รวมตัวอย่าง Data Visualization ธุรกิจท่องเที่ยว ต่อยอดทางการตลาดได้อย่างไรบ้าง?

รวมตัวอย่าง Data Visualization ธุรกิจท่องเที่ยว ต่อยอดทางการตลาดได้อย่างไรบ้าง?

การทำ Data Visualization ธุรกิจท่องเที่ยว มีประโยชน์อย่างไรบ้าง

สวัสดีค่าทุกคน วันนี้ได้มีโอกาสไปงาน THE GUIDETECH การใช้เครื่องมือ Martech ในธุรกิจท่องเที่ยว ที่จัดโดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย โดยได้สรุป Session : Data และเคล็ดลับการสร้าง Data Visualization เพื่อเสริมจุดแข็งให้ธุรกิจท่องเที่ยว ที่บรรยายโดยคุณณัฐพล ม่วงทำ หรือพี่หนุ่ย จากเพจการตลาดวันละตอน มาให้ทุกคนได้อ่านเป็นความรู้กันค่า

โดยสาระสำคัญจะเกี่ยวกับการทำ Data Visualization หรือการเปลี่ยน Data ให้เป็นภาพ คือการอ่านภาษา Data ให้ออก โดยจะยกตัวอย่างจากโปรเจค Data Research Insight 76 จังหวัดทั่วไทย โปรเจคนี้เริ่มมาจากการที่พี่หนุ่ยคิดว่าธุรกิจท่องเที่ยวเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมหลักของไทย เลยอยากทำขึ้นมาให้คนได้ใช้กัน โดยเฉพาะคนที่เป็นเจ้าของธุรกิจรายเล็ก sme รายย่อย ที่อาจจะไม่ได้มี Resource หรือมีเงินทุนในการทำ Data มากนัก ผ่านการใช้ Social Listening จนทำให้เราสามารถเห็นข้อมูลเชิงลึกมากขึ้น และนำไปต่อยอดวางแผนการทำการตลาดต่อไปได้ค่ะ

ตัวอย่างการนำ Data และ Data Visualization จากโปรเจค Data Research Insight 76 จังหวัดทั่วไทย ไปต่อยอดการทำการตลาด

จุดเช็คอินยอดนิยม 

รู้แล้วได้อะไร? เราสามารถเช็คตัวเองได้ว่าเรามีจุดขายแบบนั้นรึเปล่า 

  • ต้นปี 2022 คนเช็คอินมากที่สุดคือคาเฟ่ 48%
  • ปลายปี 2022 – ต้นปี 2023 คนเช็คอินมากที่สุดคือที่พัก 36% รองลงมาคาเฟ่ 25%

ดังนั้นเมื่อเข้าสู่ช่วงปลายปีคนเที่ยวคาเฟ่ลดลง และในเมื่อเราได้รู้ว่าที่พักเป็นหนึ่งในจุดที่คนเช็คอินเยอะ แล้วที่พักเราสวยพอที่คนจะมาถ่ายรูปไปโพสต์แชร์เช็คอินไหม ถ้ายังไม่มีก็อาจจะมีปัญหา อาจต้องมาพิจารณาในการปรับเพิ่ม เช่น สร้างจุดการทำ Instagramable ให้คนมาถ่ายรูป เป็นต้น

ไปเที่ยวกับใคร? ภาพรวมทั้งประเทศ

  • ต้นปี 2022 เที่ยวกับครอบครัวมากสุด 61% รองลงมาเที่ยวคนเดียว 18%
  • ปลายปี 2022 – ต้นปี 2023 ครอบครัวยังอันดับ1 แต่สัดส่วนลดลง คนเริ่มเที่ยวกับเพื่อนมากขึ้นเป็น 35% และเริ่มมีคนมากับสัตว์เลี้ยง 

เมื่อเราเห็น Data และเริ่มเข้าใจ Insight ในแต่ละช่วงเวลาที่เปลี่ยนไป เพราะไม่ใช่ทุกเวลาที่เทรนด์หรือ Insight จะเหมือนเดิม ก็จะทำให้ต่อยอดและนำไปใช้ต่อได้ เช่น 

  • ช่วงต้นปี คนยังเที่ยวคนเดียวเยอะ เราอาจต่อยอดไปสู่แพ็คเกจคนเหงา จัดโปรโมชัน แพคเกจ หรือบริการให้ตอบโจทย์สำหรับคนที่มาเที่ยวคนเดียว
  • เมื่อเข้าช่วงปลายปี คนเที่ยวกับเพื่อนเพิ่มขึ้น อาจทำเป็นห้องนอนกลุ่ม
  • การเริ่มเห็นเทรนด์เที่ยวกับสัตว์เลี้ยงติดอันดับมาในช่วงปลายปี ดังนั้นก็ทำให้ได้เช็คว่าที่พักเราเป็น Pet Friendly รึเปล่า หรือมีสัตว์เลี้ยงของที่พักที่ให้คนไปพักได้เล่นด้วยไหม เป็นต้น

พักกี่คืน?

การเห็นข้อมูลเป็นภาพแบบรายจังหวัด ว่าเวลาคนไปเที่ยวจังหวัดนั้น ๆ ส่วนใหญ่เขาพักกันกี่คืน ทำให้เราเช็คตัวเองได้ว่าคนที่มาพักที่โรงแรมของเรามีมากหรือน้อยกว่าปกติที่ควรจะเป็น ถ้าน้อยกว่าอาจจะต้องปรับแพคเกจใหม่ให้คนอยู่กับเรานานขึ้น เป็นต้น

มากับใคร? รายจังหวัด

  • จังหวัดที่คนไปเที่ยวกับครอบครัวเยอะที่สุด เช่น ภูเก็ต ปกติบางทีไปเที่ยวกับครอบครัวนอนห้องเดียวไม่พอ โรงแรมเราก็ควรมีห้องที่เชื่อมถึงกันได้ง่าย หรือมี Family Package เป็นต้น
  • จังหวัดที่คนไปกับเพื่อนเยอะ เช่น เชียงราย ก็ทำ Package สำหรับคนที่ไปเที่ยวกันเป็นกลุ่ม โปรโมชันกับเดอะแก๊ง
  • จังหวัดที่คนไปเที่ยวคนเดียวเยอะ เช่น น่าน ก็ทำจุดขายหรือแพคเกจเพื่อคนที่ไปเที่ยวคนเดียว ดูว่าคนไปเที่ยวคนเดียวต้องการอะไร ปกติส่วนใหญ่ผู้หญิงไปเที่ยวคนเดียวมากกว่าผู้ชาย อาจให้ความสำคัญกับเรื่องของความปลอดภัยหรือกิจกรรมต่าง ๆ ที่เขาต้องการ เพื่อตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายให้ได้มากที่สุด

Highlight ข้อมูลบางส่วนจากการทำ Data Reseach Insight จังหวัดขอนแก่น

คนมาทำกิจกรรมอะไรที่ขอนแก่น?

พบว่ากิจกรรมที่มาเป็นอันดับ 1 คือ ดูคอนเสิร์ต 44.5% เรียกได้ว่าคอนเสิร์ตเป็น Soft Power ของขอนแก่นกันเลยทีเดียว

ดังนั้นก็เป็นการเปิดแง่คิดให้กับจังหวัดอื่น ๆ ได้ว่าหากขอนแก่นทำคอนเสิร์ตได้ แล้วจังหวัดของเราทำได้ไหม หรือมีกิจกรรมอะไรที่จะช่วยชูการท่องเที่ยวให้คนมาจังหวัดเราเยอะขึ้นได้บ้าง เป็นต้น

Travel Insight : สายมูไปกาญจนบุรีเพื่อทำบุญ

พอทำ Data Visualization เห็นเป็นภาพที่อ่านแล้วเข้าใจชัดเจนว่า คนมากาญเพื่อเข้าวัดทำบุญ 53.4% ดังนั้นอาจนำไปปรับใช้โดยโรงแรมเราลองร่วมกับวัดบ้าง หรือมีของแจกเล็ก ๆ น้อย ๆ จากหลวงพ่อให้ หรือแนะนำโปรแกรมให้ลูกค้าไปไหว้พระ 9 วัด เป็นต้น

คนโพสต์เป็นภาษาอะไร

ภาษาที่ใช้ Mention ‘ภูเก็ต’ มากที่สุด คือภาษาอังกฤษ 43.87% รองลงมาเป็นภาษาไทย และเยอรมันด้วย

ภาษาที่ใช้ Mention ‘HUAHIN’ มากที่สุด คือภาษาไทย 59% รองลงมาเป็นภาษาอังกฤษ และยังมีมาเลเซีย อินโดนีเซีย ที่รวมกันคิดเป็นสัดส่วนเกือบ 10% 

ดังนั้นถ้าเราทำธุรกิจท่องเที่ยว โรงแรม อาจต้องกลับมาเช็คกันหน่อยว่ามีการอำนวยความสะดวกให้กับชาวต่างชาติเหล่านี้ที่มาเที่ยวไทยแล้วแสดงตนว่ามาจากชาติอะไรบ้างรึเปล่า ไม่ว่าจะเป็นคู่มือ เว็บไซต์ คำแนะนำต่าง ๆ ที่เป็นภาษาถิ่นของเขา เป็นต้น

8 ขั้นตอนการทำงานกับ Social Listening Tool

  1. Research Keyword เลือกคำที่สะท้อนประเด็นที่อยากรู้ คิดว่าเรื่องที่เราอยากรู้ คนมักพูดถึงด้วยคำแบบไหน 
  2. Collecting Data ตั้งค่าเก็บข้อมูลที่ต้องการ ดึงย้อนหลังกี่เดือน กี่ปี 
  3. Cleansing Data คัดข้อมูลที่ไม่เกี่ยวออก เพราะไม่ใช่ทุกข้อมูลที่ระบบดึงมาจะเกี่ยวข้องกับสิ่งที่เราต้องการ
  4. Converation Analysis อ่าน และวิเคราะห์คำพูด สรุปออกมาเป็นความเห็น
  5. Categorize Data จัดระเบียบข้อมูลให้เป็นหมวดหมู่
  6. Data Visualization เปลี่ยนข้อมูลให้เป็นภาพที่เข้าใจง่าย
  7. Summary & Insight สรุป & สกัดประเด็นที่น่าสนใจ
  8. Recommendation แนะนำได้ว่าต้องทำอะไรต่อ

จะเห็นเลยได้ว่าการทำ Visualization ไม่ได้มีแค่การทำภาพเพียงอย่างเดียว แต่เริ่มต้นกระบวนการมาตั้งแต่การเก็บข้อมูลที่ดี ดังนั้นจะไม่มีประโยชน์เลย ถ้าเราไม่ได้ให้ความสำคัญกับการทำ Data ดีตั้งแต่แรกค่ะ

CPVAI MODEL : Data Thinking Framework by การตลาดวันละตอน

  1. Collect : การเก็บ Data ให้มีความละเอียดและเรียบร้อย เพื่อที่เราจะได้นำไปใช้วิเคราะห์ต่อได้ง่าย
  2. Prep : การเตรียม Data ให้พร้อมใช้ เช่น ถ้าเราเก็บข้อมูลชื่อ ที่อยู่ เป็นแถวเดียวกันทั้งหมด ต้องมาแยกข้อมูลเป็นแถวรายอำเภอ เขต แขวง จังหวัด เป็นต้น เป็นการเตรียมข้อมูลให้มีระบบระเบียบ สะดวกต่อการนำไปใช้ต่อ
  3. Visualized : นำข้อมูลที่ได้ไปแปลงเป็นภาพ เพื่อให้ทุกคนสามารถทำความเข้าใจได้ง่าย และเห็นภาพชัดเจนมากยิ่งขึ้น 
  4. Analyze : วิเคราะห์ผลที่ได้จากการข้อมูลและการทำ Visualized เพื่อตามหา Insight ที่น่าสนใจ
  5. Idea : ใช้ข้อมูลที่ได้จากการ Analyze สกัดออกมาเป็น Idea ในการปรับใช้และต่อยอดในการทำการตลาดต่อไป

สำหรับใครที่สนใจเรื่อง CPVAI MODEL โดยเฉพาะ สามารถอ่านต่อได้ ที่นี่ เลยค่า

และทั้งหมดนี้ก็คือสรุปความรู้จากงาน THE GUIDETECH การใช้เครื่องมือ Martech ในธุรกิจท่องเที่ยว ที่จัดโดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ใน Session : Data และเคล็ดลับการสร้าง Data Visualization เพื่อเสริมจุดแข็งให้ธุรกิจท่องเที่ยวค่า จะสังเกตเห็นได้ว่าเมื่อช่วงเวลาเปลี่ยน Insight ก็จะเปลี่ยนไป รวมถึงช่องทาง Platform ที่ใช้ในการสื่อสาร แต่ละช่วงเวลาก็มี Engagement ที่เพิ่มขึ้น-น้อยลงสลับกันไปด้วย อย่างในธุรกิจท่องเที่ยวช่วงปลายปีที่มีคนเที่ยวเยอะ Engagement บางช่องทางก็เพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว เราจะเห็น Trend การเปลี่ยนแปลงของ Channel ต่าง ๆ 

ดังนั้นเวลาเราทำ Marketing ควรทำทุก Channel ประเด็นสำคัญคือให้ใช้ Social Media เหมือนที่คนทั่วไปเขาเล่นกัน โพสต์ให้เหมือนคนโพสต์คุยกัน อย่าโพสต์เหมือนอยู่ในฐานะแบรนด์คุยกับคน เพราะจะเกิดความน่าเบื่อค่ะ 

หวังว่าทุกคนจะได้ความรู้จากบทความนี้กันนะคะ ได้เห็นผล การทำ Data Visualization ธุรกิจท่องเที่ยว และเห็นว่าการเอา Data มาเปลี่ยนเป็นภาพทำให้เห็นข้อมูลได้ง่ายขึ้น ชัดขึ้นขนาดไหน และเมื่อเห็นว่าภาพรวมการเที่ยวมีการเปลี่ยนแปลงไปยังไง Insight ขาเที่ยวแต่ละคนเป็นยังไงบ้าง เราจะรู้ว่าควรเน้นทำการตลาดช่วงไหน หรือปรับเปลี่ยนและวางแผนการทำการตลาดของธุรกิจเราต่อไปได้ยังไงบ้างค่า

และทุกคนสามารถติดตามบทความด้านการตลาดเพิ่มเติมได้จากเพจการตลาดวันละตอน ที่ เว็บไซต์ Facebook Instagram Twitter Youtube และ Blockdit ได้เลยค่า

Fern Panassaya

เฟิร์น Junior Marketing Content Creator แห่งการตลาดวันละตอน รักแมวอ้วนและหมาโกลเด้น ตั้งใจสร้างสรรค์ทุกผลงาน ฝากเป็นกำลังใจและติดตามคอนเทนต์ใหม่ ๆ ต่อจากนี้ด้วยค่ะ <3

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *