Health Data Collaboration และ Creativity กับ 4 บทเรียนสำคัญจาก COVID-19

Health Data Collaboration และ Creativity กับ 4 บทเรียนสำคัญจาก COVID-19

จากวิกฤต COVID-19 ที่ส่งผลกระทบต่อโลกทั้งใบอย่างสาหัสนับแต่ปี 2020 เป็นต้นมา เริ่มจากจีนที่จำกัดการเคลื่อนที่ของผู้คนกว่า 60 ล้านคนในประเทศเพื่อสกัดยับยั้งการแพร่ระบาดไม่ให้ลุกลามหนักไปกว่านี้ จากนั้นก็ส่งผลให้ยุโรปเริ่มเรียนรู้และทำตามด้วยการปิดประเทศเมื่อเห็นว่าการรับมือกับโรคระบาดชนิดนี้จะทำชิลเหมือนเดิมไม่ได้อีกต่อไป ตลาดทั่วโลกเกิดความระส่ำระส่ายอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน และธุรกิจที่เห็นว่าจะหนักที่สุดจากวิกฤตครั้งนี้ก็คือธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางของผู้คนอย่าง สายการบิน โรงแรม และร้านอาหาร ซึ่งเรียกได้ว่านี่คือภาวะที่วิกฤตที่สุดในแบบที่ไม่เคยมีตำราใดบอกไว้ว่าจะรับมืออย่างไร

ระหว่างนี้ทางนักวิทยาศาสตร์ทั้งหลายจากทั่วโลกต่างก็คาดการณ์ว่าการระบาดของไวรัส COVID-19 น่าจะอยู่ที่ 20-60% ของประชากรทั่วโลก ตีเป็นตัวเลขกลมๆ ก็น่าจะอยู่ระหว่าง 1,400-4,200 ล้านคน ซึ่งน่าจะมากในประเทศแถบซีกบนของโลก เพราะในประเทศแถบซีกล่างของโลกมีอุณหภูมิสูงกว่าซึ่งไวรัสตัวนี้ไม่ชอบอากาศร้อน ก็ทำให้มันเกิดการแพร่ระบาดได้ต่ำกว่าครับ

และหลังจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ครั้งนี้บอกได้เลยว่าโลกทั้งใบหลังจากนี้ไปจะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป เพราะการระบาดในครั้งนี้ทำให้เราได้ย้อนกลับมาถึงสิ่งสำคัญบางอย่าง ซึ่งจะกลายเป็นบทเรียนสำคัญสู่การโลกใบใหม่ในอนาคตอันใกล้เมื่อ COVID-19 ผ่านพ้นไปครับ

4 บทเรียนสำคัญที่เราได้เรียนรู้จากโรคระบาดไวรัส COVID-19

1. เราควรมี Free Health Data ในระดับโลก

COVID-19 เข้ามาเปลี่ยนโลกไปไม่เหมือนเดิม กับ 4 บทเรียนสำคัญให้เราไม่ลืม Free Health Data, Collaboration ระหว่างรัฐและเอกชน และ Creativity ที่ลดการระบาดได้ดี

จากที่เคยพูดกันว่าผีเสื้อกระพือปีกแล้วสะเทือนถึงดวงจันทร์นั้นอาจจะไกลตัวเกินไป แต่ถ้าให้บอกว่าโรคระบาดที่เกิดขึ้นกับเมืองเล็กๆ ในประเทศนั้นอาจส่งผลกระทบที่สั่นคลอนโลกทั้งใบได้คงไม่ใช่เรื่องเกินจริงอีกต่อไปครับ

ซึ่งนั่นหมายความว่าถ้าเราอยากจำกัดโรคติดต่อโรคใดโรคหนึ่งไม่ว่าจะ COVID-19 หรือวัณโรค หรือโรคระบาดในก็ตามที่อาจเกิดขึ้นอีกในอนาคตนั้นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกประเทศทั่วโลกโดยลืมเรื่องขอบเขตพรมแดนระหว่างประเทศไป เพราะถ้าโรคหนึ่งเกิดระบาดที่ประเทศหนึ่งแล้ว ก็ยากที่จะยับยั้งไม่ให้โรคนี้แพร่กระจายเข้ามาในประเทศเราได้โดยง่ายเหมือนที่เคยคิดไว้อีกต่อไปครับ

ให้เหตุการณ์การระบาดในครั้งนี้เป็นบทเรียนของคนทั้งโลกที่ไม่อาจลืมเลือนได้ว่าเราต้องสูญเสียกันไปมากมายขนาดไหน วิถีชีวิตเราต้องเปลี่ยนแปลงไปมากขนาดใด เราต้องมาทบทวนคำว่าโลกาภิวัฒน์กันใหม่ ที่จะไม่ใช่แค่เขตการค้าเสรี การปลอดกำแพงภาษี หรือการเคลื่อนย้ายโดยเสรีของคนทั้งโลกเท่านั้น แต่เราต้องระบุเรื่องการไหลเวียนของข้อมูลด้านสุขภาพของคนทั้งโลกเข้าด้วยกัน ให้กลายเป็น Free Health Data ขึ้นมา อาจจะถึงคราวของเทคโนโลยีอย่าง Blockchain ที่จะทำให้เรื่องนี้เป็นจริงขึ้นมาสักที

เพราะนั่นหมายถึงว่าถ้าเมื่อไหร่เกิดเหตุการณ์นี้ขึ้นอีกแล้วโลกเรามีศูนย์กลางของข้อมูลด้านสุขภาพที่สามารถเข้าถึงได้จากทั่วโลกดีกว่าทุกวันนี้ เราคงจะสามารถรับมือได้อย่างทันท่วงที รวมถึงสามารถหาทางแก้ไขสถานการณ์ได้ดีกว่าทุกวันนี้แน่ครับ

เหมือนที่ประเทศในทวีปเอเซียเคยทำมาแล้วกับการรับมือจากโรคระบาดร้ายแรงอย่ามาลาเรีย ที่เกิดจากความร่วมมือของกลุ่มประเทศลุ่มแม่น้ำโขงที่มีการอัพเดทหรือแชร์ข้อมูลระหว่างกันอยู่ตลอดเวลา เพื่อเอาไปศึกษาแล้วกลับมาแชร์ข้อมูลระหว่างกันอีกครั้ง ทำให้เกิดความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วในการรับมือกับโรคมาลาเรียนี้

และทางรัฐบาลของประเทศต่างๆ เองในกลุ่มประเทศลุ่มแม่น้ำโขงก็เข้าร่วมในการลงทุนเพื่อรับมือกับโรคนี้อย่างเต็มนี้ จึงทำให้การระบาดของโรคมาลาเรียมักจะถูกเข้าควบคุมได้อย่างรวดเร็วทันท่วงทีก่อนจะแพร่กระจายออกไปในวงกว้าง ทำให้ไม่กลายเป็นข่าวใหญ่โตทั้งที่โรคนี้มีความร้ายแรงมากครับ

2. ความมั่นคงทางสุขภาพของทั้งโลกไม่ควรกระจุกอยู่แค่ในเมืองเดียว

COVID-19 เข้ามาเปลี่ยนโลกไปไม่เหมือนเดิม กับ 4 บทเรียนสำคัญให้เราไม่ลืม Free Health Data, Collaboration ระหว่างรัฐและเอกชน และ Creativity ที่ลดการระบาดได้ดี

จากการระบาดของ COVID-19 ส่งผลกระทบอย่างหนักต่ออุตสาหกรรมยาทั่วโลก เพราะคนส่วนใหญ่ไม่รู้ว่าจีนเป็นประเทศสำคัญที่ส่งออกวัตถุดิบสำคัญที่เป็นสารออกฤทธิ์ในยาหรือที่เรียกว่า Active Pharmaceutical Ingredients (APIs) ซึ่งจีนเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ที่สุดในโลกครับ

เพราะเมื่อทางการจีนประกาศปิดเมืองอู่ฮั่นก็ส่งผลต่อมณฑลหูเป่ย์ที่อยู่ในเมืองนั้นให้ต้องหยุดโรงงานทุกอย่างไปพร้อมกัน และมณฑลหูเป่ย์นั่นเองที่เป็นแหล่งส่งออกวัตถุดิบสำคัญในการผลิตยาทั่วโลก ซึ่งการระบาดของโรค COVID-19 ในครั้งนี้ส่งผลต่อโรคอื่นๆ ที่ต้องการยารักษา ไม่ว่าจะเป็นยาต้านมาลาเรียหรือมะเร็งก็ตามครับ

ดังนั้นในระยะสั้นบรรดาบริษัทที่อยู่ในอุตสาหกรรมการผลิตยาต้องรีบวางแผนแก้ไขปัญหาระยะสั้นว่าจะหาวัตถุดิบจากไหนเข้ามาทดแทนที่มณฑลหูเป่ย์ในอู่ฮั่นเคยส่งมา และในระยะยาววิกฤต COVID-19 ก็แสดงให้เป็นว่าประเทศต่างๆ และบริษัทต่างๆ ต้องมีแผนรับมือกับเหตุการณ์ฉุกเฉินด้านสุขภาพที่อาจเกิดขึ้น

3. รัฐบาลต้องลงมือให้เร็ว แต่ในขณะเดียวกันภาคธุรกิจก็ต้องร่วมทำตามให้ไว

singapore covid 19

เพราะมีแค่รัฐบาลเท่านั้นที่สามารถสั่งการณ์ให้ปิดประเทศได้ รวมถึงส่งความช่วยเหลือประชาชนในประเทศที่ถูกสั่งห้ามเคลื่อนย้ายให้สามารถดำรงชีพอยู่ได้โดยไม่แตกตื่น แต่อย่างไรก็ตามโนบายของรัฐบาลที่สั่งออกมาจะไม่เกิดผลถ้าไม่ได้รับความร่วมมือจากทุกภาคฝ่ายในสังคมด้วยดี

สิงค์โปรเป็นหนึ่งประเทศที่มีมาตรการการจัดการที่ดีจนทุกประเทศทั่วโลกควรศึกษาวิธีการทำงานของเขาครับ เริ่มจากรัฐบาลสิงค์โปรให้คำแนะนำในการปฏิบัติตัวและข้อมูลเรื่องความร้ายแรงอย่างตรงไปตรงมาขอโรคระบาดนี้แก่ประชาชน บวกกับประชาชนสิงค์โปรมีความเชื่อมั่นในรัฐบาลสูงมาก ทำให้พวกเราสามารถรับมือและป้องกันได้ทัน จึงทำให้การระบาดของ COVID-19 ถูกจำกัดได้อย่างรวดเร็วมากกว่าชาติใดในโลกครับ

ส่วนถ้ารัฐบาลไหนจะมาบ่นว่า “ก็นั่นไง ที่เค้ารับมือได้ดีเพราะประชาชนเชื่อมั่นในรัฐบาล” ผมคงต้องบอกว่า “แล้วที่ผ่านมาทำไมรัฐบาลไม่ทำให้ประชาชนเชื่อมั่นก่อนจะเกิดโรคระบาด?”

แถมไม่ใช่แค่ภาครัฐบาลเท่านั้นที่จะทำได้ แต่ภาคธุรกิจยังต้องร่วมด้วยอย่างรวดเร็ว ภาคธุรกิจของสิงค์โปรมีการสั่งการให้พนักงานทุกคนทำงานจากที่บ้านหรือ Work from Home อย่างรวดเร็วโดยไม่รอให้เกิดการแพร่ระบาดอย่างแพร่หลายก่อนเหมือนบ้านเรา(หลายบริษัทในบ้านเรายังสั่งให้พนักงานยังคงเข้าออฟฟิศไปทำงานกันเลยในวันที่เขียนบทความนี้) บริษัทเหล่านี้สั่งให้พนักงานวัดอุณหภูมิตัวเองแล้วรายงานทุกวันเพื่อที่ว่าถ้าใครดูมีความเสี่ยงจะเป็นไข้ก็จะได้รีบจัดการแต่เนิ่นๆ แล้วบริษัทก็ยังสั่งระงับการเดินทางไปประชุมหรือเรื่องใดๆ ก็ตามที่เกี่ยวกับงาน พวกเขาต้องการให้พนักงานทุกคนอยู่แต่ในบ้านแล้ว Work From Home ให้มากที่สุด

แต่คำถามที่จะกลายเป็นคำถามสำคัญของภาคธุรกิจจากวันนี้ไปคือ บริษัทเหล่านี้จะทำธุรกิจต่อไปอย่างไรถ้าโรคยังคงแพร่กระจายไปอีกนาน หรือถ้ามีโรคใหม่ที่ร้ายแรงพอๆ กันมาแพร่ระบาดอีกครั้ง แล้วถ้ามีพนักงานเกิดติดเชื้อหรือป่วยใข้ขึ้นมาจำนวนมาก หรือต้องถูกกักตัวอยู่ที่บ้านอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ บริษัทจะดูแลหรือรับผิดชอบพนักงานอย่างไร?

คำถามนี้ยังไม่มีคำตอบที่ชัดเจนในวันนี้ แต่เชื่อว่านี่จะกลายเป็นนโยบายใหม่ของหลายบริษัทนับจากวันนี้ไป ไม่แน่ว่าการ Work From Home อาจกลายเป็นเรื่องปกติของภาคธุรกิจแม้วิกฤต COVID-19 จะผ่านพ้นไปก็เป็นได้ครับ

ท่ามกลางวิกฤตที่เกิดขึ้นทำให้ภาคธุรกิจเริ่มมองหาพาร์ทเนอร์ที่จะช่วยเสริมด้านความมั่นคงทางสุขภาพเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน อาจจะเกิดการลงทุนในธุรกิจด้านสุขภาพมากขึ้นนับจากนี้ หรืออาจเกิดความร่วมมือเพื่อแชร์องค์ความรู้ระหว่างกันในแบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน

4. Creativity ที่ดีช่วยพิชิตโควิดได้

ไม่ใช่ว่าทุกประเทศในโลกจะสามารถสั่งการทุกอย่างได้เด็ดขาดและเฉียบพลันแบบประเทศจีนได้ แน่นอนว่าเขายังเป็นคอมมิวนิสต์ ดังนั้นเค้าสามารถสั่งอะไรก้ได้ตามที่เห็นว่าดี แต่ก็ใช่ว่าทางการจีนจะกล้าสั่งสุ่มสี่สุ่มห้า เพราะถ้าประชาชนไม่เอาด้วยทุกวันนี้คอมมิวนิส์ต์ก็อยู่ไม่ได้ เพราะเราจะเห็นว่าแม้จะมีข่าวการระเบิดในประเทศต่างๆ โดยเฉพาะในยุโรปและสหรัฐอเมริกา ชาติเหล่านี้ก็ยังไม่สามารถดำเนินการได้อย่างทันท่วงที ส่วนหนึ่งเพราะพอเป็นประชาธิปไตยแบบประชานิยมที่หวังพึ่งคะแนนความนิยมของประชาชนเพื่อให้ตัวเองอยู่ต่อ เลยต้องพยายามเอาอกเอาใจประชาชนจนพอมารู้ว่าผิดพลาดครั้นจะมาแก้โควิดก็ติดกันไปจนแซงจีนแล้ว ทั้งที่ประชากรรวมทั้งประเทศนั้นมีน้อยกว่าจีนมากครับ

แล้วหลายประเทศในแถบซีกโลกใต้เส้นศูนย์สูตรลงไปแม้จะเต็มไปด้วยอาสาสมัครมากมาย แต่ด้วยความแคลนทรัยากรหรือเครื่องไม้เครื่องมือที่จำเป็นในการรับมือและต่อสู้กับโรคระบาดอย่างโควิด แต่ท้ายที่สุดพวกเขาก็สามารถพยายามหาทางยับยั้งโรคระบาดในแบบของตัวเองซึ่งกลายเป็นนวัตกรรมใหม่ๆ ให้หลายประเทศในโลกได้เรียนรู้แล้วเอาไปประยุกต์ใช้ในแบบของตัวเองครับ

โลกเรามีกองทุนโรคที่ชื่อว่า The Global Fund ที่ลงทุนไปหลายพันล้านเหรียญในการต่อสู้กับโรคต่างๆ อย่าง HIV วัณโรค หรือมาลาเรีย ให้กับทุกประเทศในโลก และก็คาดว่า COVID-19 ก็น่าจะเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของกองทุนในการต่อสู้กับโรคระบาดร้ายแรงนี้เช่นเดียวกันเพื่อที่จะหาทางยับยั้งและรักษาถ้าจะเกิดขึ้นอีกในครั้งหน้าครับ

แต่สิ่งสำคัญในการควบคุมโรคระบาดไม่ให้ระบาดไวเกินไปนั่นก็คือการสื่อสาร

การสื่อสารถือว่าเป็นอาวุธสำคัญของมวลมนุษยชาติมานานนับตั้งแต่เรากลายมาเป็นสิ่งมีชีวิตที่ครองโลกก็ว่าได้ เพราะการสื่อสารทำให้เราสามารถเข้าใจความคิดของอีกฝ่าย ทำให้เรามีจินตกรรมร่วมกันกับคนหมู่มากได้ ดังนั้นเราจึงต้องหาทางสื่อสารถึงความร้ายแรงของโรคระบาดนี้ออกไปให้ไวกว่าที่โรคจะระบาดออกไปถึงผู้คนจริงๆ ครับ

เหมือนที่ประเทศเวียดนามใช้การสื่อสารเป็นอาวุธหลักในการต่อสู้กับ COVID-19 อย่างได้ผลดี ทางกระทรวงสาธารณสุขสื่อสารออกไปในรูปแบบ MV การ์ตูนที่ทำให้คนเข้าใจได้ง่ายว่าโรคนี้มันทำงานอย่างไร มันระบาดได้ง่ายแค่ไหน แล้วมันอันตรายต่อพวกเขาแต่ละคนได้ขนาดไหน แถมมันยังใกล้ตัวมากๆ อีกด้วยครับ

แล้วไม่เท่านั้นทางกระทรวงสาธารณสุขยังมีการใช้กลุ่มวัยรุ่นที่เป็น Influencer ช่วยกันกระจายเพลงนี้ออกไปทางแพลตฟอร์มที่วัยรุ่นชอบอย่าง TikTok ด้วยการสร้างเป็น Challenge ผ่านท่าเต้นให้คนรู้จักวิธีป้องกันและรับมือกับโควิด ว่าต้องล้างมือให้บ่อย จนกลายเป็นไวรัลที่กระจายได้เร็วกว่าไวรัสครับ

ดังนั้นจะเห็นว่า Creativity ในการสื่อสารหรือ Communication นั้นมีผลต่อการลดการแพร่กระจายของไวรัลโคโรนามาก เพราะถ้าสื่อสารออกมาไม่เป็นแล้วคนฟังไม่เข้าใจ ก็ไม่ต้องโทษใครโทษคนพูดนี่แหะครับว่าพูดยังไงให้คนไม่รู้เรื่อง

สรุปส่งท้าย

COVID-19 เข้ามาเปลี่ยนโลกไปไม่เหมือนเดิม กับ 4 บทเรียนสำคัญให้เราไม่ลืม Free Health Data, Collaboration ระหว่างรัฐและเอกชน และ Creativity ที่ลดการระบาดได้ดี

และทั้งหมดนี้บอกได้ว่าต่อไปนี้ผู้คนจะกังวลเรื่องชีวิตและสุขภาพขึ้นอย่างมากควบคู่ไปกับการเติบโตทางเศรษฐกิจ โลกจะเริ่มหันมาลงทุนในเรื่องของสุขภาพหรือสาธารณสุขกันมากขึ้นเพื่อพร้อมรับมือกับภาวะฉุกเฉินจากโรคระบาดแบบ COVID-19 ในครั้งหน้าครับ

หวังว่าพวกเราจะสามารถร่วมมือกันแบบไร้พรมแดนเพื่อเพิ่มความปลอดภัยในชีวิตและสุขภาพ ถ้าภาคธุรกิจและรัฐบาลสามารถร่วมมือกันด้วยดีทั้งสองฝ่ายก็จะเติบโตไปด้วยกันอย่างยั่งยืน และก็จะเกิดเป็นโอกาสใหม่เหมือนอย่างที่คนลงทุนกับการป้องกันโรคไข้มาลาเรียมากมาย หวังว่า COVID-19 จะเป็นเหมือนกัน

เมื่อวิกฤตทุกอย่างผ่านไป แต่เราจะจดจำมันไปอีกนาน มันจะเป็นเครื่องเตือนใจให้เราลงทุนกับระบบสาธารณสุขและสุขภาพเพิ่มขึ้นมากอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน เพราะนั่นก็คือการลงทุนที่สำคัญที่สุดในชีวิตเราทุกคนครับ

ขอให้ COVID-19 ผ่านพ้นไปโดยไว แล้วโลกใบใหม่ของเราจะไม่เหมือนเดิมครับ

อ่านบทความที่เกี่ยวกับ Covid-19 ต่อ > https://www.everydaymarketing.co/?s=covid

Source > https://www.campaignasia.com/article/covid-19-time-to-rethink-everything-we-know/459024?fbclid=IwAR1T6UGlXbZoKLyhsFtsk0GKdQKX6WdNdNP7n_JBbt7HWg-wB26dBxsKJeg

Nattapon Muangtum

เจ้าของเพจการตลาดวันละตอน / อาจารย์พิเศษวิชา Data-Driven Communication / เขียนหนังสือมาแล้ว 5 เล่ม Personalized Marketing, Data-Driven Marketing, Data Thinking, Contextual Marketing และ Social Listening / ที่ปรึกษา Data-Driven Advisor

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *