UberEats ใช้ DATA ของผู้ใช้งานในการเปิดร้านค้าเสมือนจริง

UberEats ใช้ DATA ของผู้ใช้งานในการเปิดร้านค้าเสมือนจริง

UberEats​ เป็นหนึ่งในธุรกิจ​ส่งอาหารที่บ้านเราอาจจะไม่คุนเคยนัก​ แต่บอกเลยว่าในแถบอเมริการนั้น​ต้องบอกว่าเป็นที่นิยมมากเลยทีเดียว​ 

วันนี้ผมเลยยกตัวอย่างการเอาตัวอย่างที่ UberEats​ เอา Data​ ของผู้ใช้งานมาใช้ในการวางกลยุทธ์​เพื่อเปิดร้านค้าเสมือนจริง​กัน​ ลองมาดูกันครับว่าเขาจะหยิบ​ Data​ ส่วนไหนมาใช้งานกันบ้าง

สร้างร้านอาหารจาก​ Data​ การใช้งานของลูกค้า

UberEats เริ่มเอาข้อมูลการใช้งานของเรามาสร้างร้านอาหารเสมือนจริงให้เราสั่งได้แล้ว

หมายความว่าเมนูที่คุณอาจจะสั่งผ่าน UberEats ในครั้งหน้าอาจจะไม่ได้มีหน้าร้านจริงๆ​ อยู่นั่นเอง (จะถือว่าเป็นร้านผีหลอกมั้ย ไม่มีหน้าร้านแต่ขายได้)

นั่นเป็นเพราะ UberEats เก็บข้อมูลการใช้งานของผู้ใช้ตลอดเวลา จนรู้ว่าเมนูไหนที่กำลังเป็นที่นิยมในแต่ละพื้นที่ หรือในแต่ละพื้นที่ขาดเมนูไหนที่ควรจะมี 

เอา​ Data​ มาสร้างร้านอาหารในอากาศ

หลังจากเก็บ​ Data​ มาแล้ว​ ทาง​ UberEats​ ก็จะนำข้อมูลเหล่านี้ไปสร้างเป็นร้านอาหารจำลองบน platform ของตัวเอง ที่ให้คนแถวนั้นได้สั่งกิน แต่เป็นร้านเหล่านั้นจะเป็นร้านที่ไม่มีหน้าร้านอยู่จริง แต่ UberEats จะใช้การร่วมมือกับร้านอาหารในเครือข่ายให้ทำเมนูพิเศษขึ้นมาขายแล้วแบ่งส่วนแบ่งกันแทน

จะเห็นว่า data คือเงินตราสมัยใหม่แล้ว ถ้ารู้จักใช้ให้เป็นประโยชน์

จาก​ Data​ สู่การเพิ่มโอกาส​ในการขาย

เคสที่เกิดขึ้นจริงคือ Chicago pizzeria ได้จ้างคนทอดไก่ทอดที่ไม่ใช่ในร้านตัวเองให้ แล้วก็ขายเมนูไก่ทอดที่ว่าให้กับคนที่สั่งบน UberEats ในพื้นที่ที่มีความต้องการเมนูที่ว่าสูง

ต้องบอกว่าส่วนนึงมาจากการแข่งขันในธุรกิจ food delivery ที่นับวันยิ่งรุนแรงขึ้น และจนปี 2016 ที่ผ่านมามีส่วนแบ่งไปถึง 86,000 ล้านเหรียญสหรัฐ จนกินไปถึง 1% ของธุรกิจอาหารทั่วโลก และมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆด้วย

เราจะได้เห็บการนำ data มาพัฒนาต่อยอดเป็นธุรกิจใหม่ๆอีกมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อก่อนการจะสร้างธุรกิจใหม่ๆได้ต้องเริ่มจากวัตถุดิบอย่าง เหล็ก หิน ไม้ หรืออะไรก็แล้วแต่ที่จับต้องได้ แต่วันนี้ data กลายเป็นทรัพยากรที่สำคัญและมีค่ามากขึ้นเรื่อยๆในโลกดิจิทัล ส่วนถ้าใครใช้มันไม่เป็น มันก็จะกลายเป็นแค่ตัวเลข 0 และ 1 ที่ไม่มีค่าอะไร

ส่วนใครที่อยากเรียนรู้เกี่ยวกับกลยุทธ์การทำตลาดในรูปแบบอื่นๆ แนะนำให้ไปอ่านเพิ่มเติมได้ ที่นี่ 

ในบทความหน้าผมจะมีอะไรมาอัปเดตอีกบ้าง สามารถติดตามได้ผ่านเพจการตลาดวันละตอน รวมถึง Twitter และ Blockdit ของการตลาดวันละตอนนะค​รับ

Nattapon Muangtum

เจ้าของเพจการตลาดวันละตอน / อาจารย์พิเศษวิชา Data-Driven Communication / เขียนหนังสือมาแล้ว 5 เล่ม Personalized Marketing, Data-Driven Marketing, Data Thinking, Contextual Marketing และ Social Listening / ที่ปรึกษา Data-Driven Advisor

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

คุณคิดว่าปัญหา PM 2.5 ที่เชียงใหม่วิกฤตหรือยัง ?

#การตลาดวันละโพล ขอหนึ่งคำถามก่อนอ่านการตลาดวันละตอน แล้วเราจะเอาไปทำเป็น Infographic โชว์หน้าเพจให้รู้ด้วยกัน