สรุป 6 ประเด็นสำคัญจากรายงานเศรษฐกิจดิจิทัล e-Conomy SEA 2020 – Google

สรุป 6 ประเด็นสำคัญจากรายงานเศรษฐกิจดิจิทัล e-Conomy SEA 2020 – Google

รายงาน E-conomy 2020 ที่พูดถึง Digital Economy หรือเศรษฐกิจดิจิทัลฉบับนี้จัดทำโดย Google ร่วมกับ Temesek และ Bain & Company เป็นปีที่ 5 ติดต่อกันนับจากปี 2016 ปีแห่งการเปลี่ยนแปลงอย่างเหวี่ยงสวิงพลิกทุกตำราที่เคยเรียนมา เพราะการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด19 ทำให้เราทุกคนทั่วโลกล้วนต้องกักตัวอยู่บ้านหรือ Social distancing ทำให้ทุกธุรกิจต้อง Digital Transformation กันอย่างฉับพลันและทันทีในแบบที่เลี่ยงไม่ได้ถ้ายังอยากอยู่ได้ในโลกใบใหม่ที่เรียกว่า New Normal และ Next Normal ครับ

การตลาดวันละตอนขอคัดเลือกในหัวข้อที่เห็นว่าน่าสนใจ คิดว่าเหมาะกับบริบทของเศรษฐกิจไทย ที่เจ้าของธุรกิจต้องรู้ ผู้บริหารต้องดู ไปจนถึงนักการตลาดหรือธุรกิจ SME ที่จะพลาดข้อมูลสำคัญของ Digital Ecnomoy ฉบับนี้ไม่ได้

7 หัวข้อหลักของเนื้อหาในรายงาน e-Conomy เศรษฐกิจดิจิทัล 2020-2021

สรุป 6 ประเด็นสำคัญจากรายงานเศรษฐกิจดิจิทัล e-Conomy SEA 2020 โดย Google, Temasek และ Bain & Company อ่านอัพเดทพร้อมเข้าสู่ปี 2021

โดยหัวข้อหลักๆ ของรายงาน E-conomy 2020 ฉบับนี้ประกอบด้วย 5 หัวข้อหลัก e-Commerce, Transport & Food, Online Travel, Online Media และ Financial Services และ 2 หัวข้อใหม่ที่บูมขึ้นมาฉับพลันจากโควิด19 ก็คือ HealthTech กับ EdTech ครับ

สรุป 6 ประเด็นสำคัญจากรายงานเศรษฐกิจดิจิทัล e-Conomy SEA 2020 โดย Google, Temasek และ Bain & Company อ่านอัพเดทพร้อมเข้าสู่ปี 2021

เมื่อดูจากอัตราการเติบโตของผู้ติดเชื้อในประเทศไทยเมื่อเทียบกับเพื่อนบ้านอีก 5 ประเทศอย่าง Indonesia, Malaysia, Philippines, Singapore และ Vietnam จะเห็นว่า ประเทศไทยควบคุมอัตราการแพร่ระบาดได้ดีที่สุด เมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านที่มีระลอกสองกันทั้งนั้น ส่วนบางประเทศที่มาช้าแต่ก็กลายเป็นว่ามาแซงหน้านำโด่งไปสูงลิ่วแล้วในตอนนี้

สรุป 6 ประเด็นหลักจากรายงาน e-Conomy 2020-2021 เศรษฐกิจดิจิทัลหลังโควิด19 มีดังนี้

1. Flight to Digital ดิจิทัลโตระเบิดเมื่อไวรัสระบาด

สรุป 6 ประเด็นสำคัญจากรายงานเศรษฐกิจดิจิทัล e-Conomy SEA 2020 โดย Google, Temasek และ Bain & Company อ่านอัพเดทพร้อมเข้าสู่ปี 2021

จากผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตในภูมิภาคอาเซียนที่เพิ่มขึ้นอย่างฉับพลันในปีนี้ปีเดียวถึง 40 ล้านคน จากปี 2019 อยู่ที่ 360 ล้านคนใน ก้าวกระโดดไปสู่ 400 ล้านคนในปี 2020 และแม้ตอนที่รายงานฉบับนี้เผยแพร่ออกมาแม้จำนวนการเติบโตของผู้ติดเชื้อจะเริ่มคลี่คลายลง แต่ตัวเลขผู้ใช้อินเทอร์เน็ตหน้าใหม่ก็ไม่ได้ลดลงตามแต่อย่างไร

เชื้อไวรัสโควิด19 ทำให้คนอาเซียนที่ออนไลน์กว่า 1 ใน 3 กลายเป็น Digital Servies Consumer หรือเป็นคนที่ไม่ได้แค่ออนไลน์เปล่าๆ แต่ยังใช้เงินจับจ่ายใช้สอยบนออนไลน์ที่ส่งผลให้เศรษฐกิจดิจิทัลเติบโตอีกด้วยครับ

และที่สำคัญคือรายงานฉบับนี้ยังพบอีกว่ากว่า 90% ของพฤติกรรมใหม่ๆ หรือ New Normal จะยังคงอยู่ต่อไปแม้การแพร่ระบาดจะเริ่มลดลงจนผู้คนออกมาใช้ชีวิตตามปกติได้แล้วก็ตาม และนั่นก็คือนิยามของคำว่า Next Normal ครับ

2. Online with a Purpose ได้เรียนรู้ว่าทุกอย่างในชีวิตไม่มีอะไรที่ออนไลน์ไม่ได้

สรุป 6 ประเด็นสำคัญจากรายงานเศรษฐกิจดิจิทัล e-Conomy SEA 2020 โดย Google, Temasek และ Bain & Company อ่านอัพเดทพร้อมเข้าสู่ปี 2021

คนไทยและอาเซียนใช้เวลากับการออนไลน์เพิ่มขึ้นในช่วงล็อคดาวน์และแม้จะหลังล็อคดาวน์ก็ยังไม่ได้กลับไปเหมือนก่อนหน้าล็อคดาวน์ด้วยซ้ำ ซึ่งเหตุผลก็คือผู้คนได้เรียนรู้แล้วว่า ใดๆ ในโลกล้วนทำผ่านออนไลน์ได้ ไม่ว่าจะซื้อของกินของใช้ ของที่จำเป็นเจ้าบ้าน หาหมอผ่านแอปก็ทำมาแล้ว เรียนออนไลน์จนจบเทอมเกรดออกก็ทำมาแล้วเช่นกัน ครั้นจะหาหนังหาเพลงฟังก็ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป ธุรกิจมากมายก็เรียนรู้ที่จะก้าวกระโดดเข้ามาสู่การทำ Digital Marketing ในช่วงเวลาสั้นๆ แค่หลักวัน บางองค์กรสามารถทำ Digital Transformation ได้ภายในระยะเวลาไม่ถึงสองสัปดาห์ด้วยซ้ำ ทั้งที่ก่อนหน้าเคยพยายามมา 2 ปีไม่กระเตื้องขึ้นสักนิด

ที่ภาคธุรกิจสามารถทำได้เร็วในแบบที่ไม่มีใครคาดคิดก็เพราะว่ากลัวจะต้องปิดแล้วอดตายเพราะโควิด19 มากกว่า บรรดาธุรกิจและแบรนด์ต่างๆ จึงพยายามดื้นรนหาทางรอดให้ได้ว่าพวกเราจะทำธุรกิจต่อไปอย่างไรแม้เราจะไม่ได้เจอลูกค้าเลยก็ตามครับ

และช่วงกักตัวอยู่บ้านหรือ Social distancing ก็ทำให้คนไทยและอาเซียนกว่า 8 ใน 10 พบว่าเทคโนโลยีต่างๆ สามารถช่วยให้ดำเนินชีวิตได้ดีกว่าที่คิดมาก และหนึ่งในเทคโนโลยีที่ว่าก็คือสมาร์ทโฟนในมือเครื่องเล็กๆ พร้อมกับอินเทอร์เน็ตนั่นเองครับ

3. Resilience in times of crisis บางธุรกิจโตแต่บางธุรกิจตาย

สรุป 6 ประเด็นสำคัญจากรายงานเศรษฐกิจดิจิทัล e-Conomy SEA 2020 โดย Google, Temasek และ Bain & Company อ่านอัพเดทพร้อมเข้าสู่ปี 2021

ปีนี้เป็นปีที่กลุ่มธุรกิจ e-Commerce, Online media และ Food Delivery เติบโตอย่างก้าวกระโดดอย่างที่ไม่เคยมีใครคาดการณ์ไว้ซึ่งนั่นก็เป็นเพราะโควิด19 แต่เมื่อมีผู้ชนะก็ย่อมมีผู้แพ้ ซึ่งก็ตกเป็นของธุรกิจในกลุ่มการเดินทาง ท่องเที่ยว สายการบินระหว่างประเทศ และ Online Travel นั่นเอง

ซึ่งตัวเลขของกลุ่มธุรกิจดังกล่าวจะเป็นอย่างไรก็ต้องรอดูกันอีกทีว่าเชื้อไวรัสนี้จะมีท่าทีหมดไปเองหรือไม่ หรือเราจะได้วัคซีนเพื่อให้กลับมาใช้ชีวิตเดินทางท่องเที่ยวข้ามกันไปมาระหว่างประเทศได้อย่างสำราญใจเหมือนเดิมอีกครั้งเมื่อไหร่ครับ

แต่วิกฤตโควิด19 ก็ทำให้กลุ่มธุรกิจ Digital Financial Services เติบโตอย่างก้าวกระโดดแบบเห็นได้ชัด ธุรกิจรายใหญ่หรือ SME มากมายต่างพร้อมใจรับการโอนเงินทางออนไลน์ หรือ Scan QR code แทนการรับเงินสดจับเงินจริงกันทันที

4. On the path to profitability ยักษ์ใหญ่รวบกินหมดจน Startup ยากจะเกิด

สรุป 6 ประเด็นสำคัญจากรายงานเศรษฐกิจดิจิทัล e-Conomy SEA 2020 โดย Google, Temasek และ Bain & Company อ่านอัพเดทพร้อมเข้าสู่ปี 2021

ตั้งแต่ปี 2018 เป็นต้นมา ธุรกิจ Startups ในอาเซียนที่ได้เงินทุนที่ก้าวไปสู่ระดับ Unicorns ก็ลดลงอย่างเห็นได้ชัดถ้าเทียบกับก่อนหน้า เพราะบรรดาแพลตฟอร์มยักษ์ใหญ่ต่างๆ พยายามปรับรูปแบบธุรกิจหรือแอปตัวเองให้สามารถเข้ายึดครองทุกพื้นที่ไม่เหลือให้ Startup หน้าใหม่ได้เติบโตง่ายๆ เหมือนเมื่อก่อน

เรามักได้ยินคำว่า Super App บ่อยขึ้นนั่นคือสิ่งที่แพลตฟอร์มต่างๆ อยากจะเป็น เพื่อที่จะได้ไม่ปล่อยให้ Digital Users ของตัวเองหลุดเอา Data ไปให้กับแพลตฟอร์มอื่น ในขณะเดียวกันก็เป็นการสร้าง Digital Ecosystem ของตัวเองให้แข็งแกร่งจนยากที่ใครจะไล่ตามได้ทัน

ซึ่งจากการกระทำดังกล่าวของแพลตฟอร์มยักษ์ใหญ่ๆ ต่างๆ ก็ยากที่จะบอกได้ว่าจะประสบความสำเร็จหรือไม่ ดังนั้นวันนี้ใครที่เพิ่งมาเริ่มทำ Startup น่าจะอยู่ได้ยาก เอาง่ายๆ แค่บริษัทยักษ์ใหญ่ในบ้านเราก็ลงมาทุ่มสร้าง Digital Products เหมือน Startup ภายในองค์กรตัวเองมากมายโดยไม่ต้องรอเงิน Funding จากใครเหมือน Startup ในยุคก่อนเลย

5. New frontiers สองหัวหอกธุรกิจใหม่โตไวในช่วงโควิด

สรุป 6 ประเด็นสำคัญจากรายงานเศรษฐกิจดิจิทัล e-Conomy SEA 2020 โดย Google, Temasek และ Bain & Company อ่านอัพเดทพร้อมเข้าสู่ปี 2021

HealthTech และ EdTech กลายเป็นกลุ่มธุรกิจสำคัญที่มีผลต่อการใช้ชีวิตผู้คนทั่วโลกมากในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด19 ตัวเลขการเติบโตของผู้ใช้สองกลุ่มธุรกิจนี้พุ่งทะยานเป็นอย่างมากจนยากจะวัดค่าได้ และนั่นก็มาพร้อมกับความคาดหวังว่าสองกลุ่มธุรกิจเทคโนโลยีนี้จะสามารถก้าวขยายเติบโตต่อไปแม้ผู้คนจะกลับมาใช้ชีวิตเช่นเดิม

และนั่นก็ทำให้สองกลุ่มธุรกิจเทคโนโลยีดังกล่าวสามารถระดมเงินทุนได้มากมายและรวดเร็วในช่วงเวลานี้ หรือกลุ่มธุรกิจเก่าเองก็รีบรื้อโครงสร้างปรับ Business model ใหม่ เหมือนที่ผมไปงานแถลงข่าวของสมิติเวช ศรีนครินทร์ ที่ลงทุนใน HealthTech ที่พร้อมใช้งานได้จริงแล้วในวันนี้

6. Cautiously optimistic นักลงทุนยังคงลงเงิน แต่เลือกลงในธุรกิจที่มั่นคงและปลอดภัย แทนการโตเร็วเร้าใจแบบเดิม

สรุป 6 ประเด็นสำคัญจากรายงานเศรษฐกิจดิจิทัล e-Conomy SEA 2020 โดย Google, Temasek และ Bain & Company อ่านอัพเดทพร้อมเข้าสู่ปี 2021

แม้โควิดจะทำให้ธุรกิจระหว่างประเทศสะดุดลงอย่างหนัก แต่การค้าขายข้ามประเทศหรือทวีประหว่างกันกลับไม่ได้ลดลงตามในช่วงครึ่งแรกของปี 2020

และแม้ตลาดจะผันผวนอย่างหนัก แต่ปัจจัยพื้นฐานของภูมิภาคนี้ก็แข็งแกร่งพอที่จะทำให้นักลงทุนกล้าไปต่อ แต่อย่างไรเหล่านักลงทุนก็ยังคงระมัดระวังในการใช้เงินเป็นอย่างหนัก เพราะแม้จะเห็นโอกาสที่ดีรออยู่ แต่ก็ไม่ได้ลงทุนอย่างบุ่มบ่ามเหมือนก่อนอีกต่อไป

เพราะก่อนหน้านี้นักลงทุนต่างเลือกที่จะลงทุนในกลุ่มบริษัทหรือธุรกิจ Startup ที่สามารถเติบโตได้อย่างรวดเร็วดุจสายฟ้าแล่บ แต่ในวันนี้พวกเขาเลือกที่จะลงทุนในธุรกิจที่สามารถเติบโตได้อย่างมั่นคง แม้จะไม่ได้รวดเร็วทันใจเหมือนวันวาน แต่เอาเป็นว่าช้าแต่ชัวร์ในวันนี้นั้นเร้าใจกว่ารวดเร็วแต่อาจจะไปไวครับ

แล้วจะอย่างไรกับเศรษฐกิจดิจิทัลหลังโควิด19 และในปี 2021 ต่อจากนี้

สรุป 6 ประเด็นสำคัญจากรายงานเศรษฐกิจดิจิทัล e-Conomy SEA 2020 โดย Google, Temasek และ Bain & Company อ่านอัพเดทพร้อมเข้าสู่ปี 2021

จากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด19 ทำให้ผู้บริโภคไทยและทั่วโลกล้วนเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วแค่เพียงข้ามคืน ส่งผลให้ Digital economy นั้นโตแบบก้าวกระโดด ทั้งในแง่ของจำนวนผู้ใช้งานที่เพิ่มขึ้นรวดเร็วในคราวเดียวหลายสิบล้านคน ทั้งจำนวนปริมาณการใช้อินเทอร์เน็ตที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างฉับพลัน ทั้งจำนวนเงินที่เคยใช้กับออฟไลน์ถูกยกมาใช้บนออนไลน์ก็เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

ในวันนี้ทุกคนล้วนยอมรับเป็นเสียงเดียวกันว่า ดิจิทัลไม่ใช่ทางเลือกแต่เป็นทางรอด ถ้าอยากรอดต่อไปต้องพร้อมปรับตัวไปดิจิทัลหรือออนไลน์ให้ไวที่สุดครับ

ในรายงาน e-Conomy 2019 เคยพบว่า 6 อุปสรรคของการทำให้เศรษฐกิจดิจิทัลเติบโตคือ การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตที่ยังไม่ทั่วถึง เงินทุน ความไว้ใจของผู้บริโภค ช่องทางจ่ายเงินออนไลน์ การขนส่ง และคนที่มีความรู้ความสามารถในเรื่องดิจิทัลเอง ล้วนเป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจดิจิทัลไม่เติบโตอย่างที่ควรจะเป็น

แต่ในวันนี้เราเห็นการพัฒนาและปรับตัวในทั้ง 6 เรื่องอย่างรวดเร็ว คนไทยในต่างจังหวัดกลับมีการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ไม่น้อยกว่าคนกรุงเทพ เพราะทุกวันนี้สั่งอะไรก็ได้จาก Shopee หรือ Lazada แล้วจ่ายค่าส่งที่ถูกมาก หรือแทบจะไม่ต้องจ่ายค่าส่งเลยด้วยซ้ำ

ยังไม่นับถึงวิธีการจ่ายเงินออนไลน์ หรือความกล้าของคนที่จะซื้อของออนไลน์ก็ตาม จากที่ไม่เคยซื้อบางอย่างบนออนไลน์เลยก็ต้องลองซื้อดูสักครั้ง จากที่ไม่คิดว่าจะต้องซื้อก็ต้องหาทางซื้อหรือทำมันบนออนไลน์ให้ได้เร็วที่สุด

และยิ่งถ้าพูดถึงความรู้ความสามารถเรื่องการใช้ดิจิทัลเพื่อธุรกิจหรือการตลาดของคนทำงานในปีนี้ กลายเป็นว่าทุกคนล้วนถูกบังคับให้ต้องออนไลน์เป็นด้วยตัวเอง เพราะถ้าไม่อยากอดตายก็ต้องขายออนไลน์ให้ได้เร็วที่สุดครับ

ในวันนี้การเรียนออนไลน์เพื่ออัพสกิลดิจิทัลกลายเป็นเรื่อง Next Normal ทุกคนต่างยอมรับว่าความรู้เก่าๆ ไม่เพียงพอกับโลกใบใหม่อีกต่อไป เพราะโลกใบใหม่หลังโควิด19 เปลี่ยนไปมากจากโลกใบเดิมที่เคยเป็นเมื่อต้นปีแบบหน้ามือเป็นหลังมือ

ในตอนหน้าเราจะมาดูรายละเอียดของแต่ละส่วน ว่าเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศไทยจะเป็นอย่างไรต่อไปในปี 2021 และเมื่อเทียบกับเพื่อนบ้านอาเซียนแล้วเราด้อยกว่าหรือดีกว่าครับ

อ่านสรุปรายงานเศรษฐกิจดิจิทัลไทยและอาเซียน e-Conomy SEA 2020 โดย Google Temasek และ Bain & Company > https://www.everydaymarketing.co/tag/google/

สรุป 6 ประเด็นสำคัญจากรายงานเศรษฐกิจดิจิทัล e-Conomy SEA 2020 โดย Google, Temasek และ Bain & Company อ่านอัพเดทพร้อมเข้าสู่ปี 2021

Source: https://www.thinkwithgoogle.com/intl/en-apac/consumer-insights/consumer-journey/e-conomy-sea-2020-resilient-and-racing-ahead-what-marketers-need-to-know-about-this-years-digital-shifts/

Nattapon Muangtum

เจ้าของเพจการตลาดวันละตอน / อาจารย์พิเศษวิชา Data-Driven Communication / เขียนหนังสือมาแล้ว 5 เล่ม Personalized Marketing, Data-Driven Marketing, Data Thinking, Contextual Marketing และ Social Listening / ที่ปรึกษา Data-Driven Advisor

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

คุณคิดว่าปัญหา PM 2.5 ที่เชียงใหม่วิกฤตหรือยัง ?

#การตลาดวันละโพล ขอหนึ่งคำถามก่อนอ่านการตลาดวันละตอน แล้วเราจะเอาไปทำเป็น Infographic โชว์หน้าเพจให้รู้ด้วยกัน