ตลาด Prestige Beauty เติบโตสูงยุคหลังโควิด แนะต้องเข้าใจกลุ่ม Beauty Lover

ตลาด Prestige Beauty เติบโตสูงยุคหลังโควิด แนะต้องเข้าใจกลุ่ม Beauty Lover

จากสถานการณ์เศรษฐกิจในยุคโควิดแบบนี้ ทำให้พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไปตลอดเวลา วันนี้แบมเลยจะพาชาวการตลาดวันละตอนมาดูกันค่ะว่าเทรนด์ในโลกยุคหลังโควิดสินค้าประเภทไหนจะร่วง ประเภทไหนจะรอด จากข้อมูลของ The 1 ผู้นำดิจิทัลไลฟ์สไตล์และลอยัลตี้แพลตฟอร์มที่มีข้อมูล Insight ที่แน่น ลึก และแข็งแกร่งเป็นอันดับต้นๆ ของไทย

ตลาด Prestige Beauty เติบโตขึ้นกว่าเดิมในช่วงหลังโควิด

ตอกย้ำความเป็นผู้นำในวงการ DataTech ที่ผสานเทคโนโลยีเพื่อความเข้าใจผู้บริโภคอย่างแท้จริง เมื่อThe 1 Insight เผยข้อมูลกลุ่มผลิตภัณฑ์ความงามระดับเพรสทีจ (Prestige Beauty) โดยวิเคราะห์เจาะแนวโน้มการใช้จ่ายพร้อมชี้ช่องทางเติบโตทางการตลาดของสินค้ากลุ่ม Prestige Beauty ในช่วงหลังโควิด-19 ซึ่ง Prestige Beauty ถือเป็นหนึ่งกลุ่มสินค้าที่ผู้บริโภคมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปอย่างมีนัยสำคัญและแบรนด์ไม่อาจมองข้าม

พฤติกรรมหลักของชอปสายบิวตี้

ล่าสุด The 1 Insight นำเสนอเทรนด์พฤติกรรมผู้บริโภคในยุคโควิด-19 ต่อกลุ่มสินค้าประเภท Beauty ซึ่งมีปัจจัยเปลี่ยนแปลงหลักอยู่ที่การถูกจำกัดและลดการเดินทางพบปะผู้คนและความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ เริ่มด้วย 4 เทรนด์พฤติกรรมหลัก ได้แก่ 

  1. ใช้จ่ายกับผลิตภัณฑ์กลุ่มสกินแคร์มากขึ้นและแต่งหน้าน้อยลง 

ซึ่งเกิดจากการที่ผู้คนอยู่บ้านมากขึ้นและใส่หน้ากากอนามัยเสมอเมื่อออกนอกบ้าน ยืนยันด้วยตัวเลขยอดขายสกินแคร์ที่เติบโตถึง 11% ในขณะที่ยอดขายในกลุ่มเมกอัพตกลง 17% พร้อมแนะอีกหนึ่งโอกาสที่หลายคนอาจมองข้ามคือ 

  1. ผลิตภัณฑ์กลุ่มน้ำหอมที่เติบโตสวนทางตลาดอย่างมีนัยยะสำคัญและขัดกับความเข้าใจด้านพฤติกรรมโดยทั่วไป

น้ำหอมเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้เมื่อต้องออกนอกบ้านและพบปะผู้คน แต่ในยุคโควิดหลังปี 2019 เป็นต้นมา แทนที่ยอดขายน้ำหอมจะลดลง แต่กลับกลับโตถึง 12% โดยเหตุผลส่วนหนึ่งมีผู้เชี่ยวชาญระดับโลกอธิบายปรากฏการณ์นี้ว่า น้ำหอมได้กลายเป็น Affordable Luxury ที่ช่วยบำบัดจิตใจให้กับผู้บริโภคในช่วงสภาวะนี้นั่นเอง

  1. ยอดการใช้จ่ายต่อบุคคลในกลุ่ม Prestige Beauty เพิ่มขึ้น +5% สวนทางกับเศรษฐกิจภาพรวม 

สืบเนื่องจากการที่ไม่สามารถเดินทางข้ามประเทศได้ทำให้ให้ผู้บริโภคหันมาใช้จ่ายในประเทศมากขึ้น เป็นโอกาสที่ช่วยสร้างยอดขายในประเทศให้กับแบรนด์สินค้า Beauty ต่างๆ ในส่วนของ

  1. การซื้อขายผ่านช่องทางออนไลน์ที่เติบโตขึ้นอย่างก้าวกระโดดถึง 122% 

โดยเมื่อพิจารณาข้อมูลรายบุคคลแล้ว พบว่าลูกค้าส่วนใหญ่ที่ใช้จ่ายในช่องทางออนไลน์ ยังคงซื้อผลิตภัณฑ์เดิมที่เคยซื้อจากทางหน้าร้าน โดยพฤติกรรมการเปลี่ยนช่องทางการซื้อสินค้า Beauty นั้น สอดคล้องกับข้อมูลที่ผู้เชี่ยวชาญด้านผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ เห็นพ้องต้องกันว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงในระยะยาวและยั่งยืน (Sustainable Growth) 

ดังนั้นกลยุทธ์แบบ Omni-Channel จึงเป็นสิ่งที่แบรนด์ควรให้ความสำคัญในการเตรียมพร้อมและลงทุนในแง่เทคโนโลยีอย่างยิ่งเพื่อให้ไม่เสียโอกาสทางธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็น E-Commerce Application และ Website, Social Commerce รวมถึง New Sales Channels อย่าง Chat & Shop, Call & Shop และ Personal Shopper

วิธีสื่อสารให้ถูกใจนักชอปสายบิวตี้

สำหรับการเข้าถึงผู้บริโภคในยุค New Normal อย่างแท้จริง นอกจากความเข้าใจเทรนด์ภาพรวมแล้ว การเข้าใจลูกค้าแต่ละกลุ่มอย่างลึกซึ้ง ก็ทำให้แบรนด์สามารถมองเห็นโอกาสได้ชัดเจนขึ้นเช่นกัน 

The 1 Insight ได้ทำการศึกษาข้อมูลเชิงลึกและนำเสนอการแบ่งกลุ่มพฤติกรรมผู้บริโภคกลุ่ม Prestige Beauty เป็น 4 กลุ่มสำคัญ ได้แก่ 

  1. Ritualist กลุ่มผู้มีกำลังซื้อและความภักดีต่อแบรนด์ (Brand Loyalty) สูง 
  2.  Trialist กลุ่มคนรักผลิตภัณฑ์ความงามที่ชอบลองแบรนด์และผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เสมอ
  3.  Skin Concern กลุ่มคนรักสกินแคร์ที่เน้นการดูแลผิวพรรณอย่างจริงจังมากกว่าการแต่งเติม ชอบหาข้อมูลส่วนผสมและใช้ในการเลือกลองสกินแคร์อย่างหลากหลายตามความต้องการของผิว และ 
  4. Cover-Up กลุ่มคนที่ชอบและสนุกสนานกับการแต่งหน้า แต่งเติมเสริมความงามด้วยเครื่องสำอางและอุปกรณ์รูปแบบต่างๆ โดยอาจจะไม่ได้ให้ความสำคัญกับการดูแลผิวพรรณมากนัก

จะทำการตลาดให้ตรงใจ ต้องเข้าให้ถึงความต้องการของลูกค้า

การเข้าใจและสามารถระบุได้ว่าลูกค้าของแบรนด์อยู่ในกลุ่มใด ส่งผลดีอย่างยิ่งต่อการทำการตลาดแบบPersonalized Marketing เพราะจะทำให้เข้าใจความต้องการของลูกค้าอย่างแท้จริงในระดับแต่ละบุคคลและเลือกวิธีในการปฏิบัติต่อลูกค้าแต่ละคน หรือแต่ละกลุ่มได้ชัดเจนและแม่นยำยิ่งขึ้น เช่น 

หากลูกค้าของแบรนด์อยู่ในกลุ่ม Ritualist แบรนด์ควรที่จะให้ความสำคัญในการรักษาลูกค้ากลุ่มนี้ด้วยการจัดกิจกรรมเอ็กซ์คลูซีฟที่ช่วยรักษาความภักดีต่อแบรนด์ในระยะยาว พร้อมคอยแนะนำผลิตภัณฑ์กลุ่มใกล้เคียงกับที่ลูกค้าเคยใช้อยู่แล้วให้อยู่เสมอ รวมถึงผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ (Extended & New product line) 

สำหรับกลุ่ม Trialist ที่ชอบลองสินค้าตามกระแส แบรนด์ควรที่จะมุ่งเน้นเรื่องการสร้าง Visibility ให้สินค้าได้ปรากฏในช่องทางต่างๆ โดยเฉพาะโซเชียลมีเดีย ไม่ว่าจะเป็นสื่อ, เพจหรืออินฟลูเอนเซอร์ พร้อมนำเสนอโปรโมชั่นเพื่อให้เกิดการตัดสินใจซื้อได้ในทันที 

ส่วนกลุ่ม Skin Concern แบรนด์ควรสื่อสารอย่างตรงไปตรงมาและพร้อมให้ข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์โดยผู้บริโภคไม่ต้องร้องขอ ตั้งแต่วิธีการผลิต แหล่งที่มาของส่วนผสม ไปจนถึงผลการวิจัยต่างๆ เพื่อสร้างกรอบอ้างอิง (frame of reference) และนำไปสู่การตัดสินใจซื้อในที่สุด 

สุดท้ายสำหรับ Cover-Up กลุ่มคนรักการแต่งหน้าโดยพื้นฐานมักจะไม่ขาดการช้อปผลิตภัณฑ์เมกอัพที่ออกมาใหม่อยู่เสมอ แต่หากแบรนด์ต้องการสร้างยอดขายเพิ่มขึ้นอีก แบรนด์สามารถเริ่มให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้สกินแคร์ที่เกี่ยวข้องและช่วยเสริมประสิทธิภาพของการแต่งหน้า พร้อมนำเสนอสินค้าใกล้เคียง (Sub-categories / Cross Categories) เช่นน้ำหอมหรืออุปกรณ์เสริมในการแต่งหน้าแต่ละขั้นตอน  

อยากรู้ Insight ต้องใช้ Data ให้เป็น

สำหรับ The 1 นั้นถือเป็นผู้บุกเบิกสำคัญรายแรกๆ ของไทยในการนำ Big Data มาใช้ในการทำความเข้าใจผู้บริโภคเพื่อสนับสนุนธุรกิจของเครือเซ็นทรัลมาอย่างยาวนาน ด้วยวิสัยทัศน์องค์กรที่เล็งเห็นว่าการนำ Big Data มาใช้กับการทำธุรกิจให้เกิดประโยชน์ขึ้นได้จริงจะต้องประกอบไปด้วยสองส่วนสำคัญ ได้แก่ ความเชี่ยวชาญด้าน Data ซึ่งประกอบไปด้วย Data Analytics and insights, Data Scientist, Data Engineer และ Data Management และความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในธุรกิจและตัวผู้บริโภคของฝั่ง Business 

ซึ่งแน่นอนว่า The 1 มีความพร้อมเป็นอย่างมากที่จะนำ Big Data จากฐานสมาชิกกว่า 18 ล้านคน พร้อมด้วยการตั้งโจทย์การแก้ปัญหาทางธุรกิจอย่างตรงจุด เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับธุรกิจและตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างแท้จริง โดยนำเสนอภายใต้ The 1 Insight เป็นแนวทางให้แบรนด์ได้รู้ทันไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคสู่การพัฒนาธุรกิจอย่างมั่นคงและยั่งยืนนั่นเอง

นักการตลาดควพอจะมองเห็นแล้วใช่ไหมคะว่าเราจะสามารถนำ Data ที่มีมาช่วยพัฒนาธุรกิจได้อย่างไรบ้าง แบมขอย้ำอีกครั้งเหมือนที่เคยย้ำทุกทีว่า Data นั้นไม่ใช่เรื่องขององค์กรใหญ่เพียงอย่างเดียว แต่สามารถใช่ได้กับธุรกิจทุกขนาด และทุกประเภท เพียงแค่เราเข้าใจหลักการ และรู้ว่าจะต้องนำจ้อมูลที่มีนั้นมาวิเคราะห์ไปในทิศทางไหน แล้วจะต้องใช้กลยุทธ์อะไรมาตอบโจทย์ Pain Point เหล่านั้นค่ะ

Read more: อ่านบทความเกี่ยวกับการตลาดในแง่มุมอื่นๆ จากการตลาดวันละตอนได้ ที่นี่ในบทความหน้าแบมจะมีอะไรมาอัปเดตอีกบ้าง สามารถติดตามได้ผ่านเพจการตลาดวันละตอน รวมถึง Twitter และ Blockdit ของการตลาดวันละตอนนะคะ

Bambinun*

Content Creator แห่งการตลาดวันละตอน ที่หลงรักการเล่าเรื่องผ่านตัวหนังสือ พอๆ กับการกินของอร่อย และใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการเป็นทาสแมว

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

คุณคิดว่าปัญหา PM 2.5 ที่เชียงใหม่วิกฤตหรือยัง ?

#การตลาดวันละโพล ขอหนึ่งคำถามก่อนอ่านการตลาดวันละตอน แล้วเราจะเอาไปทำเป็น Infographic โชว์หน้าเพจให้รู้ด้วยกัน