บราซิลเปิดโรงเรียนดิจิทัล เปลี่ยนแนวคิด คุยเรื่องจิ๊มิ๊ไม่ใช่เรื่องน่าอาย

บราซิลเปิดโรงเรียนดิจิทัล เปลี่ยนแนวคิด คุยเรื่องจิ๊มิ๊ไม่ใช่เรื่องน่าอาย

ในขณะที่สังคมโลกก้าวไกลไปในทุกมิติ ไม่ว่าเป็นเทคโนโลยี เศรษฐกิจ รวมถึงบริบททางสังคมที่ผู้หญิงมีบทบาทมากยิ่งขึ้น แต่ในขณะเดียวกันด้วยกรอบวัฒนธรรมและประเพณีในหลายๆ ประเทศ ทำให้การพูดถึงบางเรื่องของผู้หญิงนั้นถูกมองว่าเป็นเรื่องน่าอาย ที่ไม่ค่อยมีใครนำมาพูด หรือนำมาเป็นหัวข้อในการสนทนากันเท่าไหร่นัก โดยเฉพาะ “เรื่องระบบภายในอันซับซ้อนของผู้หญิง” ที่สาวๆ ส่วนใหญ่อยากเก็บไว้เป็นเรื่องส่วนตัวมากกว่า

เช่นเดียวกับที่บราซิลที่ถือว่าเป็นตลาดใหญ่และเป็นตลาดสำคัญของแบรนด์ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพสำหรับผู้หญิง แต่การพูดคุยเรื่องสุขภาพช่องคลอดอย่างเปิดเผยถือเป็นข้อห้าม โดยผลสำรวจพบว่าผู้หญิงบราซิล 1 ใน 4 รู้สึกละอายที่จะพูดคำว่า ‘ช่องคลอด’ ออกมา 

ดังนั้นแบรนด์ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพสำหรับผู้หญิงอย่าง Canesten จึงตั้งเป้าหมายใหม่ เพื่อช่วยให้คนหนุ่มสาวได้ปล่อยตัวเองจากความอับอายและความรู้สึกไม่สบายใจ และสามารถก้าวข้ามอุปสรรคในการรักษานี้ไปได้

เปิดโรงเรียน กำจัดความอาย

กุญแจสำคัญทีจะสามารถกำจัดความอายให้หมดไปได้ก็คือการศึกษาที่ดีขึ้น เมื่อเรามีความรู้มากพอเราก็จะมองเห็นว่าทั้งหมดนี้มันคือเรื่องสุขภาพ ไม่ใช่เรื่องน่าอายอย่างที่ถูกฝังหัวมา 

ดังนั้นแบรนด์ Canesten ได้ทำงานร่วมกับหน่วยงาน Analogfolkในลอนดอน เพื่อเปิด “โรงเรียน” ดิจิทัลบน TikTok ที่ชื่อว่า Intensivão Da PPK ( Vagina Academy ) ขึ้น เพื่อเป็นการเตรียมอาวุธให้เยาวชนเข้าใจวิธีการทำงานของอวัยวะเพศหญิง โดยนำเสนอบทเรียนเชิงโต้ตอบที่มีความแปลกใหม่และน่าสนใจ ผ่านศูนย์การเรียนรู้ออนไลน์แห่งนี้

เนื้อหาสร้างสรรค์ หลากหลาย และเข้าถึงง่าย

สำหรับเนื้อหาภายใน Vagina Academ ส่วนใหญ่จะจากผู้มีอิทธิพลและผู้เชี่ยวชาญชาวบราซิลที่มีชื่อเสียงในด้านช่องคลอด จิตวิทยา และทัศนคติที่ดีต่อร่างกาย

ตัวอย่างเช่น Hana Khalil ผู้มีอิทธิพลต่อร่างกายในเชิงบวก (@hanakhalil) ได้ให้บทเรียนเกี่ยวกับเสื้อผ้าที่สวมใส่เพื่อดูแลช่องคลอด พูดถึงความสำคัญของการใช้ถุงยางอนามัย และแชร์ข้อเท็จจริง 20 ข้อเกี่ยวกับช่องคลอดในขณะที่กำลังแต่งหน้าไปด้วย สื่อถึงว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องทั่วไป ที่สามารถคุยได้สบายๆ ไม่ใช่เรื่องจริงจัง และต้องหลบซ่อน

หรือ คลอเดีย มิลาน ผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ (@sosperineo) สอนผู้ใช้เกี่ยวกับเคมีของช่องคลอดขณะแต่งตัวเป็นช่องคลอด และสำรวจสเปกตรัมสีของตกขาวผ่านงานศิลปะ เป็นต้น

เปิดโอกาสให้นักเรียนได้สร้างเนื้อหาเอง

นอกจากนี้ Canesten ยังเปิดโอกาสให้กลุ่ม ‘นักเรียน’ หรือผู้ใช้งานสามารถสร้างเนื้อหาหรือคำถามในประเด็นที่ตัวเองสนใจผ่านแพลตฟอร์ม TikTok ของบราซิล ทำให้คนหนุ่มสาวเปิดใจมากขึ้น และเกิดการแลกเปลี่ยนบทสนทนาอย่างเข้าใจในธรรมชาติของผู้หญิง ตระหนักถึงความสำคัญของโรคต่างๆ มากขึ้น และไม่มองว่าเรื่องช่องคลอดนั้นเป็นเรื่องน่าละอายใจที่จะพูดถึงอีกต่อไป 

ได้ผลตอบรับที่น่าพอใจ

นับตั้งแต่การเปิดตัวโครงการนำร่องในบราซิลช่วงเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมานั้นมีผู้ลงทะเบียนชาวบราซิล 210,000 คน มียอดชม VDO กว่า 44 ล้านครั้ง และที่สำคัญที่สุดคือมีการยกเลิกการเซ็นเซอร์ของคำว่า ‘ช่องคลอด’ บน TikTok แล้วด้วย

ซึ่งขณะนี้โปรแกรมการศึกษานี้ได้เปิดตัวในอิตาลีแล้ว เวอร์ชันสากลที่เรียกว่า Vagina Academy และกำลังจะเปิดตัวในสหราชอาณาจักร ตามด้วยออสเตรเลียในปลายปีนี้ ผ่านแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียต่างๆ เช่น Snapchat, Instagram และ YouTube เพื่อให้เยาวชนเข้าถึงเนื้อหาในชั้นเรียนที่น่าสนใจ รวมถึงสามารถรับชมการถ่ายทอดสดการการสัมมนาได้อย่างง่ายดายด้วย

แคมเปญนี้แบมว่ามีประโยชน์มาก แถมยังเป็นแคมเปญที่สามารถใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ มาเป็นตัวช่วยให้เราก้าวข้ามอุปสรรคทางวัฒนธรรม ที่อาจเป็นปัญหาต่อการรักษาทางการแพทย์ภายหลังได้ด้วย เพราะแบมก็เชื่อเหมือนกันค่ะ ว่าไม่ว่าจะเป็นความกลัวหรือความอาย ถ้าเรามีความรู้มากพิ เราจะเข้าใจว่ามันเป็นเรื่องธรรมชาติ บอกเลยว่าทีนี้ไม่ว่าปัญหาเล็กหรือใหญ่จะไม่เป็นเรื่องที่น่าอายสำหรับผู้หญิงอีกต่อไปแล้วค่ะ

Read more: อ่านบทความเกี่ยวกับการตลาดในแง่มุมอื่นๆ จากการตลาดวันละตอนได้ ที่นี่ในบทความหน้าแบมจะมีอะไรมาอัปเดตอีกบ้าง สามารถติดตามได้ผ่านเพจการตลาดวันละตอน รวมถึง Twitter และ Blockdit ของการตลาดวันละตอนนะคะ

Bambinun*

Content Creator แห่งการตลาดวันละตอน ที่หลงรักการเล่าเรื่องผ่านตัวหนังสือ พอๆ กับการกินของอร่อย และใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการเป็นทาสแมว

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

ใช้ Social Listening บ้างไม่ ?

#การตลาดวันละโพล ขอหนึ่งคำถาม ว่าปกติใช้ Social Listening บ้างหรือไม่ แล้วถ้าใช้ ใช้ตัวไหนอยู่