ร้าน Supermarket Retail ปรับตัวบน E-Commerce ยังไงได้บ้าง?
E-Commerce เติบโตอย่างรวดเร็วในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เเทบจะทุกอุตสาหกรรมเลยค่ะ อีกทั้งผู้บริโภคก็มีความสะดวกสบายมากขึ้นในการสั่งซื้อของออนไลน์ ซึ่งกลุ่มธุรกิจ Supermarket Retail ที่จำหน่ายพวกของสด ผัก ผลไม้ เครื่องครัว เครื่องปรุง รวมถึงเครื่องใช้ต่างๆ ยังมีไม่เติบโตเท่าที่ควร แต่อย่างไรก็ตามอีคอมเมิร์ซก็เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการอยู่รอดของธุรกิจ Supermarket ในตอนนี้ จึงทำให้ธุรกิจประเภทนี้ต้องพยายามสร้างโอกาสในการเติบโตที่มากกว่าเดิมค่ะ
ถ้าหากพูดถึงธุรกิจ Supermarket Retail คนส่วนใหญ่และหลายๆ คนชอบที่จะให้ไปเดินเลือกซื้อเองมากกว่า เพราะอยากได้ของที่ดีที่สุด อย่างผักผลไม้ก็จะหาที่สดๆ เนื้อชิ้นสวยๆ หรือ พวกนมก็ต้องไม่หมดอายุเร็วนี้ ทำให้พวกเขารู้สึกว่าเลือกเองแล้วสบายใจกว่า มันคือเรื่องของ Shopping Experience ที่ E-Commerce ไม่สามารถแทนได้ ด้วยเหตุผลนี้ ก็เลยเป็นสาเหตุที่ร้านค้า Retail บนออนไลน์ เติบโตช้ากว่าอุตสาหกรรมเป็นเภทอื่น ดังนั้นเรามาดูกันค่ะว่า ถ้ากลุ่มธุรกิจ Supermarket เหล่านี้อยากเข้า อีคอมเมิร์ซ สามารถทำอย่างไรได้บ้าง ให้ผู้บริโภคหันมาใช้บริการบนออนไลน์มากขึ้น
1. สร้างระบบ Membership เพื่อบันทึกข้อมูลสินค้า
ปัจจุบันมีเกือบทุกแบรนด์ที่มีการทำระบบ Membership ที่ให้ลูกค้าแจ้งเบอร์โทรหรือสแกนบัตรก่อนจ่ายเงิน ดังนั้นข้อมูลก็จะถูกบันทึกไว้ในระบบ ที่จะช่วยให้ร้านเข้าใจพฤติกรรมของลูกค้า เช่น ตำแหน่งที่ตั้งของลูกค้า สินค้าที่ซื้อบ่อยๆ คำค้นหาที่ใช้ และอื่นๆ อีกมากมาย ข้อมูลดังกล่าวจะเป็นพื้นฐานสำหรับการวิเคราะห์ที่ช่วยให้ธุรกิจ Supermarket บนออนไลน์สามารถเพิ่มประสิทธิภาพ
2. เริ่มทำระบบ Personalization จากข้อมูลที่เก็บมาได้
เมื่อมีข้อมูลก็จะสามารถใช้ข้อมูลในการสร้างประสบการณ์แบบ Personalization ให้กับลูกค้า เปลี่ยน Shopping Experience ใหม่ จากผู้บริโภคที่ชอบไปเลือกซื้อเลือกหยิบด้วยตัวเอง ให้เป็น Personalized Experience ที่ทำให้ผู้บริโภครู้สึกว่าแบรนด์ใส่ใจ รู้ใจว่าเขาต้องการอะไร เพราะเมื่อคนได้ลองที่จะเชื่อ Suggestion Items ครั้งหนึ่งแล้ว ก็อาจจะติดใจระบบ Suggestion ไปเลยก็ได้
3. สร้างความมั่นใจในการเลือกสินค้าที่ดีที่สุด
คือการทำให้ผู้บริโภครู้สึกว่าพนักงานหรือร้านค้าได้เลือกสินค้าที่ดีที่สุด ไม่มีเสียหาย กล่องไม่บุบ ผักไม่ช้ำ และที่สำคัญคือสินค้าไม่หมดอายุ มาให้พวกเขา โดยพนักงานที่ร้านต้องเช็คของก่อนถึงมือลูกค้า และเมื่อส่งให้ลูกค้าจะต้องให้ลูกค้าตรวจเช็คสินค้าอีกรอบ ว่าพึ่งพอใจกับของที่ได้หรือไม่ นอกจากนี้อาจจะมีระบบสำหรับการเปลี่ยนคืนสินค้า เพื่อเป็นการรองรับความเสียหายหากสั่งซื้อผ่าน อีคอมเมิร์ซ เมื่อไม่ได้มาตรฐานตามที่ลูกค้าต้องการก็ต้องเปลี่ยนคืนสินได้ทันที ดังนั้นก็ทำให้ปัญหา Shopping Experience ลดลงนั่นเองค่ะ
ทำไมธุรกิจ Supermarket ควรปรับตัวเข้าสู่ E-Commerce ตั้งแต่ตอนนี้? เพราะในอนาคต อีคอมเมิร์ซประเภทธุรกิจ Retail มีแนวโน้มว่าจะเติบโตอย่างรวดเร็ว ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับผู้เริ่มใช้ในช่วงต้น ถ้าหากช้าจะตามไม่ทันและตามหลังคู่แข่งก็ได้นะคะ นอกจากนี้การที่ร้านมีระบบ อีคอมเมิร์ซ ก็จะทำให้ Data ที่ได้เป็นข้อมูลของลูกค้าเต็มๆ (First Party Data) โดยที่ไม่ต้องผ่าน Third Party Data จากแบรนด์ที่ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางระหว่างลูกค้ากับร้านค้า อย่างพวก Grab / Lineman / Happyfresh หรือบริษัทอื่นๆ ที่มีบริการ Mart Delivery ให้เห็นไปสักพักแล้ว
อีกเรื่องนึงคือ ต้องบอกว่าปัจจุบันนี้ คนไทยเองก็เริ่มปรับตัวกับการซื้อของ Grocery ผ่านออนไลน์กันแล้ว จะเห็นได้จากการสั่งซื้อสินค้าผ่าน Delivery Service เช่น ร้านสะดวกซื้อ 7-11 ที่เขาไม่มองคู่แข่งที่เป็นพวกร้านสะดวกซื้อเหมือนกัน แต่มองเขาว่าออนไลน์เป็นคู่แข่งของเขา ทำให้ 7-11 สร้างระบบเองทุกอย่าง ตั้งแต่ Membership ที่เรียกว่า ALL member ซึ่งก็จะโยงไปยัง 7-Eleven App ที่สามารถ Login เข้าไปสั่งสินค้า 7-Delivery จ่ายเงินด้วย Wallet ของตัวเองได้เลย ทำให้แบรนด์ได้ Data ลูกค้าแบบครบถ้วนและไม่โดยที่ไม่ผ่านคนกลางค่ะ
ทั้งหมดนี้เป็นวิธีการแก้ปัญหาสำหรับธุรกิจ Supermarket Retail แบบเดิม ให้เข้าสู่ระบบ อีคอมเมิร์ซ เพื่อให้ทันกับพฤติกรรมของผู้บริโภคในปัจจุบัน ตั้งแต่การเริ่มปรับตัวเข้าสู่อีคอมเมิร์ซ ไปจนถึงการเก็บ Data เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานให้ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า ซึ่งเจ้าของธุรกิจที่กำลังแก้ปัญหานี้อยู่ ก็สามารถศึกษาวิธีดังกล่าว แล้วนำไปปรับใช้ดูได้นะคะ