Shop-hopping เมื่อนักช้อปออนไลน์นั้นหลายใจ ไม่เคยหยุดแค่เว็บเดียว (3.2 เว็บ)

Shop-hopping เมื่อนักช้อปออนไลน์นั้นหลายใจ ไม่เคยหยุดแค่เว็บเดียว (3.2 เว็บ)

Shop-hopping นิยามใหม่ของ Insight นักช้อปออนไลน์ในยุค​ Discovery Generation เมื่อคนไทยช้อปออนไลน์ 3.2 เว็บ โอกาสของธุรกิจหน้าใหม่เมื่อผู้บริโภคนั้นหลายใจไม่มีใครช้อปแค่ที่เดียว

เมื่อตลาดเกิดขึ้นมากมายนั่นก็หมายความว่าผู้บริโภคยุคใหม่นั้นมีทางเลือกมากมายมหาศาล จากรายงานพบว่าผู้บริโภคไทยและอาเซียนนั้นชอบที่จะช้อปออนไลน์ข้ามแพลตฟอร์มไปมา โดยไม่ได้ยึดติดว่าจะต้องเป็นเว็บใดเว็บหนึ่งหรือเพียงแค่เว็บเดียวเท่านั้น เพราะจากการสำรวจพบว่าคนไทยเองช้อปประมาณ 3.2 เว็บ ที่มากที่สุดในอาเซียนคือคนสิงค์โปรช้อปออนไลน์ประมาณ 5.1 เว็บครับ

นั่นบอกให้รู้ว่าผู้บริโภคดิจิทัลนั้นพวกเขาไม่ได้รู้สึกผูกพันธ์หรือ Loyalty กับแบรนด์ใดแบรนด์หนึ่งเป็นพิเศษเหมือนแต่ก่อนอีกต่อไป และนั่นก็หมายความว่านี่คือโอกาสของสินค้าหรือแบรนด์ใหม่ๆ ที่จะมีโอกาสได้ส่วนแบ่งทางการตลาดจากแบรนด์เก่าแก่ได้ไม่ยากครับ

แต่ทั้งหมดนี้ก็ไม่ได้หมายความว่าคำว่า Loyalty จะตายแล้วในยุคดิจิทัลหรือ Discovery Generation เพราะเราพบว่าความจริงแล้วยังไม่มีใครใหญ่พอจะเป็นเจ้าตลาดที่แท้จริงในไทยและอาเซียนต่างหากครับ

Shop-hopping insight online shopper discovery generation facebook and bain company report 2020

จากรายงานจะเห็นว่าแม้ดูเหมือนผู้บริโภคดิจิทัลในไทยและอาเซียนจะไม่ได้ติดใจแบรนด์ไหนเป็นพิเศษ เมื่อดูจากคะแนน Net Promoter Scores ที่เป็นตัววัดค่าความจงรักภักดีของผู้บริโภคที่ใช้กันมานานก็พบว่าตัวเลขนี้ในไทยและอาเซียนยังคงต่ำมากเพราะสูงสุดคือฟิลิปปินส์อยู่ที่ 38% ส่วนของไทยอยู่ที่ 26% เท่านั้น เมื่อเทียบกับประเทศสหรัฐอเมริกาที่อยู่สูงถึงราวๆ 50-65% ครับ

แต่ทั้งหมดนี้ก็มีเหตุผลของมัน นั่นก็เพราะในตลาด E-commerce ของไทยและอาเซียนเองยังไม่ใครเป็นเจ้าตลาดที่แท้จริง ผิดกับในประเทศใหญ่ๆ อย่างสหรัฐอเมริกาและจีนที่เบอร์หนึ่งในตลาดนั้นมี market share มากกว่าเบอร์สองพุ่งไปถึง 6.5 เท่า และ 4 เท่า ตามลำดับครับ

Shop-hopping insight online shopper discovery generation facebook and bain company report 2020

ส่วนไทยเราเบอร์หนึ่งของ E-Commerce นั้นมีส่วนแบ่งมากกว่าเบอร์สองแค่ 1.1 เท่าเพียงเท่านั้น เมื่อยังไม่มีเจ้าตลาดที่แท้จริงทำให้การแข่งขันส่วนใหญ่ยังคงเป็นการให้ส่วนลดเพื่อแย่งลูกค้ากันไปมา

แต่แน่นอนว่าในระยะยาวเมื่อเริ่มมีเจ้าตลาดขึ้นมาก็จะเปลี่ยนจากการแข่งกันให้ส่วนลดเพื่อดึงดูดลูกค้าเข้ามา กลายเป็นการให้บริการลูกค้าที่ดีกว่าที่คู่แข่งจะให้ได้เพิ่มมากขึ้น หรือที่เรียกว่า Added Value แทนเพื่อทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าจ่ายแพงกว่าหน่อยก็ไม่เป็นไร ถ้าแบรนด์นี้รู้ใจฉันมากที่สุด หรือใช้การทำ Personalization เพื่อดึงดูดใจลูกค้าให้กลายเป็น Brand Love นั่นเองครับ

ในตอนหน้าเราจะมาดูกันว่าเวลาแบรนด์ให้ส่วนลดเพื่อเรียกลูกค้าเข้ามานั้นจะส่งผลอย่างไรต่อธุรกิจในระยะยาว

อ่านซีรีส์คอนเทนท์ชุด Riding the Digital Wave จาก Facebook และ Bain Company ทั้งหมด > https://www.everydaymarketing.co/?s=riding+digital+wave

ดาวน์โหลดรายงานฉบับเต็มได้ที่ > http://bit.ly/2QJIJg0

Nattapon Muangtum

เจ้าของเพจการตลาดวันละตอน / อาจารย์พิเศษวิชา Data-Driven Communication / เขียนหนังสือมาแล้ว 5 เล่ม Personalized Marketing, Data-Driven Marketing, Data Thinking, Contextual Marketing และ Social Listening / ที่ปรึกษา Data-Driven Advisor

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

คุณคิดว่าปัญหา PM 2.5 ที่เชียงใหม่วิกฤตหรือยัง ?

#การตลาดวันละโพล ขอหนึ่งคำถามก่อนอ่านการตลาดวันละตอน แล้วเราจะเอาไปทำเป็น Infographic โชว์หน้าเพจให้รู้ด้วยกัน