วิเคราะห์เกมดีแทค เขย่าตลาดดึงพ่อค้าแม่ค้าขึ้นบิลบอร์ดแทนพรีเซ็นเตอร์

วิเคราะห์เกมดีแทค เขย่าตลาดดึงพ่อค้าแม่ค้าขึ้นบิลบอร์ดแทนพรีเซ็นเตอร์

ถ้าพูดถึงพรีเซ็นเตอร์ภาพแรกที่เราคิดก็คงจะเป็นดาราเบอร์ต้น หรือไอดอลคนดังที่มีบุคลิกที่เหมาะสมกับแบรนด์และมีกระแสตอบรับที่ดีในช่วงเวลานั้นๆ แต่งานนี้ดีแทคเขามาแบบแหวกแนว ไม่ได้ใช้พรีเซนเตอร์เป็นดาราอย่างที่เคย แต่ใช้พ่อค้าแม่ค้าขึ้นป้ายบิลบอร์ด โฆษณาให้ร้านค้าเป็นที่รู้จักเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ยังเพื่อยืนยันว่าสัญญาณดีแทคเค้ากระจายควบคุม ทั่วทุกพื้นที่ #ดีทั่วดีถึง นั่นเอง

เราลองมาดูกันว่าทำการตลาดกับพ่อค้าแม่ค้าทั้งในกรุงเทพและต่างจังหวัดแบบนี้ จะทำให้เจาะลึก และสามารถลงพื้นที่ได้อย่างทั่วถึงจริงๆ หรือไม่ 

จาก Online สู่ Offline

ก่อนจะตัดสินใจเลือกพ่อค้าแม่ค้ามาขึ้นป้ายบิลบอร์ดนั้นเกิดจากการที่ดีแทคมองเห็นโอกาสในวิกฤต

ภาวะโควิด-19 ที่คนต้องอยู่แต่บ้าน ออกไปทำกิจกรรมต่างๆ นอกบ้านน้อยลง ทำให้ทางร้านค้าต้องพยายามหาช่องทางในการเข้าถึงลูกค้าใหม่ๆ มากขึ้น 

ดีแทคก็เลยเข้ามาทำการตลาดจากแฟนเพจร้านค้าของผู้ใช้งานดีแทคจริงๆ โดยใส่ภาพเจ้าของร้านเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งบน Post Photo อัลบั้มบนเพจของร้าน ซึ่งโพสต์ดังกล่าวก็ได้สร้างความประหลาดใจให้ทั้งนักข่าวท้องถิ่นและเพจดังๆ หลายเพจ ทำให้ภาพเซ็ทดังกล่าวถูกส่งต่อจนกลายเป็นที่พูดถึงในชั่วพริบตา ดีแทคจึงตัดสินใจหยิบกระแสในออนไลน์ ขึ้นมาสู่บิลบอร์ดจริงบนโลกออฟไลน์ในที่สุด

ตอบโจทย์การเข้าให้ถึงกลุ่มเป้าหมาย

วิธีการสื่อสารที่ดีไม่จำเป็นต้องเสียงดัง แต่กุญแจของความสำเร็จในการสื่อสารก็คือวิธีการสื่อสารที่สามารถสร้างทั้งความน่าสนใจ นำเสนอคุณค่า โดดเด่น ดึงดูด สอดคล้องไปกับพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายได้อย่างเหมาะสมต่างหาก

ครั้งนี้ดีแทคได้ทำการส่งคลื่นใหม่ 700 MHz พร้อมสื่อสารผ่าน #ดีทั่วดีถึง ที่ไม่เพียงแต่มุ่งเน้นในการพัฒนาสัญญาณให้ดีทั่วดีถึงแล้ว ยังไม่หยุดช่วยเหลือพ่อค้าแม่ค้าให้สามารถทำมาหากินและผ่านวิกฤตินี้ไปพร้อมๆ กัน ด้วยการดันพ่อค้าแม่ค้าผู้ใช้งานเครือข่ายจริง จากร้านค้าหัวเมืองใหญ่ที่ไม่ใช่เฉพาะแค่เมืองหลวงอย่างกรุงเทพฯ เท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงร้านค้าหัวเมืองใหญ่ที่เปรียบเสมือนเป็นซิกเนเจอร์ของหัวเมืองต่างจังหวัดอีกหลายจังหวัด

โดยข้อความที่ถูกส่งออกไปในแต่ละภาพนั้นจะถูกเปลี่ยนให้เป็นภาษาท้องถิ่นเพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ทั้งทั้งกลุ่มลูกค้าเก่าที่คุ้นหน้าคุ้นตากันอยู่แล้ว และได้ใจกลุ่มเป้าหมายใหม่ที่เพิ่งเห็นป้ายบิลบอร์ดได้มากขึ้น เหมือนคนบ้านเดียวกันการันตี ทำให้กลุ่มเป้าหมายรู้สึกถึงความคุ้นเคย และมีความเป็นกันเองมากขึ้น 

เรามาดูกันค่ะว่ามีร้านไหนน่าสนใจ หรือได้รับการโปรโมตแล้วมีความเปลี่ยนแปลงอย่างไรกันบ้าง

ร้านแม็คเข็มขัด จ.ชลบุรี

ร้านแม็คเข็มขัด เป็นร้านขายเข็มขัด กระเป๋าแฟชั่นเก๋ๆ เปิดอยู่บริเวณหัวมุม ซอย 7 ตลาดนัดจตุจักรชลบุรีมามากกว่า 6 -7 ปีแล้ว ช่วงวิกฤตโควิด-19 ระลอกใหม่ ตลาดเงียบมาก ช่องทาง Facebook Fanpage ของร้านก็ไม่มี แต่เมื่อเข้าร่วมแคมเปญ #ดีทั่วดีถึง และได้รับความช่วยเหลือจากทางดีแทคในการขึ้นป้ายโฆษณาหนําตลาดและบน Facebook ตั้งแต่นั้นมาที่ ร้านก็ขายดีขึ้น คนรู้จักมากขึ้น

ร้านแม็คเข็มขัด จ.ชลบุรี

ร้านไก่ทอดมีนา จ.สงขลา

ถ้าถามว่าไปหาดใหญ่คิดถึงอะไร เราว่า “ไก่ทอด” ต้องเป็นคำดับอันดับแรกๆ ที่คนนึกถึง ซึ่งร้านไก่ทอดในหาดใหญ่นั้นมีอยู่ทั่วทุกมุม เพราะคนในพื้นที่เองก็ทานไก่ทอดกันในชีวิตประจำวัน และหนึ่งในร้านไก่ทอดที่เก่าแก่อีกร้านหนึ่งก็คือร้าน “ไก่ทอด หาดใหญ่มีนา” 

แน่นอนว่าร้านนี้เองก็ได้รับผลกระทบจากโรคระบาดโควิด-19 มากเหมือนกับธุรกิจอื่นๆ โดยเฉพาะช่วงแรกไม่มีคนกล้า ออกมาซื้อของทําให้ต้องหยุดขายประมาณหนึ่งเดือนกว่าๆ ทำให้ยอดขายตกลงไปมาก โดยเฉพาะจากนักท่องเที่ยว 

จนเมื่อดีแทคได้เข้ามาช่วย “ปรับกลยุทธ์ใช้โซเชียล” เพิ่มยอดขาย สู้โควิดโดยการโฆษณาร้าน ผ่านจอ บิลบอร์ดว่อนทั่วหาดใหญ่ทําให้ผู้คนสนใจหันมาซื้อข้าวเหนียวไก่ทอดกันเยอะมากจากคนที่ไม่เคยลองก็ตามกัน

มาเนื่องจากลูกค้าที่มา อุดหนุนบางรายไม่ใช่คนในพื้นที่แต่เห็นบิลบอร์ดเลยตามๆ กันมา บอกเลยว่าการได้โฆษณาในครั้งนี้ได้ผลมาก ซึ่งตอนนี้ทางร้านก็ปรับตัว มาใช้สื่อโซเชียลมาช่วยในการขายของแบบเต็มรูปแบบ โดยลูกค้ายังสามารถสั่งซื้อผ่าน Lineman กับ GrabFood ได้ด้วย

ร้านไก่ทอดมีนา จ.สงขลา

Insight สำคัญคือไม่ใช่ดาราก็ดึงดูดความสนใจคนได้

การเลือกพรีเซ็นเตอร์นั้นถือเป็นอีกหนึ่งความท้าทายในการทำธุรกิจ เพราะไม่ใช่ว่าเป็นแบรนด์ดังแล้วจะเลือกใครมาเป็นพรีเซ็นเตอร์ก็ได้ แต่การเลือกนี้ต้องคำนึงในเรื่องความเหมาะสมในการสื่อสาร และเข้าถึงผู้บริโภคด้วย สำหรับแคมเปญในครั้งนี้ดีแทคกล้าที่จะฉีกกฏการใช้พรีเซ็นเตอร์ที่ปกติเราจะเห็นแต่ดาราตัวท็อปของวงการ ในขณะเดียวกันก็วางแผนกลยุทธ์ในการสื่อสารไว้อย่างแยบยล

  • Awareness: สร้างการรับรู้ การจดจำ และความเข้าใจในคุณค่าของผลิตภัณฑ์หรือบริการ

เกี่ยวกับคลื่นใหม่ 700 เมกกะเฮิรตซ์ผ่านแคมเปญ #ดีทั่วดีถึง โดยใช้บุคคล หรือร้านค้าที่คนในท้องถิ่นคุ้นเคย

  • Uniqueness: มีความแปลกใหม่ กล้าฉีกกฎการเลือกใช้พรีเซ็นเตอร์ที่เป็นดารา หรือบุคคลที่

มีชื่อเสียงในวงกว้าง มาเป็นบุคคลธรรมดาที่เป็นที่ีรู้จักเฉพาะคนในพื้นที่นั้นๆ

  • Relevance: มีความเกี่ยวเนื่องและเชื่อมโยงกันระหว่างคนสื่อสาร สารที่สื่อออกไป และกลุ่ม

เป้าหมาย จึงทำให้สามารถสื่อสารได้ตอบโจทย์ ตรงใจมากยิ่งขึ้น

กระแสตอบรับจากกลุ่มเป้าหมายคือผลลัพธ์

ถ้าจะพูดถึงการวัดผล หรือผลลัพธ์ที่ได้จากแคมเปญนี้ก็คงจะต้องดูจากกระแสตอบรับของกลุ่มเป้าหมายนั่นแหละค่ะถึงจะบอกได้ว่าแคมเปญนี้รุ่ง หรือว่าร่วง

ซึ่งสำหรับแคมเปญ #ดีทั่วดีถึง นั้นก็ได้รับกระแสสนับสนุนจากคนในชุมชน ท้องถิ่นของร้านค้าที่เป็นลูกค้าจริงและใช้งานดีแทคจริง ถึงแม้ดีแทคจะมุ่งไปที่การให้ผู้ใช้จริงออกมาส่งข้อความ ดีทั่วดีถึง คลื่นใหม่ 700 MHz จากดีแทคก็ตาม แต่กลับเป็นการสร้าง Brand love ผู้ใช้งานเดิมและเพิ่มศักยภาพต่อลูกค้ากลุ่มใหม่ให้มองเห็นสิ่งที่ ดีแทคต้องการสื่อสารอีกด้วย โดยในส่วนของร้านค้านั้นก็ทำให้พ่อค้าแม่ค้าสามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าใหม่ได้มากขึ้น กลุ่มลูกค้าเก่าเมื่อเห็นภาพบนบิลบอร์ดก็กลับมาซื้อ ทำให้ทางร้านเองก็มีโอกาสในการขายมากขึ้นเช่นกัน 

เรียกได้ว่าแคมเปญนี้ของดีแทคนั้นได้ใจทั้งลูกค้าเก่าและลูกค้าใหม่ ที่ต่างก็พูดถึงกันแบบปากต่อปาก กระแสดีทั้งบนช่องทางออนไลน์และออฟไลน์ นับว่าเป็นการตลาดที่ศึกษากลุ่มเป้าหมายมาอย่างดี ถือเป็นการตีความของดีแทคค่อนข้างคม ในการตอกย้ำคำสัญญาที่ว่าจะไม่หยุดพัฒนาและจะเป็นอีกเส้นทางที่พร้อมจะพัฒนาทั้งสัญญาณและลูกค้าของตัวเองได้เข้มข้น

ถ้าดีแทคยังสามารถรักษาความดีทั่วดีถึง รับรองว่าจะได้รับการตอบรับที่ดีจากทั้งลูกค้าเก่าและว่าที่ลูกค้าใหม่ได้อย่างแน่นอน

Read more: อ่านบทความเกี่ยวกับการตลาดในแง่มุมอื่นๆ จากการตลาดวันละตอนได้ ที่นี่

Bambinun*

Content Creator แห่งการตลาดวันละตอน ที่หลงรักการเล่าเรื่องผ่านตัวหนังสือ พอๆ กับการกินของอร่อย และใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการเป็นทาสแมว

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

ใช้ Social Listening บ้างไม่ ?

#การตลาดวันละโพล ขอหนึ่งคำถาม ว่าปกติใช้ Social Listening บ้างหรือไม่ แล้วถ้าใช้ ใช้ตัวไหนอยู่