สรุปสิ่งที่ได้จากงาน Creative Talk 2022: เข้าใจ Data, Business, Branding และ TikTok Marketing

สรุปสิ่งที่ได้จากงาน Creative Talk 2022: เข้าใจ Data, Business, Branding และ TikTok Marketing

ทุกคนอาจจะเคยได้ยินชื่องาน CTC หรือ Creative Talk อยู่บ้าง โดยในปีนี้งานนี้มาใน Theme Creative Talk 2022 “Future of Everything” ที่พูดถึงเรื่องอนาคตที่ประกอบไปด้วยหลายแกนหลักที่สามารถนำไอเดียใหม่ๆ ที่ให้เรานั้นเข้าสู่โลกอนาคตได้อย่างสมบูรณ์แบบค่ะ ในวันนี้เองเพจการตลาดวันละตอนก็ได้เข้าไปร่วมงานด้วยเช่นกัน และดึง Session ที่น่าสนใจมาสรุปให้ฟัง โดยจะเล่าเรื่องในรูปแบบ การใช้ Data เข้ามา Optimize และ Transform ธุรกิจ,การ Drives Branding ที่ต้องคำนึงถึง Core Value, และที่ขาดไม่ได้คือ TikTok Superpower สูตรสำเร็จของการทำ TikTok ให้ทรงพลังนั่นเองค่ะ

เปิดเข้ามาด้วย Session1 หัวข้อ “Data Discovery to New Business” การพัฒนาธุรกิจด้วย Data ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

เมื่อพูดถึงในโลกของเราในปัจจุบันเรามักจะโทษเทคโนโลยี แต่ความจริงแล้วเราต่างหากทราเราไม่ได้เข้าใจลูกค้ามากพอต่างหาก เพราะการที่เราจะ Disruption ได้นั้นจะเกิดจาก pain point ของลูกค้าต่างหาก ในการที่เราจะพัฒนาธุรกิจได้ดีนั้น ต้องเริ่มจากแกนแรกก่อนนั่นก็คือ

ภาพโดย การตลาดวันละตอน

1. Digital Business Optimization

ที่เราจะดูว่าทำอย่างไรให้เราทำธุรกิจออกมาได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งในแง่ของการพัฒนา Productivity และ Revenue หรือแม้กระทั่งในเรื่องของการสร้าง Customer Experience ได้ดีขึ้น เช่นการสร้าง Omni channel ใหม่ๆ ให้เกิดขึ้น เพราะปัญหาของคนที่แพ้ในวงการ Digital ก็คือคนที่สร้าง Experience ได้ไม่ดีพอ ซึ่งด้านล่างก็คือตัวอย่างขงอการนำ Data มาเพิ่มประสิทธิภาพในแง่ของธุรกิจค่ะ

2. Digital Business Transformation

คือการเปลี่ยน Current ไปยัง New Business เช่น เมื่อก่อนเราต้องซื้อ License ของ Adobe ในราคาที่แพงขึ้น แต่พอมาในทุกวันนี้ได้หันมาทำ Business Model ในรูปแบบใหม่นั่นก็คือ Pay per use ใช้เท่าไหร่ก็จ่ายเท่านั้น ซึ่งตรงนี้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลย ถ้าเราไม่มี Data ที่เอามาวิเคราะห์ถึง Behavior ของคนเราที่เปลี่ยนไป

ทั้ง 2 ข้อด้านบนที่เราพูดถึงนั้น จะเห็นเป็นภาพ Digital Ambition อยู่ 2 แกน ว่าเราจะทำอะไรบ้างอยู่กี่ % ซึ่งเราก็จะต้องวางแผนในการทำ Digital Business Strategy ยังไงบ้าง และเราจะคำนึงถึงกลยุทธ์แบบไหนเป็นหลัก

ภาพโดย การตลาดวันละตอน

Data -> Emerging of Data Monetization Business

ถ้าเราพูดไปอย่างเดียวแล้วอาจจะเห็นตัวอย่างที่ยังไม่ชัดพอ ด้านล่างนี้จะเป็นตัวอย่างของบริษัทต่างๆ ที่เริ่มนำ Data เข้ามาสร้างโมเดลธุรกิจใหม่ๆ ให้กับบริษัทได้

