ส่องหุ้น TIDLOR เวิร์กจริงไหม? ถ้าอยากจองต้องทำอย่างไรบ้าง?

ส่องหุ้น TIDLOR เวิร์กจริงไหม? ถ้าอยากจองต้องทำอย่างไรบ้าง?

เรียกได้ว่ากลายเป็นอีกหนึ่งประเด็นร้อนแรงแซงอากาศในช่วงเดือนเมษายนไปเลย เมื่อบริษัท เงินติดล้อ จำกัด (มหาชน) หรือ TIDLOR ประกาศแผนขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนให้กับประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก แน่นอนค่ะว่าเมื่อข่าวนี้ออกไปก็ได้รับความสนใจอย่างล้นหลามรวมถึงตัวนุ่นเองด้วย ซึ่งในวันที่ 16 เมษายน ที่ผ่านมา TIDLOR ก็ได้จัดโรดโชว์เพื่อนำเสนอข้อมูลและรายละเอียดต่าง ๆ แก่สื่อมวลชนและนักลงทุน แต่สำหรับใครที่ยังไม่ได้ดูแต่อยากรู้มากองรวมกันตรงนี้ได้เลย เพราะนุ่นมัดรวมประเด็นที่น่าสนใจของ หุ้น TIDLOR มาไว้ให้แล้ว

“เงินติดล้อ” ทำอะไรบ้าง?

ก่อนจะตัดสินใจซื้อหุ้นเขา เรามาดูกันก่อนว่าเขาทำอะไรอยู่บ้าง สำหรับเงินติดล้อนั้นประกอบไปด้วย 2 ธุรกิจหลัก นั่นคือ

1. ธุรกิจสินเชื่อที่มีทะเบียนรถเป็นประกันแบบครบวงจร 

ที่เปรียบเสมือนหัวใจหลักของเงินติดล้อ ด้วยบริการที่รวดเร็ว และครอบคลุมถึงกลุ่มลูกค้ารายย่อย ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ รถไถ มอเตอร์ไซค์ หรือแทรกเตอร์

2. นายหน้าประกันภัย 

ธุรกิจนี้เป็นธุรกิจที่มาคู่กันกับธุรกิจหลัก โดยมีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย ได้แก่ ประกันวินาศภัยแก่ลูกค้ารายย่อย ประกันชีวิตแก่ลูกค้าสินเชื่อ ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับและภาคสมัครใจ ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล นอกจากนี้เงินติดล้อยังเป็น 1 ใน 3 ผู้นำธุรกิจนายหน้าประกันวินาศภัยที่จำหน่ายแก่ลูกค้ารายย่อย อีกด้วย

แอบส่องผลประกอบการ 3 ปี ย้อนหลัง

คุณวีรภัทร์ วิริยะโกวิทยา ผู้บริหารระดับสูงฝ่ายบัญชีและการเงิน เล่าให้ฟังว่ารายได้ส่วนใหญ่ของเงินติดล้อนั้นมาจาก 3 ทางด้วยกัน คือรายได้จากดอกเบี้ยเงินกู้, จากค่าธรรมเนียมและบริการ และรายได้จากดอกเบี้ยตามสัญญาเช่าซื้อ โดยระหว่างปี 2561 – 2563 มีรายได้รวม 7,569.4 ล้านบาท 9,457.9 ล้านบาท และ 10,558.9 ล้านบาท ตามลำดับ และมีกำไรสุทธิ 1,306.2 ล้านบาท 2,201.7 ล้านบาท และ 2,416.1 ล้านบาท ตามลำดับ

จากตัวเลขจะเห็นได้ว่าเงินติดล้อนั้นมีอัตราเติบโตของรายได้รวมและกำไรเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในทุกปี ในขณะเดียวกันก็มี NPL หรือหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้เพียง 1.7% ซึ่งนั่นก็แสดงให้เห็นได้ถึงระบบติดตามหนี้ที่มีประสิทธิภาพของเงินติดล้อนั่นเอง

อะไรทำให้หุ้น เงินติดล้อ ได้รับความสนใจอย่างล้นหลาม

นุ่นมองว่าสิ่งที่ทำให้หุ้นเงินติดล้อได้รับความสนใจและถูกพูดถึงเป็นวงกว้างตั้งแต่ก่อนเปิดตัวก็เพราะ เงินติดล้อเป็นแบรนด์ที่คนรู้จักกันในวงกว้าง เรียกได้ว่าถ้าพูดถึงตลาดสินเชื่อที่มีทะเบียนรถเป็นประกัน เงินติดล้อจะต้องถูกนึกถึงเป็นอันดับแรก ๆ ในส่วนของธุรกิจนายหน้าเองก็มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว แถมยังมีช่องทางการติดต่อและจำหน่ายทั้งออนไลน์และออฟไลน์ครอบคลุม 74 จังหวัดทั่วประเทศเลย

จากเหตุผลที่นุ่นบอกไปข้างต้นเรียกได้ว่าในเรื่องของความน่าเชื่อถือของเงินติดล้อนั้นสอบผ่านฉลุย และถ้าหากมองในแง่ของความปลอดภัยก็ต้องบอกว่าได้คะแนนดีไม่แพ้กัน เพราะเงินติดล้อนั้นดำเนินธุรกิจที่อยู่บนฐานการบริหารความเสี่ยงที่รอบคอบ มีการขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี นอกจากนี้ยังมีนโยบายการตั้งสำรองที่รัดกุม รวมไปถึงมีแหล่งเงินทุนที่หลากหลายด้วยค่ะ

แล้วครั้งนี้ “เงินติดล้อ” ระดุมทุนไปทำอะไร? 

สำหรับการระดมทุนในครั้งนี้นุ่นขอสรุปตามวัตถุประสงค์เป็นข้อ ๆ ตามนี้นะคะ

  • เพื่อขยายสาขาเพิ่มเติม
  • ใช้เป็นเงินทุนในการหมุนเวียนธุรกิจ
  • ปรับปรุงโครงสร้างบริษัท
  • นำไปใช้หนี้บางส่วนเพื่อให้ธุรกิจมีความคล่องตัวมากขึ้น

อยากจองหุ้น IPO เงินติดล้อ ต้องใช้เงินเท่าไหร่?

สำหรับการจองหุ้น IPO TIDLOR นั้นมีการกำหนดการจองซื้อหุ้นขั้นต่ำอยู่ที่ 1,000 หุ้น ในราคา 36.50 บาทต่อหุ้น ซึ่งหมายความว่านักลงทุนรายย่อยนั้นสามารถจองซื้อหุ้นขั้นต่ำได้ในราคา 36,500 บาทโดยไม่จำกัดจำนวนหุ้นที่จองซื้อต่อหนึ่งใบจอง ซึ่งในการขายหุ้นในครั้งนี้จะใช้เกณฑ์การจัดสรรหุ้นแบบเดียวกับหุ้น OR คือแบบ Small lot first เพื่อที่จะสามารถกระจายหุ้นให้กับรายย่อย ๆ ได้อย่างทั่วถึงอีกด้วยค่ะ

ชี้เป้าช่องทางการจอง

นักลงทุนรายย่อยที่สนใจสามารถจองซื้อหุ้น TIDLOR ได้ตั้งแต่เวลา 09.00 น. ของวันที่ 22 เม.ย. 2564 ถึง เวลา 16.00 น. ของวันที่ 26 เม.ย. 2564 ผ่านช่องทางออนไลน์ของตัวแทนจำหน่ายหุ้น 3 ราย ได้แก่ 

  • ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ผ่าน Krungsri Mobile Application
  • ธนาคารกสิกรไทย ผ่านทางเว็บไซต์ 
  • บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน) สำหรับบุคคลที่เป็นลูกค้าของบริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน) เท่านั้น

สำหรับนักลงทุนรายย่อยที่สนใจในหุ้น IPO ของเงินติดล้อคงพอมองเห็นภาพรวม ความเป็นไปได้ รวมถึงโอกาสในการเติบโตของธุรกิจประเภทนี้ชัดเจนขึ้น แต่บอกไว้ก่อนนะคะว่านุ่นเขียนบทความนี้เพื่อสรุปรายละเอียดที่น่าสนใจเกี่ยวกับการจองซื้อหุ้น IPO TIDLOR เท่านั้น ไม่ได้มีเจตนาจะชี้นำให้ซื้อแต่อย่างใด เพราะฉะนั้นผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุนด้วยนะคะ

อ่านบทความที่เกี่ยวกับเงินติดล้อในการตลาดวันละตอนต่อ > คลิ๊ก

ในบทความหน้านุ่นจะมีอะไรมาอัปเดตอีกบ้าง สามารถติดตามได้ผ่านเพจการตลาดวันละตอน รวมถึง Twitter และ Blockdit ของการตลาดวันละตอนนะคะ

Bambinun*

Content Creator แห่งการตลาดวันละตอน ที่หลงรักการเล่าเรื่องผ่านตัวหนังสือ พอๆ กับการกินของอร่อย และใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการเป็นทาสแมว

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

ใช้ Social Listening บ้างไม่ ?

#การตลาดวันละโพล ขอหนึ่งคำถาม ว่าปกติใช้ Social Listening บ้างหรือไม่ แล้วถ้าใช้ ใช้ตัวไหนอยู่