สรุปประเด็นสำคัญในงาน KBank SOS : Seminar on Stage ในมุมมองที่ปรึกษาด้านการตลาด Part 1

สรุปประเด็นสำคัญในงาน KBank SOS : Seminar on Stage ในมุมมองที่ปรึกษาด้านการตลาด Part 1

เมื่อวันอาทิตย์ที่ 18 สิงหาคม 2562 ที่ผ่านมา ผมได้รับเชิญจาก Workpoint ให้เข้าร่วมงานสัมนาด้าน digital marketing ที่ชื่อว่า KBank SOS : Seminar on Stage โดย Digital Tips Academy หรือครูทิปคนดัง

โดยเนื้อหาในงานจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนที่หนึ่งจะเป็นเรื่อง อัพเดทกลยุทธ์การใช้ Social Media Platform 2019 และส่วนที่สองจะเป็นเรื่อง กระดุม 5 เม็ดในธุรกิจยุค 5.0

โดยผมขอแบ่งบทความออกเป็น 2 ตอน โดยขอเริ่มที่ตอนแรกก่อน Update กลยุทธ์การใช้ Social Media Platform 2019 โดยผมจะขอสรุปจากมุมมองของที่ปรึกษาด้านการตลาด สำหรับนักการตลาด New Gen และ Management เพื่อให้รู้ว่าจะคุยกับเอเจนซี่อย่างไร และจะสั่งงานต่อไปอย่างไรครับ โดยคัดเอาแต่ประเด็นสำคัญที่จำเป็นต้องรู้ เพราะผมเชื่อว่าหลายๆที่คงอัพเดทรายละเอียดกันไปเยอะแล้ว ถ้าพร้อมแล้วเริ่มกันเลยครับ

KBank SOS : Seminar on Stage by Digital Tips Academy

6 Platforms หลักของคนไทยในวันนี้ มี Facebook, Instagram, Line, Twitter, YouTube ละ TikTok โดย 5 แพลตฟอร์มแรกผมเชื่อว่านักการตลาดหลายท่านคงคุ้นเคยกันดี แต่ถ้าไม่ได้ฟังครูทิป Digital Tips Academy คัดประเด็นสำคัญก็คงจะพลาดอะไรใหม่ๆในแพลตฟอร์มเดิมๆที่คุ้นเคยไปอย่างน่าเสียดาย เพราะพฤติกรรมการใช้ social media แพลตฟอร์มต่างๆก็เปลี่ยนไปทีละน้อย และบางอย่างที่คุ้นก็เปลี่ยนไปมาก รวมถึง TikTok น้องใหม่ที่มาแรงจนต้องห้ามพลาด ผมขอเริ่มเจาะทีละ Platform สรุปเอาแต่ประเด็นสำคัญเลยนะครับ

Facebook ตั้งแต่นี้คุณต้อง Focus on Group and Community

KBank SOS : Seminar on Stage by Digital Tips Academy

เพราะที่ผ่านมา Facebook ปล่อยให้แบรนด์มาทำแฟนเพจเยอะมาก แล้วก็ให้แบรนด์ต่างๆจ่ายเงินเพื่อดึงคนมากดไลก์หรือติดตามมากขึ้น ปัญหาสำคัญคือเมื่อเรากดไลก์แล้วเราก็ไม่ค่อยกดเลิกไลก์ หรือเลิกติดตามเพจต่างๆซักเท่าไหร่ ปัญหาคือไหนจะโพสจากเพจที่ตาม ไหนจะโพสจากเพื่อนและคนในครอบครัว และไหนจะโพสโฆษณาที่ Facebook รับเงินมาแล้วอีก ทำให้หน้าฟีดเราในวันนี้นั้นเต็มไปด้วยอะไรมากมาย มากจน Facebook เคยประกาศว่า ตอนนี้พื้นที่โฆษณาบนหน้าฟีดนั้นแทบจะไม่เหลือให้โฆษณาอีกแล้ว เพราะถ้า Facebook ขืนยัดโฆษณามากกว่านี้ ก็จะกลายเป็นทำให้คนเบื่อหน่ายจนเลิกเล่น แล้วก็ทำให้ตัวเองล่มจมในที่สุด

Group ของเฟซบุ๊กเลยกลายเป็นคำตอบใหม่ เหมือนเอา Audience กลุ่มเดิมมาใส่ตะกร้าล้างน้ำใหม่ จนวันนี้ Facebook Group มีผู้ใช้ทั่วโลกราวๆ 1 พันล้านคน ส่วนผู้ใช้ในประเทศไทยครูทิปบอกว่ามีราวๆ 1 ล้านคน และผมสังเกตุเห็นว่า เวลาคนในกรุ๊ปโพสอะไรเราก็มักจะได้รับแจ้งเตือนเสมอ ทำให้ทั้งหมดนี้พื้นที่บน Group ยังคงเป็นพื้นที่สดใหม่ที่เปิดให้ผู้ใช้หลีกหนีความน่าเบื่อของ Facebook แบบเดิมๆยังคงไม่หนีไปแพลตฟอร์มคู่แข่งอื่นได้อีกระยะ

แต่ผมคิดว่าในระยะเวลาอีกไม่นาน เมื่อคนเข้ากรุ๊ปเยอะขึ้น ก็จะทำให้หน้าฟีดนั้นวุ่นวายมากขึ้น จนสุดท้าย Group บน Facebook ก็คงจะมีการปรับลด reach ลงเหมือนที่เกิดขึ้นกับแฟนเพจของแบรนด์ในวันนี้

ที่บอกมาทั้งหมดนี้ไม่ได้บอกให้ไม่ทำ แต่บอกให้รีบทำ รีบกอบโกยโอกาสในวันที่ยังไม่ค่อยมีแบรนด์สนใจครับ

โดยหลักการเล่นกับ Facebook Group นั้นก็ง่ายๆ คือ

  1. เข้าร่วมเพื่อเก็บข้อมูล เก็บ insight ของผู้คนว่าเค้าคุยอะไร เค้าพูดอะไร เค้าอยากได้อะไร แล้วก็หาโอกาสเหมาะที่คนถาม เข้าไปเสนอขายอย่างไม่น่าเกลียด เพราะคนเล่นเป็นฝ่ายถามเอง เราไม่ได้โฆษณา เราแค่เสนอทางออกให้ครับ
  2. เข้าร่วมกลุ่มเพื่อการซื้อขาย Group ใน Facebook จะแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทหลักๆ คือกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนความเห็น กับกลุ่มเพื่อการช้อปปิ้งครับ ดังนั้นถ้าธุรกิจไหนเข้ามายังกลุ่มประเภทนี้ ก็สามารถเสนอขายได้เต็มที่โดยไม่ต้องกลัวว่าคนจะรำคาญ เพราะคนเขาเข้ามาด้วยวัตถุประสงค์ชัดเจนเพื่อจะซื้อแต่แรกอยู่แล้วครับ
  3. สร้างกลุ่ม เพราะด้วยความใหม่ของ Facebook Group ทำให้บางครั้งอาจไม่มีกลุ่มที่ตรงกับธุรกิจของเรา เราเลยต้องสร้างกลุ่มขึ้นมาใหม่ โดยดูว่าลูกค้าของเราน่าจะมีความสนใจเรื่องอะไร เหมือนถ้าสินค้าคุณเป็นรองเท้าเพื่อนักวิ่งเฉพาะกลุ่ม คุณอาจสร้างกลุ่มเพื่อพูดคุยในเรื่องนี้ขึ้นมาก็ได้ครับ

แต่พอนึกไปนึกมา ผมก็อดคิดไม่ได้ว่า Group ของ Facebook ในวันนี้ช่างมีความละม้ายคล้ายคลึงกับ Pantip ของไทยเราเสียจริง เพียงแต่ Pantip นั้นอาจจะต้องมีขั้นตอนที่ยุ่งยากเสียเล็กน้อยในการสมัคร แต่กับ Group ใน Facebook นั้นถ้าเล่นอยู่แล้วก็แค่กดค้นหา หรือกดสร้างกลุ่มของตัวเองขึ้นมาได้เลยครับ

สรุป Facebook เทรนด์ 2019 บ้านเรา คือหันไปโฟกัสที่ Group เพราะในวันนี้ยังมีโอกาสให้พร้อมช้อนเต็มที่ก่อนที่ Facebook จะเริ่มคิดเงินจากเราครับ

KBank SOS : Seminar on Stage by Digital Tips Academy

Instagram – Photo Sharing Platform ถ้าภาพไม่พร้อมก็เลิกเถอะ

สถิติล่าสุดครูทิปบอกว่าคนไทยเล่น Instagram เดือนละกว่า 14 ล้านคน เฉพาะในกรุงเทพก็ 5.1 ล้านคน ตรงนี้ถ้าวิเคราะห์ให้ดีจะเห็นว่า Instagram ไม่ใช่แพลตฟอร์มของคนกรุงเป็นหลักอีกต่อไป เพราะเกือบ 10 ล้านคนที่ใช้อยู่นอกกรุงเทพครับ

โดยในช่วงอายุผู้ใช้หลักๆจะอยู่ในช่วงปลาย Gen Z ต้น Gen Y เอาเป็นว่าผู้ใช้ Instagram ส่วนใหญ่กว่า 67% อยู่ในช่วงอายุ 18-34 ปี เรียกได้ว่าเป็น Gap Gen ระหว่าง Facebook กับ Twitter ก็ได้ครับ (เพราะ Twitter นั้นมีแต่เด็ก Gen Z เป็นหลัก)

และแพลตฟอร์มนี้ก็มีผู้หญิงเป็นส่วนใหญ่ เพราะจากข้อมูลของ Instagram บอกว่า กว่า 1 ใน 5 ของผู้ใช้ Instagram จากทั่วโลกนั้นเป็น Account เพื่อการขายของ หรือ Account ของแบรนด์หรือธุรกิจนั่นเอง ถ้าเป็นผู้หญิงจะรู้ว่านี่คือช่องทางช้อปปิ้งที่ดีที่สุดในการเลือกดูสินค้าใหม่ๆใช่มั้ยครับ

KBank SOS : Seminar on Stage by Digital Tips Academy
KBank SOS : Seminar on Stage by Digital Tips Academy

ประเด็นสำคัญของ Instagram คือ Instagrammable หรือรูปต้องปัง ถ้าไม่ปังก็หยุดเถอะ เพราะจากธุรกิจตัวอย่างที่ครูทิปยกมาไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขายกล่อง หรือธุรกิจขายปากกาเครื่องเขียนอย่างสมใจ ที่ปากการาคาห้าบาทสิบบาทก็ยังสามารถถ่ายรูปออกมาได้ สวยหรูดูแพง จนติดตามแบรนด์ได้แบบไม่ต้องอายใครบน Instagram เลยครับ

และในแง่ของธุรกิจที่มีหน้าร้านวันนี้ก็ต้องปรับตัวตามพฤติกรรมการชอบถ่ายของคนยุคใหม่สมัยนี้ ที่เห็นมุมสวยๆของร้านไม่ได้เป็นต้องถ่าย เหมือนสมัยนี้จะมีร้านอาหาร และคาเฟ่ใหม่ๆที่ตั้งใจทำมาให้ลูกค้าถ่ายรูปแล้วแชร์ออกไปอย่างเต็มที่ แถวบ้านผมจะมีร้านกาแฟชื่อ Come Escape ที่ไม่ใช่แค่กาแฟดี แต่ยังมีคนหน้าตาดีๆมาถ่ายรูปทุกมุมและทุกวัน

KBank SOS : Seminar on Stage by Digital Tips Academy

ดังนั้นธุรกิจไหนที่มีหน้าร้าน คุณต้องทำร้านให้พร้อมถ่าย หรือที่เรียกว่า Photogenic Decor ครับ ผมเคยเขียนเรื่องนี้ไว้บนเพจ แล้วเดี๋ยวจะเอามาอัพเดทให้อ่านกันอีกรอบครับ

และ IG Stories ก็เป็นอีกหนึ่ง Killing Feature ที่ห้ามพลาด โดยเฉพาะกับแบรนด์ที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นคน Gen Z (เด็กมัธยมและมหาวิทยาลัยในวันนี้) เพราะพวกเขาเหล่านี้สร้างสรรค์ Stories ออกมามากมายได้อย่างน่าทึ่ง เรื่องนี้ผมเคยสรุป Insight Gen Z เอาไว้แล้ว สนใจกดอ่านต่อได้เลยครับ

Line – No.1 CRM จากแพลตฟอร์มเพื่อการแชต สู่แพลตฟอร์มเพื่อสะสมแต้มและรักษาลูกค้า

KBank SOS : Seminar on Stage by Digital Tips Academy

ปฏิเสธไม่ได้ว่าวันนี้ Line กลายเป็นส่วนหนึ่งของคนไทยแทบทุกคน เอาเป็นว่าจะโทรหาเรายังไม่กดโทรศัพท์ให้เปลืองนาที เพราะเราเริ่มชินกับการโทรผ่าน Line หากันมากขึ้น แต่สำหรับธุรกิจต่อจากนี้จะต้องปรับตัวหนักมาก เพราะจากที่ Line@ ถูกบังคับปรับให้กลายเป็น Line Official Platform กันถ้วนหน้าไม่ไม่นานมานี้ ทำให้การ Broadcast ที่เคยฟรีหรือแสนถูกนั้นกลายเป็นแพงขึ้นทันทีหลายสิบหลายร้อยเท่า

เพราะจากเดิม Line@ คิดการ Broadcast เป็นครั้ง แต่ตอนนี้ Line Official Account นั้นคิดเป็นคนๆ นั่นหมายความว่าถ้าคุณยิ่งมีผู้ติดตามเยอะแล้ว Broadcast โดยไม่ใช้ความคิด ก็เหมือนเผาเงินทิ้งอย่างไงอย่างงั้นครับ

เพราะ Line ตั้งใจให้ธุรกิจคิดก่อน Broadcast ให้ดี เลิกหว่านหาทุกคน แต่ customized ลูกค้าออกเป็นกลุ่มๆ ถ้าให้ดีสุดก็ถึงขึ้น personalized ไปเลย เพราะ Line Official Account สามารถ filter ได้ว่าจะเลือก Broadcast ข้อความออกไปให้กับใครเห็นและไม่เห็นได้บ้าง ไม่ว่าจะด้วยเพศ ช่วงอายุ พื้นที่ ระบบมือถือที่ใช้ และระยะเวลาที่ติดตามเรา เอาง่ายๆก็เหมือนสามารถกับที่เฟซบุ๊กและ GDN ทำได้ในการยิงแอดมานานแล้วครับ

KBank SOS : Seminar on Stage by Digital Tips Academy

ส่วนที่ผมคิดว่าน่าสนใจคือธุรกิจสามารถติด Tags เพื่อแบ่งประเภทลูกค้าได้ ทำให้ Admin คนที่มาทำงานต่อสามารถรู้ได้ว่าลูกค้าแต่ละคนเป็นใคร และควรจะปฏิบัติกับเขาอย่างไรครับ

สรุปได้ว่า Line เข้าสู่การเป็นแพลตฟอร์มในการดูแลลูกค้าแบบ Personalized Marketing อย่างเต็มที่ ธุรกิจไหนที่พร้อมจะทำการตลาดแบบ Personalized นี้ น่าจะดีใจนะครับ

Twitter – Interest Network ไม่ต้องรู้จักกันแต่ก็คุยเรื่องเดียวกันได้

KBank SOS : Seminar on Stage by Digital Tips Academy

สิ่งที่นักการตลาดหลายคนคงรู้อยู่แล้วคือ Twitter เป็นพื้นที่ของวัยรุ่น Gen Z เต็มที่ ดังนั้นถ้าอยากจะเข้าหาวัยรุ่น Gen Z ก็ต้องมาที่นี่ ที่ Twitter ครับ

แต่ที่น่าสนใจคือการยิงโฆษณาของ Twitter ที่เข้าขั้นว่าโหดมาก เพราะนอกจากจะยิงโฆษณาตาม Context หรือ Keyword ที่คนพิมพ์ได้แล้ว เช่น ถ้าผมเป็นมาม่า แล้วผมอาจจะเลือกยิ่งโฆษณาให้กับคนที่พิมพ์ว่า ไวไว ยำยำ หรือแม้แต่ McDonald เอากันตรงๆเลยก็ได้ครับ แต่อีกอย่างที่น่าสนใจสำหรับนักการตลาดคือ คุณสามารถยิงโฆษณาตรงไปหาคนที่ติดตามแบรนด์คู่แข่งคุณได้เลย เช่น KFC จะยิงโฆษณาหาคนที่ตาม McDonald ให้คนเปลี่ยนใจมาลองเมนูใหม่ เรียกได้ว่าซัดกันแบบหมัดต่อหมัด ไม่ต้องเกรงใจกันไปเลยครับ

KBank SOS : Seminar on Stage by Digital Tips Academy

อีกหนึ่งสิ่งที่น่าสนใจสำหรับผมคือ การค้นหาเทรนด์แฮชแทกในประเด็นที่เราต้องการ ด้วยการเสริชดูคำหลักว่ามีแฮชแทกอะไรอยู่บ้าง แล้วแบรนด์ก็ต้องรู้จักเล่นกับการเกาะแฮชแทกนั้นให้เป็นประโยชน์ครับ

สรุปได้ว่าถ้าธุรกิจไหนมีกลุ่มเป้าหมายเป็น Gen Z ต้องมาที่นี่ แล้วรู้จักเกาะเทรนด์แฮชแทกมาแรงหรือเฉพาะกลุ่มไปกับทวิตเตอร์ให้เป็นครับ

YouTube – Content Library วิดีโอเหมือนกันแต่ดูไม่เหมือนกัน

KBank SOS : Seminar on Stage by Digital Tips Academy

แม้ Facebook ก็มีวิดีโอให้ดูไม่น้อยกว่า YouTube แต่พฤติกรรมการดูของคนในสองแพลตฟอร์มนี้ก็ต่างกันโดยสิ้นเชิงครับ เพราะคนจะดูวิดีโอบน Facebook แบบเร็วๆผ่านๆ หรือเรียกว่าดูระหว่างการเดินทางไปไหนซักที่ แต่กับ YouTube นั้นคนเข้ามาดูด้วยความตั้งใจ ดังนั้นการเสนอ Content แบบ Long form ถือว่าตอบโจทย์คนดูถ้าเนื้อหาดีครับ

หลายแบรนด์เริ่มสร้างช่องของตัวเองบน YouTube ที่จะสามารถใส่ Logo ใหญ่เท่าไหร่ก็ได้ ใส่สินค้าเยอะแค่ไหนก็ได้ ไม่ต้องมีใครมาคอยกำกับควบคุม เพราะสุดท้ายคนดูจะเป็นคนตัดสินเอง ว่าเยอะไปแล้วน่าเบื่อมั้ย หรือน้อยไปไม่สนุกก็พร้อมเปลี่ยนไปดูช่องอื่นทันทีครับ

KBank SOS : Seminar on Stage by Digital Tips Academy

และรู้มั้ยครับว่าผู้ใช้ YouTube กลุ่มสำคัญในวันนี้คือเด็ก คุณคงเคยสังเกตเห็นหลานของคุณบางคนที่อาจจะพูดยังไม่เป็นประโยคด้วยซ้ำ แต่สามารถนั่งหาวิดีโอที่อยากดูบน YouTube ได้ด้วยตัวเองเป็นวันๆใช่มั้ยครับ

ผมสรุปให้ว่า แบรนด์ในวันนี้ถ้ามั่นใจว่าเนื้อหาดีก็ทำช่องของตัวเองบน YouTube ไปเลย และถ้าคุณมีกลุ่มเป้าหมายที่เป็นเด็กมากๆ YouTube เป็นอีกหนึ่งช่องทางในการเข้าหากลุ่มเป้าหมาย ระหว่างที่คุณใช้ Facebook เพื่อตีโอบพ่อแม่ของเค้าครับ

TikTok – Short Video Platform 15 วิเปลี่ยนโลก

KBank SOS : Seminar on Stage by Digital Tips Academy

TikTok เป็นแพลตฟอร์มน้องใหม่ที่โตแรงโตเร็วกว่าทุกแพลตฟอร์ม ในระดับโลกมีผู้ใช้มากกว่า 500 ล้านคนไปแล้ว แต่ตัวเลขในไทยยังไม่เปิดเผยอย่างเป็นทางการ และจากที่ทราบมาด้วยข้อมูลวงในคือผู้ใช้ส่วนใหญ่เป็นเด็ก ไม่ได้อยู่ในเมืองเป็นหลัก

ความพีคของแอพนี้คือมีคลิปวิดีโอให้ดูเรื่อยๆ ถ้าไม่เล่นก็เสพได้ยาวๆ กับคลิป 15 วิที่จะถาโถมเข้ามาให้ดูไม่รู้จบ เพียงแต่สำหรับคนใช้งานครั้งแรกอาจงงๆซักนิดว่าได้เห็นคลิปอะไรกันเนี่ย แต่ไม่ต้องตกใจไป ขอแค่คุณใช้เวลากับมันวันละนิด ให้ machine learning เรียนรู้ความชอบคุณหน่อย แล้วเมื่อคุณใช้เวลากับมันครบ 48 ชั่วโมงเท่านั้นแหละ ปัญหาถัดไปคือมันยากที่คุณจะถอนตัวขึ้นจากแอพนี้จริงๆครับ

KBank SOS : Seminar on Stage by Digital Tips Academy

ผมสรุปให้ว่า ถ้าคุณมีกลุ่มเป้าหมายเป็นเด็ก และเป็น Local จริงๆ นี่เป็นอีกหนึ่งแพลตฟอร์มที่แนะนำ เพียงแต่ราคาค่าทำแคมเปญในตอนนี้อาจไม่ค่อยน่ารัก เพราะเท่าที่รู้มาคือ 2,000,000 ต่อการทำหนึ่งแคมเปญที่จะให้คนมา cover กันถ้วนหน้าครับ

และนี่คือการสรุปจากมุมมองและประสบการณ์การเป็นทีปรึกษาด้านการตลาดและกลยุทธ์ ว่าอะไรที่คุณควรรู้ และอะไรที่คุณยิ่งต้องควรรู้ เพราะในวันที่ข้อมูลมีมากมายให้คุณได้รู้ไม่รู้จบ แล้วอะไรล่ะที่คุณควรรู้มันจริงๆ เพื่อประหยัดเวลาในการตัดสิ่งที่ไม่จำเป็นออกไป ผมว่างาน KBank SOS : Seminar on Stage โดย Digital Tips Academy ตอบโจทย์มาก เพราะบอกตามตรงในตอนแรกผมก็คิดว่าในงานคงไม่มีอะไร แต่ที่ไหนได้พอได้เข้ามาฟังเท่านั้นแหละ กลับรู้ว่าไอ้ที่คิดว่าไม่มีอะไรเพราะหลายครั้งเราก็มองข้ามไป หรือเรารู้มากไปจนลืมโฟกัส

ขอบคุณทีมงาน Workpoint และครูทิป Digital Tips Academy มากที่คัดเนื้อๆไม่มีน้ำมาให้รู้ครับ

และสุดท้ายนี้คุณอาจมีคำถามว่า “นี่ผมต้องทำทุกอย่างทั้ง 6 platform นี้เลยหรอ!?” ผมขอบอกคุณตรงนี้เลยว่าไม่ต้องครับ แต่สิ่งที่คุณต้องทำคือ Focus กับสิ่งที่คุณเชี่ยวชาญ จากนั้นก็ดูว่ากลุ่มเป้าหมายสำคัญคุณอยู่ตรงไหน แล้วคุณก็ค่อยทุ่มเททรัพยากรไปกับสิ่งนั้น แล้วถ้าพร้อมจะเพิ่มช่องทางอื่นๆให้ครอบคลุม ถึงเวลานั้นคุณก็จะทำ digital marketing ได้อย่างยั่งยืนครับ

สำหรับบทสรุป part 2 ของงานนี้ รอติดตามได้ในเร็วๆนี้ครับ

ปล. คนที่สนใจอยากรู้จักและหาความรู้จากครูทิปเพิ่มเติม เชิญตามลิงก์เข้าไปได้เลยครับ http://thedigitaltips.com/

Nattapon Muangtum

เจ้าของเพจการตลาดวันละตอน / อาจารย์พิเศษวิชา Data-Driven Communication / เขียนหนังสือมาแล้ว 5 เล่ม Personalized Marketing, Data-Driven Marketing, Data Thinking, Contextual Marketing และ Social Listening / ที่ปรึกษา Data-Driven Advisor

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *