Voice Search ตัวแปรสำคัญของการทำ Content และ SEO ตั้งแต่ปี 2019 นี้เป็นต้นไป

Voice Search ตัวแปรสำคัญของการทำ Content และ SEO ตั้งแต่ปี 2019 นี้เป็นต้นไป

Voice Search หรือการเสริชด้วยเสียงไม่ใช่เรื่องที่ทำกันเฉพาะกลุ่ม Geek ที่เป็นพวกบ้าเทคโนโลยีอย่างที่เคยเชื่อ แต่กลายเป็นเรื่องที่ใครๆก็ทำกันจนกลายเป็นเรื่องปกติของกว่าครึ่งของผู้ใช้มือถือทั่วโลก

ถ้าดูจากข้อมูลจะเห็นว่า ค่าเฉลี่ยของผู้ใช้เสียงทั้งการสั่งหรือการเสริช (voice search & voice commands) นั้นสูงถึง 41% แล้วในวันนี้

Voice Search & Voice Commands Global Stat 2019
Voice Search & Voice Commands Thailand Stat 2019

หรือถ้าเจาะลึกดูแค่ในประเทศไทยผู้ใช้เสียงในการเสริชหรือสั่งการเป็นประจำก็สูงถึง 45% ด้วยซ้ำ เรียกได้ว่าคนไทยส่วนใหญ่นั้นล้ำสมัยไม่แพ้ชาติใดในโลกเลยทีเดียว

คำถามต่อไปคือแล้ว Voice Search นั้นจะมีผลต่อการทำ SEO อย่างไร?

พฤติกรรมการเสริชด้วยการพิมพ์กับการพูดนั้นแตกต่างกันลิบลับ เพราะเราเรียนรู้มาว่าการเสริชหาด้วยการพิมพ์นั้นเราจะพิมพ์เป็นคำๆ ต่างกับการพูดเป็นประโยคอย่างลิบลับกับการใช้ Voice Search เช่น ถ้าผมจะหาร้านกาแฟแถวบ้านในคอมพิวเตอร์หรือผ่านการพิมพ์ ผมจะพิมพ์ว่า “ร้านกาแฟ ราชพฤกษ์ บรรยากาศดี นั่งทำงานได้” แต่ถ้าผมจะใช้ Voice Search นั้นผมจะไม่พูดแบบพิมพ์ แต่ผมจะพูดไปในทำนองว่า “หาร้านกาแฟดีๆที่นั่งทำงานได้แถวราชพฤกษ์ให้หน่อย”

Voice Search & Voice Commands

เห็นมั้ยครับว่าผลลัพธ์เดียวกันแต่พฤติกรรมการค้นหาก็ไม่เหมือนกันแล้ว ดังนั้นสิ่งที่จะเป็นผลกระทบตามมาคือการคาดเดาคำที่คนจะพูดให้ดีขึ้น และนั่นก็คือ long tail keywords ที่จะมีจำนวนมากมายมหาศาลถ้าเราสามารถเก็บรวบรวมทั้งหมดเข้ามาไว้ได้

เพราะถ้าคุณแข่งที่คำหลักคุณจะแข่งยาก แต่ถ้าคุณเข้าไปกวาด Long tail keywords เหล่านั้นจะกลายเป็นโอกาสมหาศาล

และถ้า content ที่คุณเขียนสามารถเข้าถึง long tail keywords ได้ดีมากเท่าไหร่ ตอบคำถามที่เฉพาะเจาะจงได้ดีมากแค่ไหน ก็ยิ่งเป็นโอกาสทองที่เรียกว่ากินเหมาแบบไม่ต้องแบ่ง หรือจะบอกว่า long tail keywords เป็นตลาด Blue Ocean ทำเลทองที่ไร้คนจองก็ได้ครับ

เพราะการทำ content ที่ดี คือต้องถูกใจทั้งคนหา และเข้าใจกติกาของ Algorithm ที่เปลี่ยนไปไม่รู้จบ เมื่อก่อนแค่เขียนให้คนชอบก็ชนะ แต่วันนี้ต้องทำให้ Search engine ชอบด้วยครับ

สุดท้ายนี้การใช้ Voice Search จะไม่ลดลงและมีแต่จะเพิ่มขึ้น เพราะลองการพูดงั้นง่ายกว่าพิมพ์ถึง 20 เท่า การพิมพ์นั้นต้องใช้การเคยชินจากการฝึกฝน แต่การพูดนั้นเป็นทักษะที่พ่อแม่สอนเรามาตั้งแต่เกิดครับ

Nattapon Muangtum

เจ้าของเพจการตลาดวันละตอน / อาจารย์พิเศษวิชา Data-Driven Communication / เขียนหนังสือมาแล้ว 5 เล่ม Personalized Marketing, Data-Driven Marketing, Data Thinking, Contextual Marketing และ Social Listening / ที่ปรึกษา Data-Driven Advisor

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

ใช้ Social Listening บ้างไม่ ?

#การตลาดวันละโพล ขอหนึ่งคำถาม ว่าปกติใช้ Social Listening บ้างหรือไม่ แล้วถ้าใช้ ใช้ตัวไหนอยู่