‘วิกฤตภาวะโลกร้อน’ กระแสที่ร้อนแรงอย่างต่อเนื่อง

‘วิกฤตภาวะโลกร้อน’ กระแสที่ร้อนแรงอย่างต่อเนื่อง

ปัญหา “วิกฤตภาวะโลกร้อน” ในโลกของเรารุนแรงมากขึ้นทุกวันค่ะ ซึ่งตอนนี้กระแสที่เกี่ยวกับการลดโลกร้อนก็กลายเป็นสิ่งที่ถูกพูดถึงมากขึ้น อย่างไม่นานมานี้มีการจัดประชุมแก้ปัญหาและป้องกัน วิกฤตภาวะโลกร้อน หรือที่เรียกว่า COP ทั้งที่เป็นประชุมเป็นทางการ น่าเบื่อๆ แต่นั่นทำให้เห็นว่าผู้คนให้ความสนใจกับเรื่องนี้เป็นอย่างมาก

จากผลสำรวจของ Brandwatch ทำให้เราเห็น COP26 ถูกพูดถึงมากขึ้นจริงๆ ทั้งนี้ถ้าทุกคนลองสังเกตการพูดถึงการประชุมในแต่ละปี จนถึง COP25 หรือไม่ มันแทบจะไม่ถูกพูดถึงนอกเหนือจากช่วงที่มีการประชุมเลย แต่ COP26 ถูกพูดถึงตั้งแต่หลังการประชุมของ COP25 แล้ว นั่นก็เพราะได้มีการรายงานจาก UNEP ออกมาก่อนจากประชุม COP26 ว่าตอนนี้โลกมีอุณหภูมิเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 2.7 องศาเซลเซียส การปล่อยก๊าซเรือนกระจกอาจทะลุ 1.5 องศาเซลเซียสในอีก 20 ปีข้างหน้า ถ้าหากผู้นำแต่ละประเทศไม่ให้ความร่วมมือ ก็อาจจะสายเกินไปในการแก้ปัญหานี้ เลยมีการผลักดัน COP26 ตั้งแต่ตอนนั้นค่ะ

ทำไม COP26 ถึงมีกระแสกว่าครั้งก่อนหน้า?

เนื่องจากมีการพูดถึงที่ค่อนข้างสูงมากๆ ตลอดการประชุม COP26 UN Climate Change Conference ทำให้ Brandwatch กวาด Data มาจนเห็นว่ากระแสรักษ์โลกนี้เกิดจากอะไร

เริ่มแรกของกระแสการพูดถึง COP26 ก็คือการเปิดประชุม โดยการสัมภาษณ์นักการเมืองและนักเคลื่อนไหวเพื่อสิ่งแวดล้อม ทำให้กระแสข่าวและข่าวประชาสัมพันธ์ที่ปล่อยออกมา โดยรูปภาพด้านบนถูกเอาไปโพสต์มากกว่า 4,000 ครั้งใน 2 ชั่วโมง ซึ่งถือว่าเป็นจำนวนที่น้อยเลย เนื่องจากผู้คนได้ให้ความสนใจกับนักเคลื่อนไหวทั้ง 4 คน ที่มาจาก นามิเบีย ยูกันดา เม็กซิโก และบังกลาเทศ ที่เห็นถึงความพยายามของพวกเขาที่จะแล่นเรือไปยังสถานที่จัดงานประชุม COP26 นี้ค่ะ

อีกทั้งยังมีประเด็นเรื่องคำมั่นสัญญาจากผู้นำกว่า 100 คน ที่จะหยุดการตัดไม้ทำลายป่าภายในปี 2030 ทำให้การวิพากษ์วิจารณ์ทั่วโลก เนื่องจากมีอีกหลายประเทศไม่มีลงนาม หนึ่งในนั้นคือประเทศไทยที่ไม่ได้ลงนามยุติการตัดไม้ไป ทำให้เป็นเรื่องที่น่าผิดหวังของหลายๆ คนที่ออกมาแสดงความคิดเห็นบนออนไลน์ 

และส่วนที่ทำให้กราฟพุ่งขึ้นอย่างต่อเนื่องในวันนั้น คือการเปิดตัววิดีโอเรียกร้องให้ทั่วโลกตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศที่เปลี่ยนไป จากวง k-pop อย่าง Blackpink ที่ทำให้คนแห่แชร์คลิปนี้กันเต็มโซเชียล จนล่าสุดมียอดวิวกว่า 6,457,056 ครั้งบน youtube ค่ะ นี่อาจจะเป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้คนทั่วไปเข้าถึงง่ายขึ้น เพราะ Blackpink เป็นวงเกิร์ลกรุ๊ปที่ดังไปทั่วโลก ยิ่งโดยเฉพาะที่ไทยพวกเธอเป็น KOL ที่มีอิทธิพลอย่างมากๆ ดังนั้นการที่พวกเธอออกมาเรียกร้องจึงเป็นกระบอกเสียงที่ใหญ่พอสมควร แต่ Blackpink ก็ไม่ได้ถูกถึงมากกว่าที่สุดหรอกนะคะเมื่อเทียบกับบุคคลเหล่านี้

โดยรายชื่อ 10 อันดับนี้เป็นคนที่ถูกเอ่ยชื่อจากการพูดถึงประชุม COP26 บนโซเชียลมีเดีย ซึ่งแน่นอนว่าต้องมีผู้นำจากหลายๆ ประเทศถึงกล่าวถึง อย่าง Joe Biden ที่มาเป็นอันดับหนึ่ง และผู้นำอังกฤษ ออสเตรเลีย อินเดีย และท่านอื่นๆ อีกมากมาย

นอกจากนี้ David Attenborough โฆษกและนักอนุรักษ์ธรรมชาติ ที่ถูกพูดถึงมากเป็นอันดับ 3 นั้นเป็นเพราะเขาได้ออกมากล่าวสุนทรพจน์ โดยใช้เวลาเพียง 7 นาที ในการเรียกร้องให้จัดการกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและเชื่อมั่นว่าคนรุ่นต่อไปจะได้เห็นการฟื้นตัวที่ยอดเยี่ยมเกิดขึ้นจริง ทำให้คนในออนไลน์พูดขอบคุณสำหรับคำพูดของเขาในการประชุมนั่นเองค่ะ 

ดังนั้นจะเห็นว่ากระแสของ COP26 เกิดขึ้นจากการดึงดูดของคนดัง ที่ทำให้ผู้คนหันมาสนใจกับปัญหาโลกร้อนและเข้าถึงการประชุมครั้งนี้ เมื่อความสนใจมีมากขึ้น ก็ทำให้คำพูดของผู้นำหรือนักเคลื่อนไหวเพื่อสิ่งแวดล้อมมีคุณค่าเพิ่มขึ้นไปอีก เพราะคนก็จะเข้ามาฟังการประชุม และนำคำพูดของคนเหล่านั้นมาแสดงความคิดเห็นกันว่าเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับใครเพราะอะไรนั่นเองค่ะ

การใช้ Social Listening ของ Brandwatch ทำให้เราเห็นแล้วว่าบุคคลที่มีชื่อเสียงและทรงอิทธิพลมีผลต่อการขับเคลื่อนและการพูดถึงบนออนไลน์เป็นอย่างมาก ซึ่งถ้าเอามาใช้กับแบรนด์ สำหรับการใช้ Influencer / KOL / Brand Presenter หรือ Brand Ambassador ก็ยังถือว่าเป็นกลยุทธ์ที่สามารถสร้างการรับรู้ได้ดีมากๆ และแบรนด์ยังใช้กลุ่มคนเหล่านี้เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือได้อีกด้วยค่ะ

สำหรับ COP หรือชื่อเต็มๆ ว่า Conference of Parties จัดขึ้นทุกปี (ยกเว้นปี 2020 เนื่องจากโรคระบาด) โดย UNFCCC ซึ่งมีผู้นำจากกว่า 190 ประเทศทั่วโลกที่ร่วมลงนามใน “กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” ในการประชุมครั้งที่ 26 นี้ถูกจัดขึ้นที่ เมืองกลาสโกว์ ประเทศสกอตแลนด์ ในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมานี้เองค่ะ

อยากเรียนรู้การใช้ Social Listening เพื่อหา Consumer Insight การตลาดวันละตอนมีเปิดคลาสเรียนแบบออนไลน์รุ่นที่ 4 ในวันเสาร์ที่ 15 มกราคมนี้ รับจำกัด 20 คน ตอนนี้สมัครเกินครึ่งแล้ว ค่าเรียนคนละ 9,900 บาท พร้อมเครื่องมือที่นำไปใช้งานได้ฟรี 30 วัน สนใจอ่านรายละเอียดและลงทะเบียนก่อนเต็มได้ที่ > https://bit.ly/SocialListening4

สำหรับใครที่อยากอ่านบทความเกี่ยวกับการตลาดเพิ่มเติม สามารถติดตามได้จาก เพจการตลาดวันละตอน รวมไปถึงเว็บไซต์ Twitter และ Blockdit ของการตลาดวันละตอนด้วยนะคะ

Source : www.brandwatch.com

Yoswimol

🎡PLEUM | Data Research Executive ในเครือการตลาดวันละตอน | สนใจเรื่องการตลาด ชอบดูการแข่งขันทางการตลาด และเป็นทาสตลาด... ทุกบทความตั้งใจเขียนมาก ขอบคุณที่เข้ามาอ่านกันนะคะ มันเป็นกำลังใจที่ทำให้อยากเขียนต่อไปเลย☺️

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

คุณคิดว่าปัญหา PM 2.5 ที่เชียงใหม่วิกฤตหรือยัง ?

#การตลาดวันละโพล ขอหนึ่งคำถามก่อนอ่านการตลาดวันละตอน แล้วเราจะเอาไปทำเป็น Infographic โชว์หน้าเพจให้รู้ด้วยกัน