จาก Telco ธุรกิจค่ายมือถือ สู่ Marketing Solution

มีการเก็บทุก Touchpoints จากการใช้งานอินเตอร์เน็ตบนมือถือ เน็ตบ้าน โดย Data เหล่านี้ก็ถูกนำมาวิเคราะห์เป็น Customer insight ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมการใช้งาน เช่น URLs Visited, TV Consumption, Brands ที่เสิร์ชบ่อยๆ  วิเคราะห์ Segment ของลูกค้า และ Geo-Location insight เขตที่พักอาศัย สถานที่ที่ชอบไปเที่ยว ใช้เส้นทางไหน ยังไม่หมดแค่นั้นทาง CEO Predictive ก็ได้ยกตัวอย่างการ Emerging Data อีกมากมาย

ภาพโดย การตลาดวันละตอน

โดยสรุปแล้ว

หลายๆ Use cases นั้นก็ประสบความสำเร็จในเรื่องของการนำ Data เข้ามาใช้งาน แต่ไม่ใช่ว่าบริษัททุกบริษัทก็สามารถทำได้ตามง่ายๆ เพราะสิ่งแรกเราต้องเข้าใจคือ Customer Economics ของเราก่อน ว่าเราเข้าใจว่าเรามี Data ของเรามีเท่าไหร่ เพียงพอมั้ย และธุรกิจที่เกิดจาก Data ที่เราได้มาคุ้มกับการทำรึเปล่า เพราะสิ่งที่ต้องเข้าใจอย่างมากเลยคือต้นทุน Data ของเราไม่เท่ากัน

ภาพโดย การตลาดวันละตอน

เราต้องเข้าใจว่าเราเก็บ Data มายังไงบ้าง จะเอาไปใช้ในแง่ไหนบ้าง เข้าใจพฤติกรรมผู้ใช้ของเรามั้ย ซึ่งถ้าหากเรามี Data Inventory ข้อมูลที่มีมากพอ -> Data Organization การจัดการกับข้อมูลมหาศาล -> ไปจนถึงการวางแผนธุรกิจที่คิดครอบคลุมไปจนถึงการทำเงินจากข้อมูลเหล่านี้ การเข้าใจตลาดที่เราจะไปก็จะทำให้เราใช้ต้นทุน หรือ Data ของเราได้อย่างคุ้มค่ามากๆเลยทีเดียวค่ะ

Session 2: “How Meaningful Branding Drives Business”

Session ด้านบนเราพูดถึงการนำ Data เข้ามาสร้างธุรกิจใหม่ๆได้แล้ว คราวนี้เราจะมาพูดถึงการทำธุรกิจที่เราต้องเน้นด้วยการสร้างคุณค่ามากกว่าภาพความสำเร็จและยิ่งใหญ่ การนำประสบการณ์ของการสร้าง Branding ให้ฟัง ในแต่ละ Stage ว่ามี Pain point + Solution ที่แก้ยังไงบ้าง?

โดยหัวใจสำคัญในการสร้างแบรนด์นั้นต้องประกอบไปด้วย Branding + Communication ที่เรานำมาร้อยเรียงให้เกิดการ connecting to the dot สิ่งที่เราจะสื่อออกไปได้อย่างชัดเจน ใน Session นี้ทาง SEA ได้มีการยกตัวอย่างของการสร้าง Branding เป็น 4 Stage ของบริษัทเลย ตั้งแต่เริ่มต้นไปจนถึงการขยายธุรกิจ

1. Establishment

ภาพโดย การตลาดวันละตอน

ในเคสนี้จะยกตัวอย่างถึง Garena เกมส์ออนไลน์ที่ทุกคนรู้จักกันเป็นอย่างดี หากย้อนไปเมื่อหลายปีก่อนเกมส์ออนไลน์ยังต้องอาศัยการเล่นใน PC ซึ่งเด็กส่วนใหญ่ก้จะเข้าไปอยู่ในร้านกมส์เป็นจำนวนมาก ตรงนี้เองทำให้เกิด Pain point ของแบรนด์ในเรื่องของคนมี perception มันไม่ดี คนที่เล่นเกมส์ออนไลน์ก็จะถูก blame ว่าเป็นเด็กติดเกมส์ เลยต้องการที่จะเปลี่ยนการสื่อสารจากภาพลักษณ์ที่ไม่ดีต่อเกมส์ ให้คนเข้าใจว่าเกมส์มีด้านดีเหมือนกันและสื่อภาพความเป็น Digital Entertainment มากขึ้น

Solution:

  1. ปรับภาพลักษณ์การีน่า ใช้คำว่าเกมส์ออนไลน์ให้น้อยลงมากขึ้น เลยเห็นว่าเกมส์สามารถไปเป็นตลาด Esport และจัดการแข่งขันกันได้ + educate ว่ากีฬา Esport มีผลดียังไง
  2. ต้อง Set ecosystem ขึ้นมา เชิญต่างประเทศเข้ามาร่วมแข่งขันด้วยทั้งทำเว็บไซต์ Garena Academy เพื่อให้ความรู้ทั้งเรื่อง 14 อาชีพ และความรู้ต่างๆในโลกของเกมส์ ว่าสามารถ transfer ไปยังธุรกิจต่างๆได้

2. Expansion ขยายธุรกิจจากเกมส์ ไปยัง E-commerce ให้มีความ diverse มากขึ้น

ภาพโดย การตลาดวันละตอน

เมื่อพอคลุกคลีกับ digital entertainment เข้ามา ทาง Garena ก็เริ่มมองหาธุรกิจใหม่ๆ แต่ที่นี้ความยากคือการทำธุรกิจที่อยู่ในอุตสาหกรรมที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง

Challenge: ธุรกิจที่เกิดใหม่ และทำอะไรหลายๆอย่างแล้ว และค่อนข้างยากในการสื่อสารว่าการีน่าไม่ได้ทำแค่เกมส์แล้ว แต่ยังทำอื่นๆด้วย เพราะฉะนั้นยังทำให้แบรนด์ขาดความน่าเชื่อถือ เลยต้องการที่จะสร้างความน่าเชื่อถือมากขึ้นจากการหา partner ใหม่ๆ เข้ามา

Solution:

การเชิญสื่อต่างๆ เข้ามาทำความรู้จัก Office (สมัยนั้น office แบบแนว startup หรือ open space ถือว่ามีน้อยมากๆในไทย) มากขึ้นและ Set ตัวเองเป็น Thought Leader ใความสมัยใหม่เน้นความเป็น Teach ได้ดีมากขึ้น

3. Rebranding จาก Garena –> SEA

ภาพโดย การตลาดวันละตอน

ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายเลย จากในวันแรกเป็นบริษัทที่ทำเกี่ยวกับเกมส์และหันมาใช้ชื่อที่เปลี่ยนไป ซึ่งตรงนี้เองก็คือสิ่งที่ Challenge ของบริษัท ที่จะต้อง Restructure Branding ใหม่  

Solution: เน้นการสื่อสารผ่าน Press conference + สื่อมวลชน + นักลงทุน

ถ้าถามว่าทำไมเราไม่สื่อสารกับผู้บริโภค เน้นโปรโมทแบรนด์ผ่าน Social media เยอะๆ? ถ้าเราลองมาคิดดูดีๆว่าการโปรโมทแบรนด์ผ่าน Social media ซึ่งมองว่าไม่ยั่งยืน คนเลื่อนผ่านมาแล้วก็ผ่านไป แต่เน้น platform ให้น่าเชื่อถือมากขึ้น + ส่งผู้บริหาร CEO ส่งผ่านความเป็น thought leader ซึ่งผู้ฟังก็จะจำว่า SEA เป็นใคร ทำอะไรบ้าง โดยที่เราสื่อสาร + core value ความ value ของแบรนด์ออกมาได้จริงๆ

4. Purposeful branding

ภาพโดย การตลาดวันละตอน

เมื่อบริษัทและคนรู้จักเราดีมากพอแล้ว เข้ามาสู่ Stage การทำแบรนด์ที่อยากให้คนเข้าใจว่าบริษัทจะเราเติบโตไปพร้อมๆกับทุกคน ไม่ได้เป็นบริษัทต่างชาติมาทำธุรกิจในไทยอย่างเดียว

Solution:

การทำ CSR และการทำ Project ที่สร้างผลลัพธ์ในคนทั่วไปให่ได้มากที่สุด เช่น การให้ความสำคัญกับการใช้ Digital ในทุกๆ Generation ซึ่งทุกวันนี้ Digital เข้ามามีบทบาทในกลุ่มทุกวัย ไม่ใช่แค่กลุ่มวัยรุ่น เพราะฉะนั้นการที่เราจะสร้างคุณค่าให้เกิดขึ้นจริงๆ คือการสิเคราะห์ปัญหาและมองเห็นโอกาส เช่นตอนนั้นอยู่ในยุค Aging Society คนสูงวัยมีมากขึ้น อยู่บ้านนานๆ อาจจะทำให้เขารู้สึกว่าไม่มีอะไรทำ และไร้คุณค่าไปในที่สุด ซึ่งการที่เราไปช่วย Educate เรื่องของการใช้ Digital ให้เกิดประโยชน์ เช่นสร้างรายได้ในโลกของ E-Commerce มากขึ้น ซึ่งนี่ก็เป็นมากกว่าการทำ Branding แต่คือคุณค่าที่เราได้ส่งมอบผ่านความเป็น Brand และ Core Value ได้ดีมากๆ เช่นกัน  

Key Takeaway หัวใจในการทำ Branding:

– Objective ที่อยากจะสื่อคืออะไร อะไรคือโจทย์ของเรา

– เข้าใจว่าธุรกิจ ว่าเราทำอะไรอยู่  

– Authentic พูดสิ่งที่มีคุณค่า value ขององค์กรเราออกไป

– Meaningful การทำ branding ที่มีความหมาย สร้างประโยชน์ให้กับสังคม การสื่อออกไปว่าอยากเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร เพราะอยากที่จะมีส่วนช่วยสังคม

Session 3: TikTok Superpower

ภาพโดย การตลาดวันละตอน

อันนี้เป็นสรุปจาก Panel Discussion จาก TikTok Superpower มี Tricks สรุปสั้นๆของทั้งแง่ของ Brands และ Creators ที่ทำอย่างไรให้ Powerful มากที่สุดค่ะ

Content:

  1. สร้าง “เอ๊ะ Moment” เพราะคนดูมักจะคาดหวังว่าอยากดูอะไรใหม่ๆ ปรับวิธีการเล่าเรื่อง ใส่ Education + Entertainment เข้าด้วยกัน
  2. สร้างคอนเทนต์ที่ให้คนจดจำ ทำให้เรื่องของเขา เมือก่อนเราจะเริ่มวิ่งที่ตัวเองอยากพูด แต่อันนี้เราลองมองกลับกัน ว่าคนฟังอยากฟังอะไรบ้าง?
  3. การทำ challenge ให้เหมาะกับ audience กับแบรนด์

Positioning:

  1. การที่ brand มี TikTok ทำให้ users ใกล้ชิดกับแบรนด์มากขึ้น ลดความเป็น Brand ให้เหมือนเป็นเพื่อน ไม่ห่วงภาพลักษณ์ เช่น Lazada Shopee
  2. ทำให้คนจดจำ ว่าแบรนด์อยากจะเล่าอะไรให้ฟัง เช่นเอาเรื่องการเงินมาเล่าให้ฟัง

สรุป Secret Source: สรุปสูตรสำเร็จของการทำให้ TikTok Powerful มากขึ้น

– Creative -> เอ้ะ ใหม่ แหวกแนว

– Concise -> กระชับ

– Entertainment-> เช่นการหยิบจับให้ล้อไปกับกระแสได้

ทั้งหมด 3 Session ที่ได้เขียนมา เราหวังว่าถ้าอ่านมาถึงตรงนี้แล้วจะได้ความรู้ออกไปแบบครบรสชาติมากเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการพัฒนาธุรกิจ, การสร้าง Branding และอย่างสุดท้ายเลยคือการทำ Marketing ที่ต้องเข้าใจตัวเรา ผู้ใช้ และการปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัยที่เปลี่ยนไปค่ะ

อื่นบทความอื่นๆของการตลาดวันละตอนได้ที่นี่

งานยังมีวันที่ 26 มิ.ย. อีกหนึ่งวันดูรายละเอียดได้ที่ Creative Talk Conference 2022

Pitchakorn Sirimonta

Freelance at Everyday Marketing.co and current social media management who has a passion for business innovation and believe in data-driven marketing.

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

ใช้ Social Listening บ้างไม่ ?

#การตลาดวันละโพล ขอหนึ่งคำถาม ว่าปกติใช้ Social Listening บ้างหรือไม่ แล้วถ้าใช้ ใช้ตัวไหนอยู่