Insight Social Commerce 2022 สินค้าแบบไหนที่ขายดีบนโซเชียลมีเดีย

Insight Social Commerce 2022 สินค้าแบบไหนที่ขายดีบนโซเชียลมีเดีย

เมื่อ Social commerce กลายเป็นช่องทางยอดนิยมของผู้บริโภคชาวไทยและอาเซียนอย่างมาก บทความนี้จึงพามาเจาะลึก Insight Digital Consumer 2022 ว่าพวกเขามีพฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอยในการช้อปปิ้งออนไลน์บนโซเชียลมีเดียอย่างไรครับ

Social Commerce คืออะไร?

ก่อนจะไปทำความเข้าถึงพฤติกรรมการซื้อของออนไลน์บนช่องทางโซเชียลมีเดีย ผมอยากให้เราลองมาทำความเข้าใจนิยามของคำว่า Social Commerce ไปพร้อมกันก่อน เพื่อที่เราจะได้เข้าใจภาพเดียวกันและเกิดความเข้าใจที่ตรงกันไปตลอดบทความนี้ครับ

Social commerce หมายถึงการซื้อและขายที่เกิดขึ้นผ่านช่องทางโซเชียลมีเดียทั้งหมด ไม่ว่าจะบนแพลตฟอร์มใดก็ตาม Facebook, Instagram, Twitter, TikTok หรืออื่นใดก็ตามที่มีความเป็นโซเชียลมีเดีย และก็แบ่งได้ออกเป็น 3 ประเภทหลักดังนี้

  1. Peer-to-peer Commerce เป็นการซื้อขายกันระหว่างคนกับคน ไม่ใช่คนกับแบรนด์ หรือธุรกิจ ไม่ใช่ B2C ไม่ว่าคนที่ขายจะผลิตของหรือสินค้านั้นขึ้นมาด้วยตัวเองแล้วขายในนามตัวเอง หรืออาจจะรับของจากที่อื่นมาขายก็ตาม ซึ่งเราคนไทยอาจคุ้นกับคำว่า “แม่ค้าออนไลน์” นั่นเองครับ
  2. Conversational commerce เป็นการซื้อขายบนโซเชียลมีเดียที่เกิดขึ้นผ่านการแชทบนโซเชียลมีเดียเป็นหลัก ไม่ว่าจะแชทระหว่างการ LIVE ด้วยการกด CF หรือแชทคุยกับคนขายก่อนจะตัดสินใจซื้อทาง LINE ที่เห็นมาจาก Facebook หรือ Instagram ก็ตาม
  3. Group buying เป็นการรวมกลุ่มกันซื้อสินค้ากับทางพ่อค้า แม่ค้า หรือทางแบรนด์ก็ตาม อารมณ์คล้ายๆ การไปเดินสำเพ็งเพื่อซื้อสินค้าชนิดเดียวกันจำนวนมาก เพื่อให้ได้ราคาพิเศษหรือส่วนลดมากกว่าปกติเมื่อขายปลีกแยกทีละคน (เทรนด์นี้ยังไม่ค่อยเห็นในบ้านเราครับ)

ปัจจัยกระตุ้น Social Commerce

แน่นอนว่าปัจจัยหลักมาจากโควิดและการล็อกดาวน์ แต่ก็ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่ผู้บริโภคบอกว่าเพราะเหตุใดพวกเขาจึงเลือกการซื้อของผ่านโซเชียลมีเดียบ้าง

  1. บังเอิญเห็นแล้วอยากได้ เพราะเมื่อเล่นโซเชียลมีเดียไปเรื่อยๆ ถ้าเราไม่เห็นสินค้าที่น่าสนใจผ่านโฆษณา ก็เห็นผ่านใครสักคนที่โพสผ่านตา และแน่นอนว่าการซื้อผ่านโซเชียลก็ง่าย แค่กดทักแชทไปหาก็สามารถจบการขายจ่ายเงินได้ภายในไม่กี่นาที
  2. สื่อสารโต้ตอบกันได้ทันที ถ้าเทียบกับการซื้อผ่าน Ecommerce หรือ Marketplace ต่างๆ ทักแชทไปก็ไม่รู้ว่าร้านค้าจะตอบเมื่อไหร่ แต่ถ้าเป็นโซเชียลส่วนใหญ่แม่ค้าออนไลน์หรือร้านค้ามักจะเตรียมพร้อมตอบแชทแทบจะในทันที ผมเคยทักจะซื้อปลาหมึกตอนห้าทุ่ม ทักทิ้งไว้เล่นๆ แอดมินตอบกลับมาในสองนาทีเฉย! ตกใจจนต้องยอมโอนเลย
  3. จากการล็อกดาวน์รอบแรกส่งผลให้คนจำนวนมากโดยเฉพาะ สว สูงวัยที่ลองเปิดใจเล่นโซเชียลมีเดียอย่างจริงจัง

และนอกจากสามเหตุผลหลักดังกล่าวผู้ตอบแทบสอบถามก็ยังให้เหตุผลอื่นๆ ในการช้อปเพิ่มเติมดังนี้

  • ถูกกว่าเมื่อซื้อของจากร้านค้าออนไลน์ที่ไม่ใช่แบรนด์ดัง
  • ช้อปเพื่อความสนุก เห็นเค้าคนดู LIVE เยอะก็ขอเข้าไปมีส่วนร่วมบ้าง
  • สะดวก
  • ขอเพิ่มเติมโน่นนี่นั่นได้ ซึ่งปกติถ้าซื้อกับแบรนด์ใหญ่จะไม่ได้เลย
  • เห็นผ่าน Influencer
  • ได้เจอของแปลกๆ ที่ไม่เคยเจอที่ไหนมาก่อน
  • ซื้อเพราะรู้ว่าอยู่ใกล้บ้าน
  • มีสินค้าให้เลือกหลากหลายมากมาย

และนี่ก็คือภาพ Infographic ของสินค้าแต่ละประเภทที่ผู้บริโภคชาวไทยและอาเซียนเลือกซื้อบนโซเชียลมีเดีย และเทียบเป็นสัดส่วนให้เห็นเมื่อเทียบกับการซื้อออนไลน์ทั้งหมด โดยเฉลี่ยแล้วอยู่ที่ 19-22% ทีเดียวครับ และก็ครบแทบจะทุกชนิดสินค้าด้วย

เจาะลึก Insight Social Commerce 2022 พฤติกรรมการซื้อของออนไลน์ผ่านโซเชียล Facebook Instagram TikTok ของคนไทยและอาเซียนจาก Facebook Report

Pawin Sriusvagool Group CEP บริษัท TEKO และ Group Business Director, VNLIFE กล่าวในเรื่องนี้ไว้ว่า Social commerce คือตัวแปรสำคัญของธุรกิจโดยเฉพาะในกลุ่มผู้บริโภคนอกเมืองหลวงหรือต่างจังหวัด และด้วยความที่ Social commerce มีความเป็นธรรมชาติไปจนถึงกันเองมากกว่าของคนขายสินค้า จึงสามารถสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจได้ง่ายและเร็วกว่าแบรนด์ ในขณะเดียวกันก็สามารถกลายเป็น Viral ที่พูดถึงบนโซเชียลได้สบายๆ แล้วยิ่งหาสินค้าแปลกๆ มาขายได้มากเท่าไหร่ ก็ยิ่งกลายเป็นที่น่าสนใจมากเท่านั้น

Alex Feng Co-founder and Chief Executive Officer ของ Chilibeli พูดถึงประเด็นนี้ไว้ว่า Social commerce คือก้าวแรกของการซื้อของออนไลน์ในกลุ่มคนนอกเมืองหรือต่างจังหวัดในอาเซียน โดยเฉพาะการรวมตัวกันซื้อเหมาแบบ Group buying เพื่อให้ได้ส่วนลดเยอะๆ ราคาถูกๆ ก็ยิ่งเป็นการเสริมสร้างความเป็นกลุ่มก้อน Community ของผู้บริโภคขึ้นมา ทำให้เกิดความไว้วางใจกันและกันบนออนไลน์ได้เร็วขึ้นมาก

Ines Caldeira CEO ของ L’Oreal ประเทศไทยพูดถึงเรื่องนี้ในทำนองว่า การขายสินค้าไฮเอนหรือราคาแพงบนโซเชียลมีเดียนั้นดีขึ้นกว่าเดิมมาก เพราะด้วยการให้บริการลูกค้าทางออนไลน์ด้วยการแนะนำว่าควรใช้อะไรแบบไหนอย่างไรเป็นไปได้สะดวกรวดเร็วขึ้น และยิ่งเอาระบบ Customer database หรือฐานข้อมูลลูกค้าจาก CRM มาใช้ก็ยิ่งช่วยเพิ่มยอดการซื้อในแต่ละครั้งได้เป็นอย่างดี

สรุป Insight Social Commerce 2022 เพราะสะดวกและเข้าถึงง่ายจึงทำให้คนเลือกซื้อผ่านโซเชียล

จากภาพรวมของการซื้อที่เกิดขึ้นบนโซเชียลมีเดียทุกแพลตฟอร์มไม่ว่าจะ Facebook, Instagram, Twitter หรือ TikTok ก็ตาม ผู้บริโภคชาวไทยและอาเซียนชอบตรงที่เข้าถึงง่าย มีความ Real ในการขายหรือนำเสนอของพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ จากปีก่อนอาจจะเลือกซื้อของแค่ไม่กี่อย่าง แต่วันนี้ประเภทสินค้าที่คนซื้อบนโซเชียลมีเดียนั้นมีความหลากหลายจนเรียกว่าทุกสิ่งสามารถซื้อหาได้บนโซเชียล

และสิ่งสำคัญที่คนชอบจนถือว่าเป็น Digital Consumer Insight 2022 ของ Social Commerce คือคนที่เลือกซื้อผ่านช่องทางนี้เพราะเข้าถึงง่าย รู้สึกเป็นกันเอง เสมือนพูดคุยกับคนด้วยกันไม่ใช่คนกับแบรนด์ที่ดูแข็งๆ

นักการตลาดคนไหนที่ยังทำในจุดนี้ไม่ดีควรรีบปรับปรุงอยู่ เพราะเงินในกระเป๋าผู้บริโภคออยไลน์กำลังขยับขยายเข้าไปยังช่องทางนี้มากขึ้นเรื่อยๆ ครับ

ในบทหน้าเราจะมาดูกันว่าตัวเร่งให้การช้อปปิ้งออนไลน์ในไทยและอาเซียนเติบโตอย่างก้าวกระโดดในปี 2021 จนส่งผลต่อปี 2022 เป็นอย่างไรครับ

อ่านบทความชุด Facebook Insight Report 2021

อ่านบทความตอนที่ 1 Top 10 New Normal & Consumer Insight 2022

อ่านบทความตอนที่ 2 Insight Ecommerce & Online Retail 2022

อ่านบทความตอนที่ 3 Digital Consumer Journey 2022

Source

Nattapon Muangtum

เจ้าของเพจการตลาดวันละตอน / อาจารย์พิเศษวิชา Data-Driven Communication / เขียนหนังสือมาแล้ว 5 เล่ม Personalized Marketing, Data-Driven Marketing, Data Thinking, Contextual Marketing และ Social Listening / ที่ปรึกษา Data-Driven Advisor

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

ใช้ Social Listening บ้างไม่ ?

#การตลาดวันละโพล ขอหนึ่งคำถาม ว่าปกติใช้ Social Listening บ้างหรือไม่ แล้วถ้าใช้ ใช้ตัวไหนอยู่