3 บทเรียน Netflix กับการใช้ Big Data สร้างเป็นซีรีส์ดัง House of Cards

3 บทเรียน Netflix กับการใช้ Big Data สร้างเป็นซีรีส์ดัง House of Cards

House of Cards หนึ่งในซีรีส์ยอดนิยมของคนอเมริกันที่บางคนดูรวดเดียว 3 วันจบซีซันนั้นมาจากการที่ Netflix ใช้ Big Data ที่ผ่านการทำ Analytics มาอย่างดีจนถอดออกมาเป็น Insight คนดูที่แท้จริงที่นำไปสู่การลงทุนสร้างกว่า 100 ล้านดอลลาร์และกลายเป็นภาพยนต์ซีรีส์ดังที่โดนใจมหาชน วันนี้ผมจะมาเล่าให้คุณฟังว่า Netflix ใช้ Data-Driven Content อย่างไร และเราได้เรียนรู้เรื่อง Big Data แบบไหนบ้างจากซีรีส์เรื่องนี้ครับ

1. การลงทุนจะไม่เสี่ยงถ้าคุณใช้ Big Data เหมือนที่ Netflix ทำ

ถอดรหัสการใช้ Big Data Analytics ของ Netflix จนกลายมาเป็นภาพยนต์ซีรีส์ดัง House of Cards ที่ทำให้ Netflix กล้าลงทุนกว่า 100 ล้านดอลลาร์

บางคนอาจไม่รู้ว่าภาพยนต์ดังหรือซีรีส์ยอดนิยมในวันนี้นั้นมีการใช้ Big Data ที่ผ่านการทำ Data Analytics มากมาย อย่างซีรีส์ House of Cards ก็เหมือนกัน เพราะอย่างที่เราพอรู้กันว่า Netflix เป็นบริษัทที่ใช้ Data-Driven Business อย่างมาก เพราะบริษัทนี้ใช้ Data มหาศาลที่เกิดขึ้นจากลูกค้าหรือผู้ใช้งานมาปรับปรุงสินค้าและบริการให้มีประสิทธิภาพและถูกใจลูกค้ามากขึ้นทุกวัน ซึ่งเป้าหมายของ Netflix นั้นก็เรียบง่าย คือจะเอาคอนเทนต์หรือหนังภาพยนต์ซีรีส์ที่ถูกใจคุณมากที่สุดมาให้คุณได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำที่สุดได้อย่างไร

ในปี 2011 Netflix ทุ่มทุนครั้งใหญ่กว่า 100 ล้านเหรียญยิ่งกว่าบริษัทช่องทีวีไหนจะกล้าลงทุนกับการสร้างหนังซีรีส์เรื่อง House of Cards ที่กำกับโดย David Fincher และแสดงนำโดย Kevin Spacey สื่อภายนอกประโคมข่าวว่านี่คือการเสี่ยงครั้งใหญ่ที่สุดของวงการทีวีหรือผู้ผลิตรายการทีวีที่ไม่ใช่ภาพยนต์ฟอร์มยักษ์สำหรับฉายในโรงหนัง

และทาง Jonathan Friedland ที่เป็น CEO ของ Netflix เองก็ออกมาให้สัมภาษณ์อย่างมั่นใจว่า ที่เขากล้าทุ่มเงินลงทุนในการผลิตซีรีส์เรื่องเดียวเป็นเงินกว่า 100 ล้านเหรียญเป็นเพราะเขารู้จักลูกค้าของตัวเองเป็นอย่างดีว่าผู้ชมชอบดูอะไร ซึ่งนั่นก็คือหนังภาพยนต์ซีรีส์เรื่องใหม่ House of Cards ที่มั่นใจมากๆ ว่านี่คือสิ่งที่ลูกค้าของ Netflix ส่วนใหญ่จะต้องชอบซีรีส์เรื่องนี้อย่างแน่นอน

เพราะก่อนที่ Netflix จะตัดสินใจทุ่มเงินในการสร้างซีรีส์เรื่องเดียวกว่า 100 ล้านเหรียญได้ มีการวิเคราะห์ข้อมูลหรือทำ Data analytics อย่างหนักหน่วงว่าตกลงหนังแบบไหนกันแน่ที่คนส่วนใหญ่ชอบดูแต่ยังไม่มีในตลาด ที่จะทำให้การทุ่มลงทุนสร้างหนังเรื่องนี้ขึ้นมากลายเป็นข้อได้เปรียบของ Netflix ที่ค่ายหนังอื่นหรือช่องทีวีอื่นไม่มีคอนเทนต์แบบนี้แน่นอน

ถอดรหัสการใช้ Big Data Analytics ของ Netflix จนกลายมาเป็นภาพยนต์ซีรีส์ดัง House of Cards ที่ทำให้ Netflix กล้าลงทุนกว่า 100 ล้านดอลลาร์
  1. ลูกค้า Netflix ในอเมริกาจำนวนมากชอบซีรีส์เรื่อง House of Cards เวอร์ชั่นอังกฤษมากในตอนนั้น
  2. ภาพยนต์เรื่อง The Social Network ที่กำกับโดย David Fincher ก็มีกลุ่มผู้ชมที่ชื่นชอบเป็นจำนวนมาก
  3. กลุ่มคนที่ชอบดู House of Cards เวอร์ชั่นอังกฤษส่วนใหญ่ชอบดูหนังที่ Kevin Spacey แสดงนำ หรือไม่ก็ชอบดูภาพยนต์ที่ David Fincher กำกับควบคู่กัน

เห็นไหมครับความลงตัวของ 3 Insight สำคัญที่ได้จาก Data analytics ที่นำมาสู่การทุ่มลงทุนกว่า 100 ล้านดอลลาร์ในการสร้าง House of Cards เวอร์ชั่นอเมริกาที่แสดงนำโดย Kevin Spacy และกำกับโดย David Fincher แล้วผลลัพธ์ที่ได้ก็ดังเป็นพลุแตกจน Netflix ได้สมาชิกใหม่มากมายจากกระแสความดังพูดกันปากต่อปากของซีรีส์เรื่องนี้จนทำให้ไม่ต้องใช้งบการตลาดในการทำโฆษณาโปรโมตให้คนรู้จักแต่อย่างไร

เพราะเมื่อ Algorithm เบื้องหลังสามารถแนะนำหนังที่คุณน่าจะชอบบน Netflix ให้อย่างแม่นยำได้ กลายเป็นว่าแค่เอาคอนเทนต์ที่ใช่ไปขึ้นให้กับคนที่ชอบได้เห็น เพียงเท่านี้ก็ปังจนไม่รู้จะปังกว่านี้ได้อย่างไรครับ

2. Big Data คือสุดยอดอาวุธของทุกธุรกิจในยุค 5.0

ถอดรหัสการใช้ Big Data Analytics ของ Netflix จนกลายมาเป็นภาพยนต์ซีรีส์ดัง House of Cards ที่ทำให้ Netflix กล้าลงทุนกว่า 100 ล้านดอลลาร์

ใน Season 4 ของ House of Cards ตัวละครที่ชื่อ Frank Underwood ที่เป็นผู้นำในการต่อสู้ Will Conway ผู้ท้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดีจากพรรครีพับลิกัน ทั้งสองคนมีเป้าหมายร่วมกันสองอย่าง

  1. อย่างเป็นประธานาธิบดีคนถัดไป
  2. และใช้ Big Data เพื่อจะเอาชนะการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้น

ทีมของ Conway เลือกใช้ Data จาก Search engine ยอดนิยมในซีรีส์ที่มีชื่อว่า Pollyhop (เปรียบได้กับ Google ในชีวิตจริง) ในการเก็บข้อมูลออกมาวิเคราะห์และทำความเข้าใจว่าประชาชนหรือคนที่มีสิทธิ์มีเสียงในการเลือกตั้งครั้งถัดไปนั้นกำลังสนใจอะไร มีพฤติกรรมอย่างไร ชอบหรือไม่ชอบอะไร และแบ่งออกได้เป็นกี่กลุ่ม

จากนั้นทีมของ Comway ก็จะทำแคมเปญการตลาดหรือแคมเปญการสื่อสารออกไปยังคนแต่ละกลุ่มพฤติกรรมที่แตกต่างกัน ด้วยการเปลี่ยนผลลัพธ์การค้นหาใน Pollyhop (search engine ยอดนิยมในเรื่อง) ให้คนอ่านได้เห็นลิงก์เนื้อหาที่จะเปลี่ยนใจให้หันมาสนับสนุน Comway เพื่อเพิ่มโอกาสโหวตให้ชนะในการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้น

ส่วน Frank Underwood เองก็เลือกที่จะตอบโต้ด้วย Big Data เช่นกันเพราะเมื่อ Aidan MacAllan ทีมงานของ Frank Underwood ที่เป็น Data Scientist ก็ไปค้นพบว่ทาง Conway เลือกแทรกแซงการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นผ่านการปรับเปลี่ยนผลลัพธ์การค้นหาของ Search engine ยอดนิยม ทางฝั่งนี้เลยเลือกที่จะใช้เส้นสายกับหน่วยงานความมั่นคงแห่งชาติภายในหรือ NSA ที่การสกัดเอา Insight ที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งที่ได้มาจาก Data เพื่อจะได้เอามาชี้นำกับผู้มีสิทธิ์การเลือกตั้งเช่นกันครับ

จากทั้งของเคสนี้จะเห็นว่า Big Data นั้นทรงพลังมากและเช่นเดียวกันก็เป็นเครื่องมือที่อันตรายมาก เพราะ Data ทำให้เรารู้ Insight สำคัญว่ากลุ่มเป้าหมายอย่างผู้มีสิทธิ์มีเสียงในการเลือกตั้งนั้นต้องการอะไรกันแน่ แล้วเมื่อเรารู้ว่าผู้คนต้องการอะไร เราก็สามารถที่จะโน้มน้าวให้เขาทำตามที่เราต้องการได้ไม่ยาก หรือแม้แต่ละล้างสมองด้วยเนื้อหาข่าวสารที่ถูกปั้นแต่งขึ้นมาก็เป็นได้

Big Data และการทำ Data Analytics ก็เป็นเสมือนเครื่องมือมหัศจรรย์ที่ทำให้เราเข้าถึง Deep Insight ของมนุษย์จริงๆ ในแบบที่วิธีการทำ Research แบบเดิมไม่สามารถให้ได้ แต่เครื่องมือก็เป็นแค่เครื่องมือ จะเกิดคุณหรือโทษก็ล้วนขึ้นอยู่กับเจตนาของผู้ใช้เครื่องมือทั้งนั้นครับ

3. Big Data จะมีค่าก็ต่อเมื่อมันตอบคำถามได้ในเวลาที่มี

ถอดรหัสการใช้ Big Data Analytics ของ Netflix จนกลายมาเป็นภาพยนต์ซีรีส์ดัง House of Cards ที่ทำให้ Netflix กล้าลงทุนกว่า 100 ล้านดอลลาร์

ในซีซัน 4 ของซีรีส์ House of Cards จะมีการโชว์ให้เห็นความอัศจรรย์ของการใช้ Big Data ในแง่มุมต่างๆ แต่สิ่งสำคัญกว่าจากความมหัศจรรย์ที่ได้จากการวิเคราะห์ดาต้า ก็คือการที่ว่าเราสามารถได้คำตอบที่ต้องการในเวลาที่มีหรือเปล่า

ในตอนหนึ่งของซีรีส์นี้ที่เป็นตอนที่มีกลุ่มผู้ก่อการร้ายชื่อ ICO ที่จับตัวพลเมืองชาวอเมริกา 3 คนไปเป็นตัวประกันเพื่อต้องการต่อรองกับทางรัฐบาลสหรัฐอเมริกา

หลังจากกลุ่มผู้ก่อการร้าย ICO โทรเข้ามาทางทีมงานที่เกี่ยวข้องก็สามารถวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นได้ว่ากลุ่มผู้ก่อการร้ายและตัวประกันอยู่ในสหรัฐอเมริกาแน่นอน แต่ไม่รู้ว่าอยู่ตรงไหนในประเทศกันแน่ ทีมงานทุกคนพยายามหาทางคลี่คลายสถานการณ์ดังกล่าวแข่งกับเวลาที่มีอยู่อย่างจำกัด ทาง Aidan MacAllan ที่เป็น Data Scientist อัจฉริยะของทางการก็เข้ามาช่วยแก้ปัญหานี้ด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลของเสาสัญญาณโทรศัพท์ที่โทรเข้ามา เพื่อจะหาว่าตำแหน่งของเครื่องที่ใช้โทรเข้ามาต้นทางนั้นอยู่ตรงไหนกันแน่

แต่ด้วยปริมาณ Data ที่มีมากมายมหาศาลสวนทางกับเวลาที่มีอยู่อย่างจำกัด ทำให้ยากที่ Aidan MacAllen จะสามารถหาตำแหน่งของผู้ก่อการร้ายที่โทรเข้ามาได้ทันเวลา

ทางทีมงานคนอื่นๆ เลยได้รับมอบหมายให้ช่วยถ่วงหรือยื้อเวลากับผู้ก่อการร้ายไว้นานขึ้นอีกนิดเพื่อที่ Data Scientist คนนี้จะสามารถถอดรหัสจาก Data ได้ว่าตกลงแล้วผู้ก่อการร้ายที่โทรเข้ามานั้นอยู่ตรงไหนกันแน่ แต่เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลจนค้นพบตำแหน่งของผู้ก่อการร้ายที่โทรเข้ามา แต่เมื่อทีม FBI บุกเข้าไปก็พบว่าสายเกินไปเสียแล้ว

จะเห็นว่า Data สามารถตอบคำถามยากๆ ให้เราได้มากมา แต่ในขณะเดียวกันการทำ Data Analytics นั้นต้องใช้เวลา ยิ่งโจทย์ยากมากเท่าไหร่ก็ยิ่งต้องใช้เวลาเพิ่มขึ้นเท่านั้น ดังนั้นการวิเคราะห์ดาต้าให้ได้ซึ่ง Insight สำคัญหรือคำตอบที่ใช่นั้นจะมีค่าก็ต่อเมื่อมันสามารถตอบคำถามในเวลาที่มีได้ หากเราได้คำตอบที่ดีในตอนที่สายเกินไป คำตอนนั้นไม่ว่าจะดีแค่ไหนก็ไร้ค่าไปในทันที

การทำ Data Analytics ต้องวิเคระห์จากทรัพยากรกรที่มีนั่นก็คือประกอบด้วย คน เครื่องมือ และเวลา ถ้าเราไม่มีคนมากพอก็ต้องมีเวลานานพอ ถ้าเรามีเวลาน้อยไปก็ต้องไปเพิ่มเรื่องคนหรือเครื่องมือตัวช่วยเข้ามาแทนครับ

สรุป Data-Driven Content จาก Case study ของ Netflix ในการใช้ Big Data แล้วสร้างออกมาเป็นซีรีส์ House of Cards

จากความสำเร็จของหนังซีรีส์ House of Cards ก็จะทำให้เห็นว่าการลงทุนครั้งใหญ่กว่า 100 ล้านดอลลาร์ในแบบที่ไม่เคยมีช่องทีวีใดในอเมริกาเคยทำมาก่อนนั้นคนนอกล้วนมองว่าเสี่ยง แต่กับคนใน Netflix เองกลับไม่รู้สึกว่าเสี่ยง แต่เป็นการลงทุนครั้งใหญ่ที่ปลอดภัยและสมเหตุสมผลสุดๆ และด้วยการดำเนินการตัดสินใจลงทุนสร้างซีรีส์เรื่อง House of Cards ในเวลาที่เหมาะสม คือทำ Data Analytics แล้วเจอ Insight แล้วรีบหยิบเอามาใช้ทำงานในทันที ก็ทำให้ Netflix เกิดข้อได้เปรียบในการแข่งขันมหาศาลจนทำให้บรรดาบริษัทที่ใช้ Instinct หรือสัญญชาติญาณของผู้บริหารไม่สามารถแข่งขันได้อีกต่อไป

ทั้งหมดนี้จะเห็นว่า Big Data นำพามาซึ่ง Insight ที่แท้จริงที่จะนำมาสู่โอกาสใหม่ๆ เกินกว่ามนุษย์จะคิดค้นได้เพราะด้วยความจำกัดในการอ่านและวิเคราะห์ข้อมูลที่มีปริมาณมหาศาล ที่เคยพูดกันว่า Data is the new oil นั้นอาจจะเก่าเกินไป ในวันนี้ต้องพูดว่า Data is the new weapon หรือกลายเป็นอาวุธสำคัญของการทำธุรกิจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

สุดท้ายนี้ผมอยากจะบอกว่า Big Data ก็เป็นแค่เครื่องมือชนิดหนึ่ง เพียงแต่มันช่างทรงประสิทธิภาพมากๆ แต่ Data จะก่อให้เกิดผลดีหรือร้ายก็ขึ้นอยู่กับเจตนาหรือวัตถุประสงค์ของผู้ใช้ว่าตั้งใจจะใช้มันเพื่อทำให้โลกใบนี้ดีขึ้นหรือตั้งใจจะทำเพื่อให้สังคมแย่ลงเพื่อผลประโยชน์ของตัวเองครับ

และผมอยากจะถามว่าทิ้งท้ายว่า…วันนี้คุณเติม Data ให้ Netflix หรือยัง ถ้ายังก็ลองมาเปิด House of Cards Season 4 ดูไปพร้อมกันครับ

คลิปวิดีโออธิบายการทำ Big Data Analytics ของ Netflix จนกลายมาเป็นซีรีส์ดัง House of Cards

Source: https://bigwisdom.net/blog/2016/03/13/4-big-data-lessons-from-house-of-cards/

Nattapon Muangtum

เจ้าของเพจการตลาดวันละตอน / อาจารย์พิเศษวิชา Data-Driven Communication / เขียนหนังสือมาแล้ว 5 เล่ม Personalized Marketing, Data-Driven Marketing, Data Thinking, Contextual Marketing และ Social Listening / ที่ปรึกษา Data-Driven Advisor

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

ใช้ Social Listening บ้างไม่ ?

#การตลาดวันละโพล ขอหนึ่งคำถาม ว่าปกติใช้ Social Listening บ้างหรือไม่ แล้วถ้าใช้ ใช้ตัวไหนอยู่