MarTech Asia 2022 by ADA รายงานแนวโน้ม​ของโลกธุรกิจที่เปลี่ยนไปกับความท้าทายที่นักการตลาดต้องตั้งรับ

MarTech Asia 2022 by ADA รายงานแนวโน้ม​ของโลกธุรกิจที่เปลี่ยนไปกับความท้าทายที่นักการตลาดต้องตั้งรับ

ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาต่อเนื่องมาจนถึงทุกวันนี้ทั้งนักการตลาดและแบรนด์ต่างๆ ยังคงต้องเผชิญกับความวุ่นวายของการเปลี่ยนแปลงในด้านธุรกิจและการตลาดในทุกแง่มุม ซึ่งการวิ่งตามกระแสต่างๆ ที่ไหลผ่านมาอย่างรวดเร็วนั้นคงไม่ใช่เรื่องง่ายนัก 

วันนี้การตลาดวันละตอนจึงได้ทำการสรุปและรวบรวมประเด็นสำคัญจากรายงาน The MarTech Asia 2022 จาก ADA ผู้เชี่ยวชาญทางด้าน Data และ Martech ที่ทำการสํารวจแนวโน้มของโลกธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไป ในขณะเดียวกันก็ได้รวบรวมรายละเอียดที่น่าสนใจไว้ให้นักการตลาดเพื่อเป็นแนวทางในการวางแผนรับมือกับความเปลี่ยนแปลงด้านการตลาดดิจิทัลและเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางธุรกิจในปี 2022

แนวโน้ม​ของโลกธุรกิจที่ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป

ผลพวงต่อเนื่องจากการระบาดของ​ Covid-19​ นั้นนอกจากจะส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน​ของผู้บริโภค​แล้ว​ ยังสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในโลกการทำธุรกิจ​ โดยเฉพาะ​รูปแบบการทำงานและการจ้างงานที่มีความยืดหยุ่นมากขึ้นเนื่องจากหลายบริษัทมีการปรับเปลี่ยนให้ทำงานในรูปแบบของการ Work from Home สามารถทำงานจากที่ไหนก็ได้ จึงทำให้สามารถทำงานแบบทางไกลได้มากขึ้น โดยอาศัยเทคโนโลยีเป็นตัวช่วย 

สำหรับรูปแบบการทำงานในลักษณะนี้ยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจนอาจกลายเป็นการทำงานวิถีใหม่ในอนาคต เห็นได้จากตัวเลขอ้างอิงในการค้นหาตำแหน่งงานโดยใช้ตัวกรอง “ระยะไกล” บน LinkedIn ปริมาณการค้นหางานโดยใช้ตัวกรอง “ระยะไกล” บน LinkedIn เพิ่มขึ้นกว่า 60% ซึ่งการเติบโตที่แข็งแกร่งนี้สามารถสังเกตได้จากการสมัครงานทางไกลในตลาดสำคัญๆ เช่น จีน อินเดียนิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย และสิงคโปร์

ซึ่งนอกจากเรื่องของการทำงานที่เปลี่ยนแปลงไปแล้ว เราลองมาดูกันว่าในปี 2022 นี้ยังมีความเปลี่ยนแปลงอะไรที่น่าสนใจ และนักการตลาดรวมถึงแบรนด์จะต้องปรับตัวเพื่อรับมือกับสถานการณ์นี้อย่างไรบ้าง

E-Commerce ยังคงมาแรงในยุคไร้พรมแดน

ผลกระทบจากการแพร่ระบาดและการล็อกดาวน์ทำให้ยอดขายแบบออฟไลน์ หรือยอดขายหน้าร้านแบบดั้งเดิมตกลงอย่างเห็นได้ชัด ทำให้หลายๆ ธุรกิจเริ่มหันไปใช้โมเดลการทำธุรกิจแบบ B2C ผ่านช่องทางออนไลน์กันมากขึ้น ซึ่ง 31% ของผู้บริโภคในประเทศไทยยังบอกอีกว่าพวกเขาใช้บริการช่องทางออนไลน์ในการซื้อของเป็นครั้งแรก โดยที่ก่อนหน้าจะเกิดโรคระบาดไม่เคยใช้มาก่อน

โดยในปี 2564 คาดว่าธุรกิจในกลุ่ม E-Commerce นั้นจะมีมูลค่าจะเพิ่มขึ้นถึง 6.1% หรือคิดเป็นประมาณ 4 ล้านล้านบาท (120 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) เลยทีเดียว 

ไม่เพียงแต่เฉพาะในประเทศไทยเท่านั้นที่ E-Commerce มาแรงแซงหน้าช่องทางการขายแบบอื่นๆ หากมองในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาอย่างอินโดนีเซียและเวียดนาม จะเห็นว่าผู้บริโภคเองก็มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมมาซื้อของผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้นถึง 40% เลยทีเดียว และสำหรับประเทศที่ก้าวหน้าอย่างสิงคโปร์ก็พบว่า 74% ของประชากรนั้นมีการซื้อของออนไลน์บ่อยกว่าปกติ และ 52% ไปชอปปิงเองที่หน้าร้านไม่บ่อยนัก 

จากสถิติข้างต้นนั้นทำให้เราเห็นการเติบโตแบบก้าวกระโดดของ E-Commerce ที่มีปัจจัยจากการแพร่ระบาดของ Covid-19 มาเป็นแรงสนับสนุนให้ผู้บริโภคหันมาใช้ช่องทางออนไลน์เป็นหลักในการจับจ่ายซื้อของ

ในฝั่งของนักการตลาดเองก็ต้องพยายามปรับตัวและหาวิธีรับมือให้ทันต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปเช่นกัน เพราะเมื่อพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยน กลยุทธ์ทางการตลาดก็ต้องเปลี่ยนเช่นกัน โดยต้องไม่ลืมใช้ Data ในมือเพื่อให้เราสามารถเข้าถึงลูกค้าได้อย่างแม่นยำ จากนั้นจึงค่อยแบ่ง Segment ลูกค้า แล้วสื่อสารให้ถูกจุด 

พฤติกรรมผู้บริโภคจะเปลี่ยนไป จะคิดมากกว่าที่เคย

จากการแพร่ระบาดของ Covid-19 ที่เกิดขึ้นและยังคงระบาดอยู่ ทำให้พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง ผู้คนส่วนใหญ่นั้นให้ความสนใจและให้ความสำคัญในเรื่องของการรักษาสุขภาพและสุขอนามัยกันมากขึ้น โดยข้อมูลระบุว่าผู้บริโภคส่วนใหญ่นั้นมีการใช้จ่ายกับผลิตภัณฑ์และบริการที่เกี่ยวกับสุขภาพมากขึ้นถึง 40% เลยทีเดียว แน่นอนว่าธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสินค้าประเภทนี้ไม่ว่าจะเป็นยา สมุนไพร อาหารเสริม หรืออาหารเพื่อสุขภาพก็จะเป็นที่ต้องการมากขึ้นด้วยเช่นกัน

นอกจากพฤติกรรมการซื้อสินค้าของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปแล้ว ทัศนคติในการเลือกร้านค้าก็เปลี่ยนไปด้วยเช่นกัน โดยผู้บริโภคมีแนวโน้มที่จะเลือกซื้อสินค้าและบริการจากธุรกิจขนาดเล็กหรือธุรกิจชุมชนมากขึ้น โดยพิจารณาจากปัจจัยสำคัญคือจะต้องเป็นธุรกิจที่มีสินค้าและบริการที่มีความยั่งยืนมากกว่าสินค้าฉาบฉวย

Marketplace ไม่ใช่คำตอบสุดท้าย

การทำการตลาดออนไลน์ในปัจจุบันนั้นไม่ได้หมายความถึงเพียงแค่ Marketplace เท่านั้น แม้ Marketplace จะเป็นช่องทางการขายที่สำคัญ แต่ยังมีช่องทางอื่นๆ อีกหลากหลายในการเข้าถึงผู้บริโภค ดังนั้นแบรนด์จึงควรมองหาช่องทางในการสื่อสารให้เหมาะสมกับคาแรคเตอร์แบรนด์และพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายหลักที่วางไว้ ไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์ Chat commerce หรือ Livestreaming เป็นต้น

สำหรับในประเทศไทยเองในระยะหลังทั้งแบรนด์เล็แบรนด์ใหญ่ก็เริ่มหันมาทำ Live Streaming หรือไลฟ์สดขายของกันมากขึ้นเช่นกัน และหากไปดูข้อมูลจากยักษ์ใหญ่ในแวดวง E-commerce อย่างประเทศจีนเมื่อสองปีที่ผ่านมา พบว่ามีผู้บริโภคใช้บริการช่องทางไลฟ์ คิดเป็น 3 ใน 10 ของประชากรทั้งหมด  430 ล้านคนเลยทีเดียว ซึ่งนั่นก็เป็นเครื่องยืนยันได้แล้วว่าช่องทางการขายผ่าน Live Streaming หรือไลฟ์สดขายของ และ Chat Commerce ก็กำลังเติบโตขึ้นเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่องจริงๆ 

ฟังเสียงผู้บริโภคเพื่อหาที่ยืนในใจลูกค้า

ในปัจจุบันนั้นการทำธุรกิจตามสไตล์ในแบบฉบับของแต่ละแบรนด์อาจจะไม่ได้ผลอีกต่อไป แบรนด์อาจจะต้องหันกลับมาฟังเสียงของลูกค้าให้มากขึ้นว่าความต้องการและความคาดหวังของลูกค้านั่นคืออะไร และพยายามปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ให้สอดรับกับความต้องการเหล่านั้น

ยกตัวอย่างเช่น ธุรกิจอาหารและเครืองดื่มที่เริ่มมีการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้เพื่อสร้างประสบการณ์ใหม่ๆ ให้กับลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นหรือตู้ซื้อสินค้าอัตโนมัติ, Cashless Payment ระบบการจ่ายเงินแบบไร้สัมผัส หรือ QR Code menu เป็นต้น ซึ่งเทคโนโลยีเหล่านี้นอกจากจะสามารถตอบโจทย์เรื่องความสะดวกสบายในการบริการพื้นฐานแล้ว ยังตอบรับกับพฤติกรรมลดการสัมผัสในยุค New Normal ด้วย

4 คำแนะนำเพื่อรับมือกับความเปลี่ยนแปลง

ถึงแม้เราจะรู้แล้วว่าน่าจะมีแนวโน้มสำคัญทางด้านการตลาดอะไรเกิดขึ้นบ้างในปี 2022 แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะปรับตัวเพื่อรับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น 

ดังนั้นเราลองมาดูไปพร้อมๆ กันว่านักการตลาดและแบรนด์จะต้องทำอย่างไรเพื่อจะได้รับมือกับสถานการณ์เหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

1.วางกลยุทธ์ เพิ่มช่องทาง Omni Channel 

Omni Channel เป็นผสมผสานธุรกิจในฝั่ง Offline กับ Online ให้เข้ากันได้อย่างลงตัว เพราะยิ่งแบรนด์มีช่องทางในการเข้าถึงลูกค้ามากเท่าไหร่ โอกาสสร้างยอดขายก็มีเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย โดยจุดสำคัญในการทำ Omni Channel ให้ประสบความสำเร็จนั้น ทางแบรนด์จะต้องไม่ลืมที่จะคำนึงถึงจุดสำคัญเหล่านี้ด้วย

  • ใส่ใจการทำการตลาดแบบ Personalization หรือการตลาดแบบตรงจุด รู้ใจให้มากขึ้นในทุกช่องทาง
  • Data ยังคงเป็นหัวใจสำคัญในการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเข้าหาลูกค้าได้อย่างถูกคน ถูกที่ ถูกเวลา 
  • อย่าลืมเชื่อมโยง Customer Journey กับ Touchpoint ต่างๆ ทุกขั้นตอน 
  • การทำแคมเปญหรือกลยุทธ์ต่างๆ ควรคำนึงถึงการรองรับการใช้งานของโทรศัพท์มือถือด้วย เพราะปัจจุบันผู้คนนั้นใช้งานโทรศัพท์มือถือเป็นหลัก

2.ใช้ Chat Commerce มาช่วยปิดการขาย

Chat Commerce เป็นอีกหนึ่งช่องทางการเข้าถึงลูกค้าที่มีประสิทธิภาพ ด้วยคาแรกเตอร์ของ Chat Commerce ที่ให้ความสำคัญกับการพูดคุย จึงทำให้ผู้บริโภคเกิดความมั่นใจและไว้วางใจ จนนำไปสู่การปิดการขายในที่สุด

นอกจาก Chat Commerce จะเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าแล้ว ยังเป็นช่องทางในการสร้าง Customer Data Platform หรือ CDP เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปสร้างประสบการณ์ที่ตอบโจทย์ความต้องการและพฤติกรรมของผู้บริโภคให้มากที่สุด 

ซึ่ง Chat Commerce ที่ดีนั้นจะต้อง

  • มีช่องทางการชำระเงินที่ครอบคลุมและหลากหลายเพื่อรองรับลูกค้าในแต่ละกลุ่ม
  • มีระบบป้องกันการโกงเพื่อตอกย้ำความมั่นใจในความปลอดภัยของผู้บริโภค
  • สร้างประสบการณ์การใช้งาน Chat Commerce ที่ดีให้กับลูกค้าด้วยการผสานการพูดคุยให้เป็นส่วนหนึ่งของการบริการ

3.วางแผนการตลาดแบบ Full Funnel

การวางแผนการตลาดแบบ Full Funnel นั้นจะทำให้นักการตลาดสามารถวิเคราะห์เพื่อวางแผนในการสร้างกลยุทธ์รวมถึงตรวจสอบเพื่อติดตามผลได้แม่นยำและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้ทางแบรนด์เองสามารถตัดสินใจได้ว่าควรจะลงทุนในเพิ่มในส่วนไหน เพื่อให้ผู้บริโภคตอบสนองต่อธุรกิจของเรามากกว่าเดิม

สำหรับการวางแผนการตลาดแบบ Full Funnel ให้มีประสิทธิภาพนั้นจำเป็นต้องอาศัยปัจจัยต่างๆ ดังนี้

  • Data ยังคงเป็นหัวใจสำคัญสำหรับการทำการตลาดในยุคนี้ เพราะ Data คือความจริง ไม่ใช่การคาดเดา ดังนั้นแบรนด์จึงควรให้ความสำคัญกับ Data เพื่อให้มีข้อมูลมากพอในการตัดสินใจและตอบโจทย์ในแง่ธุรกิจ
  • ค้นหากลุ่มเป้าหมายที่ใช่ด้วยการจัด Segment ของลูกค้าให้แคบลง เพื่อเราจะได้โฟกัสกับคนที่เป็นลูกค้าเราจริงๆ
  • เมื่อวางแผนกลยุทธ์ตาม Full Funnel เรียบร้อยแล้วก็อย่าลืมทดสอบผลและปรับปรุงแผนการตลาดอย่างต่อเนื่องด้วย

4.อนาคตโลกธุรกิจจะถูกขับเคลื่อนด้วย MarTech Stack

MarTech Stack นั้นเป็นการนำเอาเครื่องมือเทคโนโลยีด้านการตลาดที่หลากหลายมาใช้งานร่วมกัน เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดี รวมถึงประสิทธิภาพให้บรรลุเป้าหมายได้เร็วขึ้น โดยการนำ MarTech Stack มาใช้ให้ได้ผลดีนั้น จะต้องดู Customer Journey ควบคู่กันไปด้วย

อย่างที่เรารู้กันดีว่าในช่วงนับตั้งแต่การระบาดของ Covid-19 เริ่มต้นขึ้นจนถึงปัจจุบันนั้นเป็นช่วงที่ท้าทายความสามารถของนักการตลาดและแบรนด์เป็นอย่างมาก เพราะนอกจากจะต้องทำความเข้าใจกับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปแล้ว ยังต้องพยายามวิ่งตามเทรนด์ของเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปให้ทัน และเลือกใช้เครื่องมือการตลาดให้เหมาะสมกับธุรกิจของตัวเองให้ได้ด้วย

สำหรับนักการตลาดหรือเจ้าของธุรกิจคนไหนที่ต้องการเจาะลึกแนวโน้มการตลาดของปีนี้ ทาง ADA ผู้เชี่ยวชาญทางด้าน Data และ Martech ที่ให้บริการข้อมูลเชิงลึกของผู้บริโภค และเทคโนโลยี เพื่อตอบโจทย์สำหรับนักการตลาดและนักกลยุทธ์ยุคใหม่นั้นได้รวบรวมเทรนด์ ข้อมูล และคำแนะนำฉบับอัปเดตล่าสุดที่นักการตลาดและเจ้าของแบรนดไม่ควรพลาดไว้ใน 

“MarTech Asia 2022 Report” โดยสามารถลงทะเบียนรับ Report ฟรี ! ได้ที่นี่ คลิกเลย

Bambinun*

Content Creator แห่งการตลาดวันละตอน ที่หลงรักการเล่าเรื่องผ่านตัวหนังสือ พอๆ กับการกินของอร่อย และใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการเป็นทาสแมว

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *