สรุป App Trends ส่งท้ายปี 2021 รับ 2022 ประเทศไทยและ APAC จาก Adjust

สรุป App Trends ส่งท้ายปี 2021 รับ 2022 ประเทศไทยและ APAC จาก Adjust

สรุป App Trends 2021 รายงานเทรนด์การใช้แอปของคนไทยและ APAC ตลอดปีที่ผ่านมาเพื่อเตรียมพร้อมรับปรับกลยุทธ์ Mobile App Strategy 2022 กันว่าเราจะต้องทำการตลาดอย่างไรเพื่อให้มีคนหันมาใช้งานแอปเราเยอะๆ ครับ

เราจะเห็นได้ว่าในช่วงปี 2020 ที่ผ่านมานั้นทำให้พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนไปอย่างมาก เนื่องจากสถานการณ์ของโรคระบาดและการล็อกดาวน์ ทำให้คนต้องหันมาพึ่งพาเทคโนโลยีในการอำนวยความสะดวก และติดต่อสื่อสารกันในชีวิตประจำวันมากขึ้น ทั้งในเรื่องการศึกษา การทำงาน การช้อปปิ้ง การสั่งอาหาร หรือแม้กระทั่งเป็นแหล่งรวมความบันเทิง จนทำให้สถิติการใช้โทรศัพท์ รวมถึงตัวเลขการดาวน์โหลดแอปพลิเคชันนั้นพุ่งสูงขึ้นเช่นกัน

วันนี้แบมจะมาเจาะลึกกันในเรื่องของข้อมูลต่างๆ รวมถึงข้อมูลเชิงลึกในอุตสาหกรรมแอปพลิเคชันจาก Report สรุปเทรนด์แอปฯ บนมือถือปี 2021 สำหรับตลาด APAC ของบริษัท Adjust [สามารถดาวโหลด e-book ฉบับเต็มได้ที่นี่]  ที่ได้ข้อมูลมาจากแอปชันนําของ Adjust ซึ่งมีฐานอยูใน APAC และชุดข้อมูลทั้งหมดจากทุกๆ แอปที่ติดตามโดย Adjust ซึ่งเป็นข้อมูลที่มาจากประเทศอินเดีย, อินโดนิเซีย, ญี่ปุ่น, มาเลเซีย, เมียนมาร์, ฟิลิปปินส์, สิงคโปร์, เกาหลีใต้, ไต้หวัน, ไทย และเวียดนาม ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2019 – 31 กรกฏาคม 2021

โดยพุ่งเป้าไปในกลุ่มฟินเทค, อีคอมเมิร์ช และเกมมิ่ง เป็นหลัก เพื่อให้นักการตลาดสามารถเข้าใจเทรนด์ของผู้ใช้งาน และนำไปวางแผนการตลาดต่อได้ง่ายขึ้น

เทรนด์และแนวโน้มการเติบโตของแอปพลิเคชันในภูมิภาค APAC

สำหรับแนวโน้มการเติบโตในปี 2020 จากทั่วโลกนั้นเรียกได้ว่าไม่มีใครสู้ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก หรือ  APAC ได้เลย โดยผลสำรวจจาก business of apps พบว่า 64% ของการดาวน์โหลดแอปมือถือทั่วโลกนั้นอยู่ในภูมิภาค APAC และ 60% ของรายได้จากเกมบนมือถือก็มาจากฝั่ง APAC ด้วยเช่นกัน เมื่อตัวเลขออกมาเป็นเอกฉันท์อย่างนี้ ทำให้มีการคาดการกันว่าการเติบโตของตลาดแอปพลิเคชันมือถือในช่วงตั้งแต่ปี 2020 ไปจนถึงปี 2024 นั้นจะมาจากภูมิภาค APAC ถึง 45% เลยทีเดียว

และถ้าหากลองมาเจาะดูตาม 3 กลุ่มหลักที่เราบอกไว้จะพบว่า

กลุ่มฟินเทค

ในช่วงปี 2020 ที่ผ่านมา แม้จะต้องเจอกับวิกฤติโรคระบาด แต่ธุรกิจในกลุ่มฟินเทคก็ยังสามารถดึงเม็ดเงินจากการเจรจาทางธุรกิจได้ถึง 11,600 ล้านดอลลาร์ เลยทีเดียว

กลุ่มเกมมิ่ง

และก็ด้วยผลพวงจากวิกฤติ Covid-19 อีกนั่นแหละที่ทำให้ในปี 2021 นั้นมีจำนวนเหล่าเกมเมอร์มือถือหน้าใหม่ในฝั่ง APAC เพิ่มขึ้นถึง 250 ล้านราย

กลุ่มอีคอมเมิร์ช

ส่วนการขายในฝั่งของอีคอมเมิร์ชนั้นก็ได้มีการคาดการณ์กันว่าจะสามารถเติบโตได้อีกเกือบเท่าตัว และมีมูลค่าถึงสองล้านล้านดอลลาร์ ในปี 2025 เนื่องจากแนวโน้มพฤติกรรมของผู้บริโภคที่นิยมซื้อของออนไลน์ เพื่อรักษาระยะห่าง และป้องกันความเสี่ยงในการติดเชื้อ 

การติดต้ัง ในแต่ละประเทศ vs ประเภทธุรกิจ

เราลองมาดูข้อมูลในการติดตั้งแอป หรือ Install App กันบ้างนะคะ ถ้าดูจากภาพรวมในทุกธุรกิจในทุกประเทศ จะเห็นว่าการ Install App ในปี 2020 เพิ่มขึ้นจากปี 2010 ถึง 31% แล้วถ้าดูจากกราฟก็จะสังเกตได้ว่าความเติบโตนี้มีขึ้นอย่างต่อเนื่องยาวไปถึงปี 2021 โดยมีการเติบโตแบบพุ่งพรวดขึ้นมาในช่วงครึ่งแรกของปี 2020 หรือช่วงเฟดแรกๆ ของการล็อกดาวน์นั่นเองค่ะ

ซึ่งในส่วนของภูมิภาค APAC นั้นมียอดการ Install App ที่เรียกได้ว่านำโด่งจากประเทศอื่นๆ ไปหลายช่วงตัว ซึ่งก็แสดงให้เห็นว่าการเติบโตของมือถือใน APAC นันแข็งแกร่งขนาดไหน 

ในขณะที่การเติบโตในหลายๆ ตลาดเริ่มชะลอตัวในปี 2021 (เทียบกับการล็อกดาวน์ช่วงแรก และผลการติดตั้งในปี 2020) สิงคโปร์และเวียดนามมีการเติบโตที่น่าประทับใจอย่างมากในปี 2021 โดยโตขึ้นถึง 49% และ 43% ในปีนี้ 

เมือแบ่งการเติบโตของการ Install App ในภูมิภาค APAC ตามประเภทธุรกิจ เราจะพบว่าฟินเทค, อีคอมเมิร์ช, เกมทังแนวไฮเปอร์แคชชวลและไม่ใ ช่แนวไฮเปอร์แคชชวล ก็ล้วนแล้วแต่สร้างผลงานได้อย่างโดดเด่นในปี 2020 และยังคงทําได้ดีต่อเนื่องในปี 2021 

โดยเกมแนวไฮเปอร์แคชชวลเติบโตมากที่สุดในทั้งสองช่วงเวลา คือ 66% และ 49% ตามมาด้วยฟินเทคที่ 36% และ 18% ตามมาด้วยอีคอมเมิร์ช 27% และ 8% ส่วนเกมที่ไม่ใช่แนวไฮเปอร์แคชชวลถึงแม้จะรั้งท้าย แต่ก็ยังมีผลงานที่ดีอยู่ที่ 23% และ 4% ตามลำดับ

ฟินเทค

งานนี้ฟินเทคได้ฟินสมชื่อ สืบเนื่องมาจากการที่ไม่ว่าใครก็ต่างหันมาใช้บริการธุรกรรมธนาคาร รวมทั้งการชําระเงินผ่านมือถือเพื่อลดการสัมผัสกันทั้งนั้น ทําให้แอปฟินเทคมีการติดตั้งเพิ่มขึ้นถึง 36% ในปี 2020 

โดยมีไทยและเวียดนามเป็นสองผู้นําที่มีอัตราการเติบโตอย่างโดดเด่น โดยไทยนั้นเพิ่มขึ้นถึง 100% และเวียดนาม 97% ตามมาด้วยสิงคโปร์ที 72%

อีคอมเมิร์ซ

มาดูกันที่การติดตั้งของอีคอมเมิร์ซกันบ้าง ผลออกมาว่าทั้งญีปุ่นและเกาหลีใต้ต่างก็ทําผลงานได้น่าประทับใจมากทีสุดในภูมิภาคนี้ โดยมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยในปี 2020 ของทั้งภูมิภาค APAC อยูที่ 27% เมื่อเทียบกับปี 2019 และที่ 8% จาก 2020 ถึงครึ่งแรกของปี 2021 แต่ญี่ปุ่นเติบโตสูงกว่าค่าเฉลี่ยอยู่นิหน่อยที 31% และ 9% 

ในขณะที่เกาหลีใต้มาเหนือเมฆในปี 2020 ที่ 45% และเติบโตอย่างต่อเนื่องในปี 2021 โดยเพิ่มขึ้น 2% ในครึ่งป

เกม

ในปี 2020 เกมทั้งแนวไฮเปอร์แคชชวลและแบบที่ไม่ใช่ไฮเปอร์แคชชวลต่างก็โตขึ้นจากเมื่อปี 2019 และยังมีแนวโน้มที่จะโตขึ้นเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่อง

ส่วนตลาดเกมมิ่งที่ยืนหนึ่งในปี 2020 คือเวียดนาม ที่มีอัตราการโตพุ่งขึ้นจากปี 2019 ถึง 37% ตามมาด้วยอินโดนิเซีย 34% และอินเดีย 33% ในปี 2021 นี้ ผู้นําในธุรกิจเกมมิ่งนี้ ได้แก่ สิงคโปร์ 80% เวียดนาม 51% และญีปุ่น 41%

มาดูในฝั่งเกมไฮเปอร์แคชชวล หรือเกมที่เล่นง่ายๆ มีกลไก หรือวิธีการเล่นที่ไม่ซับซ้อน และมีลูปของเกมที่สั้นกันบ้างว่าตลาดฝั่งนี้นั้นมีการเติบโตไปในทิศทางใดบ้าง

สำหรับตลาดเกมประเภทนี้นั้นกลับมีความแตกต่างจากฝั่งแคชชวลเล็กน้อยคือในปี 2020 สิงคโปร์นั้นมีอัตราการโตที่สุด ถึง 112% ตามมาด้วยอินโดนิเซีย 101% และไทย 74%

แต่มาในปี 2021 นี้ประเทศที่มีการโตมากที่สุดกลายเป็นอินโดนิเซีย 64% ตามมาด้วยอินเดีย 61%และไทย 56%

Paid vs. Organic 

ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2021 นั้นมีส่วนแบ่งของการติดตั้งแอปฯ ชําระเงินสูงที่สุด (0.24) มากกว่าไตรมาสไหนๆ

ในปี 2020 – เมื่อเรามาดูตัวเลขทั้งปี 2020 มาเทียบกัน จะเห็นว่าตัวเลขที่สูงที่สุดจะในอยู่ในช่วงไตรมาสที่ 4 โดยเกมแนวไฮเปอร์แคชชวลที่มีอัตราส่วนการชําระเงิน และออร์แกนิกสูงที่สุดในอัตราส่วนที่ 2.93

สำหรับอัตราการชําาระเงิน/ออร์แกนิกใน APAC นั้นถือว่าต่ำกว่าทั่วโลกค่อนข้างมาก (แม้ว่าความแตกต่างระหว่างประเภทธุรกิจจะมีความคล้ายกัน) โดยช่ว งที่สูงที่สุดในปี 2020 จะอยู่ที่ 0.45 ขณะที่การชอปปิงขึนไปสูงสุดที่ 0.85

ส่วนแบ่ง ของ Reattribution

ในปี2020 นั้นภาพรวมของจำนวน Reattribution จากทุกๆ การติดตั้งมีอัตรส่วนที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในทุกไตรมาสของปี2020 โดยเริ่มที่0.049 ก่อนจะไปจบท่ี 0.06 ในไตรมาสท่ี 4 ส่วนปี 2021 ในไตรมาสแรกของปีจะอยู่ท่ี 0.058 ซึ่งเท่ากันกับไตรมาสท่ี 3 ของปี 2020

ซึ่งอัตราส่วนของการ Reattribution ในภูมิภาค APAC นั้นถือได้ว่าตำกว่าค่าเฉลี่ยจากท่ัวโลกที่จะมีสัดส่วนอยู่ที่ระหว่าง 0.06 และ 0.077

แต่ถ้าหากเรามองไปท่ีประเภทธุรกิจประเภทอีคอมเมิร์ชและธนาคาร จะเห็นได้ว่ามีจํานวนการ Reattribution ที่ค่อนข้างสม่ำเสมอ ในขณะท่ีเกมแนวไฮเปอร์แคชชวลคือกลุ่มท่ีมีการ Reattribution ต่ำท่ีสุด 

Sessions and in-app patterns

เรามาดูในส่วนภาพรวมของเซสชันในภูมิภาค APAC กันบ้าง บอกเลยค่ะว่าสัดส่วนพุ่งเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดถึง 54% ซึ่งก็เป็นผลพวงมากจากช่วงล็อกดาวน์ที่ผู้คนใช้มือถือกันมากขึ้น 

มาในปี 2021 ก็ถือว่ายังไม้ได้เติบโตเปรี้ยงปร้างเท่าไหร่นัก เพราะ ณ เวลาที่เก็บข้อมูลนั้นมีสัดส่วนสูงกว่าค่าเฉลี่ยในปี 2020 อยู่แค่ 1% เอง แต่ก็ไม่แย่ค่ะ ถือว่ายังคงไปได้เรื่อยๆ 

จริงๆ แล้วถ้าดูตามกราฟจะเห็นว่าในสัปดาห์ที่สองของเดือนพฤษภาคมนั้นถือได้ว่าเป็นสัปดาห์ที่มีผลงานสูงสุดที่เคยมีมาของเซสชันในภูมิภาค APAC เลย

การเติบโตของเซสชันในประเทศต่างๆ

ลองเจาะลงมาดูให้ลึกขึ้นถึงการเติบโตของเซกชันในประเทศต่างๆ กันบ้าง จริงๆ แล้วการเติบโตของเซสชันในมุมนี้ตัวเลขอาจจะไม่ได้น่าประทับใจเท่าการเติบโตของการติดตั้งเท่าไหร่นัก ถึงแม้ว่าผลลัพธ์ที่ได้จะออกมาดีกว่าตอนช่วงเริ่มต้นก็ตาม

มาดูที่ในญี่ป่นกันก่อน ช่วงปี 2020 นั้น

เซสชันเติบโตอย่างรวดเร็วจากปี 2019 (101%) และยังคงเดินหน้าโตอย่างต่อเนื่องในปี 2021 โดยล่าสุดไปแตะที่ 16% แล้ว 

ส่วนทางเกาหลีใต้ในปี 2021 ก็โตขึ้น 19% ซึ่งมากกว่าปี 2020 ที่โตเพียง 14% 

ในขณะที่ในปี 2020 ประเทศสิงคโปร์นั้นโตเพียง 1% และกลับมาเร่งเครื่องเครื่องแรงแตะ 34% ในปีนี้

สำหรับเวียดนามเรียกได้ว่าเป็นประเทศเดียวในปี 2020 ที่นอกจากจะไม่โตแล้วยังลดลงถึง 9% เลยทีเดียว แต่อย่างไรก็ตาม ตอนนี้เราได้ก็เห็นตัวเลขที่การติดตั้งของเวียดนามที่ตรงกันข้ามกับปีที่แล้วโดยมีการเพิ่มขึ้น 12% ในปีนี้

การเติบโตของเซสชันในประเภทธุรกิจ

ดูการเติบโตของเซกชันแบบรายประเทศไปแล้ว เราลองมามองที่ประเภทธุรกิจต่างๆ กันบ้าง

ถ้าดูจากกราฟจะเห็นว่าธุรกิจประเภทฟินเทคและเกมแนวไฮเปอร์แคชชวลนั้นเรียกได้ว่าฮิตติดลมบนทีเดียวในปี 2020 โดยมีอัตราการโตถึง 110% และ 60% ตามลําดับ และยังคงเติบโตได้ดีต่อเนื่อง

 โดยในปี 2021 นี้ ฟินเทคมีอัตราการโต 45% และไฮเปอร์แคชชวล 5%

ส่วนธุรกิจประเภทอีคอมเมิร์ชและเกมที่ไม่ใช่แนวไฮเปอร์แคชชวลก็ทําได้ดีในปี 2020 เช่น เดียวกัน

โดยในปีนี้เรื่องของเซสชันก็ยังคงไต่ระดับขึ้นได้เรื่อยๆ แบบแรงไม่ตก

ฟินเทค

ในปี 2020 ฟินเทคนั้นถือได้ว่ามีผลงานยอดเยี่ยมที่สุดในภูมิภาค APAC โดยเกาหลีใต้และญี่ปุ่นมีอัตราการเติบโต

สูงถึง 123% และ 104% ตามลําดับ แน่นอนว่าความสําเร็จนี้ยังคงต่อเนื่องมาจนถึงปี 2021 ซึ่งพวกเขาก็ยังคงมีแนวโน้มที่จะเติบโตเรื่อยๆ ที่ 110% และ 43% ตามลําดับ 

แต่ประเทศที่มาแรงแซงทางโค้งประจำภูมิภาค APAC ในปี 2021 นี้ ก็เห็นจะเป็นสิงคโปร์, เวียดนาม และอินโดนิเซีย ตามลำดับ

อีคอมเมิร์ซ

เช่นเดียวกันกับการติดตัง เซสชันสําหรับอีคอมเมิร์ซในญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ใน APAC ก็มีผลงานที่ทําให้ยิ้มแก้มปริได้เช่นกัน โดยในญี่ปุ่นเซสชันนี้โตถึง 51% ในปี 2020 และในปี 2021 ก็โตไปแล้วกว่า 17%

ส่วนเกาหลีใต้มีอัตราการเติบโตอยู่ท่ี16% และ 5% 

เกม

ส่วนทางฝั่งเกมมิ่งใน APAC เกมแนวไฮเปอร์แคชชวลนั้นถือได้ว่ามีช่วงเวลาที่หอมหวานในปี 2020 ในทุกๆ ตลาด โดยมีการเติบโตอย่างโดดเด่นเลยทีเดียว โดยสิงคโปร์และญี่ปุ่นนั้นมีการเติบโตถึง 108% และ 99% ส่วนอินโดนีเซียตามมาที่ 84% และไทยอยู่ที่  52%

เมื่อเข้าสู่ปี 2021 ทุกตลาดยังคงเติบโตต่อเนื่อง โดยประเทศซึ่งโดดเด่นมาวินที่สุดในภูมิภาคนี้ก็คือไทย และสิงคโปร์ 21% 

สำหรับฝั่งตลาดเกมมิ่งที่ไม่ใช่ไฮเปอร์แคชชวล ญี่ปุ่นและอินโดนีเซียคือสองผู้นําในตลาดในช่วงปี 2020 โดยเติบโตอยู่ที่ 42% และ 26% ตามลําดับ ซึ่งเป็ นการเทียบจากปี 2019 

แต่มาในปี 2021 นี้ กลับกลายมาเป็นสิงคโปร์และเวียดนามที่ขึ้นแซงหน้ามีเซสชันเกมมิ่งที่ไม่ใช่แนวไฮเปอร์แคชชวลมากที่สุดไปซะอย่างนั้น

ความยาวเฉลี่ยของ Session 

สำหรับระยะเวลาหรือความยาวของเซสชันโดยเฉลี่ยนั้นเพิ่มขึ้นจาก 23.78 นาที ในปี 2019 เป็น 24.24 นาที ในปี 202 แต่ในไตรมาสแรกของปี 2021 นั้นมีการลดลงเล็กน้อยอยู่ที่ 22.78 นาที

ถ้าหากเปรียบเทียบระยะเวลาเซสชันในภูมิภาค APAC กับค่าเฉลี่ยทั่วโลก จะเห็นได้ว่าระยะเวลาของผู้ใช้ในภูมิภาคนี้นั้นมีค่าเฉลี่ยที่นานกว่าทั่วโลกพอสมควร 

Session ผู้ใช้งานต่อวัน

ไม่ใช่เพียงการติดตั้งและเซสชันที่เพิ่มขึ้นในปี 2020 เท่านั้น แต่ผู้ใช้งานเองก็มีการใช้งานด้านอื่นๆ มากขึ้นด้วย ทำให้การมีปฏิสัมพันธ์ในจํานวนเซสชันโดยเฉลียต่อวันมากขึ้นตลอดทั้งปี ไปแตะจุดสูงสุดในไตรมาสที่ 4

เซสชันของเกมมิ่งต่อผู้ใช้งานต่อวัน

ตัวเลขเกี่ยวกับเกมมิ่งกําลังเริ่มน่าสนใจ เพราะความแตกต่างระหว่างเกมที่ไม่ใช่แนวไฮเปอร์แคชชวลและไฮเปอร์แคชชวลนั้นยังคงเห็นได้ชัดเหมือนเดิม 

เวลาท่ีใช้งานในแอปฯ

ถ้าเราลองเปรียบเทียบไตรมาสที่ 4 ของปี 2020 กับไตรมาสแรกของปี 2021 เราจะเห็นว่าระยะเวลา in-app นั้นลดลงเล็กน้อย แต่จํานวนนาทีโดยเฉลี่ยยังคงสูงอยู่

ดังนั้นในปีนี้เราก็เลยคาดการณ์กันจากภาพรวมว่าสถานการณ์น่าจะคล้ายๆ กับปี 2020 ซึ่งมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่องตลอดทั้งปี และคิดว่าไตรมาสที 4 ของปี 2021 นั้นจะมีค่าเฉลี่ยที่สูงกว่าไตรมาส 4 ของปี 2020 ด้วย

Retention rates

ในส่วนอัตรา Retention ของภูมิภาค APAC นั้นยังมีความสม่ำเสมอตลอดปี 2020 แสดงให้เห็นว่าอุตสาหกรรมต่างๆ นั้นสามารถปรับตัวเข้ากับผู้ใช้งานจํานวนมากท่ีเข้ามาในช่วงล็อกดาวน์ได้ดี

เมื่อลองเจาะไตรมาสท่ี 4 เราจะเห็นถึงความแตกต่างระหว่างประเภทธุรกิจ โดย 

Retention ของธรกิจฟินเทคน้ันสูงเอามากๆ ในขณะท่ีเกมแนวไฮเปอร์แคชชวล ท่ีเล่นง่ายๆ และเน้น Snowballing กลับไม่ได้โดดเด่นอะไรเลย

โดยเกมท่ีไม่ใช่แนวไฮเปอร์แคชชวลมีผู้ใช้งานถึง 5.64% ในวันท่ี 30 แต่แนวไฮเปอร์แคชชวลมีเพียง 1.69% ของกลุ่มประชากร ส่วนฟินเทคยังคงรักษาอันดับไว้ได้ดีท่ี 7.14% และอีคอมเมิร์สนั้นมีอัตรา Retention อยู่ที่ 4.74%

พาร์ทเนอร์ในแอป

จํานวนของพาร์ทเนอร์ที่แอปทํางานด้วยนั้นจะแตกต่างกันออกไปในแต่ละประเภทธุรกิจ และค่อนข้างจะสอดคล้องกัน

ในแต่ละไตรมาส เช่นเกมแนวไฮเปอร์แคชชวลและทีไม่ใช่แนวไฮเปอร์แคชชวลนั้นมักจะทํางานกับพาร์ทเนอร์ในจํานวนมากกว่าค่าเฉลี่ย โดยมากที่สุดอยู่ที่ 9 ราย ในขณะที่ฟินเทคนั้นจะทำงานกับพาร์ทเนอร์โดยประมาณแค่ 2 ราย เป็นต้น

ในทุกประเภทธุรกิจในภูมิภาค APAC นั้น ถือว่ามีการทําางานร่วมกับพาร์ทเนอร์ในจํานวนทีน้อยกว่าค่าเฉลี่ยจากทั่วโลก

อยู่ประมาณหนึ่ง เช่น ฟินเทคใน APAC จะทํางานกับพาร์ทเนอร์ 2 ราย ส่วนฟินเทคทั่วโลกจะเฉลี่ยอยู่ที่ 3 ราย เป็นต้น ซึ่งตัวเลขนี้มันก็สามารถบ่งบอกได้ถึงศักยภาพของแอปใน APAC ด้วย เพราะถ้าเราทํางานร่วมกับพาร์ทเนอร์ในจํานวนที่มากขึ้น เราก็มีสิทธิที่จะหากลุ่มผู้ใช้งานหน้าใหม่ในอนาคตได้มากขึ้นด้วยเช่นกัน

สรุป 3 key take away 

1.ปี 2021 ตลาดแอปมือถือยังคงโตอย่างต่อเนื่อง

ในช่วงปี 2020 นั้นมีการติดตั้งแอปในฝั่ง APAC มากขึ้นกว่าปี 2019 ถึง 31% และยังคงมีแนวโน้มเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ในปี 2021 จะเห็นได้ว่าตลาดแอปมือถือนี้ได้รับประโยชน์และมีผู้ใช้งานเพิ่มสูงขึ้นในช่วงล็อกดาวน์ และยังสามารถดึงดูดผู้ใช้งานหน้าใหม่ให้เข้ามาได้เรื่อยๆ

2.ฟินเทคและไฮเปอร์แคชชวลเกม ยืนหนึ่งช่วยหนุนการเติบโต

สำหรับฟินเทคและเกมแนวไฮเปอร์แคชชวลนั้นมีส่วนช่วยในการคอยหนุนธุรกิจเกือบทุกประเภทในทุกประเทศให้เติบโตขึ้นในช่วงล็อกดาวน์ และยังมีศักยภาพมากพอที่จะช่วยให้ธุรกิจสามารถเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง

3.Retention Rate ยังคงเส้นคงวา

แม้ช่วงที่ผ่านมาจะเจอผลกระทบจาก Covid-19 บ้าง แต่ Retention Rate ก็ยังคงอยู่ในอัตราที่คงเส้นคงวา โดยในไตรมาสที่ 4 ของปี 2020 นั้นมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 5.68%

และนี่ก็เป็นบทสรุปในหัวข้อสำคัญๆ ของเทรนด์แอปมือถือในปี 2021 แบบเน้นเฉพาะภูมิภาค APAC ที่แบมได้สรุปมาให้ ซึ่งการที่นักการตลาดจะสามารถประสบความสำเร็จในตลาดแอปพลิเชันได้นั้น นอกจากจะต้องทำความเข้าใจความแตกต่างของธุรกิจแล้ว ยังจำเป็นต้องวิเคราะห์ข้อมูลของผู้ใช้งานอย่างรอบด้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องแอปที่ได้รับความนิยม ความคาดหวังในการใช้งาน. การใช้จ่ายในแอป ในหนึ่งวันเขากลับเข้ามาในแอปบ่อยแค่ไหน กลับมาในช่วงเวลาไหน หรือแม้แต่เมื่อไหร่ที่เขาจะหยุดใช้งาน 

การศึกษา Journey ของผู้ใช้งานอย่างละเอียด จะช่วยให้เราสามารถทดสอบและเพิ่มประสิทธิภาพของแคมเปญเพื่อผลลัพธ์ที่ดีขึ้นได้ด้วยนั่นเองค่ะ

ส่วนใครที่สนใจอยากได้ Full Report ของรายงาน App Trends 2021 ฉบับนี้เก็บไว้ไปอ่านเอง สามารถไป Download ไฟล์ PDF ได้ที่นี่เลยค่ะ >> Click

หรือถ้าใครสนใจเคสการตลาดเกี่ยวกับ Application ก็สามารถกดอ่านเพิ่มเดิมได้ที่นี่ 

Bambinun*

Content Creator แห่งการตลาดวันละตอน ที่หลงรักการเล่าเรื่องผ่านตัวหนังสือ พอๆ กับการกินของอร่อย และใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการเป็นทาสแมว

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *