Research consumer insights ผู้บริโภคพม่า 2024 ขุมทรัพย์ใหม่การตลาด

Research consumer insights ผู้บริโภคพม่า 2024 ขุมทรัพย์ใหม่การตลาด

พาเจาะ insights พม่า งานวิจัยการตลาดจาก MI Group พบความน่าสนใจของกลุ่มแรงงานเมียนมา ที่แบรนด์ไทยมองข้าม แต่แท้จริงแล้วคือขุมทรัพย์แหล่งใหม่ ที่รอให้แบรนด์ไทยขุดอยู่

ปี 2023 ยุคที่ไม่มีสื่อ Mass media อีกต่อไป

จากวิกฤตโควิด 19 ที่ผ่านมาส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแบบพลิกหน้ามือเป็นหลังมือของพฤติกรรมผู้บริโภค ทั้งการซื้อสินค้า และการใช้ชีวิตประจำวัน ทำให้แบรนด์ และผู้ผลิตสื่อต้องมีการปรับตัวกันครั้งใหญ่ ทำให้เกิดปรากฎการณ์ วิกฤตสื่อเกิดขึ้น พบว่าการใช้สื่อทีวีตกเป็นประวัติการ เพราะกลุ่มผู้บริโภคหันไปใช้โซเชียลมีเดีย และพบการเติบโตของสื่อ OOH ที่โตมากขึ้นกว่าปีก่อนเนื่องจากกลุ่มผู้บริโภคในเมืองเริ่มออกมาใช้ชีวิตกับเป็นปกติแล้ว

ด้วยพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต รวมถึงการบริโภคสื่อต้องยอมรับเลยค่ะ ว่าในยุคนี้การล้อมวงทานข้าวดูทีวี ช่อง 3 5 7 9 แทบไม่มีเกิดขึ้นในสังคมยุคใหม่แล้ว จึงส่งผลไปถึงการใช้สื่อของแบรนด์แต่ละแบรนด์ด้วย ที่ทำให้ในยุคนี้ไม่มีสื่อ Mass media อีกต่อไป และการซื้อสื่อที่ใช้เม็ดเงิน หลักแสนล้าน แบบในอดีตก็ไม่มีอีกแล้ว

  • สื่อทีวีไม่เป็นที่นิยม เดิม 60% ลดลงมาเหลือ 42%
  • สื่อปริ้นน้อยลง

ทำให้ในวันนี้ทุกธุรกิจในตลาดทำงานยากขึ้น รวมถึงเอเจนซี่ด้วย

พม่า insights

ที่มา : MI GROUP

การตลาด MI GROUP หรือ Media Intelligence Group มุ่งหาน่านน้ำใหม่ให้กับแบรนด์

MI Group ในฐานะที่เป็นเอเจนซี่ ที่อยู่ในอุตสาหกรรมสื่อโฆษณา และมีวิสัยทัศน์ในการบริหารงาน คือ “A Trusted Advisor” หรือ เป็นเพื่อนคู่คิด-ที่ปรึกษาที่ได้รับความไว้วางใจจากลูกค้า ผ่านการเป็น “Solution Providers” ที่ให้บริการลูกค้าแบรนด์ และองค์กรชั้นนำด้วยเครื่องมือสื่อสารทางการตลาดอย่างครบวงจร และทีมงานมืออาชีพ เพื่อช่วยยกระดับกลยุทธ์ Marketing พร้อมเพิ่มมูลค่าการตลาดให้กับลูกค้า และเนื่องจากสถานการณ์ปัจจุบัน MI Group ก็มีการปรับตัวกับสภาวะวิกฤตเช่นนี้ โดยการหาน่านน้ำใหม่ ๆ ให้กับธุรกิจ

MI BRIDEG ผู้ช่วยสำหรับทำการตลาด และทำ Research Consumer insights ช่วยแบรนด์ไทยหาน่านน้ำใหม่ จาก MI Group

“MI BRIDGE” แบรนด์ลูกจาก MI Group ก่อตั้งขึ้นเพื่อเน้นช่วยลูกค้าแบรนด์ไทยเป็นหลัก ช่วยทำงานสื่อสารการตลาดของภาคธุรกิจระดับสากล ที่ต้องการขยายตลาดไปต่างประเทศ และแบรนด์ต่างประเทศที่ต้องการเข้ามาเปิดตลาดในไทย ทั้งกลุ่ม Local Brands และ International Brands

และด้วย แนวคิดของการขับเคลื่อนกลยุทธ์นี้จึงทำให้ MI BRIDGE ร่วมมือกับ “MI Learn Lab” ซึ่งเป็นหน่วยงานที่นำเสนอข้อมูลเชิง Marketing Insights ที่มาจากการประยุกต์ใช้ Marketing Tools ที่หลากหลาย และทันสมัยมาสนับ สนุนงาน สื่อสารการตลาดของลูกค้า พันธมิตร และภาคธุรกิจต่างๆ ให้ดำเนินธุรกิจได้อย่างแข็งแกร่งยิ่งขึ้น 

ทำไม MI Group ถึงทำวิจัย แรงงานพม่า

Gen Z กลุ่มคนที่หอมหวนสำหรับธุรกิจทุกธุรกิจ แต่ด้วยกลุ่มลูกค้าที่มีอยู่กลุ่มเดียว และทุกเเบรนด์ในตลาดก็ต้องการจะแย่งชิงลูกค้ากลุ่มนี้ การทำการตลาดจึงต้องแข่งขันกันอย่างหนักเพื่อให้ลูกค้าซื้อสินค้า 

แต่คน Gen Z ในประเทศไทย ไม่ได้มีแค่กลุ่มคนไทยเท่านั้นที่มีกำลังซื้อสินค้าค่ะ ทาง MI Group ได้มองเห็นความน่าสนใจของคนกลุ่มนี้ค่ะ เพราะถือเป็นกลุ่มคนที่แบรนด์สินค้าไทยยังคงมองข้าม และนี่แหละค่ะ คือโอกาสในการทำธุรกิจ เพราะคู่แข่งยังน้อย ใครเริ่มเร็วก็ได้เปรียบ

“แรงงานพม่า โอกาสในการทำธุรกิจ คู่แข่งยังน้อย ใครเริ่มเร็วก็ได้เปรียบ”

มีการเปรียบเทียบ Gen Z ในเมืองไทยมี 13.2 ล้านคน ซึ่งไม่ได้แตกต่างจากแรงงานต่างด้าวที่มี อยู่ถึง 10 ล้านคนในไทย ที่ผ่านมาเค้าเสพสื่อไทย ซื้อของไทย แต่แบรนด์ไทยไม่เคยโฟกัสคนกลุ่มนี้เลย แต่กลับมองว่าเป็นผลพลอยได้จากการทำการตลาด และในครั้งนี้ทาง BRIDEG  ได้นำข้อมูล Insight ของกลุ่มเเรงงานเมียนม่า ซึ่งเป็นกลุ่มเเรงงานต่างด้าวอันดับหนึ่งในไทย มาให้เพื่อเป็นประโยชน์กับชาว Marketer ค่ะ

ที่มา : MI GROUP

อะไรคือสาเหตุที่ทำให้ชาวพม่า จากบ้านมาทำงานในไทย

สาเหตุหลัก คือเนื่องจากการเมืองของเมียนมายังไม่สงบ ไม่เอื้อต่อการทำงาน ทำให้ชาวเมียนมาไม่สามารถลืมตาอ้าปากได้ เพราะส่งผลต่อค่าจ้างในประเทศ

รู้หรือไม่คะ? หากชาวเมียนมาทำงานอยู่ที่ประเทศของตัวเอง จะได้ค่าจ้างเพียง 1,000-1,500 บาท/เดือน เท่านั้น และงานส่วนใหญ่คืองานเกษตรกรรม

แต่ถ้าหากชาวเมียนมาเข้ามาทำงานที่ไทย จะสามารถได้รับค่าจ้างได้ถึง 10,000-15,000 บาท/เดือน ซึ่งถือว่าเป็น 3 เท่าของค่าจ้างสำหรับทำงานที่เมียนมาเลย และรวมทั้งชาวเมียนมาส่วนใหญ่เป็นเดอะแบกของบ้าน ต้องการทำงานได้เงินเดือนเยอะ ๆ เพื่อส่งกลับบ้านจุนเจือครอบครัว เพราะเหตุผลทั้งหมดนี้แหละค่ะ จึงทำให้มีแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานที่บ้านเราเยอะ

“ตลาดแรงงานชาวเมียนมา ในประเทศไทยคิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจ

เป็นเม็ดเงิน 828,000 ล้านบาท – 1,242,000 ล้านบาท/ปี”

insights พม่า : แรงงานพม่ามาทำงานต่างเเดนเพื่ออะไร?

  • มาเพื่อหาเงิน เพราะค่าจ้างที่ไทยสูงกว่า 
  • มาเพื่อออมเงิน หาเงินซื้อบ้าน ซื้อรถ
  • นำเงินไปเริ่มต้นกิจการส่วนตัว

เเล้วชาวเมียนมาเข้ามาทำอาชีพอะไรกัน?

  • ทำงานโรงงาน 39%  
  • ก่อสร้าง 18%
  • ขายของ 15%
  • รับจ้างทั่วไป 9%

*เรทค่าแรง 500/วัน แต่ทำงาน 10 ชม.+ 

ลงสังเกตุดูนะคะว่าส่วนใหญ่จะเป็นงานใช้แรงงานทั้งนั้นเลย นั่นก็เพราะในประเทศไทย คนไทยไม่นิยมทำงานใช้แรงงานค่ะ จึงทำให้ตลาดแรงงานนี้ขาดแคลน และทำให้เกิดการจ้างแรงงานต่างชาติเข้ามาค่ะ

92% ของแรงงานเมียนมา อยากกลับไปอยู่เมียนมาภายในเวลา 3-5 ปี และมีกลุ่มคนอีกส่วนหนึ่ง อยากจะทำงานอยู่ที่ไทยต่อไปแบบไม่มีกำหนด

“คนเมียนมาเฉลี่ยทำงาน 10 ชม./วัน  และ 6 วัน/week ชาวเมียนมาอยู่นอกบ้าน 14 ชม/วัน”

insights พม่า : วันหยุดชอบแรงงานเมียนมาชอบทำอะไรกัน?

  • ดูยูทูป 
  • เล่นเกมส์ และชอบซื้อเนตรายวัน
  • ชอบปิงตลาดจตุจักร ประตูน้ำ 
  • ชอบไปงานสเปเชียลอิเว้นท์ เช่น คอนเสริตพม่าในไทย
พม่า insights

ที่มา : MI GROUP

แชร์ค่าใช้จ่ายของแรงงานเมียนมา เค้าใช้จ่ายอะไรบ้างนะ?

  • 37% ใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ซื้อของอุปโภคบริโภค
  • 16% เป็นค่าที่อยู่อาศัย
  • 3% คือ ค่าโทรศัพท์ เติมอินเทอร์เนตรายวัน
  • 28% ส่งเงินกลับเมียนมาเพื่อให้ครอบครัว หรือเป็นเงินเก็บ โดยผ่านนายหน้าเป็นตัวกลางในการส่งเงินให้ทางเมียนมา
  • 16% เป็นเงินเก็บที่เก็บไว้กับตัวเองเผื่อมีเหตุฉุกเฉิน

Tips : แรงงานเมียนมานิยมใช้บริการนายหน้าในการรับเงินโอนค่าเงินบาท ไปเปลี่ยนเป็นเงินจ๊าด แล้วส่งให้ทางครอบครัวที่เมียนมา เพราะเหตุผลหลักคือ หากใช้บริการธนาคารจะทำให้สามารถแลกได้เป็นเงินจ๊าดลดลง เพราะค่าเงินที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็วด้วยสภาวะการเมืองค่ะ

เจาะ insights พฤติกรรมการเสพสื่อ Online คนพม่า

แรงงานเมียนมา ชอบซื้ออินเทอร์เนตรายวันเพื่อใช้ในวันหยุดค่ะ 100% ของกลุ่มที่ ใช้อินเทอร์เนตใช้เพื่ออะไรกันบ้างมาดูกันเลยค่ะ

97%  ดูละคร : ชาวเมียนมาชอบดูละครค่ะ ฉะนั้นถ้าหากแบรนด์ ลองเอาสินค้าไปแฝงไว้ในละครนอกจากจะได้กลุ่มลูกค้าไทยแล้ว ยังเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเมียนมาได้อีกด้วยนะคะ

87% ดูข่าว : กลุ่มชาวเมียนมาชอบใช้เวลาในการดูข่าวสารบ้านเมืองค่ะ และแน่นอนก็ดูเพื่อติดตามสถานการณ์บ้านเมืองที่เมียนมาด้วยค่ะ

74% ช้อปออนไลน์ : คนเมียนมามีพฤติกรรมชอบซื้อสินค้าออนไลน์มากค่ะ โดยสินค้าที่นิยมสั่งคือ สินค้าอุปโภค บริโภคค่ะ

พม่า insights

จากการชอบช้อปออนไลน์นี้สามารถนำกลยุทธ์ การตลาด มาต่อยอดสร้างรายได้กลุ่มลูกค้ากลุ่มนี้ได้นะคะ

1. Promotion Flash deal : ในเมื่อมีลูกค้าถึง 74% ที่ชอบช้อปออนไลน์ หากแบรนด์ไหนสนใจลองจัดโปรโมชั่น 11.11 12.12 เพื่อนแท้แรงงานต่างด้าวดูนะคะ น่าจะช่วยโกยรายได้เข้าแบรนด์ได้มากเลยทีเดียว

2. กลยุทธ์ KOL : การเชื่อถือที่ดีที่สุดคือการเชื่อถือคนที่เข้าใจเราที่สุดถูกไหมคะ? และใครจะไปเข้าใจคนเมียนมาได้มากกว่าคนเมียนมาด้วยกัน และก็ตรงตามผลสำรวจด้วยค่ะว่า Target กลุ่มนี้มักซื้อสินค้าตามเพื่อนเมียนมาด้วยกัน ณ.ปัจจุบันมี KOL ชาวเมียนมา ที่ทำคอนเทนต์สอนภาษาไทย และก็น่าจะมี KOL กลุ่มอื่น ๆ เช่นกัน หากทำการตลาดที่ใช้ KOL ก็น่าจะมีผลกับการตัดสินใจซื้อของลูกค้ากลุ่มนี้แน่นอนค่ะ

3.การเจาะกลุ่มขายสินค้าที่มาจากพม่าโดยเฉพาะ : การขายสินค้าจากพม่าที่ในไทยไม่มีขาย ณ.ปัจจุบัน มีคนเมียนมาเปิดเพจ ขายสินค้าเมียนมาที่ไม่ได้มีขายในไทยเพื่อเจาะตลาดแรงงานเมียนมาด้วยนะคะ

วิจัย IM Group : Implication 3 ช่วง ที่น่าสนใจแรงงานเมียนมา ซื้ออะไรกันบ้าง?

กลุ่มแรงงานเมียนมาที่เข้ามาทำงานในไทย แบ่งกลุ่มช่วงการทำงานออกเป็น 3 ช่วงค่ะ คือ ช่วงตั้งหลัก ช่วงตั้งตัว และช่วงตั้งใจ จากผลวิจัยนี้มีการสำรวจความต้องการของสินค้า และสื่อที่เข้าถึงกลุ่มลูกค้ากลุ่มนี้เอาไว้ด้วยค่ะ

1.ช่วงตั้งหลัก 

ช่วงนี้เป็นช่วงแรกเริ่มที่เเรงงานเมียนมาเข้ามาที่ไทย เป็นช่วงที่มากับความมุ่งมั่นที่จะมาหางานทำ มีความระมัดระวังในการใช้จ่ายเพราะยังพึ่งเริ่มทำงาน โดยแบ่งเป็น 2 ช่วงคือ

ช่วงเดินทางถึงประเทศไทย : สินค้าสินค้าที่ต้องการ คือซิมการ์ด —-> สื่อที่เข้าถึง คือ Billboard และRoadside media

ช่วงเริ่มต้นชีวิตในประเทศไทย : สินค้าสินค้าที่ต้องการ คือที่อยู่ เครื่องแต่งกาย ของใช้ส่วนตัว เครื่องสำอาง —-> 

สื่อที่เข้าถึง คือ

  • Facebook (หาข้อมูล)
  • Transit media (รถตู้, รถสองแถว)
  • Direct selling (นายหน้า)

2.ช่วงตั้งตัว

ช่วงนี้เป็นช่วงที่แรงงานเมียนมากำลังอยู่ในช่วงที่ทำงานหนัก เพื่อเก็บเงินและตั้งตัว ซึ่งจะแบ้งออกเป็น 2 ช่วง คือ

ช่วงทำงาน : สินค้าสินค้าที่ต้องการ คือใบอนุญาตทำงาน และบัญชีเงินฝาก

 —-> สื่อที่เข้าถึง คือ Direct selling (นายหน้า/โรงงาน) Word of mouth

ช่วงใช้ชีวิต : สินค้าสินค้าที่ต้องการ  คือ

  • เครื่องใช้ไฟฟ้า (หม้อหุงข้าว พัดลม)
  • ทรศัพท์ (4,000-13,000บาท)
  • เสื้อผ้าแฟชั่น สกินแคร์
  • สินค้าอุปโภคบริโภคทั่วไป
    “ทอง (16,000-80,000 บาท)

และสื่อที่เข้าถึงกลุ่มลูกค้ากลุ่มนี้นั่นก็คือ 

  • Facebook, YouTube, TikTok (ความบันเทิง)
  • Lazada, Facebook, Shopee, TikTok (ซื้อสินค้า)
  • Super market (point of sale marketing, demo station booth)
  • Billboard
  • Roadside media (LED, lollypop, magnum)
  • Transit media (taxi, bus, BTS)

Tips : คนเมียนมานิยมซื้อทอง เพราะสามารถใช้เป็นเครื่องประดับ และง่ายต่อการเก็บซ่อน

3. ช่วงตั้งใจ

ช่วงนี้เป็นช่วงที่เเรงงานเมียนมาทำงานในไทยมาได้สักระยะแล้วค่ะ เป็นช่วงที่การทำงานสุกงอมเต็มที่ และเป็นช่วงที่เริ่มวางแผนเพื่อกลับบ้านกันแล้ว และกลุ่มนี้แบ่งแรงงานเมียนมา ออกเป็น 2 แบบ คือ

ช่วงติดต่อครอบครัวที่บ้าน :  สินค้าสินค้าที่ต้องการ คือ ติดต่อครอบครัว, การส่งเงิน การโอนเงินข้ามประเทศ สื่อที่เข้าถึงกลุ่มลูกค้ากลุ่มนี้นั่นก็คือ Facebook, Messenger, Telegram และDirect selling (นายหน้า/โรงงาน) Word of mouth

ช่วงกลับบ้าน : สินค้าสินค้าที่ต้องการ คือ ยา  อาหารเสริม รังนก เครื่องแต่งกาย (เสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้า)  ของอุปโภค (สบู่ ผงซักฟอก) เครื่องใช้ไฟฟ้า (ทีวี หม้อหุงข้าว พัดลม) และ “ทอง (16,000-80,000 บาท)”

สิ่งที่น่าสนใจ คือในปัจจุบันมีแบรนด์ที่ทำการตลาดกับกลุ่มแรงงานเมียนมาอยู่ 2 แบรนด์ ที่เห็นอย่างชัดเจน คือ

1. ธุรกิจ Telco ขายซิมการ์ด : ซิมสีฟ้าที่ขายดี เพราะมี Call Center และทำเพจ ให้บริการโดยชาวเมียนมา

2. Bank : ธุรกิจแบงค์ สีเขียว ที่ทำการตลาดมีภาษาเมียนมา

แต่สินค้าอีกหนึ่งอย่างที่น่าสนใจมากนั่นก็คือ “ทองคำ” นั่นเองค่ะ คนเมียนมานิยมซื้อสะสมไว้เนื่องจากสามารถเก็บหรือซ่อนได้ และยังไม่มีแบรนด์ทองคำแบรนด์ไหนเลย ที่เข้ามาทำการตลาดนี้

จากสินค้า และความต้องการต่างกันในแต่ละช่วง ทำให้เรามองเห็นช่องทางการทำธุรกิจของแบรนด์ไทยได้อีกเยอะเลยนะคะ แล้วยิ่งถ้ายังไม่มีคู่แข่งไหนที่ลงมาเล่นตลาดนี้แบบจริง ๆ จัง ๆ เลย ก็ยิ่งเป็นผลดีกับการลงมือทำธุรกิจของแบรนด์เราก่อนคู่แข่ง สิ่งที่จะทำให้แบรนด์ไทยตีตลาดแรงงานพม่าได้ คือเราต้องมี “With True Understanding of Their Hardships, Provide Trust and Convenience” ค่ะ

How to มัดใจแรงงานพม่า

จับต้องได้ + เข้าถึงได้ +เข้าใจได้ + เชื่อถือได้

insights พม่ากับความพึงพอใจในชีวิตของตนเองในประเทศไทย

56% ของแรงงานเมียนมารู้สึกพึงพอใจในการใช้ชีวิตของตัวเอง ในประเทศไทยอยู่ในระดับปานกลาง เพราะไม่ได้รู้สึกยินดี ยินร้ายอะไร มาเพื่อการตั้งหน้าตั้งตาทำงานหาเงิน และเก็บเงินล้วน ๆ ค่ะ จึงไม่ได้มีความรู้สึกอะไรไปมากกว่าความรู้สึกระดับปานกลาง

แต่สิ่งที่น่ากังวล คือจุดนี้ต่างหากค่ะ 11% ของคนกลุ่มนี้รู้สึกไม่มีความสุข เพราะปัญหาด้านภาษา และสังคม รวมไปถึงการต่อใบอนุญาตทำงาน ก็ต้องยอมรับจริง ๆ ค่ะ ว่าในกลุ่มคนไทยบางกลุ่มยังไม่ได้ให้เกียรติกลุ่มคนกลุ่มนี้อย่างเท่าเทียมจริง ๆ

และรวมไปถึงแม้แต่คน เมียนมาด้วยกันก็มีปัญหาค่ะ เพราะประเทศพม่ามีกลุ่มชาติพันธุ์หลากหลายกลุ่มมากค่ะ เมื่อบังเอิญต้องมาเจอกัน ในที่ทำงานที่ประเทศไทยก็อาจเกิดความขัดแย้งทางความคิด และวิธีปฏิบัติได้ค่ะ เพราะมีปูมหลังที่ต่างกัน เนื่องจากต้องทำงานหาเงินเพื่อเก็บออม ทำให้ชีวิตในแต่ละวันมีแต่การทำงาน ไม่ได้มีการใช้ชีวิตในแบบที่ชอบ

การตลาด MI Group ได้อะไรจากการเปิดข้อมูล insights พม่า

1.เพื่อแนะนำโอกาสการทำตลาด ใหม่ ๆ ให้กันแบรนด์ และหมุนกลับมาสู่การเป็น Partner เพื่อช่วยทำการตลาด : การให้ข้อมูลสำหรับธุรกิจที่มีความต้องการอยากหากลุ่มลูกค้าใหม่ ๆ ให้กับสินค้า ที่ถือเป็น Core Product ที่ BRIDEG มี เพราะการเป็นที่ปรึกษาในการขยายตลาด หาน่านน้ำใหม่ ๆ ให้กับธุรกิจที่ต้องการทำตลาดกลุ่มนี้ก็จะต้องสนใจเลือกใช้บริการจาก BRIDEG แน่นอนเพราะ อย่าลืมนะคะว่า BRIDEG คือแบรนด์ลูกของ MI Group ที่เป็นเอเจนซี่ครบวงจร สามารถตอบสนองความต้องการในการทำงานสื่อสารได้ทุกรูปแบบ เหมือนคำที่ว่า เป็นผู้ให้ ก่อนเป็นผู้รับนั่นเองค่ะ

2.โชว์ศักยภาพของ BRIDEG ให้ลูกค้าได้เห็น : การสามารถมองเห็นกลุ่มลูกค้าใหม่ ๆ ได้อย่างรู้ลึก และรู้จริง จากข้อมูลทั้งหมดที่ทำงานสำรวจมา เพื่อเป็นการจูงใจให้ลูกค้าที่สนใจ เกิดการตัดสินใจจ้างเมื่อต้องการทำการตลาดทั้งในกลุ่มแรงงานเมียนมา หรือ Target กลุ่มอื่น ๆ ก็ต้องนึกถึง BRIDEG เพราะข้อมูลสำรวจนี้ทาง BRIDEG เป็นผู้เปิดเผยข้อมูลให้ นั่นก็หมายความว่าทีมนี้จะต้องมีความเชี่ยวชาญสูงมากอยู่แล้วเพราะมีข้อมูล Insight ของลูกค้าอยู่ในมือ และทำให้ลูกค้าเกิดความเชื่อถือว่า หากมีการจ้าง BRIDEG ให้ทำงานก็จะต้องได้รับงาน และข้อมูลที่ละเอียดเช่นนี้ กลับไปทำงานกันต่อได้ง่าย ๆ เลยค่ะ

สรุปข้อคิดที่ชาว Marketer ได้รับมากกว่าข้อมูล Research consumer insights จากบทความนี้ คือ

สำหรับการทำธุรกิจในยุคนี้การหวังตกปลาในบ่อ ๆ เดิม คงทำไม่ได้อีกต่อไปแล้ว เพราะมีผู้เเข่งขันเยอะมาก เราต้องเอาตัวรอดด้วยการพยายามหาพื้นที่ใหม่ให้กับธุรกิจ และการหาที่ปรึกษาที่มีคุณภาพ และมีประสบการณ์ก็จะยิ่งช่วยทำให้ แบรนด์สามารถโฟกัสลูกค้าได้อย่างตรงจุด และยังสามารถเข้าใจ Insight ของลูกค้าได้อย่างละเอียดเพื่อการทำงานที่ไม่มองข้ามความสัมพันธ์บางอย่างที่เป็นโอกาสทางธุรกิจอีกด้วย

อ่านบทความเกี่ยวกับการตลาดเพิ่มเติม คลิกที่ลิ้งค์นี้ได้เลยค่ะเพจการตลาดวันละตอนเว็บไซต์TwitterInstagramYouTube และBlockdit ของการตลาดวันละตอนค่ะ

Chulee.

นักพัฒนาผลิตภัณฑ์และสื่อสารการตลาด / นักเขียนบทความการตลาด ชอบงานศิลปะ งานครีเอท ไอเดีย เจ๋ง ๆ จึ้ง ๆ! น้องใหม่ทีมการตลาดวันละตอน ฝากผลงานด้วยนะคะ :) ♥รักเวลา... เวลามีค่ามากที่สุด⏰

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *