สรุป Consumer Trend 2023 ยุคแห่ง CO-TOPIA จาก TCDC

สรุป Consumer Trend 2023 ยุคแห่ง CO-TOPIA จาก TCDC

วันนี้ปลื้มจะมาสรุป Trend 2023 จากการไปฟัง “Trend Talk 2023: CO-TOPIA” มาล่าสุด มีเทรนด์ที่น่าสนใจที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในปีหน้า รวมถึงเทรนด์ 2022 ที่ยังได้ไปต่อ จะมีมิติที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจและให้นักการตลาดได้นำไปประยุกต์ใช้จริงทางธุรกิจและในชีวิตประจำวันบ้าง มาดูกันค่ะ

Trend 2023 ในปีนี้ ถูกนิยามว่า “CO-TOPIA” หมายถึง สถานะที่วันนี้นั้นดีกว่าเมื่อวาน หลังจากอุปสรรคและวิกฤตต่างๆ นั้นเริ่มสงบ จะเป็นการเริ่มต้นยุคแห่งการฟื้นฟู เยียวยา และรับมือกับความเปลี่ยนแปลง เพื่อสร้างวันพรุ่งนี้ที่มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นนั่นเองค่ะ

สำหรับแนวคิดหลักประจำปีของ CO-TOPIA คือการผสมผสานระหว่างโลกจริง จินตนาการ ความฝันที่เป็นไปได้ และอนาคตใหม่ที่ใครๆ ก็มีสิทธิ์เป็นเจ้าของได้อย่างเท่าเทียมค่ะ เป็นการลงมือทำมากขึ้น อย่างคนรุ่นใหม่ก็เริ่มที่จะเลือกทางเดินของตัวเอง เน้นความอิสระ เราจะเห็นแบรนด์เล็ก แบรนด์น้อย ผุดขึ้นเป็นดอกเห็ดชัดเจนขึ้น

ซึ่งเทรนด์ที่ปลื้มจะมาเล่าในบทความนี้มี 4 มิติ ตั้งแต่ ประชากร (Population) มุมมองทางสังคมและวัฒนธรรม (Social & Culture) นวัตกรรมและเทคโนโลยี (Technology) สุดท้ายเป็น นิเวศและสิ่งแวดล้อม (Environment) โดยหัวข้อเหล่านี้เนี่ย มีประเด็นที่น่าสนใจสำหรับนักการตลาดอยู่ไม่น้อยเลย สามารถศึกษาข้อมูลและต่อยอดกันได้ค่ะ

Population

ด้วยแรงผลักดันของเทคโนโลยี ทำให้แนวโน้มประชากรในปี 2023  มีความเกี่ยวเนื่องกับนวัตกรรม วิทยาศาสตร์ รวมทั้งประสาทเทคโนโลยี ที่ชัดเจนมากขึ้นเรื่อยๆ ค่ะ เช่น การดูแลสุขภาพจิตด้วยระบบบริการแบบดิจิตอล ที่สามารถตรวจจับ ติดตาม และรักษาโรคทางจิตเวชได้ผ่านช่องทางออนไลน์ ซึ่งปลื้มมองว่ามันเป็นการตอบโจทย์และแก้ปัญหาของคนในยุคนี้ได้ดียิ่งขึ้น 

แถมยังสอดคล้องกับเงื่อนไขที่ประชากรโลกกำลังเผชิญปัญหาด้านสุขภาพจิตเพิ่มขึ้น มันก็เป็นเพราะผลพวงมาจากโรคระบาดที่เกิดขึ้น โดยในบราซิล มีการรายงานตัวเลขจากผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 1,996 คน ในช่วงระหว่างเดือนพฤษภาคม – กรกฎาคม ปี 2020

พบว่าสัดส่วนผู้คนจำนวนมากอยู่ในภาวะวิตกกังวล ซึมเศร้า และมีปัญหาการนอนหลับในระดับสูง อย่างในสหราชอาณาจักรเอง พบ 56% ของผู้ใหญ่ รายงานว่ารู้สึกเครียดและกังวลใจมากกว่า 4 ใน 10  โดยระบุว่าเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบด้านลบต่อความเป็นอยู่โดยรวมของพวกเขาถึงแม้ว่าความต้องการความช่วยเหลือด้านจิตใจจะเพิ่มขึ้น แต่ 93%  ของหลายประเทศทั่วโลกยังคงประสบปัญหาการพัฒนาบริการด้านดังกล่าวอยู่

ต้องบอกว่าปลื้มก็เคยได้ Research เกี่ยวกับบัตรทอง ก็พบว่าโรคซึมเศร้าหรือโรคทางจิตเวช ในไทยเองก็ต้องการความช่วยเหลือด้านจิตใจค่อนข้างมากเลยเหมือนกันค่ะ ดังนั้นปลื้มว่าการจัดการคนในเรื่องของสุขภาพให้เข้าถึงการรักษา เทคโนโลยีมีผลมากๆ ไม่ว่าจะเป็นการจองคิว  การติดต่อเข้าพบแพทย์ทางออนไลน์เพื่อพูดคุยเบื้องต้น ฯลฯ

โดยแนวโน้มหากพิจารณาตลาดการรักษาแบบดิจิทัลทั่วโลกแล้วคาดว่าจะเติบโตขึ้นจาก 2,117 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2020  เป็น 6,904 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2025 แสดงให้เห็นถึงความสนใจที่เพิ่มขึ้นในกลุ่มนักลงทุนและผู้บริโภคต่อกระแสใหม่ในการดูแลสุขภาพ

ซึ่งความก้าวหน้าใน AI ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถวินิจฉัยและรักษาสภาพจิตใจได้บางส่วนโดยใช้เทคโนโลยีในการช่วยแก้ปัญหา เพื่อผลลัพธ์ในการรักษาผู้ป่วยแบบองค์รวมที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น และยังช่วยลดเงื่อนไขด้านระยะทางและลดการรอคิวตรวจกับผู้คนจำนวนมากอีกด้วยค่ะ

เป็นกุญแจสำคัญสำหรับอนาคตของสุขภาวะ และปูทางสู่ระบบนิเวศหมายของการบริการเสมือนจริง และประสบการณ์สำหรับสุขภาพแบบรอบด้านที่สะดวกรวดเร็วมากขึ้น อีกทั้งเทคโนโลยีเหล่านี้เป็นตัวช่วยที่ทำให้คนอายุยืนขึ้น สังคมผู้สูงวัยจะมีมากขึ้น สินค้าและบริการกลุ่มนี้เป็นที่น่าจับตาทีเดียวเลยค่ะ

Social & Culture

ในปี 2023  สังคมและวัฒนธรรมจะเผชิญกับคลื่นความเปลี่ยนแปลงในหลายระดับไม่ต่างจากที่เคยเป็นมาค่ะ พวกเราต่างประสบกับความผกผัน ไม่ว่าจะด้วยแรงผลักจากนโยบายการค้าเสรี กันปรับปรุงพัฒนาเทคโนโลยี และการขยายเครือข่ายแบรนด์ระดับโลก พร้อมกับการทวนกระแสโลกาภิวัตน์ยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องค่ะ

ผูกขาดระดับมหภาคได้ทำให้หลายประเทศและ Community ต่างๆ รู้สึกว่าพวกเขาถูกลดทอนอัตลักษณ์ของตัวเองไป ส่งผลให้การขับเคลื่อนกระแสความเป็นท้องถิ่นภายในของแต่ละประเทศต่างๆ ก้าวขึ้นเป็นเครื่องมือที่ทำให้แบรนด์ต้องพัฒนาสินค้าและบริการให้ตอบรับกับความต้องการของวัฒนธรรมท้องถิ่น 

ต้องบอกว่าประชาชนกำลังผลักดันให้เกิดการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุไม่ใช่ที่ปลายทาง เพราะเราต่างรู้ว่าสังคมเป็นแบบไหนก็คือเงาสะท้อนของคนที่อยู่ร่วมกันในสังคมนั้น โดยในปี 2023  สังคมและวัฒนธรรมจะมีหน้าตาเป็นอย่างไรนั้น ขึ้นอยู่กับผู้คนที่ร่วมกัน มีอุดมการณ์เดียวกัน ของคนหมู่มาก จึงจะไปสู่ปลายทางนั่นด้วยกันค่ะ

แม้สังคมจะค่อนข้างซับซ้อน แต่ในฐานะแบรนด์การออกมาขับเคลื่อนหรือสร้างจุดยืนที่ตรงหรืออยู่ข้างเดียวกับกลุ่มเป้าหมาย ก็จะช่วยได้ในระดับหนึ่งค่ะ แต่แน่นอนว่าอีกกลุ่มก็จะไม่ชอบแบรนด์ไปเลย ซึ่งเราก็ต้องเลือก

Technology

คนอาจจะยังไม่รู้จักคำว่า Protopia (โพรโทเปีย) มันคือหนึ่งคำสำคัญที่ถูกยกขึ้นมาพูดโดยผู้เชียวชาญด้านสื่อนวัตกรรม ดูให้ความหมายถึงมุมมองอนาคตซึ่งมีสถานะ ความเป็นอยู่ที่ดีกว่าเมื่อวาน ซึ่งคำดังกล่าวถูกพูดถึงบนเว็บไซต์ kk.org โดยเควิน  เคลลี่ (Kevin Kelly) ตั้งแต่ปี 2011

หลังจากนั้นคำดังกล่าวจะถูกเผยแพร่สู่สาธารณะอีกครั้งบนทวิตเตอร์ในปี 2014 เพื่อตอกย้ำสถานะของอนาคตโรคที่กำลังจะมาถึงในไม่ช้า ทุกวันนี้สื่อสำนักพิมพ์ที่รายงานสถานะของ metaverse  จำนวนมากต่างนำคำว่า Protopia ของเควินมาใช้เสริมความเป็นไปได้ใหม่ๆ 

สิ่งที่จะเกิดขึ้นในปี 2013 นี้ แน่นอนว่านวัตกรรมและเทคโนโลยีกำลังพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ โดยเทคโนโลยีในยุคนี้ต้องการไปให้ถึง web 3.0 ที่ทุกคนเป็นเจ้าของพื้นที่ดิจิทัลร่วมกัน ดังนั้นทุกคนคือผู้ใช้งานนวัตกรรมและผู้กำหนดการมีอยู่จริงของโพโทเปียในอนาคต

Environment

โลกยังมีปัญหาซ้ำเดิมอย่างการตัดไม้ทำลายป่า มลพิษจากโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งในวันนี้มันไม่เพียงแต่เป็นการทำลายระบบนิเวศเท่านั้น แต่มันยังส่งผลต่อการกระจายตัวและเพิ่มแหล่งกำเนิดพวกเชื้อโรคต่างๆ ให้เพิ่มขึ้นอีกด้วย 

สิ่งแวดล้อมเป็นหนึ่งเดียวกับการใช้ชีวิต เราปฏิเสธไม่ได้ว่าเราไม่สวมเสื้อผ้า ไม่ใช้เครื่องสำอางแต่งหน้า ไม่ใช้กระทะในครัว และไม่ใช้สมาร์ทโฟนในมือ เราไมโครพลาสติกที่ซ่อนตัวอยู่ในเมนูอาหาร ยังคงเป็นเหตุของการเกิดความวิตกกังวลของผู้คนทั้งโดยรู้ตัวและไม่รู้ตัว 

ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้านี้ การจัดการกับภาวะฉุกเฉินด้านสภาพอากาศจะเป็นเกณฑ์สำคัญระดับโลกจากรายงานการประเมินครั้งที่ 6 เมื่อปี 2021 ที่เผยแพร่โดยคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 

และมีรายงานจาก Edelman Trust Barometer 2022 ระบุว่าผู้บริโภค  58% ใน 28 ประเทศ เลือกซื้อสินค้าจากแบรนด์โดยพิจารณาจากค่านิยมและความเชื่อ ในขณะที่ 52% ต้องการเห็นว่าธุรกิจต่างๆ ลงมือทำเพื่อจัดการกลับวิกฤตสภาพภูมิอากาศมากขึ้น

และมีรายงานจาก Edelman Trust Barometer 2022 ระบุว่าผู้บริโภค  58% ใน 28 ประเทศ เลือกซื้อสินค้าจากแบรนด์โดยพิจารณาจากค่านิยมและความเชื่อ ในขณะที่ 52% ต้องการเห็นว่าธุรกิจต่างๆ ลงมือทำเพื่อจัดการกลับวิกฤตสภาพภูมิอากาศมากขึ้น   

ความยั่งยืนแห่งปี 2023 จึงเป็นเรื่องของความเท่าเทียม สุขภาพที่ดี การรวมตัวกันเป็นกลุ่มของคนเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลง สำหรับทิศทางในอนาคตอันใกล้นี้  ขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ชาติและสิ่งแวดล้อม หมายความว่า มนุษย์นะชอบเอาชนะธรรมชาติ โดยการทำร้ายมัน จนบางทีผู้ชนะอาจเป็นผู้เสียประโยชน์มากที่สุดก็ได้ 

ซึ่งหลายแบรนด์ดัง ก็มีแนวโน้มในการหันมารักษ์โลกมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการลดการใช้น้ำ หันมาใช้พลังงานหมุนเวียน ใช้วัสดุแบบรีไซเคิลได้ ทำสินค้าย่อยสลายง่าย ลดการใช้พลาสติกต่างๆ สิ่งเหล่านี้กำลังถูกผลักดันจากฉบรนด์ที่พยายามชูความยั่งยืนที่เราเห็นกันมากขึ้น และนักการตลาดสามารถเก็บแนวคิดรักษ์โลกมาใช้ได้เสมอเลยค่ะ

ทั้งหมดนี้เป็นการคาดการณ์เทรนด์ที่จะเกิดขึ้นในปี 2023 ในแต่ละประเด็นแห่งอนาคต เป็นการเจาะลึกถึงแนวทางสำหรับวันพรุ่งนี้ ที่ตอบโจทย์ความเป็นไปได้ที่มากกว่า จากข้อมูลที่ปลื้มเล่ามาเรากำลังจะเดินทางเข้าสู่ 2023 ยุคแห่งการฟื้นฟู เยียวยา และรับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นแทบจะทุกมิติจริงๆ ค่ะ

ดาวน์โหลดรายงานเจาะเทรนด์โลก 2023 โดย TCDC ฉบับเต็มได้ที่ > E-BOOK Trend 2023

สำหรับใครที่อยากอ่านบทความเกี่ยวกับการตลาดเพิ่มเติม สามารถติดตามได้จาก เพจการตลาดวันละตอน รวมไปถึงเว็บไซต์ Twitter Instagram YouTube และ Blockdit ของการตลาดวันละตอนด้วยนะคะ

Yoswimol

🎡PLEUM | Data Research Executive ในเครือการตลาดวันละตอน | สนใจเรื่องการตลาด ชอบดูการแข่งขันทางการตลาด และเป็นทาสตลาด... ทุกบทความตั้งใจเขียนมาก ขอบคุณที่เข้ามาอ่านกันนะคะ มันเป็นกำลังใจที่ทำให้อยากเขียนต่อไปเลย☺️

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *