รองเท้า Adidas – AM4LDN ที่สร้างจาก Data-Driven Design

รองเท้า Adidas – AM4LDN ที่สร้างจาก Data-Driven Design

ต้องบอกว่า Adidas เป็นอีกแบรนด์ที่ใช้ Data-Driven Design ให้เกิดสิ่งใหม่ๆ ได้ดีมากๆ อย่างรองเท้า Adidas รุ่น AM4LND หรือ Adidas Made for London ก็สร้างจาก Data ของคนในเมือง London ซึ่งถ้าคุณเป็นคนกรุงเทพก็ใส่ไม่ได้ เพราะรองเท้ารุ่นนี้เค้าทำแบบ Localized ที่ต้องเป็นคนในพื้นที่เดียวกันเท่านั้นถึงจะซื้อใส่ได้ค่ะ

Adidas Speedfactory ใช้หุ่นยนต์ และ Data-Driven Design ในการผลิตรองเท้า

โดยปกติเวลาบริษัทรองเท้าจะผลิตรองเท้าสักคู่ เราก็จะให้ดีไซน์เนอร์เป็นคนออกแบบ ว่ารองเท้าต้องทำจากอะไร ลายแบบไหนถึงโดนใจกลุ่มเป้าหมาย

แต่ที่ Adidas Speedfactory เขาใช้หุ่นยนต์ล้วนๆ ผสมกับการใช้ Data-Driven Design ในการทำรองเท้า จนตอนนี้มีออกมาเป็น Collection ที่เรียกว่า AM4 แล้วค่ะ โดยรองเท้า Adidas รุ่น AM4 นี้ มีสำหรับ London เป็นที่แรก ตามมาด้วย New York Paris Tokyo Shanghai และ Los Angeles เป็นลำดับค่ะ

Data-Driven Design ที่ใส่ Sensor และ Motion Capture ไว้ใน รองเท้า เพื่อตรวจจับ Data การเคลื่อนไหว

มาถึงตรงนี้หลายๆ คนก็คงอยากรู้แล้วว่า Data-Driven Design ที่รองเท้า Adidas ใช้มันคืออะไร? ทำไมคนต่างเมืองกันถึงซื้อใส่ด้วยไม่ได้?! 

วิธีเก็บ Data ของแบรนด์เป็นแบบนี้ค่ะ บริษัทจะใส่ Sensor และอุปกรณ์ตรวจจับ Motion การเคลื่อนไหวลงไปในรองเท้า Adidas แล้วร่วมมือกับนักวิ่ง นักกีฬาทั้งหลายให้เอาไปใส่เดิน ใส่วิ่งรอบๆ เมือง ตามกิจวัตรของตัวเอง จากนั้นบริษัทจะนำข้อมูลการเดินหรือวิ่งซ้ำๆ เหล่านี้มาวิเคราะห์ออกมาเป็น Data ว่ารองเท้าของ London ควรดีไซน์เป็นแบบไหน ทำจากวัสดุอะไรถึงใส่สบายที่สุด เบาที่สุดค่ะ support เท้าที่สุดค่ะ

รองเท้า Adidas AM4LDN และระบบ Sensor ข้างล่าง

ซึ่งโปรเจคของรองเท้า Adidas Speedfactory นี้ ถือเป็น always-on project เลยก็ว่าได้ เพราะทางแบรนด์ Adidas เองก็ออกมาบอกแล้วค่ะว่า รองเท้ารุ่นต่อๆ ไปในอนาคตของ Adidas นั้น จะถูกดีไซน์ออกมาจาก Data-Driven Design หรือ Insight ของผู้ใช้งานจริงเลย

อย่างรุ่นของ AM4NYC เอง ทางแบรนด์ก็พบว่า ควรจะทำพื้นหนานุ่มกันกระแทกตรงช่วงกลางรองเท้า หรือช่วงเท้าด้านหน้า ในขณะที่รองเท้า AM4LDN ควรใช้วัสดุที่มีแรงสะท้อนกลับหรือ Reflective Materials เพราะเหมาะกับการใช้งานในเมืองนั้นๆ

โดยเบื้องหลังของไอเดียนี้ ไม่ใช่อะไรใหม่เลยค่ะ แต่มันคือการสร้างความอยากได้ของรองเท้า Adidas ผ่าน 3 ปัจจัยหลัก นั่นก็คือ Speed ที่ไม่ใช่ความเร็วของฝีเท้าแต่เป็นความเร็วที่ไม่อยากตกเทรนด์เลยต้องรีบคว้าเอาไว้ Cities แบรนด์จะเลือกรุกเมืองที่ใครๆ ก็เชื่อมั่นว่าเทสดี แฟชั่นล้ำสมัยแน่นอนเป็นหลัก และปัจจัยสุดท้าย Open Source คือการร่วมมือหรือ Co-Creation กับคนนอก อย่างนักวิ่ง นักกรีฑา หรือผู้ใช้งานเองก็ตามให้เอาสินค้าเหล่านี้ไปใช้เพื่อเก็บ Data มาพัฒนาต่อไป

รองเท้า Data-driven design ที่ได้รับความร่วมมือกับ Open Source

ผลจากการใช้ Data มาทำรองเท้า Adidas นั้นทำให้ส่วนแบ่งตลาดของ Adidas เพิ่มสูงขึ้น 6.6% ในปี 2017 จากปีก่อนหน้าในช่วงเดือนเดียวกัน ไม่ใช่แค่นั้นนะคะ ส่วนแบ่งของคู่แข่งอย่าง Nike เองก็ดรอปลงมาจาก 39% เหลือ 37% ส่วนรองเท้า Jordan สุดฮิตก็โตขึ้นเพียงนิดเดียวเท่านั้นจาก 9.4% เป็น 9.5%

ต้องบอกว่านอกจาก Adidas Speedfactory จะผลิตสินค้าใหม่ได้เร็ว อินเทรนด์จากข้อมูลที่เก็บจากรองเท้าที่ขายไปแล้วอย่างต่อเนื่อง แบรนด์ยังสามารถ personalized สินค้าแต่ละคู่ให้เหมาะกับการใช้งานของรายบุคคลในอนาคตได้ด้วยค่ะ

หากใครอยากอ่านเคสเกี่ยวกับ Data-driven ที่การตลาดวันละตอนเคยเขียนสรุปไว้แล้วเพิ่ม สามารถคลิกที่นี่ได้เลยนะคะ

Source: https://www.si.com/edge/2017/12/27/adidas-ultraboost-am4ldn-am4par-speedfactory-futurecraft

Plearn Wisetwongchai

Marketing Strategic Planner ในเครือการตลาดวันละตอน | A Creator สาวพลัสไซส์ @Fabfatkid | A Travel Lover ที่หมดเงินเกือบ 80% ไปกับการเดินทางแบบแมสๆ | An Instagrammer @theplearn ที่ชอบเล่น Story เป็นชีวิตจิตใจ | สุดท้ายคือ Data Researcher ทั้ง Social และ Search Data etc. ค่ะ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

คุณคิดว่าปัญหา PM 2.5 ที่เชียงใหม่วิกฤตหรือยัง ?

#การตลาดวันละโพล ขอหนึ่งคำถามก่อนอ่านการตลาดวันละตอน แล้วเราจะเอาไปทำเป็น Infographic โชว์หน้าเพจให้รู้ด้วยกัน