ผลลัพธ์เมื่อใช้ Social Listening Tools ดูกระแสทั่วโลกที่ร่วม Pride 2022

ผลลัพธ์เมื่อใช้ Social Listening Tools ดูกระแสทั่วโลกที่ร่วม Pride 2022

ผลลัพธ์เมื่อใช้ Social Listening Tools ดูกระแสทั่วโลกที่ร่วม Pride 2022

ก่อนจะลุยกัน ต้องขอโน๊ตไว้ว่านี่เป็นพาร์ทครึ่งปีแรกของ 2022 เท่านั้นนะคะ กำหนด Timefame บนเครื่องมือเป็น 01/04/65 – 10/06/65 หากหลังจากวันที่นุ่นเขียนบทความไปมีความเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับข้อมูลต่าง ๆ ก็สามารถเป็นไปได้ค่ะ

ตอนแรกนุ่นคิดว่าจะรอให้หมดเดือนมิถุนายนค่อนเขียนดีไหมนะ แต่คิดไปคิดมาก็สรุปอยากเริ่มเขียนเลย เผื่อว่าระยะเวลาผ่านไปจะได้เห็นความแตกต่าง ไม่ใช่อะไรเพราะตัวเองก็ตื่นเต้นกับเทรนด์นี้ส่วนตัวอยู่แล้ว โลกเราจะกว้างขึ้นอีกนิดแล้วสิน้า~ 

พอดีกับที่จะได้แชร์ให้เพื่อน ๆ นักการตลาดฟังว่าเจ้า Social Listening Tools สามารถดูเทรนด์ย้อนหลังได้แบบไหนบ้าง มีฟีเจอร์ไหนที่นุ่นใช้บ่อย ๆ คนไทยหรือแบรนด์พูดคุยเรื่อง Pride 2022 กันอย่างไร มีเพจไหนที่ผลิตคอนเทนต์ร่วมสนับสนุนแล้วจึ้งถูกใจคนใช้ 4 แพลตฟอร์มหลัก Facebook Twitter Instagram Youtube 

นุ่นจะพยายามพาทุกคนไปดูว่าเราจะได้เห็น Social Data แง่มุมไหนบ้างนะคะ ถ้ามีวิ​ธีไหนที่ชอบ อย่าลืมลองไปเล่นตามหรือจดไว้เป็นทริกใช้กับเทรนด์ที่ตัวเองอยากทราบได้เลยน้า ยินดีสุด ๆ เลยค่ะ 

Keyword ที่ใช้กวาดข้อมูลบน Social Media

เทรนด์ทั่วโลกนุ่นเน้นไปที่ #Pride2022 และ LGBTQIA+ ก็จริงค่ะ แต่ในไทยปฏิเสธไม่ได้ว่าเพื่อให้ได้ข้อมูลที่แน่นขึ้น นุ่นพ่วง สมรสเท่าเทียม เข้ามาด้วยเนื่องจากเป็นเทรนด์ที่อยากดูคู่กัน ทุกคนต้องอย่าลืมว่าหัวใจการทำ Social Data Research คือจุดประสงค์ของผู้วิจัยเป็นหลักเลยค่ะ แล้วเราจะรู้สึกสนุกกับมันได้เต็มที่ เป็นทริกหนึ่งในการเลือกใช้ตัวกวาดข้อมูลค่ะ

ในครั้งแรกนุ่นมีแค่ 1 คำ แต่เพิ่มขึ้นมาเพราะเจอข้อมูลที่ซัพพอร์ตกันนั่นเอง เมื่อลองเพิ่มแล้วเป็นคำที่ไม่ได้กว้างหรือแคบจนเกินไป เพราะเราจะได้ Social Data ที่คนโพสต์ถึงแบบสาธารณะเข้ามาทั้งหมด 

อธิบายให้เห็นภาพง่าย ๆ หากนุ่นใส่คำว่า กร*เท* หรือท*ม ลงไปแม้จะตรงเทรนด์ที่เราต้องการก็จริงค่ะ แต่ไม่ตรงเป้าน่ะสิ เราจะเจอโพสต์อื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องในการวิเคราะห์เบื้องต้นมากมาย ไม่แค่เพิ่มระยะเวลาการทำงานคลีนข้อมูลให้สะอาด แต่ยังเปลืองโควต้า Data ซึ่งมีจำกัดขึ้นอยู่กับแพ็คเกจของ Social Listening Tools เจ้านั้น ๆ ด้วยค่ะ

Timeline และ สัดส่วนการพูดถึงแต่ละ Keyword ของคนทั่วโลก

ในระยะเวลาสั้น ๆ คนบน Social Media 4 Platform มีการพูดถึงทั้ง 4 คีย์เวิร์ดที่เราอยากรู้จนทำให้มี Engagement หลักล้านเลยค่ะ 

  • LGBTQIA+ 5,473,117 (47.6%)
  • สมรสเท่าเทียม จากคนไทยแน่ ๆ ถล่มถลายสู้ฟัดมาก ๆ 4,003,893 (34.8%)
  • #pride2022 2,008,486 (17.5%)
  • Support Pride 17,736 (0.2%)

การดูสัดส่วนเป็นการดูข้อมูลขั้นแรก ๆ ก่อนเราจะเจาะเทรนด์ให้ลึกลงได้อีกค่ะ อย่าด้านบนมีฟีเจอร์แสดงเป็น Timeline เพื่อให้เห็นเส้น Engagement ในแต่ละวันตามระยะที่เรากำหนดข้อมูล เพื่อดูว่าวันไหนคอนเทนต์เรื่องอะไรปัง และคลิกดูได้แบบในตัวอย่างค่ะ

คลิปแรกจะเกี่ยวกับภาพยนต์สั้นตีแผ่เรื่อง LGBTQIA+ และคลิปในพีคที่สองจะมาจากช่องที่ผลิตคอนเทนต์แนว Drag Queen Reacts และพีคล่าสุดมาจากข่าวเรื่อง ครม. ไฟเขียวรับร่างพรบ.คู่ชีวิต และสมรสเท่าเทียม

ซึ่งถ้าใครมีเวลาสามารถนั่งอ่านทุกโพสต์ของทุกพีคได้เลย เพราะใน 1 วันไม่ได้มีแค่โพสต์เดียว ความสนุกอยู่ตรงนี้แหละค่ะ ตะลุย Data เวอร์ 

ข่าวและงาน Pride 2022 ได้รับความสนใจจากสื่อ คนดัง และองค์กรมากมาย 

ฟีเจอร์ TOP 10 Channel สามารถดูได้ทั้ง 4 แพลตฟอร์ม นุ่นเลือกเอา Facebook มาให้ชมเป็นตัวอย่างค่ะ จะเข้าไปดูว่ามาจากไหนก็ได้ หรือจะเก็บเป็นเช็กลิสต์ Influencer ที่เหมาะจะให้เล่นกับเทรนด์นั้น ๆ ก็ได้เช่นกัน 

แน่นอนว่าสำนักข่าวได้รับ Engagement สูงติด 10 อันดับเพราะเป็นสิ่งที่ทุกคนติดตามอัปเดตอยู่ นอกจากนี้เราจะเห็นแอคเคาท์ที่โพสต์เกี่ยวกับงานไพรด์หรือสมรสเท่าเทียม แล้วได้รับความสนใจเช่นกัน

ความคึกคักของเหล่าเพจ องค์กร แบรนด์ก็เริ่มคึกคักกันมากแล้ว ซึ่งเราก็จะได้เห็นตั้งแต่ความครีเอตรูปโปรไฟล์ คอนเทนต์ โปรโมชั่น และอื่น ๆ ไม่นับที่นุ่นเห็นคนบน Instagram เล่นฟีเจอร์ Add Your เพื่อส่งต่อข้อความสนับสนุนตวามหลากหลายทางเพศหรือ LGBTQIA+ เห็นกระแสแบบนี้ส่วนตัวนุ่นรู้สึกดีใจมากที่เห็น และรอติดตามแคมเปญต่อเนื่องอย่างจริงจังจากนักการตลาดไทยของเรา ^^

Social Data STAT By Engagement time

สำหรับสถิติการโพสต์ของสื่อและ user ในฝั่ง Published Time มากที่สุดในช่วงเวลา 23:00น. ค่ะ เจาะดูแล้วเป็นแพลตฟอร์ม Twitter ที่รวมพลมนุษย์นกฮูกกลางคืนอยู่ค่ะ

ส่วน Published – Engagement Time คือช่วงเวลาที่ user เข้ามามีส่วนร่วมกับคอนเทนต์ต่าง ๆ คงพอวางตารางคอนเทนต์ในครั้งหน้าได้ว่า บรรดาสื่อ แบรนด์น่าจะลองปรับเวลาโพสต์เป็น 20:00น. สำหรับเทรนด์นี้ดูค่ะ

FYI สำหรับแบรนด์

2022 แล้วนักการตลาดอย่าละเลยความจริงใจกับลูกค้าเด็ดขาดเลยนะคะ นุ่นลองอ่านโพสต์ที่เข้ามาจากแพลตฟอร์มต่าง ๆ ไปเรื่อยจนมาเจอทวีตจำนวนมากที่พูดถึงการผลักดันกฏหมายความเท่าเทียม อย่างสมรสเท่าเทียม และนโยบายเพื่อ LGBTQIA+ ให้เกิดขึ้นจริงด้วย

หรือคิดอย่างรอบคอบเกี่ยวกับการดำเนินการตลอดแคมเปญ ไม่ให้หลุดจากการรณรงค์ความเท่าเทียมไปค่ะ

เพราะฉะนั้นอาจเพิ่มความรอบคอบมากขึ้นและเตรียมแพลนในอนาคตที่ไม่ทิ้งจุดยืนเมื่อเราเลือกที่จะสนับสนุนสังคมด้านนี้แล้วนะคะ หากไม่เห็นภาพ เรามาดูเคสการตลาดเพื่อสนับสนุน LGBTQIA+ ที่น่าสนใจปิดท้ายกันค่ะ นุ่นไม่ได้เคาะว่าเป็นแคมเปญที่ดีที่สุด เฉพาะสองแบรนด์นี้เท่านั้น เพียงแต่มีกระแสตอบรับจากลูกค้าไปในทางบวกมากเลยล่ะค่ะ อดไม่ได้ที่จะนำมาแชร์ ^^

ตัวอย่างเคสการตลาด จากต่างประเทศ

Oreo เป็นแบรนด์หนึ่งที่มีจุดยืนเรื่องนี้ชัดเจนทุกปี ปีนี้แบรนด์ Oreo ร่วมกับ องค์กรสนับสนุน LGBTQ+ อย่าง PFLAG National ร่วมกันสร้างสรรค์ OREO Pride Pack หรือคุกกี้ OREO ที่มาในแพ็กเกจลิมิเต็ดเอดิชันธีม Pride แซนด์วิชคุกกี้สอดไส้ครีมในตำนาน สีสันหลากหลาย

ลูกเล่นเค้าไม่ได้มีให้โชว์เฉย ๆ แต่ตกแต่งด้วยสีโทนสว่างพร้อมข้อความที่ดี ๆ บนแพ็กเกจ เช่น เป็นตัวของตัวเอง โลกต้องการคนอย่างคุณ

นอกจากนี้ก็สามารถใส่ข้อความของตัวเองก่อนที่จะมอบให้คนอื่นได้ด้วย เป็นธีม Pride ที่ตัวขนมเองปั๊มคำว่า Proud เอาไว้ เก๋ไก๋เวอร์

ที่มา

ตัวอย่างเคสการตลาด จากประเทศไทย

นุ่นเลื่อนไทม์ไลน์มาเจอข่าวพอดี พออ่านแล้วก็คิดว่าแคมเปญนี้น่าสนใจ มีการสื่อความหมายได้น่ารักมากจากแบรนด์ ‘นันยาง’ ที่มาร่วม Pride Month โดยเลือกได้เหมาะกับสินค้าตัวเองสุด ๆ

ใครที่ซื้อรองเท้านันยางรุ่น ZAFARI (2022) ผ่าน Shopee จำนวน 1,000 รายการ รับฟรี เชือกผูกรองเท้าสีรุ้ง รุ่น #LoveLaces ตลอด Pride Monthหรือจนกว่าของจะหมดเพื่อใช้เป็นสัญลักษณ์ความรัก ความผูกพันที่เท่าเทียม

ภาพคอนเทนต์ก็คือสื่อสารดี ‘เดินอย่างภูมิใจ’ | อีกทั้งราคาน้องไม่แพงเลย แค่ 299฿

ที่มา

ทั้งหมดนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของผลลัพธ์เมื่อใช้ Social Listening Tools ดูกระแสแบรนด์ทั่วโลกที่ร่วม Pride 2022  ถ้านักการตลาดอยากอ่านฟีเจอร์อื่น ๆ หรือบทความวิเคราะห์ผ่าน Social Listening เพิ่มเติม สามารถกดที่นี่ ได้เลยนะคะ เรามีอีกหลายเคสตัวอย่าง ที่อยากให้ลองศึกษาดูค่ะ ตั้งใจเขียนทุกบทความเลยจริง ๆ

ถ้าใครอยากเรียนรู้การใช้ Social Listening ด้วยตัวเอง หรืออยากให้ทีมของตัวเองใช้เป็น สามารถสมัครเรียนสดทางออนไลน์กับการตลาดวันละตอนด้วยตัวเองได้

คลาสเรียนออนไลน์ Social Listening Analytics

คลาสเรียนออนไลน์ Social Listening เน้น Workshop ลงมือทำจริงด้วยตัวเอง รุ่นล่าสุด ศุกร์สุดท้ายของเดือน เปิดแล้ว
เรียนสดทางออนไลน์ ผ่าน Zoom เต็มวัน 9:00 – 15:00
ค่าเรียนคนละ 9,900 บาท รับจำกัดรุ่นละ 20 คน (ถ้าเต็มรุ่นนี้ต้องขอให้รอรุ่นหน้า)
อ่านรายละเอียดและสมัครก่อนเต็มได้ที่ลิงก์นี้

https://bit.ly/sociallisteningclass

ขอแค่คุณใช้ Social Listening เป็นด้วยตัวเองก็จะพบว่ามี Data มากมายรอให้ใช้งาน และยังมี Consumer Insights ล่องลอยอยู่อีกมาก เหลือแค่ว่าใครจะหยิบมาใช้โอกาสได้ก่อนกัน

Noon Inch

นุ่น Business Data Research Analyst Specialist | Martech 🙋🏻‍♀️💻ใช้ชีวิตอยู่กับ Social Listening Tools เกือบทุกวันมาร่วม 6 ปี 🙋🏻‍♀️📈ทำงานด้าน Social Data Research ให้กับหน่วยงานรัฐและแบรนด์เอกชน 6 ปี 🙋🏻‍♀️✈️ชอบทำงานและชอบใช้เงิน แล้วก็เป็น K-POP🇰🇷 & Salmon Lover 🍣

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

คุณคิดว่าปัญหา PM 2.5 ที่เชียงใหม่วิกฤตหรือยัง ?

#การตลาดวันละโพล ขอหนึ่งคำถามก่อนอ่านการตลาดวันละตอน แล้วเราจะเอาไปทำเป็น Infographic โชว์หน้าเพจให้รู้ด้วยกัน