8 เหตุผลพร้อมสถิติที่บอกให้รู้ว่าการตลาดแบบ Personalization นั้นสำคัญอย่างไร

8 เหตุผลพร้อมสถิติที่บอกให้รู้ว่าการตลาดแบบ Personalization นั้นสำคัญอย่างไร

กระแสการตลาดแบบ Personalization เริ่มเป็นที่พูดถึงกันมากขึ้นในหมู่นักการตลาดไทยในวันนี้ นักการตลาดส่วนใหญ่ยอมรับว่าการทำการตลาดแบบ Personalization นั่นเป็นเรื่องสำคัญมาก แต่ในขณะเดียวกันนักการตลาดส่วนใหญ่ก็ติดตรงที่ว่าจะทำอย่างไรให้เกิดขึ้นจริงได้ และจะทำอย่างไรให้มันใช้งานได้จริงได้กับแผนงานการตลาดทั้งหมด

วันนี้การตลาดวันละตอนก็เลยขอหยิบรายงานจาก Pure360 มาเล่าให้เพื่อนนักการตลาดฟังว่าแบรนด์ส่วนใหญ่ในวันนี้ยังติดอยู่กับการทำการตลาดแบบ Demo-Personalization ที่ยังใช้ Data พื้นฐานอย่าง Demographic ของลูกค้าตัวเองเท่านั้น ยังไม่สามารถทำให้ลูกค้าเพิ่มการซื้อด้วยการทำการตลาดแบบ Personalized Marketing ได้จริงอย่างที่ต้องการซักที

ดังนั้นถ้านักการตลาดคนไหนที่ต้องการทำ Personalized Marketing ที่เหนือไปกว่าพื้นฐานเหล่านี้ ลองมาดูกันว่าเราจะทำอย่าไรได้บ้าง และทำไมการทำการตลาดแบบ Personalization ถึงสำคัญมากจนเราต้องพยายามให้มากขึ้นเพื่อจะทำมันให้เกิดขึ้นได้ครับ

1. Data-Driven Desire กระตุ้นลูกค้าด้วย Data ลูกค้าเอง

เพราะ Personalization คือส่วนสำคัญของการสร้าง Customer Experience ด้วยการใช้ Data ของตัวลูกค้าโดยนักการตลาดที่ชาญฉลาดเพื่อที่จะเสนอสินค้าหรือบริการที่เฉพาะลูกค้าแต่ละคนได้ตรงใจ ไปจนถึงสร้างประสบการณ์แบบพิเศษเฉพาะคนที่ทำให้ลูกค้าประทับใจ จนทำให้ลูกค้าทั้งหลายต่างติดใจธุรกิจเราจนไม่อยากหนีไปไหน เรียกได้ว่าเป็นการสร้าง Brand Loyalty จาก Personalization ก็ว่าได้ครับ

digital priorities for 2018

อย่างไรก็ตามจากรายงานของ Econsultancy เรื่อง Digital Trend ในปี 2018 กลับบอกในทิศทางตรงกันข้ามว่าการตลาดแบบ Personalization ไม่ได้ถูกให้ความสำคัญสูงสุดของกลยุทธ์องค์กร เมื่อเทียบกับการทำ Content and experience management ที่ถูกให้ความสำคัญสูงสุดถึง 20% แต่ Personalization กลับได้รับความสำคัญแค่ 7% เท่านั้น

เรื่องนี้บอกให้รู้ว่าที่ความสำคัญของ Content and experience management และเรื่องอื่นๆ มาเป็นอันดับหนึ่งแทน Personalization ก็อาจเพราะคนในองค์กรที่มีความรู้ความเข้าใจที่จะจัดการเรื่องนี้ได้ไม่มากพอ หรือคนที่มีอำนาจมากพอที่จะตัดสินใจก็ไม่ได้มีความรู้ความเข้าใจมากพอที่จำเห็นความสำคัญในเรื่องนี้เช่นเดียวกัน

แต่ก็การ Personalization ในธุรกิจส่วนใหญ่ก็ยังไม่มืดมนเสียทีเดียว เพราะถ้าเรากลับไปดูที่รูปภาพอีกครั้งนึงจะเห็นว่า หัวข้อ Audience and data management และ Analytics นั้นอยู่ในดับดับที่ 3 และ 2 ตามลำดับ นั่นเป็นสัญญาณที่ดีเพราะการจะทำ Personalization ได้ต้องเริ่มจากการเก็บข้อมูลที่ดีและการวิเคราะห์ที่ดีด้วย

ดังนั้นการจะทำให้ Personalization กลายเป็นหนึ่งใน Strategic Direction ที่สำคัญขององค์กรได้ก็ต้องมาจากการให้ความรู้ความเข้าใจกับคนเสียก่อน แล้วการลงทุนกับการทำ Personalization ก็จะเพิ่มตามมาเองครับ

2. Consumer want more relevancy เพราะลูกค้าในวันนี้เอาใจยากกว่าเมื่อวานมาก

จากรายงานของ Pure360 บอกให้รู้ว่าการทำ Basic Personalizaion นั้นเป็นอะไรที่ผู้บริโภคผิดหวังมาก เพราะมีผู้บริโภคแค่ 8% เท่านั้นที่บอกว่าแค่พนักงานจำชื่อได้ก็เป็นปลื้มแล้ว แล้วอีก 92% ที่เหลือล่ะ! คุณจะปล่อยไปอย่างนั้นไม่ได้นะ เช่นเดียวกันที่พบว่ามีคนแค่ 7% เท่านั้นที่ดีใจเมื่อได้รับอีเมลอวยพรวันเกิดจากแบรนด์

ปั๊ดโถ่! นี่มันเข้าปี 2020 แล้วนะครับ

รายงานจากอีกแหล่งอย่าง Infosys ก็ยืนยันว่าผู้บริโภคในวันนี้ต้องการให้นักการตลาดทำ Personalization ที่ดีกว่าทุกวันนี้ เพราะมีคนมากถึง 31% ที่บอกว่าพวกเขาต้องการให้ประสบการณ์การช้อปปิ้งนั้นมีความเป็น Personalized มากกว่าที่เป็นอยู่

เพราะรายงานจากอีกแหล่งก็บอกว่าทุกวันนี้มีลูกค้าแค่ 22% เท่านั้นที่รู้สึกว่ามีความสุขกับ Personalization ที่แบรนด์หรือธุรกิจต่างๆ ทำให้พวกเขาทุกวันนี้ นั่นหมายความว่ายังเหลืออีกตั้ง 78% ที่ยังไม่พอใจ หรือยังไม่รู้สึกว่าแบรนด์นั้นเข้าใจและรู้ใจพวกเขามากพอ และนั่นก็หมายความว่าโอกาสที่ลูกค้าจะประทับใจคุณจนยอมใช้เงินกับคุณให้มากขึ้นก็หายไปอย่างน่าเสียดาย

แต่แน่นอนเราต้องมองวิกฤตให้เป็นโอกาส นั่นหมายความว่าแบรนด์ไหนที่สามารถทำการตลาดแบบ Personalization ได้ก็จะเป็นการกวาดว่าที่ลูกค้าส่วนใหญ่กว่า 78% เหล่านี้ไปได้ก่อนใครครับ

3. ลูกค้ายอมที่จะให้นักการตลาดเข้าถึง Data มากขึ้น

แม้จะเป็นเรื่องถกเถียงกันมากระหว่างความเป็นตัวส่วนหรือ Privacy ที่หลายคนกังวลกัน แน่นอนว่าถ้าผู้บริโภคไม่ยินยอมให้แบรนด์เข้าถึง Data ได้ การทำ Personalization ก็ไม่สามารถเกิดขึ้นได้เช่นกัน แต่เป็นโชคดีของนักการตลาดอยู่เหมือนกันเมื่อผู้บริโภคส่วนใหญ่บอกว่าพวกเขาอยากให้แบรนด์รู้จักและรู้ใจพวกเขามากขึ้น ผ่านการทำการตลาดแบบ Personalization ที่ดียิ่งขึ้นครับ

แต่พวกเขาก็ขออย่างเดียวว่า อย่าเอา Data ของพวกเขาไปทำอะไรที่มันแปลกๆ หรือน่ากลัวกลับมา เช่น ถ้ารู้ใจมากเกินไปจนน่ากลัวก็เกรงว่าคนส่วนใหญ่จะไม่ชอบเอาได้ครับ

ดังนั้นการทำ Personalization ที่ดีก็เหมือนศิลปะ ในแง่ที่ว่าผู้บริโภคอยากให้แบรนด์ต่างๆ รู้ใจพวกเขาในระดับที่พวกเขายอมรับได้ แต่ไม่ต้องถึงขนาดรู้ทุกฝีก้าว รู้เสมือนว่ารู้ไปเสียทุกอย่าง หรือรู้ใจมากเกินไปจนน่าอึดอัดนั่นเองครับ

จากรายงานผลการวิจัยของ SalesForce พบว่า ลูกค้ากว่า 57% บอกว่ายินดีที่จะแชร์ข้อมูลส่วนตัวหรือ Personal Data เพื่อแลกกับข้อเสนอหรือบริการแบบ Personalized ที่รู้ใจพวกเขามากกว่าเดิม

เช่นเดียวกับกับผู้บริโภคมากถึง 52% ที่บอกว่า พวกเขายินดีที่จะแชร์ข้อมูลส่วนตัวถ้ามันจะทำให้นักการตลาดสามารถแนะนำสินค้าที่พวกเขาน่าจะอยากได้แต่แรกโดยไม่ต้องเสียเวลาค้นหาเองให้เหนื่อย และมีถึง 53% ที่บอกว่ายอมให้ Personal Data เหมือนกันถ้ามันจะทำให้ได้ Personalized shopping experiences อีกด้วยครับ

และในบางครั้งความต้องการในเรื่อง Personalization จากฝั่งลูกค้าเองก็กลายเป็นความคาดหวังว่าแบรนด์จะทำได้ดีกว่านี้มากขึ้นทุกที เพราะจากรายงานของ SaleForce เองที่พบว่ามีคนมากถึง 62% ที่บอกว่าแบรนด์ต่างๆ ควรส่งข้อเสนอหรือส่วนลดที่คิดมาเพื่อพวกเขาเท่านั้น ต้องเป็นข้อเสนอหรือส่วนลดที่มาจากการซื้อสินค้าหรือบริการก่อนหน้า ไม่ใช่แจกอะไรมามั่วๆ แบบที่เหมือนกันไปหมด โดยไม่เคยดูเลยว่าใช่กับลูกค้าแต่ละคนหรือไม่

เช่น ถ้าห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่งแจกคูปองส่วนลดสำหรับการซื้อเครื่องสำอางให้กับผม ผู้ชายที่ไม่เคยแม้แต่จะเดินเข้าไปซื้อแป้งเองเลยด้วยซ้ำ ผมคงทั้งรู้สึกงงและผิดหวังกับคูปองส่วนลดนั้นมากจนต้องรีบลบไป ดีไม่ดีผมยังอาจกดบล็อคการรับอีเมลจากแบรนด์นั้นตลอดการอีกด้วยครับ

และยังมีลูกค้าอีกลุ่มที่มากถึง 54% ที่บอกว่า พวกเขาอยากได้ส่วนลดแบบ Personalization ภายใน 1 วันหลังจากให้ Data กับแบรนด์เรียบร้อยแล้ว และมีถึง 32% ที่บอกว่าขอภายใน 1 ชั่วโมงเลยได้มั้ยล่ะ เพราะไหนๆ ก็ให้ Personal Data ไปแล้วนิ เธอควรจะรู้ใจฉันได้ในทันทีได้แล้วนะ!

เห็นมั้ยครับว่าผู้บริโภคในวันนี้เอาใจยากกว่าเมื่อวานมากขนาดไหน ได้ Data ลูกค้าไปแล้วก็ต้องรีบเอาไปใช้งานเพื่อทำให้พวกเขาประทับใจกลับมาให้เร็วที่สุดครับ

desire for personalised products or services

และยังมีรายงานจากทาง Deloitte ที่ศึกษาจนค้นพบว่าผู้คนในวันนี้ไม่ได้ต้องการแค่การสื่อสารหรือโฆษณาแบบ Personalized communication เท่านั้น แต่พวกเขานั้นต้องการสินค้าหรือบริการที่ทำมาเพื่อพวกเขาแต่ละคนเท่านั้น เพราะ 36% ของลูกค้าในวันนี้อยากที่จะซื้อสินค้าหรือบริการที่ทำมาเพื่อพวกเขาแต่ละคนมากกว่าของทั่วๆ ไป ถึงขั้นยอมจ่ายให้มากกว่า และในวันที่ลูกค้าในวันนี้นั้นใจร้อนมาก รอไม่ได้ และไม่อยากรอ กลับมีมากถึง 48% ที่บอกว่ายินดีจะรอนานขึ้นถ้าสินค้าหรือบริการนั้นทำมาแบบ Personalization เพื่อเขาเท่านั้นครับ

4. Personalization ทำให้ลูกค้าไหลมาเทมาได้กับทุกช่องทาง

Econsultancy เคยรายงานไว้เมื่อปี 2017 นักการตลาดส่วนใหญ่กว่า 90% เลือกที่จะทำการตลาดแบบ Personalization ผ่านอีเมลกันเพราะสามารถทำได้ง่าย และทำได้เลย แต่แม้ email จะเป็นที่นิยมในการทำ Personalization แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะให้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดเสมอไป

และเป็นที่น่าสนใจว่าการทำการตลาดผ่าน Search engine ไม่ว่าจะ SEO หรือ SEM ที่ให้คำตอบคนเสริชแบบ Personalization นั้นสามารถสร้าง Conversion ได้มหาศาล เพราะนักการตลาดกว่า 39% ที่บอกว่าพวกเขาเห็นการเพิ่มขึ้นอย่างมากผ่านการทำ Personalization ด้วยช่องทางการเสริช และมีแค่ 7% เท่านั้นที่ไม่เห็นว่าจะดีขึ้น

ดังนั้นเรื่องนี้บอกให้รู้ว่า ถ้านักการตลาดสามารถเดาใจได้ว่าคนที่กำลังค้นหานั้นต้องการอะไร แล้วสามารถให้ในสิ่งที่รู้ใจได้ในทันที ในจังหวะที่ผู้บริโภคกำลังพร้อมที่จะตัดสินใจนี้ก็จะเลือกคุณโดยทันทีไม่ลังเลครับ โดยเฉพาะในการแข่งขันบนพื้นที่ช้อปปิ้งออนไลน์หรือ E-commerce ที่แข่งกันสูงมาก เพราะถ้าผู้บริโภคเข้ามาเสริชหาสินค้าตามเว็บช้อปปิ้งต่างๆ นั่นหมายความว่าเค้าพร้อมจะใช้เงินแน่นอนครับ

benefits of personalised CTA's

Hubspot ก็มีรายงานให้เห็นว่าการทำ Personalization สามารถเพิ่ม Call to action ให้สูงขึ้นอย่างมากเมื่อเทียบกับปกติครับ

เพราะจากการวิเคราะห์จากการคลิ๊กกว่า 330,000 ครั้งเป็นระยะเวลา 6 เดือน ก็ทำให้พบว่าการตลาดแบบ Personalization เพิ่ม convesion ได้สูงขึ้นถึง 202% เมื่อเทียบกับปกติ

เห็นมั้ยครับว่ายิ่งการตลาดนั้นรู้ใจเรามากเท่าไหร่ เราก็อยากคลิ๊กมันมากขึ้นเท่านั้น รู้แบบนี้แล้วจะยังไม่ทำอยู่อีกไหวหรือ

5. Real-time Personalization ทำให้การทำ Email Marketing มีประสิทธิภาพขึ้นอีกมาก

เมื่ออีเมลกลายเป็นเครื่องมือสำคัญของนักการตลาดส่วนใหญ่ในการทำ Personalization จากรายงานของ One Spot เองก็พบว่านักการตลาดกว่า 65% บอกว่าเมื่อพวกเขาส่งอีเมลหาลูกค้าที่มีเนื้อหาข้างในแบบ Personalization เฉพาะแต่ละคนเข้าไปทำให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าเสมอ

นั่นหมายความว่ามีนักการตลาดในการสำรวจนี้มากกว่า 60% ที่บอกว่าพวกเขาส่งอีเมลหาลูกค้าด้วย real-time data เช่น สมมติว่าผมรูดเสื้อเสื้อผ้าด้วยบัตรเครดิต Citibank ปุ๊บผมจะได้รับอีเมลที่บอกให้รู้ว่าผมได้แต้มมาเท่าไหร่ และแต้มนี้สามารถใช้งานที่ร้านอาหารตรงไหนใกล้ตัวได้บ้าง แน่นอนว่าอีเมลแบบนี้จะทำให้ผมมีโอกาสใช้แต้มในบัตรเพื่อไปรูดบัตรต่อ มากกว่าแค่อีเมลทั่วไปที่ส่งข่าวสารอะไรก็ไม่รู้มาให้ผมเหมือนทุกครั้ง

ดังนั้นการทำ Personailization ที่ใช้ Real-time data นั้นจะยิ่งเป็นอะไรที่ท้าทายนักการตลาดในยุคใหม่ต่อจากนี้ในการเข้าใจบริบทหรือ Context ต่างๆ ที่จะมีผลต่อลูกค้ามากยิ่งขึ้น เช่น ถ้ารู้ว่าลูกค้าอยู่ในสถานที่นี้ก็ควรส่งข้อเสนอหรือส่วนลดที่ใกล้ๆ ไม่ใช่ส่งข้อเสนอของร้านค้าที่ไกลออกไปจนคนไม่อยากใช้เงิน

และเทคโนโลยีที่จะมาช่วยนักการตลาดในเรื่องนี้ได้ก็คือ Machine learning ที่จะช่วยให้การทำการตลาดแบบ Personalization ผ่าน email ที่ใช้ real-time data เพราะในต่างประเทศมีนักการตลาดกว่า 58% ที่ไม่ต้องทำเองแต่ปล่อยให้ Machine learning ทำให้ครับ

และแม้ว่านักการตลาดหลายคนจะรู้ว่าการทำ Email marketing แบบ Personalization จะให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่ามาก แต่นักการตลาดส่วนใหญ่ก็ยังคงเลือกส่งอีเมลแบบธรรมดา หรือใช้แค่ข้อมูลพื้นฐานแบบ Demographic ของลูกค้าเท่านั้น

เพราะ 78% ของนักการตลาดบอกว่าพวกเขาใช้แค่ชื่อจริงของลูกค้าในการทำปรับแต่งเนื้อหาของอีเมลให้เป็น Personalization นั่นหมายความว่านักการตลาดส่วนใหญ่ยังไม่ได้มีการแนะนำสินค้าหรือบริการแบบ Personalization ให้กับลูกค้าแต่ละคนที่มีพฤติกรรมความชอบที่แตกต่างกันผ่านทางอีเมลเลย เรียกได้ว่ารู้ทั้งรู้ว่าดีแต่ก็ยังไม่ทำกัน

study on marketers who prioritise personalised content

จากภาพคุณจะเห็นว่า Engagement rate ของอีเมลที่มีเนื้อหาข้างในแบบ Personalization นั้นให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่ามากเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ย

และยังมีการวิเคราะห์จาก One Spot จนค้นพบว่าการทำ Personalization นั้นช่วยให้ลูกค้าซื้อมากขึ้นอีก 5% ดูตัวเลขเหมือนน้อย แต่การเพิ่มขึ้นได้ 5% ของทั้งหมดนี่เป็นมูลค่ามหาศาลเลยนะครับ แถม Conversion rate ยังเพิ่มขึ้นอีก 6% ด้วย

และที่น่าประทับใจที่สุดคือ แบรนด์หรือธุรกิจที่เลือกทำการตลาดด้วย Email marketing แบบ Personalization นั้นสามารถเพิ่มรายได้ให้องค์กรถึง 17% จากแคมเปญการตลาดต่างๆ เมื่อเทียบกับนักการตลาดที่ไม่ได้ส่งอีเมลแบบ Personalization ออกไป

6. Brand ต้องบอกให้ชัดเจนว่าจะเอา Data ลูกค้าไปทำอะไร

เพราะแม้ว่าลูกค้าส่วนใหญ่ในวันนี้จะพูดเหมือนกันหมดว่าอยากให้แบรนด์เข้าใจพวกเขามากขึ้น รู้จักพวกเขามากขึ้น เพื่อที่จะได้ให้อะไรที่ Personalized ตรงกับใจของพวกเขามากขึ้นก็ตาม แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าแบรนด์จะเอา Data ลูกค้าไปได้ง่ายๆ คุณต้องทำให้ลูกค้ามั่นใจว่า Data ของพวกเขาจะได้รับการดูแลอย่างดี รวมถึงจะเอาไปใช้งานอย่างถูกต้องและมีจริยธรรมด้วยครับ

เพราะยังมีคนอีกมากที่รู้สึกลังเลที่จะให้ Data กับแบรนด์อยู่มา เพราะพวกเขาไม่รู้ว่าคุณจะเอาข้อมูลของพวกเขาไปทำอะไรบ้าง และที่สำคัญคือพวกเขาไม่รู้ว่าจะได้อะไรกลับคืนมาบ้างจาก Data ที่มอบให้ไป

จากการสำรวจคนสหรัฐอเมริกาโดย YouGov พบว่ามีคนมากถึง 32% ที่ไม่ชอบเวลาแบรนด์ส่งข้อความแบบ Personalization มากๆ มาหา เพราะรู้สึกว่าเป็นการคุกคามความเป็นส่วนตัวมากเกินไป

และอีกกว่า 28% ที่บอกว่าตัวเองไม่ชอบเลยที่บางบริษัทมีข้อมูลส่วนตัวของพวกเขาโดยที่ไม่เคยมีการบอกว่าจะขอข้อมูลไปก่อนล่วงหน้า เช่น อาจจะไปเอามาจาก Third-party บ้าง หรือแอบเก็บมาโดยที่ผู้บริโภคไม่ได้ยินยอมครับ

สำหรับผมเลยมองว่า Personalization ที่ Perfect คือการเข้าใจว่าแต่ละคนต้องการให้เรารู้ใจเขามากแค่ไหน บางคนต้องการให้รู้น้อยๆ บางคนต้องการให้รู้มากๆ เรียกได้ว่าเป็นระดับความพึ่งพอใจในเรื่อง Personalization แบบ Personal อีกทีนึงครับ

7. Personalization ทำให้ลูกค้าอยากซื้อซ้ำ

แน่นอนว่าการตลาดแบบ Personalization นั้นย่อมอยากทำให้ลูกค้าซื้อซ้ำคุณบ่อยขึ้น แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องมาจากการได้รับความยินยอมจากลูกค้าในการเก็บ Data ของพวกเขาไป และคุณก็ต้องบอกให้ชัดเจนว่าพวกเขาจะได้อะไรกลับมา

positive effects of personalisation

เพราะจากการสำรวจพบว่าผู้บริโภคกว่า 44% ชอบที่จะกลับไปซื้อซ้ำกับแบรนด์ที่สามารถให้ Personalized shopping experience หรือประสบการณ์ช้อปปิ้งในแบบที่เขาชอบได้

49% บอกว่ายินดีจะซื้อสินค้าที่ไม่ได้ตั้งใจจะซื้อแต่แรก ถ้าแบรนด์สามารถแนะนำแบบ Personalization ให้พวกเขาได้ เช่น ในแอป Zara สามารถแนะนำลูกค้าได้ว่าเสื้อผ้าชุดนี้สามารถใส่กับอะไรที่จะดูเข้ากันได้ดี ผลคือช้อปกันเพลินจนวงเงินเต็มบัตรไปอีกใบ

40% ของผู้บริโภคบอกว่าพวกเขามักจะเผลอใช้เงินเกินที่ตั้งใจไว้แต่แรก ถ้าแบรนด์ไหนสามารถให้ประสบการณ์การช้อปปิ้งแบบ Personalized experience ครับ เรียกได้ว่าตั้งใจจะจ่ายร้อย แต่มารู้ตัวอีกทีไปสองพันแล้วจ้า

8. Personalization ทำให้ลูกค้ารู้สึกรักและผูกพันธ์กับแบรนด์ตามมา

เพราะการตลาดแบบ Personalization ไม่ใช่แค่เพิ่มในเรื่องของยอดขายเท่านั้น แต่ยังช่วยเพิ่มในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างแบรนด์คุณกับลูกค้าแต่ละคนอีกด้วย แน่นอนว่าถ้ามีใครซักคนที่รู้ใจเราเหลือเกิน แล้วเราจะไม่รู้สึกอยากอยู่กับเขาไปนานๆ ได้อย่างไรจริงมั้ยครับ

เพราะจากการสำรวจของ Evergage พบว่าการตลาดแบบ Personalization นั้นยังให้ประโยชน์กับธุรกิจมากกว่าที่คิดกันไว้นัก เพราะจากการสำรวจจากนักการตลาดกว่า 206 คนบอกให้รู้ว่า 96% ของนักการตลาดพบว่า Personalization ทำให้พวกเขามีความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้ามากขึ้น และ 88% ก็บอกว่าทำให้ผลลัพธ์ทางธุรกิจดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

ซึ่งในจำนวนนี้มีถึง 53% ที่บอกว่ายอดขายดีขึ้นเป็นตัวเลข 2 หลัก ไม่ใช่แค่หลักเดียวครับ

ท้ายที่สุดมีถึง 61% ที่บอกว่าการตลาดแบบ Personalization ช่วยทำให้การทำ Customer experience ดีขึ้นมาก และมากถึง 57% ในกลุ่มนี้ยังบอกอีกว่าลูกค้ากลับมาหาแบรนด์ของเขาบ่อยขึ้นอย่างเห็นได้ชัดครับ

สรุปส่งท้าย

เห็นมั้ยครับว่าการตลาดแบบ Personalization นั้นสำคัญมากขนาดไหน ทั้งจากปากลูกค้าและนักการตลาดต่างก็บอกเหมือนกันว่า Personalized Marketing ทำให้ทุกฝ่ายวินไปพร้อมกัน ลูกค้าได้ในสิ่งที่ตรงใจ นักการตลาดได้กำไรที่ต้องการ แต่ก็ต้องระวังถึงการจัดการ Data ของลูกค้าด้วย เพราะถ้าลูกค้าไว้ใจให้คุณเข้าถึง Data ได้ คุณก็ต้องดูแลและจัดการด้วยความเคารพ เพราะไม่อย่างนั้นถ้าลูกค้าปฏิเสธไม่ให้คุณเข้าถึง Data อีกต่อไป คุณจะอดโอกาสที่จะรู้จักเพื่อรู้ใจในการทำ Personalization ไปอีกนาน

อ่านบทความเรื่อง Personalization ต่อ https://www.everydaymarketing.co/trend-insight/the-power-of-personalization/

The Power of Personalization New Trend for marketing in next decade

Source: https://econsultancy.com/12-stats-that-prove-why-personalisation-is-so-important/

Nattapon Muangtum

เจ้าของเพจการตลาดวันละตอน / อาจารย์พิเศษวิชา Data-Driven Communication / เขียนหนังสือมาแล้ว 5 เล่ม Personalized Marketing, Data-Driven Marketing, Data Thinking, Contextual Marketing และ Social Listening / ที่ปรึกษา Data-Driven Advisor

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

คุณคิดว่าปัญหา PM 2.5 ที่เชียงใหม่วิกฤตหรือยัง ?

#การตลาดวันละโพล ขอหนึ่งคำถามก่อนอ่านการตลาดวันละตอน แล้วเราจะเอาไปทำเป็น Infographic โชว์หน้าเพจให้รู้ด้วยกัน