Smart home, Solar cell และ AI จัดการพลังงาน Trend น่าสนใจในยุคค่าไฟแพง!!

Smart home, Solar cell และ AI จัดการพลังงาน Trend น่าสนใจในยุคค่าไฟแพง!!

Smart Home ระบบบริหารจัดการพลังงานภายในบ้านอยู่อาศัย หรืออาคาร ร่วมกับการติดตั้ง Solar Cell (ทางเทคนิคจะเป็น Solar Rooftop PV) เพื่อช่วยให้การใช้พลังงานไฟฟ้าเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ลดค่าใช้จ่าย (และอาจจะเพิ่มรายได้ในกระเป๋า–กรณีขายไฟคืน)

สวัสดีค่ะ ทุกๆ คน ^^ ช่วงนี้นิกคิดว่าหลายท่านน่าจะกำลังประสบปัญหาเดียวกันกับนิก นั่นคือ => อากาศร้อนแบบไม่หยุดยั้ง และค่าไฟแพงงงง แบบทะลุทะลวง new high แล้ว new high อีก 🤣😵 จนจำเป็นต้องหามาตรการช่วยลดค่าไฟ หรือเพิ่มประสิทธิภาพของการใช้พลังงานไฟฟ้า ตลอดจนหาทางใช้พลังงานทดแทน แต่ๆๆ คำถามก็คือ แล้วมีเทคโนโลยีอะไรบ้างล่ะที่ควรใช้ มี Data อะไรบ้างล่ะที่เราควรเอามาวิเคราะห์ มีอุปกรณ์อะไรบ้างที่เราน่าจะลองนำมาทำเล่นๆ กันได้ และจากการใช้อุปกรณ์เหล่านี้เป็นประโยชน์ไหม หรือซื้อมาแล้วสิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ

ซึ่งแน่นอนค่ะว่า หากเพื่อนๆ ท่านไหนที่เป็น Tech Startup ย่อมรู้ดีค่ะว่านี่คือ Red Ocean ที่แท้ True เพราะมีการแข่งขันสูงมาก ทั้งจาก Tech Startup ด้วยกันเอง และแม้แต่เจ้าตลาดรายใหญ่ที่กระโจนลงมาเล่นด้วย 😱🧐โดยในบทความนี้นิกอยากมาแชร์ในทั้งส่วนของมุมมองผู้บริโภคที่ควรทราบ และหลักการใช้เทคโนโลยี/ข้อมูล เพื่อพยายามให้เป็นประโยชน์กับทุกภาคส่วน ในการปรับตัวเพื่อรองรับคำว่า Smart,,,,(บลาๆๆ) ทั้งหลายค่ะ

ทำไมค่าไฟแพง?

เป็นคำถามสุด Classic ที่ว่าทำไมช่วงนี้ค่าไฟขึ้นกว่าปีที่แล้ว ทั้งๆ ที่พฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าของเราก็เป็นเหมือนเดิม หรือว่าจะเป็นเพราะเลือดกรุ๊ปบีรึเปล่า หรือเป็นเพราะค่า FT หรือเปล่า?? แล้วเราจะลดค่าไฟได้ยังไงบ้าง ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจกันก่อนค่ะว่า ค่าไฟฟ้าที่เราต้องจ่ายกันเกิดจากการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้า (ซึ่งต่อไปจะเรียกว่า Load นะคะ) โดยเครื่องใช้ไฟฟ้าหรือ Load แต่ละตัวมีอัตราการ Consume หรือมีการกินไฟที่ไม่เท่ากัน หลายๆ อุปกรณ์มีการ Consume พลังงานไฟฟ้าที่คงที่ไม่ว่าสภาวะแวดล้อมจะเป็นอย่างไรก็ตาม เช่น หลอดไฟ คอมพิวเตอร์ เป็นต้น

แต่จะมีบางอุปกรณ์ค่ะ ที่มีการ Consume พลังงานไฟฟ้าที่มากขึ้น ทั้งๆ ที่ช่วงโมงการใช้งาน หรือชั่วโมงการทำงานยังเท่าเดิม ยกตัวอย่างเช่น เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น เป็นต้น ซึ่งจากการใช้งาน Load เหล่านี้นี่เองค่ะ ที่ถึงแม้ว่าเราจะมีพฤติกรรมการใช้งานที่เหมือนเดิม แต่ก็ส่งผลให้มีการใช้พลังงานที่สูงขึ้นได้ โดยเหตุการณ์นี้ไม่ได้เกิดขึ้นที่ประเทศไทยเท่านั้นค่ะ โดยหากดูที่กราฟการใช้พลังงานไฟฟ้าเฉลี่ยในช่วงเวลารายวันด้านล่างนี้จะเห็นว่า ในช่วงฤดูร้อนมีการใช้พลังงานที่สูงกว่าทุกๆ ฤดู ซึ่งทำให้สามารถสรุปได้ว่าอุณหภูมิที่ร้อนขึ้นมีผลต่อพฤติกรรมการใช้ไฟ และอัตราการใช้พลังงานไฟฟ้าที่เพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงกลางวันค่ะ

ตัวอย่างการใช้พลังงานในฤดูต่างๆ ตามช่วงเวลาเฉลี่ยรายวัน credit: https://learn.pjm.com/

Energy Management Systems และ Smart Home

จากเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้นค่ะ เลยเป็นที่มาของระบบบริหารจัดการพลังงาน (Energy Management Systems) ผ่านระบบ Smart Home หรือบ้านอัจฉริยะ โดยโครงสร้างของระบบจัดการพลังงานมักจะประกอบไปด้วยอุปกรณ์ดังนี้

  • Energy Monitoring: อุปกรณ์ตรวจวัดการใช้พลังงาน ซึ่งส่วนนี้่สามารถเลือกใช้งานได้เป็นทั้งรูปแบบของ Smart Plug หรือจะซื้อเป็น Smart Device/ Smart meter ต่างๆ มาติดเพิ่มก็ได้ค่ะ เพราะจากการแข่งขันที่สูงมากๆ ทำให้ราคาอุปกรณ์เหล่านี้ไม่แพงเลย
  • Internet of Things devices: หรืออุปกรณ์ IoT ที่สามารถทั้งเชื่อมต่อ ส่งข้อมูล และบริหารจัดการบนระบบ Internet หรือ Cloud ได้
  • Internet: เพื่อใช้ในการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ IoT ต่างๆ กับ Software Communication ค่ะ

ซึ่งจากข้อมูลการใช้พลังงานที่อุปกรณ์เหล่านี้เก็บข้อมูลมา จะถูกนำมาเข้าสู่ระบบ Energy Management Systems (หรือบางค่ายอาจมีการทำ Demand Response– เดี๋ยวอธิบายเพิ่มในบทความต่อไปนะคะ) เพื่อจัดการการใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งใน Algorithm นี้จะมีในส่วนของการทำ Prediction ในส่วนของการใช้พลังงานล่วงหน้า และการปรับการใช้งานโหลดที่สามารถปรับได้ (Adjustable Load) เพื่อลดการใช้พลังงาน ในขณะที่มีเงื่อนไขว่าเราต้องใช้ชีวิตอย่างสบายได้ (เช่นรู้สึกไม่ร้อนเกินไป, ไม่มืดเกินไปค่ะ)

โดยตัว Energy Management Systems จะประกอบไปด้วยสมการยุบยับ (นิกจะมีอธิบายในบทความต่อไป–สำหรับเพื่อนๆ ที่อยากลองเอาไปทำที่บ้าน) ได้แก่สมการ Objective Fuction ในการทำ Optimization และ Constaints ต่างๆ เพื่อให้ผู้ใช้งานรู้สึก Comfortable ค่ะ

Solar Cell และ Smart Home

แต่ในบางครั้งที่อัตราการใช้ไฟฟ้าของพวกเราสูงจริงจัง จนเกินกว่าที่ระบบบริหารจัดการพลังงานผ่าน Smart Home เพียงอย่างเดียวจะเอาอยู่ จึงเป็นที่มาของการติดตั้ง Solar Rooftop PV (ระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคา) หรือที่รู้จักกันในชื่อ Solar Cell เพิ่มเข้ามาค่ะ

โดยผู้ใช้งานที่เหมาะจะติดตั้ง Solar Cell นั้น ควรมีการใช้งานพลังงานไฟฟ้าในช่วงกลางวันเป็นส่วนมาก เนื่องจาก Solar cell สามารถผลิตไฟฟ้าได้ในช่วงกลางวัน หรือหากต้องการให้ใช้ไฟฟ้าในช่วงกลางคืนได้ ก็อาจมีการติดตั้งระบบแบตเตอร์รี่เพิ่มเติมเข้าไป (ซึ่งหากติดตั้ง Battery เข้าไปแล้วจะทำให้ไม่สามารถขายไฟฟ้าที่เหลือใช้คืนได้นะคะ)

Last but not Least…

ในบทความนี้เป็นเล่าให้ฟังถึงภาพรวมของระบบ Smart Home รร่วมกับการติดตั้ง Solar Cell (ทางเทคนิคจะเป็น Solar Rooftop PV) เพื่อช่วยให้การใช้พลังงานไฟฟ้าเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ลดค่าใช้จ่าย ซึ่งหวังเป็นอย่างยิ่งว่าทุกๆ ท่านจะได้ไอเดียในการนำไปใช้งาน หรือบริหารจัดการพลังงาน และเข้าใจถึงความต้องการของลูกค้าในเบื้องต้นค่ะ

คลาสเรียนออนไลน์ Social Listening Analytics รุ่นที่ 21
วันศุกร์ที่ 30 มิถุนายน 2023 ค่าเรียนคนละ 9,900 รับจำกัด 20 คน
อ่านรายละเอียดและลงทะเบียนได้ที่ลิงก์นี้ค่ะ https://bit.ly/sociallistening21

Panaya Sudta

Hi, I am Nick,,,,Panaya Sudta (●'◡'●) Engineer during the daytime. Researcher at night. Reader in spare time. (❁´◡`❁) วิศวกร/นักวิจัย และเป็นน้องใหม่ของการตลาดวันละตอน ในการทำ Market research ค่ะ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้แชร์มุมมองกันนะคะ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *