Disney+ Hotstar ครบ 1 เดือน คนพูดถึง Platform ยังไงบ้าง?

Disney+ Hotstar ครบ 1 เดือน คนพูดถึง Platform ยังไงบ้าง?

หลังจากเป็นประแสที่หลายคนตั้งหน้าเฝ้าคอยกับการมาถึงของ Platform Streaming เจ้าดังอย่าง Disney+ Hotstar พร้อมกับการทำการเปิดตัวไปอย่างยิ่งใหญ่บนออนไลน์ในวันที่ 30 มิถุนายน 2564 ที่ผ่านมา วันนี้ต้องบอกว่าครบแล้ว 1 เดือน ด้วยความชอบดิสนีย์มากๆ เป็นการส่วนตัว เพลินก็เลยอยากลองใช้ Mandala Analytics หรือเครื่องมือ Social Listening ในการจับ Mentions ต่างๆ ดูว่าในระยะเวลา 1 เดือนที่ผ่านมานั้น คนไทยพูดถึงแพลตฟอร์มนี้อย่างไรบ้างค่ะ

เริ่มต้นด้วยการเลือก Main Keywords ก่อน ซึ่งคีย์เวิร์ดที่เพลินใช้นั้นก็คือคำหลักๆ อย่างชื่อแพลตฟอร์ม รวมไปถึงการไปส่องการพูดถึงของผู้คนในออนไลน์เพิ่มด้วย ว่าคนไทยส่วนมากเข้าพูดถึงแพลตฟอร์มด้วยคำประเภทไหน สะกดผิดอย่างไรบ้าง หรือมี Phrase อะไรที่นิยมใช้กันไหม เช่น Hashtags ดังๆ ที่คนมันติดเข้าไปด้วยเวลาพูดถึงแพลตฟอร์มนี้ เช่น #นี่มาแน่ หรือการสะกดเครื่องหมายบวกในเชิง Symbol อย่าง + หรือว่าสะกดภาษาไทยว่าพลัส และภาษาอังกฤษว่า Plus ด้วยค่ะ

เมื่อเพลินได้ Main Keywords มาครบแล้ว เพลินก็เริ่มทำการอ่าน Message ก่อนหนึ่งรอบว่ามีประเด็นอะไรที่คนไทยพูดถึงบ้างเกี่ยวกับเจ้าแพลตฟอร์มนี้ ซึ่งเพลินก็พบว่ามีตั้งแต่การแนะนำหนังเป็นชื่อหนังอย่าง Avengers หรือหนัง Animation น่ารักอย่าง Luca / หรือจะเป็นเรื่องของการบ่นเรื่องบัญชีโปรไฟล์ / คุณภาพของภาพและคำแปล / การพูดถึงดาราที่ใช้ในงานเปิดตัวออนไลน์ / รวมไปถึงแพลตฟอร์ม Streaming คู่แข่งเจ้าอื่นๆ ที่คนมัก Mention ติดไปด้วยในการ Judge แพลตฟอร์มใหม่อย่างดิสนีย์พลัสฮอตสตาร์ในช่วงแรกๆ ค่ะ

หลังจากเห็น Topic ได้คร่าวๆ แล้ว เพลินก็นำมารวบรวมแล้วจัด Category grouping และ Tag ย่อยให้กับเดต้าเหล่านี้ด้วยเครื่องมือ Category & Tag Management ของ Mandala (เรียนรู้ขั้นตอนการทำ Category & Tag) จนได้ออกมาเป็น 4 Topic Categories หลักกับอีก 26 Tags ย่อยคือ:

  1. เรื่องของประเภทหนัง – โดยจัดแยกย่อยออกเป็นหนังประเภทต่างๆ ได้อีกเช่น หนังกลุ่ม Marvel / Disney Princesses / Pixar / Star Wars / National Geographics และ Animation อื่นๆ ค่ะ
  2. เรื่องพรีเซนเตอร์โปรโมตในวันเปิดตัว – ก็จัดแยกย่อยตามชื่อของศิลปินนั้นๆ ตั้งแต่ เป๊ก ผลิตโชค / บิวกิ้น / ปาล์มมี่ / แอลลี่ / และวี วิโอเลต
  3. เรื่องแอปสตรีมมิ่งเจ้าอื่นๆ – ก็แยกย่อยได้อีกตามชื่อแบรนด์สตรีมมิ่งอื่นๆ ไป ได้แก่ Netflix / YouTube / Viu / WeTV / Apple TV / Mono Max / HBO / Iflix / TikTok และ Amazon Prime
  4. เรื่องอื่นๆ ที่พบ – แบ่งย่อยออกอีกเป็นเรื่องของ ภาพ / ซับหรือ Subtitle คำแปลต่างๆ / เรื่องของบัญชี การหาร Account / และเรื่องของปริมาณหนังในแพลตฟอร์มค่ะ

เมื่อได้ Categories และ Tags ย่อยออกมาแบบนี้แล้ว เพลินก็จะเริ่มค้นหา Mentions หรือ Messages การพูดถึงที่เกี่ยวข้องเพื่อติด Label ให้มันเข้าไปตาม Tags ย่อยต่างๆ เหล่านี้ และด้วยตัวฟีเจอร์การค้นหาแบบ OR ของ Mandala Analytics ก็จะยิ่งทำให้เราทำงานได้รวดเร็วมากขึ้นด้วย เพราะสามารถใส่คำได้สูงสุดถึง 5 คำด้วยกัน ตัวอย่างเช่น ในกลุ่ม Categories ประเภทหนังที่คนพูดถึง Tag ย่อย Disney Princesses เนี่ย เพลินก็จำเป็นต้องกวาดชื่อหนังเจ้าหญิงเข้า Tag นี้ทั้งหมด ซึ่งแน่นอนว่าชื่อหนังเจ้าหญิงบนดิสนีย์นั้นไม่ได้มีเพียงแค่ 2-3 เรื่อง แต่มีเป็นสิบ แถมคนยังสะกดหนังด้วยภาษาแตกต่างกันออกไปด้วย ดังนั้นการใช้ฟีเจอร์ OR จึงช่วยประหยัดเวลาของเราไปได้มากทีเดียวค่ะ

ตัวอย่างเช่น เพลินสามารถค้นหา Mentions ที่เกี่ยวกับหนังเรื่อง ‘Mulan OR มู่หลาน‘ ไปพร้อมกับแล้วติดแท็กทีเดียว หรือจะเป็นการค้นหา Mentions แบบข้ามชื่อหนังแต่อยู่ภายใต้ Tag: Disney Princesses เหมือนกันอย่าง ‘Mulan OR มู่หลาน OR Aladdin OR Jasmine OR Ariel‘ เป็นต้น

ทั้งนี้ต้อง Note ไว้ด้วยว่าเราต้อง Predict หรืออ่านข้อมูลให้มากพอที่จะรู้ว่า ‘คนทั่วไปพิมพ์ถึงเรื่องนั้นๆ ด้วยคำว่าอะไรบ้าง’ อย่างหนังเรื่อง The Little Mermaid เนี่ย คนก็ไม่ได้จะพูดชื่อเรื่องเต็มๆ แบบนี้อย่างเดียวแต่ยังมีการพูดในเชิงชื่อตัวละครหลักอย่างแอเรียล / เอริค / Ariel หรือจะเป็นชื่อเพลงฮิตอย่าง Part of Your World ด้วยนั่นเองค่ะ ต้องบอกว่าขั้นตอน Predict คำและอ่านข้อมูลเพื่อติดแท็กตรงนี้นั้น เป็นอะไรที่ละเอียดอ่อนมาก แถมใช้เวลาเยอะแบบ Time Consuming สุดๆ แต่เพื่อ Final Data ที่คลีนจริงๆ เราจึงต้องใส่ใจกับมัน อย่างในกรณีชื่อหนังแบบนี้ก็ให้ลองคิดตั้งแต่ ชื่อหนังภาษาไทย ชื่อหนังภาษาอังกฤษ ชื่อนักแสดงที่เป็น Live Action ทั้งไทยและอังกฤษ ชื่อตัวละครต่างๆ ตั้งแต่นางเอกไปถึงตัวร้ายทั้งไทยและอังกฤษ ชื่อเพลง ชื่อนักร้องเพลงประกอบต่างๆ ทั้งหมดนี้คือคำที่ต้องใช้เพื่อติดแท็กให้ครบค่ะ

โดยเรื่องหลักที่เราต้องระวังคือเรื่องของคำทับซ้อน อย่างเช่น Category เรื่อง Promoter ที่คนพูดถึงมากที่สุด Tag ย่อย Ally หรือแอลลี่นั้น คำว่า ‘Ally’ ในภาษาอังกฤษที่เพลินเจอ ยังไปทับซ้อนกับคำว่า ‘Finally หรือแม้แต่ชื่อตัวละครใน Monster, Inc อย่าง ‘Sally ด้วย ดังนั้นเราก็จะต้องติดแท็กอย่างระมัดระวัง เพื่อป้องกันการติดแท็กผิดพลาด เผลอรวม Mentions ที่ไม่ได้พูดถึงน้อง Ally ที่เป็นนักร้องแต่พูดถึง Sally เข้ามาด้วย จนทำให้เราได้ข้อมูลสุดท้ายเพี้ยนไปค่ะ

เมื่อเราไล่หาหนัง ไล่หาคำอะไรจนสามารถติด Tags ได้ครบทั้งหมด 4 Cateogries แล้ว ระบบก็จะรวบรวม Total Mentions ที่ติดแท็กนั้นออกมาให้ เพื่อให้เราสามารถเอาตัวเลขนี้ไปทำ Visualization ต่อได้ค่ะ ดังนั้นเรามาดูกันเลยว่า Top อันดับ 1 ของแต่ละ Categories นั้นคืออะไรกันบ้าง?

1. ประเภทหนังบนที่คนพูดถึงมากที่สุด 1 เดือนแรก

ก่อนอื่นบอกเลยว่าเพลินแบ่ง Tags ย่อยของ Category นี้ออกเป็น 6 ส่วนด้วยกัน โดยหลักๆ เพลินจะอิงการแบ่งหนังจากแพลตฟอร์มของ Disney+ Hotstar เลย แต่จะขอเน้นเฉพาะประเภทหนังที่โดดเด่นสำหรับแพลตฟอร์มนี้เลย ได้แก่ Marvel / Disney Princesses / Pixar / Star Wars / National Geographics และ Animation อื่นๆ ค่ะ ส่วนพวกหนังไทยหรือหนังต่างประเทศอื่นๆ ต้องบอกว่าขอ Skip ไปก่อน ด้วยความที่ปริมาณหนังเยอะมาก เลยต้องหั่นแบ่งเพื่อให้บทความไม่ยืดเยื้อจนเกินไปค่ะ

โดยหลักการการคัดว่าหนังเรื่องไหนคือ Tags ไหนนั้น อย่างที่บอกเพลินอิงตามการแบ่งของ Platform ดิสนีย์พลัสฮอตสตาร์เลย เช่น

  • กลุ่ม Marvel – ได้แก่ หนังทุกเรื่องในตระกูล Marvel ตั้งแต่ Iron Man ไปจน Avengers Endgames รวมไปถึงกลุ่มพวก Marvel Legacy อย่าง X-Men และตระกูล Mutants ต่างๆ ด้วย
  • กลุ่ม Disney Princesses – ได้แก่ หนังเจ้าหญิงทุกเรื่องรวมเวอร์ชั่น Live Action ด้วย ตั้งแต่ Snow White ไปถึงเจ้าหญิงรุ่นใหม่ๆ อย่าง Frozen หรือ Elsa ด้วย
  • กลุ่ม Pixar – ก็คือหนังภายใต้พิกซาร์ทั้งหมด ตั้งแต่ Monster, Inc จนถึง Soul หรือ Luca หนังฮิตช่วงนี้ด้วยค่ะ
  • กลุ่ม Star Wars – ก็คือ Star Wars Territories ทั้งหมด
  • กลุ่ม Animation – จะรวมการ์ตูนอะนิเมชั่นหลายๆ เรื่อง อย่าง Mickey mouse / Big Hero / Lion King / Zootopia / Gravity Falls / Lilo & Stitch หรืออื่นๆ ที่เป็นของ Disney Originals แต่ไม่ใช่ Disney Princesses นั่นเองค่ะ

และหลังจากที่เราได้ข้อมูลครบแล้ว ก็ได้รู้ว่าประเภทหนังที่คนพูดถึงมากที่สุดใน 1 เดือนแรกก็คือหนังที่อยู่ภายใต้กลุ่มตระกูล Marvel ค่ะ ที่กวาด Social Data อยู่ที่ 39% รองลงมาคือกลุ่ม Animation อื่นๆ 19% กลุ่มเจ้าหญิงนี่ก็น่าสนใจมากๆ เพราะกวาดไปได้สูงถึง 17% ทั้งๆ ที่ตระกูลเจ้าหญิงนั้นมีเพียงไม่กี่เรื่องแบบยังไล่ดูได้สบายๆ ซึ่งเอาเข้าจริงเพลินเองก็ตกอยู่ในกลุ่มที่พูดถึงเจ้าหญิงดิสนีย์หลังดูเหมือนกัน เพราะว่าตั้งแต่ Subscribe แพลตฟอร์มมา เพลินดูแต่เจ้าหญิงดิสนีย์อย่างเดียวเลย สลับระหว่างเวอร์ชั่นการ์ตูนกับ Live Action ค่ะ

2. Promoter วันเปิดตัวที่ถูกพูดถึงมากที่สุด

เพราะทางแบรนด์ใช้ดารา เซเลบหลายคนมาก เพลินก็เลยย่อย Topic กลุ่ม Promoter ลงเหลือแค่กลุ่มศิลปินที่มาร้องเพลงในวันเปิดตัววันที่ 30 มิถุนายน 2564 แทน โดยศิลปินนักร้องทั้ง 5 คนนั้นก็ได้แก่ เป๊ก ผลิตโชค / บิวกิ้น / แอลลี่ / ปาล์มมี่ และวี วิโอเลตค่ะ ซึ่งแน่นอนว่าเพลินก็ทำการกวาดทุกคำที่หมายถึงนักร้องเหล่านี้มาให้แล้ว ตั้งแต่ชื่อไทยและอังกฤษ รวมไปถึงตัวย่ออย่างน้องบิ้วกิ้นก็จะมีตัวย่อแบบ ‘บก’ หรือ ‘#บกพพ’ ที่มาจากบิวกิ้นพีพีที่เป็นคู่จิ้นด้วย

โดยผลศิลปินที่ถูกพูดถึงมากที่สุดในงานเปิดตัวก็คือคุณเป๊ก ผลิตโชคค่ะ ที่กวาด Mentions ไปอย่างล้นหลามกว่า 66% รองลงมาก็คือหนุ่มคู่จิ้นน้องพีพีอย่างบิวกิ้นที่มีคนพูดถึงไปกว่า 13% ในฐานะ Prince Charming ที่หล่อที่สุด รวมไปถึงการร้องเพลงท่ามกลางศิลปินหญิง 2 คนอย่างน้องแอลลี่และคุณวี วิโอเลตด้วยค่ะ

3. แพลตฟอร์ม Streaming เจ้าอื่นๆ ที่ถูกพูดถึงด้วย

แน่นอนว่าเมื่อเป็นแพลตฟอร์มน้องใหม่แถมมาช้ากว่าใครเพื่อน ย่อมต้องมีคนนำเรื่องการเปรียบเทียบขึ้นมาพูดถึงอยู่แล้ว โดย Disney+ Hotstar นั้นถูกเปรียบเทียบหรือพูดถึงกับแพลตฟอร์มสตรีมมิ่งกับขาใหญ่อย่าง Netflix เป็นอันดับแรก โดยหลายคนก็มีการพูดถึงว่าวันหยุดขอแค่มี Netflix กับ Disney ก็อยู่ได้แล้ว หรือจะเป็นแนวการพูดขำๆ ว่าสมัครทุกอย่างแล้วแต่สุดท้ายจบที่ YouTube อยู่ดี ซึ่งมุกนี้ถือว่ายอดฮิตมาก จนทำให้ YouTube ขึ้น Ranking อันดับที่ 2 ไปได้ นอกจากนี้ยังมีหลายคนที่ใช้การแปะลิ้งค์ตัวอย่างหนังหรือ Trailer หนังจาก YouTube เพื่อบอกให้คนอื่นไปดูในดิสนีย์เพิ่มด้วยค่ะ

นอกเหนือจากนี้ยังมีคนที่เปรียบเทียบดิสนีย์พลัสฮอตสตาร์กับ Netflix ด้วยเรื่องของ Content ด้วย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเนื้อหาที่ต่างกันระหว่าง 2 แพลตฟอร์ม อย่าง Netflix ที่ทำหนังหรือ Series จำพวกระทึกหัวใจได้ดีกว่า ในขณะที่ดิสนีย์นั้นเก่งแนวแฟนตาซี ซึ่งพอคิดๆ ดูแล้วก็อาจจะจริง และดิสนีย์ก็น่าจะรู้ถึงเรื่องนี้หรือเปล่า ถึงได้รีบรวมหางกลุ่ม Marvel / Star Wars และ National Geographic เอาไว้เป็นอีก Pillars ที่ทำให้มันดูดุดันขึ้นนั่นเองค่ะ

ส่วนเจ้า Streaming อันดับที่ 3 และ 4 ต้องบอกว่าเป็น Influence ของประเทศเกาหลีและจีนจริงๆ ทำให้ Viu ที่ขึ้นชื่อเรื่องซีรีส์เกาหลีกับ WeTV ที่ขึ้นชื่อเรื่องหนังจีนต่างๆ ติด Ranking เปรียบเทียบร่วมกับเว็บสตรีมมิ่งของดิสนีย์พลัสฮอตสตาร์ไปด้วยค่ะ

แต่ที่เพลินว่าน่าสนใจกว่าแพลตฟอร์มสตรีมมิ่งอื่นๆ นั้นก็คือการเปรียบเทียบระหว่าง Disney Plus ที่เป็น Hotstar กับ Disney+ ปกติหรือเวอร์ชั่นสากลมากกว่า เพราะมันเป็นเหมือนการเปรียบเทียบระหว่างกันเอง โดยคนที่เคยใช้เวอร์ชั่นปกติมาก็ออกมาให้ข้อมูลกันมากมายว่ามันแตกต่างกันยังไงตั้งแต่จำนวน Account ที่แชร์ร่วมกันได้ / เนื้อหาเก่าบางเรื่องที่ฮอตสตาร์ไม่มี / การตั้งรูป Profile เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีกลุ่มคนที่เริ่มบ่นว่าจะไป Subscribe เวอร์ปกติแล้ว ไม่อยากดูฮอตสตาร์แล้วด้วยก็มีเช่นกันค่ะ

4. เรื่องอื่นๆ เกี่ยวกับการใช้งานแพลตฟอร์ม Disney+ Hotstar

นอกจากประเด็นหลักที่เพลินสรุปไปแล้ว 3 เรื่องด้านบน ยังมีเรื่องย่อยๆ เกี่ยวกับการใช้งานแพลตฟอร์มเข้ามาร่วมด้วย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการหารบัญชี Account โปรไฟล์ / เรื่องคุณภาพของภาพและคำบรรยายต่างๆ และสุดท้ายคือส่วนของปริมาณเนื้อหาที่คนพูดถึงค่ะ

4.1. เรื่องการหารบัญชี แบ่งโปรไฟล์ และ Login OTP

ประเด็นเรื่องของการหารบัญชี เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่คนพูดถึงเยอะมาก เพราะปัจจุบันแพลตฟอร์มให้คนสามารถมีได้แค่ 1 บัญชีแต่เข้าได้พร้อมกันสูงสุด 2 คน แถมยังต้องกรอกเลข OTP ของเบอร์โทรศัพท์คนที่ลงทะเบียนทุกครั้งที่ทำการ Login ด้วย ทำให้เรื่องนี้ค่อนข้างติดกระแสไปทาง Negative มากกว่า Positive ค่ะ ตัวอย่าง Social Data ประเด็นนี้เช่น

ซึ่งในประเด็นของ OTP นั้นหลายคนรู้สึกว่ามันน่าหงุดหงิด ได้รับ Message ผ่านช่องทาง SMS จนคล้ายเป็น Spam ไปแล้ว ในขณะเดียวกันก็มีพ่อค้าแม่ค้าที่ตั้งตนเป็น Dealer ขายบัญชี Disney+ Hotstar ในลักษณะที่ต้องระบุด้วยว่าพร้อมแจก OTP ให้ตลอดเวลา เรียกได้ว่าคนไทยนี่ขายเก่ง ขายไวกันจริงๆ ค่ะ

4.2. เรื่องคำบรรยายต่างๆ ในแพลตฟอร์ม

ถัดจากเรื่องของการเข้าบัญชีและโปรไฟล์แล้ว ก็มีเรื่องของคำแปล คำบรรยายนี่แหละค่ะที่เป็นสิ่งที่คนพูดถึงกันต่อมา โดยหลักๆ ก็จะมีเรื่องของคำแปล Movie Description อะไรพวกนั้นที่เพี้ยนไปมากประหนึ่งใช้ Google Translate นอกจากนี้ก็มีประเด็นเรื่องของ Subtitle ภาษาอังกฤษที่คนถามหาว่าทำไมไม่มี ซึ่งบอกตรงๆ ว่าเป็น Insight ที่น่าสนใจมาก เพราะหลายคนร้องอยากให้มี Sub Eng เพื่อนอกจากจะฟัง Soundtrack แล้วจะได้เป็นการฝึกภาษาอังกฤษไปในตัวด้วยนั่นเองค่ะ

นอกเหนือจากซับไตเติ้ลภาษาอังกฤษแล้ว ยังมีเรื่องของการสะกดผิดในซับ หรือการที่ Subtitle ไม่ Sync ตรงกับภาพเข้ามาด้วย ตรงนี้ทำเอาหลายคนหยิบดิสนีย์พลัสฮอตสตาร์มาแซวว่าเข้าใจแหละว่างานเร่ง งานด่วน งานรีบ ทำอะไรเลยพลาดไปหมดนั่นเองค่ะ

https://twitter.com/yented_d/status/1409955229634686976?s=21

4.3. ปริมาณหนังในแพลตฟอร์ม

1 เดือนที่ผ่านมาหลายคนบ่นว่าหนังบนแพลตฟอร์มดิสนีย์ฮอตสตาร์นั้นน้อยจนเกินไป ทำให้ไม่รู้จะดูอะไรดี และกลับไปซบไหล่เพื่อนเก่าอย่างแพลตฟอร์มอื่นๆ แล้ว ซึ่งเอาเข้าจริงถ้าเพลินจำไม่ผิด ช่วงที่ฮอตสตาร์เปิดตัวก็บอกว่ามีหนังมากกว่า 500 เรื่องแต่ไหงคนยังบ่นว่าไม่รู้จะดูอะไรอีกละเนี่ย ตรงนี้บอกเลยว่าลำบากทีม Marketing แล้ว เพราะสำหรับคนที่รู้สึกว่าหนังน้อย ไม่มีไรให้ดูนั้น เพราะเค้าเห็นหนังที่มีมามากมายในแพลตฟอร์มไม่น่าสนใจหรือไม่น่าดูพอนั่นเอง คงต้องอาศัยการโปรโมตหนังข้างในกันต่อไป ซึ่งเอาจริงๆ อย่างเรื่อง Luca แบบนี้ก็เรียกได้ว่าประสบความสำเร็จ มีคนพูดถึงอยู่ไม่น้อย ดังนั้นอาจจะลองพลิกแพลงจากกรณี Luca เพิ่ม หรือศึกษากับกลยุทธ์จากคู่แข่งเพิ่มแล้ว ว่าจะโปรโมตหนังเก่าที่คนไม่รู้จักไม่เคยดูให้เป็นหนังใหม่ที่น่าสนุกได้ยังไงค่ะ

4.4. เรื่องของคุณภาพภาพ

อีกเรื่องที่เราเจอในส่วนของเรื่องการใช้งานก็คือเรื่องภาพ ที่หลายคนบอกว่าภาพหนัง Quality ไม่ดี ภาพไม่ชัด ภาพไม่ขึ้น หน้าจอดำ หรือภายกับซับไม่ตรงกัน ทั้งหมดนี้ก็เลยกลายเป็นเรื่องของภาพที่เพลินจัด Tags ย่อยออกมาให้ค่ะ ซึ่งเรื่องของภาพไม่ชัดก็ทำให้หลายคนต้องพึ่งอุปกรณ์เสริมอื่นๆ หรือกลุ่ม Entension เชื่อมต่อหน้าจอให้รับชมได้ชัดขึ้นด้วย ได้ยินแบบนี้ใครขายอุปกรณ์ต้องรีบขายของต่อเนื่องแล้วแหละค่ะ

ทั้งหมดนี้ก็คือ Top Categories ที่คนไทยพูดถึงแพลตฟอร์ม Disney+ Hotstar ตลอดระยะเวลา 1 เดือนที่ผ่านมาหลังเปิดตัว เรียกได้ว่ายังมีอะไรหลายๆ อย่างที่คนยังรอให้แบรนด์นำเข้าแก้ไขและพัฒนากันต่อไปเนอะ ซึ่งโดยสัดส่วน Categories หัวข้อเรื่องต่างๆ เพลินก็ทำภาพมาให้เหมือนกันว่าเป็นสัดส่วน Portion การพูดถึงอยู่ที่เท่าไร อันดับแรกเป็นเรื่องของเรื่องการใช้งานอื่นๆ ถึง 37% รองลงมาคือเรื่องดารา ศิลปินที่ใช้โปรโมตในวันเปิดตัว 25% อันดับสามคือการพูดถึงแพลตฟอร์มคู่แข่ง 22% และสุดท้ายการพูดถึงหนังเรื่องหรือประเภทต่างๆ ในแพลตฟอร์มที่ 16% ค่ะ

จะเห็นได้ว่า เพราะคนส่วนมากเข้าหา Disney+ Hotstar ด้วยความคิดถึงโมเมนต์แบบย้อนวันวานเป็นหลัก ร่วมไปถึงกลุ่มฐานแฟนคลับฮีโร่ต่างๆ ทำให้ Audience ที่เข้าไปมีประเภทหนังที่อยากดูอยู่แล้วในจำนวนจำกัดเท่าที่ตัวเองชอบเท่านั้น ฐานแฟนฮีโร่ก็เข้าไปดู Marvel / X-Men ส่วนกลุ่ม Nostalgia ก็เข้าไปย้อนวันวานกับการ์ตูนเจ้าหญิงต่างๆ กลุ่มครอบครัวก็เปิด Animation กับ National Geographic จึงไม่แปลกหาเรื่องนี้มันทำให้คนรู้สึกว่าหนังมันน้อย เพราะคนก็ดูเฉพาะที่ตัวอยากดูเท่านั้น ดังนั้นอย่างที่บอกว่าการโปรโมตหนังที่คนไม่ค่อยดูเนี่ยแหละจึงจำเป็นมาก เพื่อดึงให้คนยังอยู่กับแพลตฟอร์มมากขึ้น ไม่ Switch กลับไปหาคู่แข่งหรือเลิก Subscription ไปก่อน ซึ่งเราอาจจะไม่เห็นการยกเลิกในเร็วๆ นี้หรอก เพราะหลายคนทำการ Subscription ไปแล้วแบบ 12 เดือน ดังนั้นถ้าไม่จับจุดบกพร่องเหล่านี้ไปปรับหรือพัฒนาละก็ หลัง 12 เดือนต่อจากนี้ต้องมาดูว่าจำนวนคนต่อ Subscription อยู่ที่เท่าไรค่ะ

Insight อีกเล็กๆ น้อยๆ ที่เพลินเอามาฝาก แต่ยังไม่ได้มีจำนวนคนพูดถึงเยอะมากก็คือเรื่อง Battery Consuming หรือการที่แพลตฟอร์มของ Disney+ Hotstar กินแบตค่อนข้างเยอะ ทำแบต Device หมดไวมาก หรือจะเป็นเรื่องของดาว Hotstar ที่แปะอยู่มุมขวาล่างหน้าจอที่บางคนก็บอกว่าน่ารัก มุมิ บางคนก็บ่นว่ารำคาญสายตาก็มีเหมือนกัน แหม… หลายคนก็หลายความเห็นเนอะ อีกหนึ่ง Insight ที่เพลินเจอก็คือหนังที่คน Request เยอะสุดอย่าง Harry Potter เพราะคนไม่อยากจะไป Subscribe อีกแพลตฟอร์มอย่าง HBO Max เพิ่มแล้ว ก็เลยร้องขออยากให้ไม่ Netflix ก็ Disney Plus Hotstar หรือใครก็ได้ช่วยเอาเข้ามาให้สมใจทีค่ะ

Social data ที่เพลินเจออาจจะดูเหมือนค่อนไปทาง Negative อย่างเดียวแต่อย่างไรก็ตามโอกาสยังมี เพราะจากข้อมูล เพลิยก็ยังพบว่ามีหลายคนที่ออกมาบอกเพื่อนรวมโซเชียลให้ช่วยใจเย็น เค้าเพิ่งเปิดตัวได้ 1 แปปเดียวเท่านั้น ให้โอกาสเค้าได้ปรับปรุงและพัฒนาหน่อย ดังนั้นโอกาสมีแล้ว แบรนด์ก็อย่าลืมจับ Comment เหล่านี้ไปพัฒนาแพลตฟอร์มให้ดียิ่งๆ ขึ้นไปนะคะ ส่วนตัวเชียร์มากๆ เพราะรักความเป็น Disney สุดๆ เลย

ทั้งหมดนี้ก็คือ Social Data เกี่ยวกับ Disney+ Hotstar ที่เพลินเอามาฝากกันโดยการใช้เครื่องมือ Social Listening ใช้ง่ายของ Mandala Analytics ค่ะ แค่จัด Main Keywords > จัด Topic Category ด้วยฟีเจอร์ Category Management > แล้วเพิ่ม Tag ด้วยฟีเจอร์ Tag Management หลังจากนั้นก็ > จัด Mentions ต่างๆ เข้า Tags ที่ลิสเอาไว้ แล้วเอา Total Mentions ไปทำ Visualization ก็ได้ข้อมูลแบบที่เพลินทำแล้วค่ะ ใครสนใจเครื่องมือ Mandala Analytics แบบนี้ แล้วอยากเริ่มต้น Social listening ด้วยตัวเองแบบง่ายๆ ที่ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย เข้าไปสมัครใช้ฟรีกับ Mandala ได้ 14 วันที่ลิงก์นี้เลยค่ะ > https://bit.ly/MandalaAnalytics

คลาสเรียนออนไลน์ Social Listening Analytics รุ่น 29 // เรียนวันศุกร์ที่ 29 มีนาคม 2567 ค่าเรียนคนละ 9,900 รับจำกัด 20 คน // อ่านรายละเอียดและลงทะเบียนก่อนเต็มได้ที่ลิงก์นี้ครับ https://bit.ly/sociallistening29

อ่านบทความเกี่ยวกับการใช้งาน Mandala Analytics เพิ่มก่อน Subscribe เครื่องมือนี้เพิ่มจากดิสนีย์ฮอตสตาร์และ Netflix

Plearn Wisetwongchai

Marketing Strategic Planner ในเครือการตลาดวันละตอน | A Creator สาวพลัสไซส์ @Fabfatkid | A Travel Lover ที่หมดเงินเกือบ 80% ไปกับการเดินทางแบบแมสๆ | An Instagrammer @theplearn ที่ชอบเล่น Story เป็นชีวิตจิตใจ | สุดท้ายคือ Data Researcher ทั้ง Social และ Search Data etc. ค่ะ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

ใช้ Social Listening บ้างไม่ ?

#การตลาดวันละโพล ขอหนึ่งคำถาม ว่าปกติใช้ Social Listening บ้างหรือไม่ แล้วถ้าใช้ ใช้ตัวไหนอยู่