ผู้บริโภคยุคใหม่ ควรเอาตัวรอดอย่างไรจากการแลกโปรโมชันกับข้อมูลส่วนตัว

ผู้บริโภคยุคใหม่ ควรเอาตัวรอดอย่างไรจากการแลกโปรโมชันกับข้อมูลส่วนตัว

คงปฏิเสธไม่ได้ว่าอินเทอร์เน็ตได้เปลี่ยนแปลงการใช้ชีวิตประจำวันของเราไปมาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการติดต่อสื่อสาร การทำธุรกรรม หรือการซื้อขายออนไลน์ แต่ยิ่งการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตสะดวกสบายมากขึ้นเท่าไหร่ เราก็ยิ่งมีโอกาสสูญเสียข้อมูลส่วนตัวง่ายขึ้นเท่านั้น โดยเฉพาะในเวลานี้มีที่โลกออนไลน์เต็มไปด้วยโปรโมชันหลอกล่อทางการตลาดที่พร้อมลด แลก แจก แถมเพื่อแย่งชิงผู้บริโภคและ Data ไว้ในมือ

3 เช็กลิสต์ทางรอดจากการแลกโปรโมชันกับข้อมูลส่วนตัว

พอเห็นอย่างนี้แล้วก็เกิดคำถามขึ้นในหัวแทบจะทันทีเลยว่า…แล้วในฝั่งผู้บริโภคอย่างเราล่ะจะต้องทำอย่างไรในวันที่ต้องรักษาผลประโยชน์ของตัวเองไปพร้อมๆ กับการรักษาข้อมูลส่วนตัว? เราจะสามารถรักษาทั้งสองอย่างได้จริงๆ หรือไม่? วันนี้เราลองมาหาคำตอบกัน

1.อ่านเงื่อนไขทุกครั้งก่อนกดรับสิทธิ์ 

เคยเจอกันใช่ไหมคะกับข้อความ “รับส่วนลด 10% เพียงลงทะเบียน” หรือ “กรอกอีเมลแลกรับสินค้าตัวอย่างฟรี!” บางครั้งข้อเสนอต่างๆ ก็ล่อตาล่อใจจนทำให้เราลืมอ่านเงื่อนไขที่แนบมากับสิทธิพิเศษเหล่านั้น บางครั้งเงื่อนไขก็ยาวเกินไปทำให้ขี้เกียจอ่าน จนเผลอไถนิ้วลงมากดยอมรับเงื่อนไขไปเสียดื้อๆ กว่าจะมารู้ตัวอีกทีก็มีคนโทรมาเสนอสินค้า แถมยังได้รับอีเมลโฆษณามาแบบรัวๆ เพราะการที่เรากดรับเงื่อนไขโดยไม่ได้อ่านก่อนนั้นทำให้บริษัทสามารถนำข้อมูลส่วนตัวของเราไปส่งต่อให้กับ 3rd party ต่อได้นั่นเอง 

ดังนั้นก่อนจะกรอกข้อมูลอะไรในฐานะผู้บริโภคก็อย่าลืมปกป้องสิทธิ์ตัวเองโดยการอ่านเงื่อนไขในการให้ข้อมูลทุกครั้ง เพราะสุดท้ายส่วนลดหรือสิทธิพิเศษที่ได้มาอาจจะไม่คุ้มกันกับราคาของข้อมูลส่วนตัวที่เราจะเสียไป ยิ่งไปกว่านั้นหากถูกสวมรอยข้อมูล หรือนำไปแอบอ้างเพื่อหลอกคนอื่นต่อก็จะยิ่งเสียหายแบบประเมินค่าไม่ได้กับส่วนลดเล็กน้อยที่ได้มา

2.ข้อมูลส่วนตัวแม้เล็กน้อยแต่ก็สำคัญ 

บางคนคิดว่าข้อมูลส่วนตัวอย่างเบอร์โทรศัพท์หรืออีเมลนั้นไม่ใช่ข้อมูลสำคัญอะไร ไม่เหมือนกับชื่อ-นามสกุล ที่อยู่ เลขที่บัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน หรือรูปถ่าย แต่ความจริงแล้วข้อมูลที่เรามองว่าเล็กน้อยนั้นก็สามารถนำมาระบุตัวตนทางอ้อมได้เหมือนกัน เพราะเป็นข้อมูลที่สามารถใช้ติดต่อสื่อสารพูดคุยและเข้าถึงความเป็นส่วนตัวของเราได้โดยตรง และนั่นก็อาจทำให้เราอาจสูญเสียความเป็นส่วนตัวได้เช่นเดียวกัน

3.หวงข้อมูลให้เหมือนหวงเงินในกระเป๋า

ลองนึกภาพเมื่อมีใครสักคนมาขอยืมเงินเราดูนะคะ ก่อนจะให้ไปทุกครั้งไม่ว่าใครก็คงต้องคิดแล้วคิดอีกจริงไหมคะ? ข้อมูลส่วนตัวของเราก็เช่นกันเมื่อมีบริษัทไหนเอ่ยปากขอเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวของเรา เราก็ควรคิดให้ถี่ถ้วนก่อนเสมอ แน่นอนว่าเรามีสิทธิ์ในการยกเลิกการเข้าถึงข้อมูลได้ก็จริงแต่ก็ต้องทำให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลา 30 วัน เช่นกัน

สิ่งที่คนมักเข้าใจผิดเกี่ยวกับการให้ข้อมูลส่วนบุคคล

อย่างที่บอกไปด้านบนว่าการให้ข้อมูลส่วนตัวนั้นก็เปรียบเสมือนกับการอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ใครเข้ามาในพื้นที่ส่วนตัวของเราได้ จึงอาจทำให้หลายคนเกิดความกังวลว่าเมื่อให้ข้อมูลส่วนตัวนี้ไปแล้วจะทำให้รู้สึกไม่ปลอดภัยหรือถูกรบกวนได้ แต่ในความจริงแล้วก็ไม่ได้เป็นอย่างนั้นเสมอไปหรอกนะคะ 

โดยในบทความนี้เราจะยกตัวอย่างให้เห็นภาพมากขึ้นจากแบรนด์ Telco อย่าง dtac ที่ให้ความใส่ใจทั้ง ข้อมูลลูกค้า พนักงาน และคู่ค้า อีกทั้งยังมีมาตรฐานในการกำกับ ดูแล เก็บรวบรวม และนำข้อมูลไปวิเคราะห์ประมวลผลตามมาตรฐานสากลและถูกต้องตามที่กฎหมายไทยกำหนด เพื่อให้ลูกค้ามั่นใจได้ว่าข้อมูลส่วนตัวที่ให้ไปนั้นปลอดภัยและสามารถสร้างสิทธิประโยชน์สูงสุดให้กับลูกค้าได้จริงๆ

เรามาดูกันดีกว่าว่าอะไรบ้างที่คนมักจะเข้าใจผิดเกี่ยวกับการให้ข้อมูลส่วนตัว เพื่อเราจะได้รับประโยชน์สูงสุดกับการให้ข้อมูลไปในแต่ละครั้ง 

  • การปกปิดข้อมูลถือเป็นการรักษาความเป็นส่วนตัว

การปกปิดข้อมูล = การรักษาความเป็นตัว แต่ถ้าไม่ให้ข้อมูลส่วนตัว ก็ไม่สามารถเข้าใช้บริการได้ 

นี่เป็นอีกหนึ่งความเข้าใจที่ผิดมหาศาล คนส่วนใหญ่มองว่าถ้าเราไม่ยอมให้ข้อมูลกับบริษัท เราจะไม่สามารถใช้บริการต่าง ๆ ได้ แต่ความเป็นจริงแล้วในการทำสัญญากับค่ายมือถือนั้น เราจะต้องมีการเซ็นสัญญาให้บริการโทรคมนาคม ซึ่งเป็น ‘สัญญาหลัก’ ก่อนการใช้บริการ การเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ชื่อ ที่อยู่ บัตรประชาชน ก็เพื่อยืนยันตัวตนและยื่นขอใช้บริการทางโทรคมนาคมตามที่กฎหมายกำหนด เช่น การโทรเข้า โทรออก รับบริการอินเทอร์เน็ต ฯลฯ และค่ายมือถือจะสามารถเข้าถึงข้อมูลส่วนนี้ได้ ก็ต่อเมื่อนำใช้กับวัตถุประสงค์ทางโทรคมนาคมเท่านั้น เช่น การนำข้อมูลการใช้งานไปปรับปรุงและพัฒนาโครงข่าย เพื่อให้ลูกค้าใช้งานได้ดีขึ้น เป็นต้น

แต่ในกรณีที่ดีแทคต้องการนำข้อมูลการใช้งานไปวิเคราะห์ เพื่อนำเสนอสินค้าและบริการที่เหมาะสมที่สุดให้กับเรา ดีแทคจะมีการขอคำยินยอมจากลูกค้าซึ่งเป็นเจ้าของข้อมูลก่อนเสมอ โดยคำขอที่ส่งหาลูกค้านั้น จะแยกออกมาจากสัญญาหลัก บอกวัตถุประสงค์ในการนำไปใช้ชัดเจน สั้น กระชับ ได้ใจความ และไม่มีการสอดแทรกวัตถุประสงค์อื่นแอบแฝงมาด้วย เพื่อให้ผู้ใช้งานตรวจสอบและมั่นใจได้ว่าดีแทคดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบ ด้วยมาตรฐานการเก็บ ประมวลผล และรักษาข้อมูลลูกค้าไว้อย่างปลอดภัย โดยลูกค้าจะได้รับการแจ้งเตือนผ่าน dtac app เว็บไซด์ sms หรือช่องทางอื่น ๆ เพื่อให้ลูกค้าตรวจสอบได้และมั่นใจได้ว่าบริษัทจะดำเนินการเก็บ ประมวลผล และรักษาข้อมูลอย่างปลอดภัย และเมื่อได้รับคำยินยอมจากลูกค้าแล้ว ดีแทคก็จะสามารถนำข้อมูลการใช้งานไปวิเคราะห์ตามวัตถุประสงค์ที่แจ้งลูกค้าไว้ เพื่อให้ลูกค้าได้รับประโยชน์สูงสุดจากการใช้บริการ 

และถึงแม้ลูกค้าจะไม่อนุญาตให้เข้าถึงข้อมูลเพื่อนำไปวิเคราะห์การใช้งาน ลูกค้าก็ยังสามารถใช้งานโทรเข้า-โทรออก ใช้อินเทอร์เน็ตได้ปกติ เนื่องจากการขอยินยอมใช้ข้อมูลด้วยวัตถุประสงค์อื่นนั้น จะถูกขอแยกออกมาจาก ‘สัญญาหลัก’ การไม่ยินยอมให้ใช้ข้อมูลด้วยวัตถุประสงค์อื่น จึงไม่มีผลกับสัญญาการให้บริการทางโทรคมนาคมซึ่งเป็นสัญญาหลักที่เราเซ็นไว้ตั้งแต่แรก

  • หลักกฎหมายครอบคลุมอยู่แล้วไม่จำเป็นต้องกังวลเรื่องการให้ข้อมูลส่วนตัว

แม้จะมีพ.ร.บ. PDPA ที่ช่วยในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล แต่หากบริษัทได้รับการอนุญาตจากผู้บริโภค และนำไปใช้ตามวัตถุประสงค์ที่แจ้งไว้แล้วก็สามารถนำไปใช้ได้เช่นกัน ดังนั้นผู้บริโภคจึงต้องมั่นใจได้ว่าบริษัทที่เราใช้บริการนั้นมีมาตรฐานในการควบคุมการใช้ข้อมูลตามที่แจ้งไว้กับผู้บริโภคอย่างเคร่งครัด โปร่งใส ตรวจสอบได้และมีรายละเอียดที่ชัดเจนมากพอ

ตัวอย่างเช่น เว็บไซต์การปกป้องข้อมูลของ dtac ที่มีการแจ้งจุดยืน แนวทางการปฎิบัติ การเก็บการประมวลผลการใช้ข้อมูล มาตรการคุ้มครอง และช่องทางการติดต่อเจ้าหน้าที่ในส่วนการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลไว้อย่างชัดเจน 

ไม่รั่ว ไม่ไหล ไม่นำข้อมูลไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต

ข้อมูลจากผลสำรวจ kNOW ของบริษัท Analysis ที่เชี่ยวชาญด้านการตลาดและวิจัยทางดิจิทัล จากการสำรวจผู้บริโภคชาวไทยจำนวน 500 คน ผ่านแบบสอบถามออนไลน์ เกี่ยวกับพ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลผู้บริโภค พบว่าคนส่วนใหญ่ยังไม่ได้ศึกษาข้อมูลในเรื่องนี้มากนัก แต่ก็สนับสนุนให้มีการคุ้มครองข้อมูลผู้บริโภค และเห็นประโยชน์มากกว่าโทษ ซึ่ง 49% ของผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่าจะไม่ยินยอมในการให้ข้อมูลใดๆ และไม่สนใจที่จะอ่านเงื่อนไขด้วย แต่อีก 48% นั้นตอบว่าสนใจที่จะอ่านเงื่อนไขก่อน หากแบรนด์มีความโปร่งใส น่าเชื่อถือ และมีสิ่งจูงใจเพิ่มเติม

ซึ่ง dtac เองก็เข้าใจความกังวลของผู้บริโภคในเรื่องนี้เป็นอย่างดี จึงสร้างมาตรฐานในการ เก็บ รวบรวม เปิดเผย และนำข้อมูลไปใช้ตามวัตถุประสงค์ที่ขออนุญาตลูกค้าไว้แล้วเท่านั้น เพื่อให้ลูกค้ามั่นใจได้ว่าข้อมูลจะไม่รั่วไหล หรือเกิดเหตุ Data Leaking อย่างแน่นอน 

  • เก็บรวบรวม เฉพาะข้อมูลที่จำเป็นต่อการให้บริการที่สามารถระบุตัวตนได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม
  • ใช้ข้อมูล ประมวลผล วิเคราะห์ เพื่อมอบสิทธิประโยชน์และคำแนะนำให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า
  • เปิดเผยข้อมูล เพื่อให้เป็นไปตามหลักการดูแลคุ้มครองผู้ใช้ ตามที่กฎหมายกำหนดเท่านั้น

ย้ำกันอีกครั้งนะคะว่าก่อนจะยินยอมให้ข้อมูลส่วนตัวไป ต้องอ่านเงื่อนไขให้ละเอียดก่อนทุกครั้ง เพราะข้อมูลส่วนบุคคลเป็นสิ่งสำคัญและมีค่ามากในยุคสมัยนี้ จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมผู้บริโภคอย่างเราๆ จึงต้องให้ความสำคัญกับข้อมูลส่วนตัวและการปกป้องข้อมูลของแบรนด์ที่เราเลือกใช้บริการ ก็เพื่อให้เรามั่นใจในความปลอดภัยของพื้นที่ส่วนตัวที่เราหวงแหนและไม่ต้องการให้ใครมารุกล้ำค่ะ

Read more: อ่านบทความเกี่ยวกับการตลาดในแง่มุมอื่นๆ จากการตลาดวันละตอนได้ ที่นี่

Bambinun*

Content Creator แห่งการตลาดวันละตอน ที่หลงรักการเล่าเรื่องผ่านตัวหนังสือ พอๆ กับการกินของอร่อย และใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการเป็นทาสแมว

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

ใช้ Social Listening บ้างไม่ ?

#การตลาดวันละโพล ขอหนึ่งคำถาม ว่าปกติใช้ Social Listening บ้างหรือไม่ แล้วถ้าใช้ ใช้ตัวไหนอยู่