Highlight Consumer Shopping Trends 2022

Highlight Consumer Shopping Trends 2022

Highlight Consumer Shopping Trends ที่น่าจับตามองในปี 2022

บทความวันนี้นุ่นมีเทรนด์การซื้อสินค้ามาฝากนักการตลาด เพื่อคาดการพฤติกรรมการซื้อที่น่าสนใจในปี 2022 กันค่ะ ไม่ว่าจะเป็นการซื้อสินค้าผ่านทางช่องทางออนไลน์ ว่าจะยังเวิร์กอยู่ไหมในปีหน้า มีปัจจัยใดที่สงผลต่อการใช้เงินของลูกค้าที่นักการตลาดต้องจับตามองเป็นพิเศษบ้าง รวมทั้งความคาดหวังที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

โดยทีม Brandwatch ก็ได้แชร์เอาไว้หลายมุมมอง ผ่านการวิจัยแบบใช้ Social Listening สรุปภาพรวมตั้งแต่เริ่มมีโควิด-19 และวิเคราะห์จาก Google Trend ประกอบกัน เพื่อหา Insight ของเทรนด์ผู้บริโภคมาจัดทำรายงานเล่มนี้ ซึ่งนุ่นจะนำประเด็นที่น่าสนใจมาให้นักการตลาดไทยได้อ่านกันเพราะเห็นว่ามีประโยชน์ในการปรับตัวอยู่ในสถานการณ์โควิดที่ต่อเนื่องยาวนาน และยังไม่มีทีท่าว่าจะหายไป 100% หากนักการตลาดคนไหนที่กำลังหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องอยู่  ก็อย่าลืมนำไปปรับกับแผนการตลาดเพื่อให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นนะคะ 

เพราะการอัปเดตไลฟ์สไตล์การซื้อสินค้าของผู้บริโภคจัดเป็นสิ่งสำคัญในการทำงานอย่างหนึ่ง ยิ่งถ้านักการตลาดใช้ Social Data มาเป็นเข็มทิศให้แก่แบรนด์ ก็จะช่วยให้จับทางได้ง่ายและเร็วขึ้นค่ะ 

1. ถ้าทำให้กดซื้อง่าย ลูกค้าก็จ่ายง่าย

อย่างที่ทราบกันดีว่าตั้งแต่ทุกคนต้องอยู่แต่ในบ้านมากขึ้นใช่ไหมคะ ช่องทางการชอปปิงออนไลน์ก็ถูกจัดให้เป็นตัวเลือกแรก ๆ หนักกว่าเดิม เพราะความง่าย สะดวก และสามารถหลีกเลี่ยงการสัมผัสได้ระนับนึงเลย และถ้าใครติดตามข่าวต่างประเทศ มีการพัฒนา virtual try-ons shopping ให้ปังขึ้น ก็ยิ่งทำให้มีแนวโน้มงดออกไปเดินเลือกซื้อของเองน้อยลง คำถามก็คือถ้านักการตลาดทำให้การกดซื้อง่าย จะกลายเป็นปัญหาอะไรไหม? มีแนวโน้มที่จะส่งผลยังไงต่อพฤติกรรมการซื้อบ้าง ลูกค้าจะจ่ายง่ายขึ้นจริง ๆ หรือเปล่า

คำตอบคือยิ่งนานวันไป ลูกค้ายิ่งคาดหวังกับการพัฒนาของอีคอมเมิร์ซ หรือระบบการซื้อของบนออนไลน์ที่สะดวก ปลอดภัย และรวดเร็วมากขึ้นเรื่อย ๆ พูดง่าย ๆ คือความคาดหวังเพิ่มขึ้น ความอดทนในการรอน้อยลงค่ะ ยังมีความแปรปรวนของอารมณ์ ที่เกิดมาจากความเครียดของสถานการณ์โควิด-19อีก ซึ่งวิธีนึงที่นักการตลาดสามารถเข้าไปทำความเข้าใจลูกค้าได้คือวิเคราะห์จาก​ Social Data ไม่ต้องจี้ไมค์สัมภาษณ์ และเรียนรู้จากสิ่งที่เขาระบายออกมาเลย แบบนี้จะได้ข้อมูลที่ตรงไปตรงมามากขึ้นด้วยนะคะ

อย่างทวีตนี้ จับจากคำว่า order และ online ทำให้เจอความคิดเห็นหนึ่ง ที่ได้รับ Engagement ล้นหลาม เมื่อเข้าไปอ่านโควททวีต และคอมเมนต์ เลยรู้ว่ามีคนไม่น้อยที่ “มีความรู้สึกที่อยากสั่งของออนไลน์ทุก ๆ วัน”  

การเสพติดการซื้อของออนไลน์ แรงกระตุ้นรอบตัวทำให้รู้สึกตื่นเต้น และอยากจะสั่งสินค้าถึงแม้จะยังไม่รู้ว่าจะได้ใส่เมื่อไหร่ก็ตาม ความอ่อนไหวทางอารมณ์เป็นสิ่งที่ทำให้นักการตลาดจูงใจลูกค้าง่ายขึ้น บวกกับการพัฒนาช่องทางการซื้อให้มีความ User-Friendly ประกอบด้วย จะสามารถเพิ่มยอดขายได้ไม่ยากเลยค่ะ 

ถ้านักการตลาดดูกราฟที่แสดงถึง Volume เกี่ยวกับการพูดคุยเรื่องแรงกระตุ้นในการซื้อหรือ ‘impulse shopping’ ที่มีความเหวี่ยงสูงตั้งแต่ปี 2020 และคาดการว่าจะเหวี่ยงอีกครั้งในปี 2022 ด้วยเหตุผลนี้ที่หลายแบรนด์เลือกยึดติดกับข้อมูลเดิมจากลูกค้า จนยอดขายหายไปแบบไม่ทันรู้ตัว นักการตลาดต้องอย่ายึดติดกับเทรนด์เดิม ๆ และติดตามกระแสต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อตัวลูกค้าอยากใกล้ชิดนะคะ

2. ระบบ Pre-Order สร้างความมั่นใจให้ลูกค้าว่าจะได้สินค้าแน่ ๆ 

อาจจะเป็นบรรทัดฐานของหลายแบรนด์ไปแล้วที่มีการเปิดให้ลูกค้าสามารถสั่งจองสินค้าที่ต้องการซื้อล่วงหน้า หรือการจอง Pre-Order นั่นเอง เป็นประโยชน์กับทั้งฝั่งลูกค้าและฝั่งคนขายเลยค่ะ เพราะลูกค้าที่ใจร้อนอยากได้ก่อน ไม่อยากลุ้นต่อแถวซื้อหน้าร้านจะได้รู้สึกมั่นใจว่าออเดอร์แล้วได้ของแน่ กับฝั่งร้านค้าที่สามารถวางแผนล่วงหน้าได้ตั้งแต่การผลิต จัดส่ง ดูแลสต็อก ยกตัวอย่างเช่น Apple หรือสินค้าอัลบั้มศิลปินเกาหลี เป็นต้นค่ะ

แต่แบรนด์เองก็ต้องมีความพร้อมซัพพอร์ตระบบ Pre-Order ด้วย ไม่อย่างนั้นก็จะได้ฟีดแบกแรง ๆ ที่อาจะทำให้แบรนด์เสียได้ง่ายค่ะ

3. เทรนด์การเน้นใส่ของในรถเข็นไว้ก่อน แต่ไม่ยอมชำระสักที จะมีสาเหตุมาจากอะไรบ้าง

ปัญหาหนึ่งที่อีคอมเมิร์ซหลายเจ้าต้องเคยเจอ และแม้แต่นุ่นเองก็ยังเคยไม่ชำระของที่ดองไว้ในรถเข็น Online Shopping เหมือนกับเราไม่สาามรถปิดการขายและ Complete Order ได้ เสียโอกาสในการทำยอดขายไปมหาศาล ซึ่งพอจะมีคำตอบให้กับเทรนด์ที่นักการตลาดอยากให้หายไปนี้ด้วยค่ะ

เมื่อเดือนธันวาคม 2020 สถาบัน Baymard เปิดเผยว่ามีตระกร้าสินค้ามากกว่า 5.60-84.27% ที่เริ่มดอง และไม่กลับมาชำระ และคาดว่าจะสูงขึ้นเรื่อย ๆ Brandwatch เลยได้สรุป 3 ประเด็นง่าย ๆ ถึงสาเหตุที่ลูกค้าดองสินค้าไว้ในรถเข็นให้นักการตลาดได้เข้าใจมากขึ้นค่ะ

  • 3.1 “Saving up” ความอยากจะเซฟเงินไว้ก่อน อยากจะออมเงินบ้าง หยุดฟุ่มเฟือย รวมทั้งอาจจะมีความกังวลเรื่องความปลอดภัยทางธุรกรรมการเงินร่วมด้วยค่ะ 
  • 3.2 ”ไว้พรุ่งนี้ค่อยซื้อแล้วกัน” การผัดวันประกันพรุ่งเป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดเลยค่ะ นอกจากทำให้ลืมแล้วยังทำให้เปลี่ยนใจได้ง่าย ๆ แบบนี้นักการตลาดอาจจะเพิ่มเวลาหมดอายุสินค้าในตระกร้าเข้าไปเพื่อกระตุ้นให้เกิดการชำระเร็วขึ้นก็เหมาะนะคะ 
  • 3.3  “ไม่ได้อยากซื้อจริง ๆ แค่กดเล่นตามอารมณ์” มีหลายเคสเหมือนกัน ที่รู้ตัวว่าไม่สามารถชำระได้ แต่อยากกดทิ้งเอาไว้เพราะอยากกด ไม่มีความตั้งใจจะจ่ายแต่แรกอยู่แล้วค่ะ นักการตลาดอาจเข้าชาร์จในส่วนของการเพิ่มรูปแบบการชำระเงิน ให้ผ่อนได้บ้าง หรือเพิ่มโปรโมชันอื่น ๆ ให้เข้ามาในขั้นตอนเช็กตระกร้าก็ได้

โดยรวมแล้วนุ่นเห็นว่านักการตลาดต้องทบทวนเกี่ยวกับ UX ว่าสอดคล้องกับการใช้งานหรือยัง มีจุดไหนที่ควรปรับใหม่บ้าง ขั้นตอนการชำระเงินมันซับซ้อนและเรียงลำดับงง ๆ อยู่หรือเปล่า มีข้อมูลด้านความปลอดภัยเพียงพอที่จะทำให้ลูกค้าไว้ใจแล้วหรือยัง

4. ความคาดหวังที่มากขึ้นของการซื้อของออนไลน์และเทคโนโลยี virtual try-on

เทรนด์นี้ยืนยันจากข้อมูล Google Trends ที่ชี้ให้เห็นว่ามีการเสิร์ชคำที่เกี่ยวกับ virtual try-on เพิ่มมากขึ้นตั้งแต่ต้นปี 2020 เลยค่ะ เพราะลูกค้าก็อยากตื่นเต้นกับอะไรที่ว้าว ๆ มากกว่าเดิม ประเด็นนี้คงเป็นสิ่งที่ผลักดันให้บริษัทต่าง ๆ คิดค้นและสำรวจแพลตฟอร์มและเทคโนโลยีใหม่ ๆ อยู่แล้วใช่ไหมล่ะคะ 

อย่างที่นุ่นเกริ่นไปตั้งแต่แรกแล้วว่าการทำความเข้าใจว่าความคาดหวังของผู้บริโภคว่าต้องการอะไร เป็นสิ่งสำคัญสำหรับแบรนด์ และแม้กระทั่งบริษัทอีคอมเมิร์ซที่เป็นตัวกลางสำหรับเทรนด์การชอปปิงออนไลน์ ที่เทรนด์ชี้ว่ายังไปต่อได้อีกไกลเมื่อประกอบกับปัจจัยต่าง ๆ 

ซึ่งรายงานที่นุ่นนำมาแชร์ในบทความนี้ก็ได้ใช้การวิเคราะห์ผ่าน Social Listening และ Google Trends จนพบแรงกระตุ้นต่าง ๆ โอกาสจากเทคโนโลยี virtual try-on ที่นักการตลาดควรหยิบมาลุยทันทีเพื่อสร้าง Best experience ที่รวดเร็วและน่าประทับใจให้ลูกค้าได้สัมผัสที่มากกว่าการดูรูปภาพวิดีโอก่อนซื้อ

อย่างไรก็ตามนี่เป็นเพียงการคาดการจากข้อมูลปีก่อน ๆ เมื่อเข้าสู่ปี 2022 นุ่นอยากให้นักการตลาดคอยตามเทรนด์ลูกค้าอย่างต่อเนื่องต่อไป จะเลือกใช้เครื่องมือหรือเอเจนซี่มาช่วย หรือติดตามการตลาดวันละตอนเพื่ออ่านข้อมูลอัปเดตดี ๆ เพื่อนักการตลาดได้ทุกวันก็ได้เช่นกันค่ะ  

อ่านบทความเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Consumer Trend : https://www.everydaymarketing.co/?s=Consumer+Trend

source : brandwatch.com

Noon Inch

นุ่น Business Data Research Analyst Specialist | Martech 🙋🏻‍♀️💻ใช้ชีวิตอยู่กับ Social Listening Tools เกือบทุกวันมาร่วม 6 ปี 🙋🏻‍♀️📈ทำงานด้าน Social Data Research ให้กับหน่วยงานรัฐและแบรนด์เอกชน 6 ปี 🙋🏻‍♀️✈️ชอบทำงานและชอบใช้เงิน แล้วก็เป็น K-POP🇰🇷 & Salmon Lover 🍣

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

คุณคิดว่าปัญหา PM 2.5 ที่เชียงใหม่วิกฤตหรือยัง ?

#การตลาดวันละโพล ขอหนึ่งคำถามก่อนอ่านการตลาดวันละตอน แล้วเราจะเอาไปทำเป็น Infographic โชว์หน้าเพจให้รู้ด้วยกัน