จริง แต่เชื่อเถอะว่าถ้าเราร่วมด้วยช่วยกันคนละไม้คนละมือ ชุมชนนี้จะดีต่อใจจนอยากฝังตัวอยู่ไปอีกหลายชั่วโมง

สำหรับใครที่อยากเข้าไปดูก่อนว่าแคมเปญนี้น่าสนใจแค่ไหน สามารถคลิกได้ที่ลิงก์นี้ > https://bit.ly/35CLA4W

Nattapon Muangtum

เจ้าของเพจการตลาดวันละตอน / อาจารย์พิเศษวิชา Data-Driven Communication / เขียนหนังสือมาแล้ว 5 เล่ม Personalized Marketing, Data-Driven Marketing, Data Thinking, Contextual Marketing และ Social Listening / ที่ปรึกษา Data-Driven Advisor

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

คุณคิดว่าปัญหา PM 2.5 ที่เชียงใหม่วิกฤตหรือยัง ?

#การตลาดวันละโพล ขอหนึ่งคำถามก่อนอ่านการตลาดวันละตอน แล้วเราจะเอาไปทำเป็น Infographic โชว์หน้าเพจให้รู้ด้วยกัน