สรุปเทรนด์ 2019 ในด้าน Social and Culture

สรุปเทรนด์ 2019 ในด้าน Social and Culture

สรุปเทรนด์มาให้อ่านกันเพื่อเรียกน้ำย่อย ในหัวข้อของสังคมและวัฒนธรรมของโลกในปี 2019 นี้

Social and Culture ปรากฏการณ์ของสังคมและวัฒนธรรมที่สำคัญของปี 2019 TCDC สรุปไว้ให้เราเรียบร้อยแล้วว่าปีหน้าน่าจะมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง เมื่อดูจากเหตุที่เกิดขึ้นแล้วในวันนี้

ไม่ว่าจะเรื่องของพลเมืองโลก ที่คนยุคใหม่สมัยนี้มองว่าตัวเองไม่ใช่แค่ชนชาติใดชนชาติหนึ่ง เมื่อการสื่อสารและดิจิทัลทำให้พวกเราเชื่อมถึงกันได้ง่ายขึ้น

หรือแนวโน้มการย้ายถิ่นฐานที่อยู่ไปเรื่อยๆของคนบางกลุ่ม ก็ทำให้การนิยมด้วยชาติพันธุ์แบบเดิมอาจไม่เพียงพอในแง่ของความรู้สึก

เมื่อ ME คือ WE หรือพวกเขาที่เราเข้าร่วมก็คือนิยามของตัวเรา เมื่อการรวมกลุ่มกันกลายเป็นหัวใจสำคัญมากขึ้นในวันที่เราขาดการปฏิสัมพันธ์กันแบบคนรุ่นก่อน

เมื่อชานเมืองกลายเป็นเมืองใหม่มากมายล้อมรอบตัวเมือง และเมื่อตัวเมืองต้องหาวิธีใช้พื้นที่ให้มีประสิทธิภาพมากกว่านี้

Community Commerce เมื่อท้องถิ่นคือสิ่งที่ยึดโยงเราเข้าไว้ด้วยกัน
.
จากโลกาภิวัฒน์ที่เร่งรีบ สู่กระแสอโลกาภิวัฒน์ หรือการ Slow life ลงซักหน่อยในวันที่อะไรๆก็เร็วไปหมด

จากที่เคยเร่งขยายเชื่อมต่อโลกกว้างให้เล็กลง กลายเป็นการเรียนรู้แบบลงลึกกับท้องถิ่นที่เราอยู่มากขึ้น

หลายคนเริ่มเบื่อเมืองหลีกหนีไปอยู่พื้นที่ชานเมืองหรือชนบท แต่ก็ยังไม่ได้ตัดขาดจากการเชื่อมต่อเข้าสู่โลกแต่อย่างไร

Digital Nomad เหล่าผู้เร่ร่อนแบบผู้คนในยุคโบราณ แต่ด้วยการเชื่อมต่อไร้สายความเร็วสูงทุกวันนี้ ทำให้แม้ตัวจะอยู่ไกลเมือง แต่เม้าส์ก็อยู่ใกล้โลกมากกว่าทุกยุคสมัยที่ผ่านมา

ลัทธินิยมท้องถิ่น ก็เป็นอีกเทรนด์หนึ่งที่น่าสนใจ ไม่ใช่การซื้อสินค้าในประเทศเพิ่มมากขึ้นเหมือนยุค Made in Thailand แต่เป็นการสนับสนุนผู้ประกอบการรายย่อย หรือ Made in Local มากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

มะม่วงลูกนี้ปลูกที่สวนไหน ข้าวจานนี้ปลูกโดยใคร จะเห็นได้ว่าเราถลิวหาการเชื่อมโยงกับคนจริงๆมากขึ้นครับ

หรือแม้แต่การเชื่อมต่อแบบ Local ในแง่ของภูมิภาคที่น่าสนใจที่เกิดขึ้น The Pan-European Living Room ที่ทั้งห้องประกอบด้วยเฟอร์นิเจอร์จาก 28 ประเทศในกลุมสหภาพยุโรป เป็นการแสดงออกในแง่ของความรู้สึกของ Local อีกแง่มุมหนึ่ง

เราจะเห็นว่าการเชื่อมต่อในภาพย่อย เมื่อรวมกันก็กลายเป็นภาพใหญ่ที่จะกลายเป็นคลื่นลูกใหม่ในปีหน้า

Power of Acknowledgement ยอมรับ เข้าใจ และไปต่อ

เมื่อเราเข้าถึงความรู้ใหม่ๆมากขึ้น ก็ทำให้เกิดการตีความใหม่ในเรื่องเดิม หรือเข้าใจประวัติศาสตร์เดิมๆในมุมใหม่

อย่างการที่ชาวอเมริกันออกมาเรียกร้องให้เปลี่ยนวันโคลัมบัส วันที่ 12 ตุลาคม ที่จากเดิมตามประวัติศาสตร์มองวันนี้ว่าเป็นวันที่โคลัมบัสได้ค้นพบทวีปอเมริกา ให้กลายเป็นวันแห่งชนพื้นเมือง หรือ Indigenous People’ Day แทน

เพราะการตีความใหม่นี้มาจากผู้คนมองว่าโคลัมบัสไม่ได้ค้นพบ แต่โคลัมบัสเป็นการพาผู้คนจากยุโรปให้เข้ามารุกรานและยึดครองดินแดนของชนพื้นเมืองแทน

หรือการรู้และยอมรับว่าในเทศกาลดนตรีที่เกิดขึ้นมากมายในต่างประเทศพบว่าผู้หญิงจะถูกลวนลาม หรือคุกคามทางเพศตามเทศกาลเหล่านี้มากเป็นพิเศษ จนก่อให้เกิดงานเทศกาลดนตรีที่ปราศจากผู้ชายเป็นครั้งแรกที่ประเทศสวีเดน

The Age of Activism สิทธิในการได้สิ่งที่ดีกว่า

เมื่อคนทุกวันนี้ไม่นิ่งเฉยเพื่อรอให้รัฐหรือใครมาเห็นใจ แต่คนทุกวันนี้พร้อมจะลุกขึ้นมาลงมือทำอะไรบางอย่างเพื่อให้ผู้คนต้องหันมาสนใจ

ไม่ว่าจะเป็นการก่อตั้งวัน Bye Bye Plastic Bags จากสองพี่น้องชาวบาหลีที่อายุเพียง 12 และ 10 ปีเท่านั้น

Airbnb สร้างแคมเปญ We Accept ที่นำเสนอที่อยู่อาศัยให้กับผู้อพยพหรือผู้คนที่ได้รับความเสียหายด้านที่อยู่อาศัยจากเหตุการณ์ความรุนแรงทางธรรมชาติ

ไม่รอให้รัฐหรือใครมาดูแล ประชากรโลกทุกวันนี้พร้อมดูแลกันและกันด้วยตัวเอง

The Harvested City พื้นที่ ต้นไม้ คน ผลผลิตเมือง

ทุกวันนี้เมืองแออัดไปด้วยผู้คน แม้ว่าคนส่วนหนึ่งจะเริ่มย้ายออกไปอยู่นอกเมือง แต่ก็ยังไม่ทันกับสัดส่วนของคนจากนอกเมืองที่ย้ายเข้ามาหาโอกาสในเมืองเพิ่มขึ้น

มากกว่าครึ่งของประชากรโลก อาศัยอยู่ในเมืองแล้ววันนี้และคาดว่าอีกไม่นานกว่า 70% ของประชากรโลกจะแอดอัดอยู่ในเมืองเช่นกัน

ดังนั้นการจัดการพื้นที่เมืองจึงเป็นเรื่องสำคัญ ทำอย่างไรให้เมืองสามารถเลี้ยงดูตัวเองได้ดีกว่าเดิม

จนเกิดเป็นสิ่งก่อสร้างบางอย่างที่เรียกว่า ตึกเล็กในตึกใหญ่ และพยายามใช้การแชร์พื้นที่ส่วนกลางร่วมกันมากขึ้น

แนวโน้มนี้จะเห็นจากคอนโดในบ้านเรามากขึ้น ที่ไม่ได้เน้นการขายห้องพัก แต่เน้นการขายพื้นที่ส่วนกลางให้ผู้คนแทน

อาหารก็สำคัญกับคนเมืองไม่แพ้กัน เทรนด์ในปีต่อไปจะเน้นที่การปลูกอาหารทานเองในเมือง เริ่มมีบางห้างสรรสินค้าในต่างประเทศที่ปลูกพืชผักสดๆในห้างให้คนได้เลือกซื้อกันมากขึ้น ด้วยเทคโนโลยี IoT ที่สามารถควบคุมทุกอย่างได้ดั่งใจ

หรือการใช้พื้นที่ดาดฟ้าในการเพาะปลูกอาหารกินเองก็ตาม ที่จะช่วยทำให้คนเมืองรู้สึกผ่อนคลายและภูมิใจกับการได้สร้างอาหารให้ตัวเอง

ใครที่อ่านสรุปแล้วอยากอ่านต่อ ดาวน์โหลดไฟล์ฉบับเต็มกว่า 200 หน้าได้ที่ลิงก์นี้เลยครับ http://bit.ly/2vkYoal

สุดท้ายนี้ขอขอบคุณ TCDC หรือ CEA ด้วยที่จัดทำข้อมูลดีๆแบบนี้มาให้อ่านฟรีทุกปีครับ


Nattapon Muangtum

Nattapon Muangtum

เจ้าของเพจการตลาดวันละตอน / อาจารย์พิเศษวิชา Data-Driven Communication / เขียนหนังสือมาแล้ว 5 เล่ม Personalized Marketing, Data-Driven Marketing, Data Thinking, Contextual Marketing และ Social Listening / ที่ปรึกษา Data-Driven Advisor

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *