NFT Marketing – Digital Scarcity Strategy กลยุทธ์การตลาดยุค Blockchain

NFT Marketing – Digital Scarcity Strategy กลยุทธ์การตลาดยุค Blockchain

NFT Marketing กับกลยุทธ์การตลาดแบบ Digital Scarcity Strategy ในยุค Blockchain ที่นักการตลาดจำเป็นต้องรู้

NFT คืออะไร? คำถามที่หลายคนยังสงสัยโดยเฉพาะนักการตลาดหลายคนยังคงข้องใจ ว่าเจ้าเทคโนโลยีใหม่ที่มีชื่อเต็มว่า Non-Fungible Token นี้จะเข้ามาปฏิวัติการตลาดและธุรกิจอย่างไรบ้าง การเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้จะเหมือนที่เคยเกิดขึ้นในยุคดิจิทัลหรือ Digital Disruption มากน้อยแค่ไหน (ส่วนตัวผมบอกเลยว่าหนักมากครับ)

วันนี้จะพาเพื่อนๆ นักการตลาดในการตลาดวันละตอนได้มาทำความรู้สึกเจ้า NFT กันอีกรอบกัน บอกเลยว่าเรากำลังก้าวเข้าสู่โลกยุคใหม่ที่ผมขอนิยามว่าเป็นยุค Decentrailized Disruption ที่มีพื้นฐานสำคัญคือเทคโนโลยี Blockchain ดังนั้นถ้าใครไม่อยากตกยุคนี้เหมือนที่เคยเกิดขึ้นในยุค Digitalization ก่อนหน้า ต้องรีบทำความเข้าใจและมองหาโอกาสใหม่ที่จะสร้าง New S Curve ให้กับธุรกิจหรือแบรนด์เราให้ทันครับ

กระแสเทรนด์ NFT มาแรงมากแม้จะเพิ่งเป็นที่รู้จักกันเมื่อไม่นานมานี้ (ต้นปีก่อน) และนี่เป็นสิ่งที่นักการตลาดต้องรู้ก่อนจะเริ่มลงทุนหรือกระโจนเข้าไปในโลก NFT เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีต่อธุรกิจ มากกว่าแค่เกาะกระแสแล้วได้ข่าว PR ไม่กี่ชิ้นกับเงินลงทุนมหาศาลครับ

ก่อนจะไปทำความเข้าใจ NFT for Marketing and Business เชิงลึก มาทำความเข้าใจก่อนว่า Fungible กับ Non-Fungible คืออะไร เพราะสิ่งนี้คือหัวใจสำคัญของ NFT

NFT คืออะไร ต่างจาก Cryptocurrency อย่างไร?

Photo: https://techonomy.com/next-land-grab-digital-nft-tutorial/

Fungible คือสิ่งที่สามารถทดแทนกันได้ ส่วน Non-Fungible คือสิ่งที่ไม่สามารถทดแทนกันได้(โดยง่าย) เช่น ถ้าผมยืมเงินคุณไปหนึ่งพันบาท แล้วผมนำเงินไปคืนคุณหนึ่งพันบาท คนส่วนใหญ่คงไม่สนใจว่าหนึ่งพันที่ได้คืนมานั้นเป็นแบงค์ใบเก่าหรือแบงค์ใบใหม่ จะเป็นใบที่สะอาดหรือสกปรก จะเป็นแบงค์พันหนึ่งใบ หรือเป็นเหรียญสิบร้อยเหรียญ ขอให้มูลค่ารวมเท่ากับหนึ่งพันบาทเดิมที่เคยยืมไป เท่านี้ก็โอเคแล้ว (ยกเว้นจะมีตกลงเรื่องดอกเบี้ยการกู้ยืมกันไว้นะครับ)

นี่คือภาพของ Fungible Tokens

ส่วน Non-Fungible คือสิ่งที่ไม่สามารถทดแทนกันได้(โดยง่าย) เช่น ถ้าผมขอยืมแมวคุณมาเล่นแล้วเกิดผมสะเพร่าทำแมวคุณตายโดยอุบัติเหตุบางอย่าง แล้วผมไปหาซื้อแมวที่มีสีเหมือนกันมากที่สุดจนอาจจะแยกด้วยตาไม่ออก เพื่อพยายามทดแทนแมวตัวเดิมที่คุณเคยเลี้ยงมากว่า 5 ปีให้ได้มากที่สุด แต่เชื่อว่าเจ้าของแมวส่วนใหญ่ก็ไม่มีทางโอเคหรือรับได้กับสิ่งที่ผมทำ หรือถ้าผมไปเที่ยวบ้านคุณแล้วขณะยืนดูภาพวาดงานศิลปะของศิลปินท่านหนึ่งที่คุณมีติดผนังบ้านไว้ แล้วผมบังเอิญยกแก้วกาแฟดื่มแล้วสำลักกาแฟจนมันกระจายเปื้อนเต็มงานศิลปะชิ้นนั้น ต่อให้ผมพยายามหาคนมาวาดภาพที่เหมือนกับภาพเดิมจนแยกไม่ออก ในความรู้สึกคุณก็คงไม่ยอมรับว่ามันคือผลงานศิลปะชิ้นเดิมที่คุณเคยเป็นเจ้าของใช่ไหมครับ

นั่นแหละครับนิยามความแตกต่างระหว่าง Fungible Tokens กับ Non-Fungible Tokens สิ่งที่ทดแทนกันได้ กับสิ่งที่ทดแทนกันไม่ได้

แล้วที่ผมวงเล็บไว้ว่ายากนั่นก็เพราะว่า ถ้าเราตกลงกันได้ว่าเราจะจ่ายคืนของสิ่งนี้ด้วยอะไร จะเป็นเงินจริง จะเป็นเงินคริปโท หรืออาจจะเป็นชิ้นงาน NFT อื่นที่คุณประเมินแล้วว่าทดแทนกันได้ มันก็สามารถแลกเปลี่ยนกันได้ในความรู้สึกเรา

ดังนั้นในวงเล็บว่า ทดแทนกัน(ได้ยาก) ของผมหมายถึงอย่างนี้นี่แหละครับ

แล้วด้วยความที่ข้อมูลเหล่านี้ถูกเก็บไว้บน Blockchain ทำให้มันสามารถติดตามสาวกลับไปยังต้นกำเนิด การถูกส่งต่อว่าใครเป็นผู้ครอบครองมันไว้บ้าง หรือถ้าไม่เปิดเผยว่าใครก็บอกรหัส Public Key ของ Wallet ที่ถือครองนั้น ส่วนเจ้าของจะเป็นใครนั้นก็แล้วแต่ว่าใครจะเป็นผู้เปิดเผยตัวตน

และด้วยคุณลักษณะพิเศษนี้เองที่ทำให้การถือครองไฟล์ดิจิทัลที่จากเดิมเคยถูกมองว่าไม่ค่อยมีค่าเพราะสามารถ copy paste ได้ไม่รู้จบ ส่งผลให้ยิ่งถูกคัดลอกไปมูลค่าผลงานต้นทางยิ่งลดลง แต่พอข้อมูลถูกเก็บไว้บน Blockchain ในรูปแบบ NFT ยิ่งทำให้ผลงานไหนที่ถูกคัดลอกไปเผยแพร่บนออนไลน์น่าจะกลับยิ่งมีมูลค่าเพิ่มขึ้น เพราะมันสะท้อนถึงความนิยมที่ผู้คนมีต่อผลงานชิ้นนั้น

เทรนด์การค้นหา NFT ในบ้านเรา เริ่มต้น Wave แรกช่วงปลายเดือน เมษายน ถึงต้น พฤษภาคม 2021 : https://trends.google.com/trends/explore?date=2021-01-01%202022-04-07&geo=TH&q=%2Fg%2F11g0g4sbp3

เล่าไปตั้งเยอะก็เพื่อให้เพื่อนๆ นักการตลาดได้เห็นภาพเข้าใจง่ายๆ ว่า NFT คืออะไร และทำงานอย่างไรบน Blockchain ซึ่งไม่น่าเชื่อว่าเจ้าสิ่งนี้ถูกพูดถึงครั้งแรกๆ เมื่อกลางปี 2021 แต่จริงๆ แล้วเรื่อง NFT เป็นที่สนใจพร้อมกันทั่วโลกในช่วงเดือน มีนาคม 2021 สะท้อนผ่านการดู Search Data ด้วย Google Trends 

แต่กลายเป็นว่าพอเข้าปี 2022 มานี้มันกลายเป็นเทรนด์ร้อนแรงที่ Hype สุดๆ ไม่ใช่แค่ในบ้านเรา แต่เป็นทั่วทั้งโลกพร้อมกันเลยทีเดียวครับ

สรุป NFT คืออะไร?

สรุปง่ายๆ ก่อนเลยว่า NFT กลายเป็นหัวข้อสำคัญที่นักการตลาดยุค Decentralized Disruption ต้องเรียนรู้ไว้ เพราะสิ่งนี้จะเข้ามายกระดับ Marketing ไปสู่ The Next Level อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ครับ

เมื่อเราพอจะเข้าใจว่าอะไรคือ NFT และอะไรที่เป็น Non-NFT แล้ว เราจะมาดูภาพรวมที่เกิดขึ้นของ NFT กันต่อนะครับว่า จุดเริ่มต้นเป็นอย่างไร และมีวิวัฒนาการอย่างไรจากวันแรกจนถีงวันนี้ครับ

จุดเริ่มต้นกระแส NFT จนถึงปัจจุบันนี้

Photo: https://www.reuters.com/technology/nft-sales-surge-107-bln-q3-crypto-asset-frenzy-hits-new-highs-2021-10-04/

ภายในระยะเวลาแค่ 12 เดือนที่ผ่านมาความนิยมหรือกระแสของ NFT ถือว่าดังกระฉูด พุ่งเป็นพลุแตกในระยะเวลาสั้นๆ พร้อมกันทั่วโลก เมื่อเดือนมกราคม 2022 ที่ผ่านมา ทาง Blockworks รายงานว่าตลาด NFT Marketplace ที่ใหญ่ที่สุดของโลกอย่าง OpenSea Polygon มีจำนวนผลงาน NFT งานวางขายมากกว่า 80 ล้านชิ้น จาก 2 ล้านคอลเลคชั่น และมีผู้ใช้งานกว่า 1.2 ล้านคน

Photo: https://www.reuters.com/technology/nft-sales-surge-107-bln-q3-crypto-asset-frenzy-hits-new-highs-2021-10-04/

จากรายงานของ Reuters บอกให้รู้ว่าในเว็บไซต์ NFT Marketplace ที่ชื่อว่า DappRadar มีการซื้อขายผลงาน NFT เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาลในช่วงระยะเวลาแค่ไตรมาสเดียว คือในไตรมาสที่ 2 ปี 2021 มีการซื้อขายผลงาน NFT เกิดขึ้นรวมเป็นมูลค่ากว่า 1,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และพอเข้าสู่ไตรมาสที่ 3 ของปีเดียวกันนั้น มูลค่าการซื้อขายรวมก็กระโดดไปเป็น 10,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เรียกได้ว่า to the moon เกือบ 10 เท่า ในระยะเวลาแค่ 3 เดือน

Photo: https://nftexplained.info/who-is-beeple-everything-about-the-digital-artist-nft-art/

และที่น่าสนใจไปกว่านั้นคือบริษัทประมูลชื่อดังอย่าง Christie’s ยังขายผลงานที่เป็น NFT Collection ของ Beeple ออกไปกว่า 5,000 รูปภาพที่เป็นดิจิทัลไฟล์ ทำเงินได้กว่า 2,300 ล้านบาท

และในขายผลงานผ่าน NFT ไม่ได้มีแค่งานศิลปะที่เป็นรูปภาพ ภาพวาด หรือภาพถ่ายเท่านั้น แต่ยังมีผลงานอื่นๆ ของบรรดาศิลปินไม่ว่าจะฝั่งดนตรี ฝั่ง Influencer คนดัง เรียกได้ว่าศิลปินทั้งหลายล้วนเข้ามาเรียนรู้ที่จะใช้เทคโนโลยีนี้ให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่ จากเดิมเคยถูก Digital Distupt รายได้ตัวเองมานาน ถึงเวลาแล้วพวกเขาจะเข้ามาทวงสิทธิ์ความเป็นเจ้าของผลงานที่แท้จริง ผ่านเทคโนโลยี NFT ที่เอาไว้ยืนยันความเป็นเจ้าของ แบบที่เขียนข้อมูลลงไปได้ แต่แก้ไขหรือลบไม่ได้ครับ

Steve Aoki เป็นศิลปินที่ออกมาประกาศว่าเขาสามารถทำเงินจาก NFT ได้มากกว่าที่เคยทำงานมาตลอด 10 ปีเสียอีก! ทั้งที่เทคโนโลยีนี้เป็นที่รู้จักแค่ประมาณหนึ่งปีนิดๆ เอง

Source: https://niftygateway.com/itemdetail/primary/0xbeccd9e4a80d4b7b642760275f60b62608d464f7/1

ตัวอย่างเช่นผลงาน NFT ชิ้นหนึ่งของ Steve Aoki ที่ชื่อว่า Hairy ถูกประมูลจบราคาที่ 888,888 ดอลลาร์

กลุ่มศิลปินที่ชื่อว่า Grimes ก็ได้เปิดตัว Music Video แบบ NFT ที่มีถึง 10 ผลงานในคอลเลคชั่นเดียวกันที่สามารถขายทำเงินได้ถึง 200 ล้านบาท ซึ่งขายหมดภายในระยะเวลาแค่ 20 นาทีเท่านั้นครับ!

ศิลปินด้านดนตรีเก่าแก่หลายคนหรือหลายวงก็เริ่มหันมาออกอับลั้มใหม่ที่เป็นอัลบั้มบน NFT ครั้งแรกกัน บ้างก็ถึงขนาดออกประมูล Golden ticket ตั๋วทองคำล้ำค่าขึ้นมาโดยประกาศว่าใครก็ตามที่ถือครอง NFT ตั๋วทองคำล้ำค่านี้จะได้รับสิทธิพิเศษในการเข้าถึงแถวหน้าติดขอบเวทีการแสดงของวงเขาตลอดชีพ รวมถึงจะได้รับสิทธิพบเจอและเที่ยวกับวงนี้แบบส่วนตัว พูดได้เต็มปากว่า NFT VIP จริงๆ

วงการเพลงผ่านไปลองมาดูการประยุกต์ใช้ NFT กับวงการ Influencer คนดังหรือดารากันบ้างครับ

และนี่ก็เป็นทิศทางของวงการเพลงกับศิลปินที่ประยุกต์ใช้ NFT ในแง่มุมต่างๆ ในตอนหน้าของบทความชุด NFT Marketing เราจะมาดูในแวดวงคนดัง Influencer และ Celebrity บ้างว่างเกิด Use Case หรือ Case Study การประยุกต์ใช้ NFT สร้าง New S Curve ใหม่ๆ ให้กับธุรกิจอย่างไรครับ

อ่านบทความที่เกี่ยวกับ NFT Marketing ในการตลาดวันละตอนต่อ > https://www.everydaymarketing.co/?s=nft

Source
https://blockworks.co/opensea-polygon-nft-sales-on-track-to-hit-2-2m-by-end-of-january/
https://decrypt.co/92938/steve-aokimore-money-nfts-decade-music
https://niftygateway.com/collections/warnymphvolume1

Nattapon Muangtum

เจ้าของเพจการตลาดวันละตอน / อาจารย์พิเศษวิชา Data-Driven Communication / เขียนหนังสือมาแล้ว 5 เล่ม Personalized Marketing, Data-Driven Marketing, Data Thinking, Contextual Marketing และ Social Listening / ที่ปรึกษา Data-Driven Advisor

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

คุณคิดว่าปัญหา PM 2.5 ที่เชียงใหม่วิกฤตหรือยัง ?

#การตลาดวันละโพล ขอหนึ่งคำถามก่อนอ่านการตลาดวันละตอน แล้วเราจะเอาไปทำเป็น Infographic โชว์หน้าเพจให้รู้ด้วยกัน