Marketing กับ Web3 การตลาดยุค Community Driven ด้วย DAO และ Brand Token

Marketing กับ Web3 การตลาดยุค Community Driven ด้วย DAO และ Brand Token

บทความวันนี้จะพาเพื่อนๆ นักการตลาดในการตลาดวันละตอน มาดูแนวทาง Use Case Study การตลาดยุคใหม่ Marketing กับ Web3 นี่คือการตลาดยุค Community-Driven Business เมื่อกลุ่ม Superfan มีพลังมากพอจะยอมจ่ายเพื่อขับเคลื่อนแบรนด์ได้ การตัดสินใจของแบรนด์จะถูกกำหนดโดย Brand Token และใช้หลักการแบบ DAO Decentralized Autonomous Organizations ถ้าอยากรู้ว่าสิ่งนี้จะเปลี่ยนโลกการตลาดและการสร้างแบรนด์อย่างไร ไปอ่านต่อกันเลยครับ

แม้ Decentraland จะเป็นตัวอย่างแพลตฟอร์มการตลาดในรูปแบบ Web3 ที่มีการทำงานแบบ DAO และอยู่ในรูปแบบ Metaverse ที่มีแบรนด์จำนวนไม่น้อยเข้าไปลงทุนอยู่ในนั้น แต่นอกจากแพลตฟอร์มนี้แล้วก็ยังไม่เห็นมีอันอื่นที่เป็นที่ได้ยินบ่อยๆ สักเท่าไหร่

แต่นั่นไม่ได้หมายความว่า Web3 หรือ Metaverse จะไม่สำคัญกับนักการตลาดนะครับ สิ่งสำคัญที่นักการตลาดควรต้องให้ความสนใจไม่ใช่ผลลัพธ์ที่เห็นในตอนนี้ แต่เป็นวิธีคิดและการตัดสินใจแบบ DAO เพราะนั่นคือหัวใจสำคัญของ Web3 ที่จะเปลี่ยนจากผู้ใช้งานธรรมดา กลายมาเป็นชุมชมของกลุ่มผู้เป็นเจ้าของผ่านการคือ Brand Token หรือ Community Token เทียบได้กับการถือหุ้นของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ก็ว่าได้

เพราะวันนี้ Community Driven Commercialized ขอแค่มีกลุ่มคนที่พร้อมสนับสนุนคุณจริงๆ ไม่ต้องมากมาย แค่หลักพันคนขึ้นไปก็พอ แค่นี้คุณก็สามารถอยู่ได้โดยไม่ลำบากแล้ว ตราบใดที่คุณมีแฟนพันธุ์แท้ที่รักคุณจริงๆ พวกเขาพร้อมจะสนับสนุนทุกสิ่งที่คุณทำ ซื้อทุกอย่างที่คุณขาย หรือแม้แต่ Donate เงินให้คุณเปล่าๆ ก็ยังมีครับ

การตลาดวันละตอนเองยังมี Subscriber เกือบร้อยคนที่เลี้ยงกาแฟให้ผมเปล่าๆ โดยที่ผมเองก็ไม่ได้มีอะไรให้เป็นสิ่งตอบแทนแต่อย่างไร ขอบคุณจากใจจริงๆ ครับ

ถ้าคุณอยาก Subscribe ผมด้วยการเลี้ยงกาแฟเดือนละแก้ว กดได้ที่ลิงก์นี้ครับ > https://www.facebook.com/becomesupporter/EverydayMarketing.co/

ตัวอย่างจากแพลตฟอร์มอย่าง Patreon ที่เปิดให้กลุ่มผู้ชม Audience สามารถจ่ายเงินสนับสนุน Creator ได้ ก่อนที่ Facebook จะเปิดให้มีปุ่ม Subscribe เสียอีก

Photo: https://www.arover.net/2022/02/15/famous-dj-steve-aoki-talks-about-nfts/

แต่กับโลกของ Crypto ขั้นก้าวไปอีกขั้น จากการเกิดขึ้นของ NFT ที่ทำให้ศิลปินนั้นสามารถสร้างรายได้มหาศาลในแบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ตัวอย่างจาก DJ & Producer ชื่อดัง Steve Aoki เข้าบอกว่าแค่การออก NFT ในปี 2021 ปีเดียวก็สามารถทำเงินได้มากกว่าที่ออกอัลบั้มมากว่า 6 อัลบั้มตลอดสิบปีที่ผ่านมา เรียกได้ว่า NFT นั้นทำเงินให้ Creator เป็นกอบเป็นกำ (แต่ตอนนี้คนที่ถืออยู่ก็ดอยกันไม่น้อยนะ)

นักการตลาดต้องลองคิดภาพต่อไปว่า จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อการบริหารจัดการแบบ DAO ถูกเอามาประยุกต์ใช้กับแบรนด์อย่างจริงจัง ลองมาดู Use Case Study ของการ Support Creator แบบ DAO กันดูครับ

Holly Herndon ศิลปินนักแต่งเพลงที่กดลงทดลองสร้าง DAO Community จากกลุ่มแฟนคลับผู้สนับสนุนเธอ

เธอเปิดให้กลุ่มผู้สนับสนุนใน DAO สามารถนำเสียงของเธอที่ผ่านการสังเคราะห์ด้วย Machine Learning ไปใช้ในงานอาร์ตต่อได้ เป็นการแบ่งความเป็นแบรนด์ในตัวเองให้กลุ่ม Superfan ได้ต่อยอดความชอบที่มีกับตัวเธอออกมาเป็นผลงานใหม่ๆ

เธอบอกว่าการเปิด DAO Community ของตัวเองขึ้นมาจะทำให้ Token ของเธอมีมูลค่าในการถือครองมากขึ้น อย่างแรกคือยิ่งผลงานที่สร้างออกไปก่อให้เกิดมูลค่ามากเท่าไหร่ กลุ่มผู้ถือครองเหรียญหรือ Token ของเธอก็จะยิ่งได้กำไรมากเท่านั้น

นี่คือยุคของการสร้าง Personal Brand แล้วต่อยอดผ่าน DAO บนเทคโนโลยี Blockchain ได้เป็นรูปธรรมจริงๆ ครับ

แบรนด์ของคุณต้องลองคิดดูแล้วหละ ว่าจะออกเหรียญ Brand Token ออกมาจะให้สิทธิ์อะไรในกลุ่ม DAO ผู้ถือครอง มากไปแบรนด์อาจพัง แต่ถ้าน้อยไปก็ไม่มีใครอยากถือ ทำอย่างไรจึงจะให้เป็นการต่อยอด มากกว่าการกอบโกยแบรนด์ที่สร้างมาแล้วพังไป

แบรนด์เก่าอาจทำยาก แต่แบรนด์ใหม่ๆ ที่เกิดในยุคนี้ผมว่านี่เป็นโอกาสที่น่าสร้าง DAO Brand จริงๆ

ถ้าเราลองนึกย้อนไปสักหน่อย ในยุค Web2 ปัจจุบัน ยุค Social media นั้นผู้บริโภคเองก็คาดหวังให้แบรนด์เข้ามามีส่วนร่วม เข้ามาตอบคำถามหรือสนใจพวกเขาบนออนไลน์ไม่น้อย แล้วพอเป็นยุค Web3 จะขนาดไหน ผู้บริโภคคงต้องการจะเป็นส่วนหนึ่งของแบรนด์อย่างจริงจัง

เดิมทีแบรนด์บอกว่าแบรนด์อยากได้กลุ่มคนที่ Love Brand มากๆ นี่คือช่วงเวลาที่ความรักในแบรนด์สามารถจับต้องได้จริง สามารถเป็นรูปธรรมได้ แต่นั่นก็หมายความว่าตัวแบรนด์เองก็ต้องพร้อมละทิ้งความเป็นเจ้าของแบรนด์บางส่วนไป พร้อมกับยกความเป็นแบรนด์ให้กลุ่ม Superfan ได้นำพาแบรนด์ที่เขารักไปผ่านการตัดสินใจแบบ DAO

เช่น ถ้าแบรนด์เราตั้งงบ CSR ไว้ 10 ล้าน แทนที่จะเอาไปปลูกป่า รักษาต้นน้ำ ก็สู้เปิดให้กลุ่ม Superfan ที่สนับสนุนสินค้าแบรนด์มากๆ จริงๆ ด้วยการซื้อ 1 ชิ้นแทนที่จะสะสมแต้มทั่วไป แต่กลายเป็นสะสม Brand Token เอาไว้โหวตใน DAO แบบนี้เป็นต้น

แล้วคนที่มี Brand Token มากๆ ก็จะสามารถกำหนดทิศทางของแบรนด์ได้ ลองคิดดูซิว่านี่เป็นภาพการเกิด Brand Engagement ในระดับที่ยุค Web2 ไม่สามารถทำได้ แต่พอเป็น Web3 แล้วทุกอย่างสามารถเป็นไปได้ เชื่อว่ายังมี Use Case อีกมากที่รอการค้นพบและนำมาแบ่งปันกันเป็นแนวทางให้แบรนด์อื่นได้ต่อยอดในแบบของตัวเองครับ

แต่นั่นก็หมายความว่ากลุ่มคนที่เคยทุ่มทุนลงทุนกับแบรนด์ หรือศิลปินที่ตัวเองชื่นชอบอาจจะเปลี่ยนไป จากเดิมที่เคยเป็นเหล่าแฟนคลับหรือ Superfan เท่านั้น แต่พอมีเรื่องเงินหรือผลการตอบแทนจากการลงทุนเข้ามาเกี่ยว ก็อาจจะได้กลุ่มคนที่มีความเป็นนักลงทุนหรือ Invertos จริงๆ เข้ามาขอเป็นส่วนหนึ่งกับแบรนด์หรือศิลปินคนนี้

เพราะนักลงทุนอาจจะเริ่มมองเห็นว่า Brand Token หรือ Fan Token อาจจะมีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นในวันหน้า แน่นอนว่าใครๆ ก็อยากจะเข้ามาเก็งกำไรกับแบรนด์หรือศิลปิน Influencer เพิ่มขึ้นนอกเหนือจากแค่กลุ่ม Superfan ที่มีแค่ความชอบแบบเดิมแทน

สมมติมีคู่จิ้นศิลปิน Y ออกเหรียญมา แต่เมื่อดูแนวโน้มแล้วเหรียญนั้นมีท่าว่าจะมูน ย่อมดึงดูดเหล่าเซียนคริปโตให้เข้ามาซื้อตุนเก็บไว้ ส่งผลให้กลุ่มแฟนคลับเดิมต้องจ่ายเงินมากขึ้นเพื่อสิทธิ์ในการเข้าถึงศิลปินที่ตัวเองชื่นชอบแทน เรื่องนี้ต้องบาลานซ์ให้ดี ไม่อย่างนั้นความเป็นแบรนด์อาจจะเสื่อมได้เร็วกว่าที่ควรจะเป็น

DAO ทำให้แนวคิดเกี่ยวกับ Superfan ส่งผลต่อวิธีการทำธุรกิจในยุค Web3 ทำให้นักการตลาดบางคนก็เชื่อว่าแบรนด์ต่างๆ จะเติบโตได้ด้วยการเปลี่ยนมุมมองใหม่ จากเดิมต้องวิ่งเข้าหาคนมากๆ เพื่อให้เป็นที่รู้จักเยอะๆ แล้วลุ้นว่ายอดขายจะตามมา แต่ในยุค Decentralization มุมมองจะกลับด้านไป เน้นไปโฟกัสกับกลุ่ม Superfan จริงๆ กลุ่มคนที่ทุ่มเทกับเราจริงๆ คนกลุ่มนี้จะทำให้แบรนด์เราเติบโตได้ดีในยุค Web3 ครับ

เพราะการที่มีคนรู้จักหลักล้าน อาจไม่ส่งผลสำคัญต่อธุรกิจเท่ากับมีสักพันหรือหมื่นคนที่รักและอยากมีส่วนร่วมกับเราจริงๆ ครับ

สรุป Marketing & Branding ในยุค Web3 และ DAO

เราคงจะเห็นแล้วว่าการตัดสินใจแบบ DAO หรือ Decentralized Autonomous Organizations จะกลายเป็นหัวใจสำคัญในยุค Web3 การตัดสินใจแบบไม่ต้องมีศูนย์กลาง แต่กระจายอำนาจออกไปตาม Brand Token ที่มีเหมือนกับการถือหุ้นในบริษัทต่างๆ และเมื่อหลักการนี้ถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลาย การสร้างแบรนด์ในยุค Web3 ก็น่าจะต้องใช้ DAO เป็นหัวใจหลักในการขับเคลื่อนไม่มากก็น้อย

หมดยุคแล้วที่การสร้างแบรนด์จะมาจาก HQ ส่วนกลาง ต่อไปนี้เราจะได้เห็นภาพแบรนด์ที่เปิดกว้างแบบ DAO ให้กลุ่มลูกค้าตัวจริงได้เข้ามามีส่วนร่วมจริงๆ

การซื้อจะเริ่มกลายเป็นการลงทุน และต่อไปนี้แบรนด์จะกลายเป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจ ที่สามารถวัดตัวเลขมูลค่าทางเศรษฐกิจได้จริงๆ ครับ

อ่านบทความที่เกี่ยวกับ Marketing & Branding ในยุค Web3 Decentralization ในการตลาดวันละตอนต่อ > https://www.everydaymarketing.co/?s=web3

Source:
https://decrypt.co/92938/steve-aokimore-money-nfts-decade-music
https://holly.mirror.xyz/

Nattapon Muangtum

เจ้าของเพจการตลาดวันละตอน / อาจารย์พิเศษวิชา Data-Driven Communication / เขียนหนังสือมาแล้ว 5 เล่ม Personalized Marketing, Data-Driven Marketing, Data Thinking, Contextual Marketing และ Social Listening / ที่ปรึกษา Data-Driven Advisor

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

ใช้ Social Listening บ้างไม่ ?

#การตลาดวันละโพล ขอหนึ่งคำถาม ว่าปกติใช้ Social Listening บ้างหรือไม่ แล้วถ้าใช้ ใช้ตัวไหนอยู่