ถอดรหัสข้อสงสัย โฆษณาเสียง ASMR ส่งผลต่อการรับรู้ของผู้บริโภคได้จริงหรือ?

ถอดรหัสข้อสงสัย โฆษณาเสียง ASMR ส่งผลต่อการรับรู้ของผู้บริโภคได้จริงหรือ?

การสื่อสารการตลาดในยุคปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงจากในอดีตเป็นอย่างมาก เนื่องมาจากสภาพการแข่งขันทางการตลาดที่รุนแรงในขณะนี้ จึงทำให้นักการตลาดจะต้องมีการนำกลยุทธ์ที่จะต้องทำให้ผู้บริโภคเกิดการรับรู้ได้ง่าย ซึ่งการทำการตลาดให้กับแบรนด์ที่อยู่ในรูปแบบการทำสื่อโฆษณา หรือการประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางต่างๆ นับว่าเป็นกลยุทธ์หลักในการทำให้ผู้บริโภครู้จักแบรนด์ อย่างไรก็ตาม ได้มีการค้นพบเทรนด์หนึ่งขึ้นมา เป็นที่น่าจับตามองในขณะนี้อย่างมาก นั่นคือเทรนด์การใช้เสียง ASMR ในงานโฆษณา

ASMR ย่อมาจาก Autonomous Sensory Meridian Response

เสียง ASMR ย่อมาจาก Autonomous Sensory Meridian Response คือการตอบสนองการรับรู้ของระบบประสาทและความรู้สึกโดยอัตโนมัติ จนทำให้เกิดการแสดงอารมณ์ออกมา ซึ่งเป็นความรู้สึกเชิงบวก ชวนให้รู้สึกเสียวซ่านไปทั่วผิวหนัง ในขณะนี้เห็นว่ามีแคมเปญการตลาดมากมายได้นำเสียง ASMR มาใช้ในงานโฆษณาหลายชิ้น ไม่ว่าจะเป็น KFC, McDonald, Systema รวมถึงแบรนด์ดังอย่าง IKEA ที่มีการใช้เสียง ASMR ในการทำแคมเปญการตลาด

เราสามารถพบคลิปเสียง ASMR ในรูปแบบต่างๆ มากมายบน YouTube ที่บรรดาเหล่า blogger ได้มีการทำคลิปวิดิโอเสียง ASMR ขึ้นมาอยู่ในรูปแบบที่แปลกใหม่และน่าสนใจ จนทำให้มียอดการเข้าชมคลิปวิดิโอประเภทนี้รวมแล้วกว่าพันล้านวิว ซึ่งคลิปวิดิโอในลักษณะดังกล่าวมักมีการใช้เสียงกระซิบที่พูดใส่ไมโครโฟน การใช้การเคาะ แตะ ลูบ จับ หรือ สัมผัสสิ่งของ ที่ทำให้ผู้ชมรู้สึกเสียวซ่าน การใช้เสียงบรรยากาศที่ทำให้ผู้ชมมีความรู้สึกผ่อนคลาย หรือการใช้เสียงกิน เคี้ยว ที่ทำให้ผู้ชมเกิดความรู้สึกหิวและอยากกินตามไปด้วย

เราจึงได้มีการยกตัวอย่างสื่อโฆษณาทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ ที่ได้มีการนำเสียง ASMR มาประยุกต์ใช้ให้กับแบรนด์ มาดูกันเลยว่า มีแบรนด์อะไรบ้างที่มีการนำเสียง ASMR มาประยุกต์ใช้ในการทำการตลาดให้กับแบรนด์บ้างแล้ว

research ASMR Marketing thai SWU 2020

ปี 2560 ที่ผ่านมา แบรนด์ยักษ์ใหญ่ชื่อดังอย่าง IKEA ได้ผลิตคลิปวิดิโอเสียง ASMR ขึ้นมา โดยมีความยาวประมาณ 25 นาที ที่มีการรวมรวบผลิตภัณฑ์เฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งห้องต่างๆ นำมาเคาะ แตะ ลูบ จับ สัมผัส อาทิ การตบเบาๆ ลงบนหมอน การจัดเรียงไม้แขวนเสื้อในตู้เสื้อผ้า หรือการใช้เสียงกระซิบอย่างนุ่มนวลในการบรรยายสิ่งของตลอดทั้งคลิป

ทำให้บรรดานักการตลาดมีความเห็นว่า “เสียง ASMR คือ การยกระดับแผนการตลาด ที่ทำให้ผู้ชมตั้งใจฟังโฆษณาที่มีความยาว 25 นาที ซึ่งถือเป็นสิ่งที่ประสบความสำเร็จต่อแบรนด์เป็นอย่างมาก”

นอกจากนี้ ผู้จัดการฝ่ายการสื่อสารของ IKEA มีการเปิดเผยอีกว่า ระหว่างที่ได้มีการปล่อยโฆษณาไวรัล ASMR ตัวนี้ออกไป ส่งผลให้ยอดขายเพิ่มขึ้น ร้อยละ 4.5 ในร้านค้า และ ร้อยละ 5.1 ในออนไลน์

เบียร์ Michelob ได้มีการทำโฆษณาเสียง ASMR ในรูปแบบใหม่ มีการใช้นักแสดงหญิง Zoe Kravitz มาพูดเสียงกระซิบใส่ไมโครโฟน และใช้ขวดเบียร์ในการสร้างเสียง ASMR ต่างๆ ตั้งแต่การใช้เล็บเคาะขวด ไปจนถึงเสียงรินเบียร์ลงในแก้ว รวมถึงการใช้เสียงธรรมชาติเพื่อทำให้ผู้บริโภครู้สึกผ่อนคลายและให้ความรู้สึกสดชื่นเหมือนกับได้ดื่มเบียร์ท่ามกลางธรรมชาติจริงๆ นับเป็นสิ่งตอกย้ำจุดยืนของแบรนด์ที่ว่า “ฟังเสียงความบริสุทธิ์ของ Michelob Ultra”

ทางฝั่งไทยก็ไม่แพ้กัน เมื่อแบรนด์ SYSTEMA ได้มีการจับเทรนด์เสียง ASMR ที่กำลังฮิตอยู่ในขณะนี้มาประกอบในโฆษณา นับเป็นครั้งแรกของประเทศไทย ที่มีการสร้างสรรค์โฆษณาสุดล้ำแบบนี้ โดยมีการนำนักแสดงชายที่มีชื่อเสียงและเป็นที่ชื่นชอบของกลุ่มวัยรุ่น นั่นคือ เจมี่เจมส์ หรือ เจมส์-ธีรดนย์ ในการเล่าผลิตภัณฑ์ด้วยเสียงกระซิบ และใช้เสียงเคาะ แตะ ลูบ จับ สีมผัส แปรงสีฟัน ให้เกิดเสียง ที่ทำให้ผู้ชมเกิดความรู้สึกเซียวซ่าน จักจี้ และชวนขนลุกไปทั้งตัว นับเป็นการทำโฆษณาในรูปแบบใหม่ที่หลุดจากกรอบแนวคิดเดิมๆ ทำให้เหล่าบรรดาวัยรุ่น ต้องหาหูฟังมานั่งฟังจนจบคลิป แทนที่จะกด skip ข้ามโฆษณานี้ไป

ในส่วนแบรนด์ Night Night ก็ไม่แพ้กัน ได้มีการทำผลงาน “แม่นาก เวอร์ชั่นดูแล้วหลับ” และ “ฉลาดเกมส์โกง เวอร์ชั่นดูแล้วหลับ” ที่ได้นำเทคนิคการใช้เสียง ASMR มาใช้ในงานโฆษณา มีการสร้างสรรค์ออกมาได้อย่างน่าสนใจ เนื่องจากเป็นการตัดภาพและเสียงแบบวนซ้ำไปซ้ำมา  ซึ่งแนวคิดหลักในการดำเนินเรื่องนี้นั้น คือการทำให้ผู้ชมเกิดความรู้สึกผ่อนคลายร่วมไปด้วย

อีกทั้งยังมีแบรนด์ลูกอม Hall ที่มีการใช้เสียง ASMR กับผลงานครั้งแรก ที่มีการนำเสียงกิน เคี้ยวแบบ ASMR  มาครีเอทเป็นเสียงดนตรี โดยได้ร่วมมือกับ BILLbilly01 ตัวพ่อแห่งวงการ Composer ที่ใช้เสียง ฉีก กัด เคี้ยว อม กลืน Halls Chews มาสร้างเป็นจังหวะ และดนตรีสุดมันส์

นอกจากนี้ยังมีอีกหลากหลายแบรนด์ดังทั้งฝั่งยุโรป และฝั่งเอเชีย ที่มีการนำเสียง ASMR มาทำเป็น ASMR Marketing ได้แก่ Apple, KFC, McDonald, รถยนต์ Renault Zoe, น้ำยาล้างมือ Safeguard, สีทาบ้าน Behr, เครื่องสำอางค์ Innisfree, เครื่องสำอางค์ Nature Republic, สกินเเคร์ Lapothicell, ครีมกำจัดขน LYNX, รองเท้า Skono, ช็อคโกแลต Dove, กาแฟ Lapothicell Espresso, กาแฟ Paulig และขนมเเครเกอร์ Ritz

หลายแบรนด์ได้นำเสียง ASMR มาใช้ในการทำโฆษณา ซึ่งดูเป็นวิธีที่ประหลาด และอาจจะยังมีหลายคนที่ไม่เข้าใจ ทำให้เกิดข้อสงสัยว่าการทำโฆษณาที่ใช้เสียง ASMR ส่งผลต่อการรับรู้ของผู้บริโภคได้จริงหรือ ? แล้วจะมีงานวิจัยใดหรือแหล่งข้อมูลใดบ้างที่สามารถเป็นสิ่งพิสูจน์ให้กับข้อสงสัยนี้

research ASMR Marketing thai SWU 2020

ในขณะนี้ได้มีงานวิจัยจากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม สาขาการสื่อสารเพื่อการจัดการนวัตกรรม ได้ศึกษาเกี่ยวกับ “การประยุกต์ใช้เสียง ASMR ในงานโฆษณา เพื่อสร้างการรับรู้ของผู้บริโภค” โดยเป็นการวิจัยเชิงทดลองกับกลุ่มคนที่มีช่วงอายุระหว่าง 15-30 ปี จำนวน 40 คน และกลุ่มคนที่มีช่วงอายุ 40 ปีขึ้นไป จำนวน 40 คน รวมทั้งสิ้นเป็นจำนวน 80 คน ในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ผลการทดลองพบว่า การนำ ASMR มาประยุกต์ใช้ในงานโฆษณาสามารถทำให้ผู้ชม จดจำแบรนด์ได้มากกว่าร้อยละ80

ซึ่งในส่วนของความรู้สึกพบว่า เสียง ASMR ในงานโฆษณายังช่วยให้ผู้ชมเกิดความรู้สึกเพลิดเพลิน มากที่สุดในขณะรับชมโฆษณา อีกทั้งข้อดีอีกอย่างที่คาดไม่ถึงนั่นก็คือ เสียง ASMR สามารถเข้าถึงได้กับคนทุกรุ่นทุกวัย เพราะจากผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า การรับรู้เสียง ASMR ของกลุ่มคนในแต่ละช่วงอายุที่ต่างกัน ไม่ได้มีความแตกต่างกัน

research ASMR Marketing thai SWU 2020

สรุปได้ว่า ASMR Marketing ถือเป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ใหม่ทางการตลาดที่น่าสนใจ และมีความแปลกใหม่มากทีเดียว

แต่ทั้งนี้ ในการผลิตสื่อโฆษณา ก็ยังจำเป็นต้องอาศัยความคิดสร้างสรรค์ เพื่อช่วยทำให้การทำการสื่อสารการตลาดของแบรนด์ มีประสิทธิภาพมากขึ้น และยังสามารถช่วยเพิ่มยอดขายให้กับแบรนด์ได้มากยิ่งขึ้น

เสียง ASMR จึงกลายเป็นสิ่งที่มาพร้อมกับเสียงและความรู้สึก ซึ่งเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่หลายแบรนด์ควรเริ่มหันมาสนใจในการผลิตสื่อโฆษณาเพื่อสร้างการรับ รู้และสร้างการจดจำต่อตราสินค้าเหล่านั้นให้กับผู้บริโภค

อ่านบทความที่เกี่ยวกับ ASMR Marketing โดยการตลาดวันละตอนต่อ > https://www.everydaymarketing.co/?s=asmr

Nattapon Muangtum

เจ้าของเพจการตลาดวันละตอน / อาจารย์พิเศษวิชา Data-Driven Communication / เขียนหนังสือมาแล้ว 5 เล่ม Personalized Marketing, Data-Driven Marketing, Data Thinking, Contextual Marketing และ Social Listening / ที่ปรึกษา Data-Driven Advisor

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

ใช้ Social Listening บ้างไม่ ?

#การตลาดวันละโพล ขอหนึ่งคำถาม ว่าปกติใช้ Social Listening บ้างหรือไม่ แล้วถ้าใช้ ใช้ตัวไหนอยู่