กลยุทธ์การตลาด Krispy Kreme Scarcity Marketing สู่ของฝากกรุงเทพฯ

กลยุทธ์การตลาด Krispy Kreme Scarcity Marketing สู่ของฝากกรุงเทพฯ

Krispy Kreme แบรนด์โดนัทระดับโลกที่โด่งดังจากโดนัทสูตรออริจินัล เคลือบด้วยน้ำตาลไอซิ่งสูตรพิเศษแสนอร่อยที่ ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1937 โดย เวอร์นอน รูดอล์ฟ ปัจจุบัน Krispy Kreme มีสาขากว่า 1,400 แห่งใน 30 ประเทศทั่วโลก และวันนี้ผู้เขียนจะพานักการตลาดมาส่อง กลยุทธ์การตลาด Krispy Kreme กันค่ะ

โดย Krispy Kreme เปิดสาขาแรกในประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. 2553 ที่ห้างสรรพสินค้าสยามพารากอนสร้างปรากฏการณ์โดนัทฟีเวอร์ ผู้คนต่อคิวยาวเพื่อซื้อโดนัท และยังคงได้รับความนิยมในประเทศไทยจนถึงปัจจุบัน ซึ่งมีสาขากว่า 50 แห่ง

Krispy Kreme โดนัทที่มากกว่าแค่ขนม

โดนัทของ Krispy Kreme ไม่ใช่แค่ขนมหวานธรรมดา แต่เปรียบเสมือนสัญลักษณ์ของความสุข โดนัทเนื้อนุ่มฟู เคลือบด้วยน้ำตาลไอซิ่ง ละลายในปาก มอบความรู้สึกอิ่มเอมใจ เหมาะสำหรับทุกโอกาส เป็นความหลากหลายที่ตอบโจทย์ทุกความต้องการ

Krispy Kreme ไม่ได้หยุดนิ่งอยู่แค่โดนัทสูตรออริจินัล ยังมีโดนัทรสชาติอื่น ๆ มากมายให้เลือกสรร เช่น ช็อกโกแลต สตรอว์เบอร์รี่ คาราเมล และอีกมากมาย ยังมีผลิตภัณฑ์อื่น ๆ เช่น กาแฟ ชา น้ำผลไม้ ไอศกรีม เค้ก และอื่น ๆ

Krispy Kreme มุ่งมั่นสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า ผ่านผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ บริการที่ยอดเยี่ยม และบรรยากาศที่อบอุ่น สร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า ผ่านผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพกับโดนัทสูตรพิเศษ และบริการที่ยอดเยี่ยม และ Krispy Kreme เหมาะสำหรับเป็นของขวัญในทุกโอกาสอีกด้วย

กลยุทธ์การตลาด Krispy Kreme ยอดขายปัง Scarcity Marketing ดึงดูดลูกค้าด้วยความขาดแคลน

Scarcity Marketing คือ กลยุทธ์การตลาดแบบขาดแคลน ซึ่งจะใช้ความรู้ทางจิตวิทยาที่ว่า ลูกค้า หรือผู้บริโภคมักจะมีพฤติกรรมสนใจสินค้าที่มีขายอย่างจำกัด เป็นการกระตุ้นความต้องการของผู้บริโภคโดยใช้หลักการ “ของหายาก” มุ่งเน้นไปที่การสร้างความรู้สึก “กลัวพลาดโอกาส” กระตุ้นให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการเร็วขึ้น

ไม่ว่าจะเป็นการจำกัดจำนวนสินค้า หรือระยะเวลาในการขายสินค้า เรียกได้ว่าเป็นกลยุทธ์ที่จะทำให้สินค้านั้น ๆ มีความน่าดึงดูด หรือมีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น ทำให้ร้านค้ามีโอกาสที่จะได้รับยอดขาย และออร์เดอร์มากยิ่งกว่าเดิม

Scarcity Marketing : จำนวนสาขาที่น้อย

Krispy Kreme ในประเทศไทย ปัจจุบันมีทั้งหมดกว่า 60 สาขา และส่วนใหญ่อยู่ในห้างสรรพสินค้า สนามบินและสถานีขนส่ง ซึ่งส่วนใหญ่มีสาขาอยู่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ด้วยผู้บริโภคไม่สามารถเข้าถึงได้ทั่วทั้งประเทศเหมือนกับร้านโดนัทเจ้าอื่น ๆ อย่าง Mister Donut ที่มีสาขากว่า 371 สาขา และ DUNKIN ที่มีสาขา 282 สาขากระจายอยู่ทั่วประเทศ

ต่างจาก Krispy Kreme ที่มีเพียง 60 สาขาในกรุงเทพฯ จึงทำให้ Krispy Kreme กลายเป็นร้านหายาก ที่ผู้บริโภคต่างจังหวัดยากจะได้ลิ้มลอง เมื่อมีโอกาสเดินทางมาที่กรุงเทพฯ ผู้บริโภคก็ไม่พลาดที่จะซื้อกลับไปฝากครอบครัว จึงกลายมาเป็น “ของฝากจากกรุงเทพฯ” ที่ห้ามพลาด

กลยุทธ์การตลาด Krispy Kreme

FOMO Marketing : โปรโมชั่นจำกัดเวลา

FOMO ย่อมาจากคำเต็มก็คือ “Fear of Missing Out” หมายความได้ว่า การรู้สึกกลัวที่จะต้องเสียอะไรบางอย่างไป เป็นหลักการทางจิตวิทยาที่เอามาใช้เป็นเทคนิคทางการตลาดอย่างหนึ่ง โดยจะเน้นการใช้ประโยชน์จากความต้องการของผู้บริโภคต่อสินค้าและบริการนั้น ๆ ซึ่งเป็น Call to Action ให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อ ดีกว่ามานั่งเสียใจทีหลังที่ไม่ได้ซื้อ

กลยุทธ์ FOMO Marketing ของ Krispy Kreme คือมีสินค้าที่มีจำนวนจำกัด เช่น เสนอโดนัทสูตรพิเศษ หรือโดนัท limited edition ที่มีจำนวนจำกัด กระตุ้นให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อเร็ว และมีการจำกัดเวลาโปรโมชั่น เสนอโปรโมชั่นพิเศษเพียงแค่วันเดียว เช่น ซื้อ 1 แถม 1 หรือลดราคา เฉพาะช่วงเวลาสั้น ๆ กระตุ้นให้ผู้บริโภคซื้อสินค้าทันที

สร้าง waiting list: ให้ลูกค้าลงทะเบียนรอคิวซื้อสินค้า สร้างความรู้สึก “พิเศษ” และ “อยากได้”

กลยุทธ์การตลาด Krispy Kreme

Seasonal Marketing : ดึงดูดความสนใจลูกค้ากลับมา

Seasonal Marketing หรือ กลยุทธ์การตลาดตามฤดูกาล เป็นกลยุทธ์ที่ใช้โอกาสจากเทศกาลต่าง ๆ นำเสนอสินค้าและบริการที่เหมาะกับฤดูกาล กระตุ้นยอดขาย และสร้างความน่าสนใจให้กับแบรนด์

โดนัทธีมเทศกาลที่ Krispy Kreme ออกแบบมาตามฤดูกาล การสร้างโดนัทรูปร่าง สีสัน และรสชาติ ให้เหมาะกับเทศกาลต่าง ๆ เช่น โดนัทรูปซานตาคลอส โดนัทรูปต้นคริสต์มาส โดนัทรูปหัวใจ โดนัทรูปผี

ซึ่งประโยชน์ของการทำ Seasonal Marketing ของ Krispy Kreme จะช่วยให้ได้ยอดขายเพิ่มขึ้น เพราะผู้บริโภคมักจะมองหาของขวัญที่เหมาะกับช่วงเทศกาล หรือกำลังรอโปรโมชันและดีลเด็ด ๆ จากในวันเทศกาล ยังช่วยสร้างการรับรู้ให้กับแบรนด์เพราะการทำแคมเปญต่าง ๆ ในช่วงเทศกาลนี้จะกระตุ้นและดึงดูดความสนใจของลูกค้าได้ดีมากกว่าช่วงอื่น ๆ ทำให้เกิดการแชร์ บอกต่อไปยังเพื่อนหรือคนใกล้ตัวช่วยสร้างการรับรู้ในแบรนด์ได้

ดึงลูกค้ากลับมาสนใจและเพิ่มลูกค้าใหม่ ผู้บริโภคบางคนอาจจะเคยเห็นสินค้า แต่ยังไม่ตัดสินใจซื้อ เมื่อเห็นแคมเปญออกมาก็อาจช่วยให้ตัดสินใจซื้อสินค้าได้ง่ายขึ้น ทำให้กลายเป็นลูกค้าประจำ และดึงลูกค้าประจำให้กลับมาซื้อได้จากการมี Seasonal Marketing แคมเปญเมนูใหม่ๆเกิดขึ้น ทำให้ผู้บริโภคอยากลิ้มลอง

เช่น มีโปรโมชั่นพิเศษช่วงเทศกาล Krispy Kreme มี เสนอโปรโมชั่นพิเศษ เช่น ซื้อ 1 แถม 1 หรือลดราคา เฉพาะช่วงเทศกาลและการออกแบบแพ็กเกจจิ้งพิเศษ Krispy Kreme ออกแบบแพ็กเกจจิ้งกล่องโดนัทให้เหมาะกับเทศกาล

Brand Collaboration Marketing : เจาะกลุ่มผู้บริโภคใหม่ ๆ

Brand Collaboration Marketing  เป็นกลยุทธ์ยอดนิยมที่เข้ามาช่วยสร้างสีสันให้กับแบรนด์ที่นำมาใช้ จากการผสานจุดเด่นทั้ง 2 แบรนด์เพื่อนำมาใช้ในการทำตลาดเพื่อขยายฐานลูกค้า ฐานแฟนคลับ ดึดดูงผู้บริโภคที่สนใจตามกลุ่มเป้าหมายของแคมเปญ
 
Krispy Kreme X กับแบรนด์การ์ตูนดัง เป็นการนำคาแร็กเตอร์ การ์ตูนแบรนด์ดัง ๆ เข้ามาช่วยปรับลุคให้กับคอลเลคชั่นใหม่ ของโดนัท Krispy Kreme ให้มีสีสัน น่าสนใจ หลากหลายน่าสนุก สามารถดึงดูดลูกค้าให้เข้ามาซื้อโดนัทคอลเลคชั่นใหม่ได้ และช่วยเพิ่มโอกาสการขายมากยิ่งขึ้น เช่น Krispy Kreme x Crayon ShinChan , Krispy Kreme x Pokemon

Prompt : thai woman holding a box of krispy kreme donuts ,background krispy kreme store, text “Krispy Kreme” logo store sign, text “Krispy Kreme” , people lining up to buy krispy kreme

สรุปกลยุทธ์การตลาด Krispy Kreme สู่ของฝากกรุงเทพฯ

กลยุทธ์ Scarcity Marketing ของ Krispy Kreme ด้วยจำนวนสาขาที่จำกัดสาขาที่กระจุกตัวในกรุงเทพฯ และ ปริมณฑล และสินค้าบางชนิดมีจำนวนจำกัด Krispy Kreme มีสินค้าบางชนิดที่มีจำนวนจำกัด เช่น โดนัท limited edition และโดนัทจากเทศกาล Seasonal Marketing และการร่วมกับแบรนด์การ์ตูนต่าง ๆ แถมมีโปรโมชั่นที่มีเวลาจำกัดเช่น 1 แถม 1 และอื่น ๆ ยังใช้กลยุทธ์ FOMO (Fear of Missing Out) กระตุ้นให้ผู้บริโภคกลัวว่าจะพลาดโอกาส

ส่งผลให้ สินค้าเป็นที่ต้องการ เพราะ Krispy Kreme ผู้คนยอมต่อคิวนานเพื่อซื้อจึงทำให้ Krispy Kreme กลายเป็นร้านหายาก ที่ผู้บริโภคต่างจังหวัดยากจะได้ลิ้มลอง เมื่อมีโอกาสเดินทางมาที่กรุงเทพฯ ผู้บริโภคก็ไม่พลาดที่จะซื้อกลับไปฝากครอบครัว จึงกลายมาเป็น “ของฝากจากกรุงเทพฯ” ที่ห้ามพลาด

อ่านบทความเกี่ยวกับการตลาดเพิ่มเติม หรือข่าวสารการตลาด สามารถติดตามได้จาก เพจการตลาดวันละตอน รวมไปถึงเว็บไซต์ Twitter Instagram YouTube และ Blockdit ของการตลาดวันละตอนด้วยนะคะ

Souce Souce

Issariya Ittiphumtana

"เฟ'ริน " Junior Marketing Content Creator การตลาดวันละตอน สายออกแบบกราฟฟิก ที่กำลังฝึกเขียนบทความการตลาด ซึ่งมีความชื่นชอบดื่มชาเขียวเป็นชีวิตจิตใจ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *