3 รูปแบบพฤติกรรม New Normal คนไทย หลังโควิดโดย Google

3 รูปแบบพฤติกรรม New Normal คนไทย หลังโควิดโดย Google

ล่าสุดบ่ายวันนี้ Google ได้จัด Conference เล่ารายงานถึง 3 รูปแบบ พฤติกรรม New Normal ของคนไทยที่เปลี่ยนไปหลัง COVID19 ที่น่าสนใจและเป็นประเด็นที่แบรนด์และธุรกิจควรหยิบไปพิจารณาว่า ธุรกิจคุณตอนนี้อยู่ในพฤติกรรมแบบไหนใน 3 รูปแบบนี้ค่ะ

Highlights: 3 รูปแบบพฤติกรรมคนไทยหลัง COVID

  • Start / Stop (เริ่มแล้วเลิก): หรือแนวโน้มพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปตาม Curve ความเข้มข้นของสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งในที่นี้ก็คือ สถานการณ์ COVID ค่ะ หรือพูดง่ายๆ ก็คือพฤติกรรมการเสิร์จที่เปลี่ยนไปพร้อมๆ กับสถานการณ์โควิดในบ้านเมือง เพราะฉะนั้นพฤติกรรมแบบนี้จึงเป็นพฤติกรรมชั่วคราว เกิดหรือดับลงกะทันหันตามโควิดนั่นเองค่ะ
  • Step – Change (เริ่มแล้วทำต่อไป): หรือแนวโน้มพฤติกรรมที่เกิดขึ้นมาแล้วในช่วงโควิดและจะอยู่ต่อไปยาวๆ แม้โควิดจะจบลงไปแล้วก็ตามค่ะ
  • Speed up (กระแสรองกลายเป็นกระแสหลัก): หรือแนวโน้มพฤติกรรมที่เคยมีอยู่ก่อนหน้าโควิดจะเกิดแล้ว แต่เพราะมีโควิดเข้ามาแบบไม่ตั้งตัว ทำให้กระแสนี้ที่เคยเป็นเพียงกระแสรองถูกเร่งยกระดับกลายเป็นกระแสหลัก

1. พฤติกรรมรูปแบบ Start / Stop (เริ่มแล้วเลิก)

Data จาก Google Trends ชี้ให้เห็นว่าสินค้าหรือบริการที่คนเสิร์จไปพร้อมๆ กับสถานการณ์โควิดอย่างเห็นได้ชัดเลยก็คือ สินค้าจำพวกความปลอดภัย ไม่ว่าจะเป็นแมสหน้ากากอนามัย แอลกอร์ฮอล์ล หรือเจลล้างมือก็ตาม ซึ่งหากดูในกราฟจะเป็นว่า กระแสของสินค้าทั้ง 3 ตัวนั้น ขึ้นๆ ลงๆ แบบสอดคล้องไปพร้อมๆ กับสถานการณ์โควิดที่ขึ้นๆ ลงๆ ด้วย

หากเปรียบกับ Maslow Hierachy of Needs สินค้ารูปแบบนี้ก็คือความต้องการขั้นล่างๆ ที่เป็น Foundation ของพื้นฐานชีวิตอย่าง Safety Needs ค่ะ

การมองหาสินค้าและบริการในหมวด Beauty นั้น มีการเสิร์จลดลง 5% ในขณะที่สินค้าหมวด Beauty ที่เป็นลักษณะแบบช่วยเหลือตัวเองหรือ DIY (Do It Yourself) ที่มีการค้นหาเพิ่มขึ้นถึง 2 เท่าเมื่อเทียบระหว่างเดือนกุมภาพันธ์และเดือนเมษายน 2020 ก็คงจะคล้ายๆ กับเวลาที่เราอยู่บ้านนานจนผมยาว ทนไม่ไหว ลองเปิดเน็ตดูวิธีการตัดผมเอง ซื้อแบตเตอร์เรี่ยนมาไถเองประมาณนี้ อย่างไรก็ตาม เทรนด์นี้มีแนวโน้มจะลดลงและจบไปตามกระแส และน่าจะกลับไปเหมือนช่วงก่อนโควิดเร็วๆ นี้ด้วยค่ะ

อีกสินค้านึงที่น่าสนใจมากๆ ที่ทาง Google ยกขึ้นมาให้เราเห็นภาพกับพฤติกรรมรูปแบบ Start / Stop เลยก็คือสินค้าอย่างครีมกันแดด ซึ่งเมื่อเทียบระหว่างปี 2018 และ 2019 จะเห็นว่ากราฟการค้นหาครีมกันแดดนั้นคงที่ต่อเนื่องมาโดยตลอด แถมยังพุ่งสูงมากๆ ในช่วงเดือนเมษายนทุกๆ ปีด้วย แต่พอเข้าช่วงปี 2020 กราฟก็เริ่มตกลงเป็นหลุมลงไป แม้ว่าจะเป็นช่วงพีค High season ของครีมกันแดดอย่างหน้าร้อน สงกรานต์บ้านเรา อย่างไรก็ตามพอสถานการณ์เริ่มดีขึ้นในช่วงพฤษภาคม 2020 กราฟการค้นหาก็ค่อยๆ กลับมาดีขึ้น เรียกได้ว่าแทบจะเทียบเท่ากับกับปี 2018 2019 ที่ไม่มีโควิดเลยค่ะ

กลุ่ม Retail: จากกราฟ Retail Mobility ของ Google แสดงให้เห็นว่าการเดินทางไปสถานที่ต่างๆ ของคนไทยนั้นดร้อปลงไปกว่า 40% ในช่วงเดือนเมษายนเมื่อเทียบกับ Baseline หรือค่าเฉลี่ยปกติ แต่พอสถานการณ์เริ่มกลับมาดี เริ่มมีการคลี่คลาย Lockdown ตามเฟสต่างๆ การเดินทางของคนไทยก็เริ่มกลับมาดีขึ้นๆ ตามลำดับ เกือบจะแตะค่าเฉลี่ยหรือ Baseline อีกครั้งแล้วค่ะ

หากเทียบเรทการเดินทางกับคนเกาหลี จะเห็นได้ว่าคนเกาหลีนั้นกักตัวอยู่บ้านน้อยกว่าคนไทยมาก และพอรัฐที่นู้นประกาศคลาย Lockdown คนก็เฮโลออกมากลับมาปกติทันที่ค่ะ

2. พฤติกรรมรูปแบบ Step – Change (เริ่มแล้วทำต่อไป)

หากดูในส่วนของพฤติกรรมรูปแบบเริ่มแล้วทำต่อไป สิ่งหนึ่งที่เราเห็นได้ชัดเจนเลยคือ การค้นหาเชิงเรียนรู้ค่ะ Data จาก YouTube เผยให้เห็นว่า คนไทยมีการเสิร์จเกี่ยวกับการ ‘เรียน’ เพิ่มขึ้น 2 เท่าในช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2020 ซึ่งการค้นหาในครั้งนี้ก็ไม่ได้กระจุกอยู่แค่เมืองหลักอย่างกรุ่งเทพฯ ด้วย แต่กลับสูงสุดในจังหวัดอุตรดิตถ์ ชัยนาท และหนองบัวลำภู โดยการเรียนออนไลน์ที่คนนิยมค้นหาก็คือ เรียนภาษาอังกฤษ เกาหลี และจีน

นอกเหนือจากนี้ ยังมีการค้นหาเรียนออนไลน์เพื่อเพิ่มทักษะสูงถึง 2,400% และการสอนออนไลน์เองก็มีการปรับตัวเข้าหาความต้องการคนเรียนสูงถึง 7 เท่า เมื่อเทียบระหว่างเดือนพฤษภาคมปี 2019 กับปี 2020 ค่ะ

กลุ่ม Groceries ของใช้ในบ้าน: ตัวอย่างที่สองของพฤติกรรมรูปแบบ Step – Change คือกลุ่มสินค้าของใช้ในบ้าน ที่คนไทยหันมาเสิร์จบนออนไลน์กันเพิ่มถึง 6 เท่าตั้งแต่เดือนมีนาคม 2020 เป็นต้นไป โดยกลุ่มจังหวัดที่ค้นหาร้านค้า Groceries เหล่านี้บนออนไลน์ยังคงเป็นกรุงเทพฯ และปริมณฑลเป็นหลัก ซึ่งอาจจะเป็นเพราะ Logistics ของบริการขนส่งออนไลน์เหล่านี้เข้าถึงได้ดีนั่นเองค่ะ

โดยกลุ่ม Hypermarket ก็คือกลุ่มร้านค้าใหญ่ๆ อย่าง Makro ส่วน Convenience Store ก็เช่น เซเว่น ที่ใกล้ตัวมากขึ้น

โดย Mobility Report ของ Google เปรียบเทียบประเทศเวียดนามกับไทย พบว่าเรทการเดินทางไปร้าน Groceries และร้านขายยานั้นกลับมาเท่ากับ Baseline หรือช่วงก่อนโควิดอย่างรวดเร็ว แม้ว่ารัฐยังไม่ได้ประกาศคลาย Lockdown ก็ตาม

3. พฤติกรรมรูปแบบ Speed up (กระแสรองกลายเป็นกระแสหลัก)

มาดูรูปแบบพฤติกรรมแบบที่มีอยู่แล้ว แต่ถูกสถานการณ์โควิดเร่งให้ยิ่งโตขึ้นไปอีกกันดีว่าค่ะ หนึ่งในนั้นก็คือ ธุรกิจแบรนด์ Food Delivery ที่มีการเติบโตแบบเร่ง Speed ถึง 4 เท่า โดยการค้นหาเกี่ยวกับ Food Delivery ก็ยังคงอยู่ในกรุงเทพฯ และหัวเมืองใหญ่เป็นหลัก เพราะมีบริการอำนวยมากกว่าเมืองเล็กๆ ค่ะ ซึ่งการใช้งาน Delivery แบบนี้มีแนวโน้มสูงมากที่เทรนด์จะยังอยู่กับเราต่อไปแม้โควิดจะจบลง

อีกอย่างนึงก็คือ เทรนด์การทำอาหารที่พุ่งขึ้น 2 เท่าบน YouTube ด้วยคำ Keyword อย่าง ‘เมนู’ เมื่อเทียบช่วงเวลาเดียวกันของปี 2019 กับ 2020 นอกจากนั้นยังมีการค้นหาเกี่ยวกับอุปกรณ์การทำกับข้าวเพิ่มขึ้นด้วย ไม่ว่าจะเป็น หม้อทอดไร้น้ำมัน 2400% เตาไฟฟ้า 400% และไมโครเวฟ 156% ค่ะ

อีกพฤติกรรมนึงที่กลายมาเป็นกระแสหลัก ก็คือธุรกรรมออนไลน์อย่างพร้อมเพย์ (Prompt Pay) ที่เรียกได้โตขึ้นแบบก้าวกระโดด ปัจจัยหลักก็คงหนีไม้พ้นโครงการเงินเยียวยาเราไม่ทิ้งกันของรัฐบาล นอกจากนี้ยอดการ Download ของ Mobile Banking ยังเพิ่มขึ้นเป็นประวัติการณ์ด้วย โดยปัจจัยสำคัญก็คือ การกักตัวอยู่บ้านและการรักษาความสะอาด ไม่อยากจำเงินแบบ Physically หรืออยาก Go Cashless มากขึ้นในช่วงโควิดแบบนี้ด้วยค่ะ

จะเห็นได้ว่าเทรนด์อย่างธุรกรรมออนไลน์ การทำอาหารทานเองที่บ้าน หรือการใช้ Food Delivery นั้น เป็นแนวพฤติกรรมที่จะเป็นเทรนด์ในระยะยาว เพราะคนเริ่มปรับตัวให้คุ้นชินกับ New Normal ใหม่ๆ กันไปแล้วในช่วงโควิดค่ะ

Conclusion:

ทั้งหมดนี้ก็คือ 3 รูปแบบพฤติกรรม New Normal คนไทยใหม่ๆ ที่คนทำการตลาด ทำแบรนด์ต่างๆ ควรนำไปปรับใช้ว่าจริงๆ แล้ว แบรนด์ของคุณอยู่กับผู้บริโภครูปแบบไหนกันแน่ หลังจากนั้นแบรนด์จำเป็นต้องมาปรับกลยุทธ์ธุรกิจดูว่า หากเราเป็นสินค้าธุรกิจแบบแนวแรกที่ Start / Stop เราจะทำยังไงให้เราไปกวาด Opportunity ใหม่ๆ โดยไม่ต้องพึ่งสถานการณ์ภายนอกบ้าง?

แล้วถ้าหากเราอยู่ในหมวดรูปแบบพฤติกรรมที่ 2 หรือแบบ Step – Change ที่มี Growth สูงขึ้น เราจะรับมือการ Demand ที่จะยังอยู่อย่างไร ซึ่งต้องบอกว่า ธุรกิจนึงสามารถตกอยู่ในหลายๆ รูปแบบพฤติกรรมก็ย่อมได้ อย่างเคสที่ Google แชร์ก็คือ ร้านอาหาร ที่ต้องแรกอาจจะ Drop ลงตามรูปแบบ 1 แต่หากมีการปรับตัวเร็ว แล้วทำบริการ Delivery ออกมาในช่วงโควิดพอดี ก็อาจจะขยับเข้าสู่รูปแบบพฤติกรรมที่ 2 ได้เช่นกันค่ะ

ส่วนใครที่อยากอ่านเกี่ยวกับ Search Trends ที่เปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ เพิ่มขึ้น คลิกตรงนี้ได้เลยค่ะ

Plearn Wisetwongchai

Marketing Strategic Planner ในเครือการตลาดวันละตอน | A Creator สาวพลัสไซส์ @Fabfatkid | A Travel Lover ที่หมดเงินเกือบ 80% ไปกับการเดินทางแบบแมสๆ | An Instagrammer @theplearn ที่ชอบเล่น Story เป็นชีวิตจิตใจ | สุดท้ายคือ Data Researcher ทั้ง Social และ Search Data etc. ค่ะ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *