Data Research เจาะลึก Insight สมาร์ทโฟน 4 แบรนด์ดังด้วย Social Listening

Data Research เจาะลึก Insight สมาร์ทโฟน 4 แบรนด์ดังด้วย Social Listening

Exclusive Report! Social Share & Social Data Insight : Samsung, OPPO, vivo และ Xiaomi สมาร์ทโฟนตลาด Android ในประเทศไทยล่าสุด 

ตลาดที่ดุเดือดไม่แพ้อุตสาหกรรมไหน ๆ ก็ต้องยกให้โทรศัพท์มือถือเลยค่ะ ทั้งการเปิดตัวซีรี่ส์ใหม่ ๆ แคมเปญโปรโมตเอยตลอดทั้งปี 2021 มานี้ พรีเซ็นเตอร์ที่แต่ละเจ้าต่างดีลตัวมานำเสนอสมาร์ทโฟนในแบบเฉพาะของแต่ละแบรนด์กันอย่างคึกคัก อีกทั้งในช่วงปีที่ผ่านมาทุกแบรนด์จำเป็นต้องปรับตัวให้ทันพฤติกรรมผู้บริโภคยุคดิจิทัล บวกกับสถานการณ์โรคระบาด ทำให้ต้องอาศัยช่องทางออนไลน์เป็นกำลังสำคัญ ไม่ว่าจะเป็น Online Launch Event หรือทำการตลาด โปรโมตสินค้าผ่านโลกออนไลน์ พนักงานขายบนห้างก็ต้องปรับตัวมาทำยอดขายบนโซเชียล

เพราะฉะนั้นนอกจากข้อมูลเกี่ยวกับยอดขายหรือข้อมูลอื่น ๆ ของแต่ละไตรมาส ในยุคนี้ Social Data ก็สำคัญสำหรับแบรนด์และนักการตลาดในการวางแผนการตลาดมากเช่นกัน นุ่นเลยอยากลองรวบรวมและแชร์บทวิเคราะห์เกี่ยวกับ Social Data & Customer Insight บนแพลตฟอร์มออนไลน์ของแบรนด์ในตลาดสมาร์ทโฟน มาให้ทุกคนได้อัปเดตกัน โดยแบรนด์ที่นุ่นเลือกคือสมาร์ทโฟนตลาด Android ที่จำหน่ายในประเทศไทย 4 แบรนด์เพื่อเป็นตัวอย่างการวิเคราะห์ข้อมูล นั่นคือ Samsung, OPPO, vivo และ Xiaomi (Mi) เหตุผลที่เลือก 4 แบรนด์นี้เพราะความอยากรู้ส่วนตัว บวกกับยอดขายในต้นปี 2021 ที่อยู่ในอันดับต้น ๆ ค่ะ ไม่ใช่เพราะชอบหรือไม่ชอบแบรนด์ไหนเป็นพิเศษแน่นอน

ซึ่งนุ่นจะแบ่งข้อมูลในบทความนี้ออกเป็น 2 ส่วนหลัก ๆ คือ 

  1. ส่องกระแสตลาดสมาร์ทโฟน Android ที่นุ่นเลือกมา 4 แบรนด์ 
  2. ลองเจาะ Insight สมาร์ทโฟนรุ่นที่มียอด Social Data สูงเพิ่ม ให้นักการตลาดได้เห็นไอเดียมากขึ้น

เพื่อไม่ให้ข้อมูลเยอะเกินไป นุ่นกำหนด Focus Timeline ไว้ที่ 1 Aug – 20 Sep 2021 ใช้ Keyword Samsung, OPPO, vivo และ Xiaomi (Mi) ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ รวมทั้งชื่อรุ่น ชื่อ Hashtag แคมเปญในกรณีที่เรารู้ว่าต้องการตาม Track อะไรแน่ ๆ ก็สามารถใส่เป็น Keyword ได้ด้วย จะช่วยดึงข้อมูลได้ดีขึ้นค่ะ

#ส่องกระแสตลาดสมาร์ทโฟน Android ‘4 Brand’ โดยกราฟ

หลังดึงข้อมูลนุ่นเริ่มจากดูยอด Mentions และ Engagement ของแต่ละแบรนด์เพื่อวิเคราะห์ Social Share เบื้องต้นก่อนค่ะ

ข้อมูลในกราฟด้านบน สีของเส้นไม่ใช่สีประจำแบรนด์นะคะ ให้สังเกตได้จากข้อมูลด้านขวา และตัวเลข Mentions และ Engagement จะเข้ามาจากการใช้ Keyword ดึงข้อมูลย้อนหลังไปตาม Timeline ที่กล่าวข้างต้น อย่างเส้นของ Samsung ก็จะเป็นข้อมูล Social Data โพสต์ที่ต้องมีคำว่า Samsung /ซัมซุง อยู่ด้วยเท่านั้นค่ะ เพราะฉะนั้น Keyword จึงมีผลต่อการดึง Volume ข้อมูลเข้ามาวิเคราะห์มาก ๆ


เมื่อเราได้กราฟแบบนี้แล้ว มาเจาะดู TOP Post ของแต่ละประเภทกันค่ะ ทำไมพีคแต่ละแบรนด์ถึงพุ่งสูงในวันนั้น ๆ กันนะ? นักการตลาดที่กำลังสงสัยว่าคู่แข่งทำอะไร ใช้ Influencer คนไหนโพสต์ หรือแม้แต่เปรียบเทียบ Feedback การทำงานของเรากับแบรนด์อื่น ๆ ก็ได้ค่ะ มุมมอง Data ไม่มีสูตรตายตัวหรือผิดถูก ถ้าหาจุดวิเคราะห์ได้ตอบโจทย์กับคำถาม ได้ประโยชน์กับแบรนด์มากที่สุดก็ต๊าชไปเลยสิคะ

Top Post Mentions : อันดับ 1 ของ Samsung (12 Aug)

เพราะมีแคมเปญ Influencer บน Instagram โพสต์โปรโมตซีรีส์ Galaxy Z ก่อนวันวางจำหน่ายจริงค่ะ ทำให้มีโพสต์หรือคอมเมนต์เกี่ยวกับแบรนด์มากขึ้น ตัวอย่าง Top Post มีดังนี้ค่ะ

IG : thanaerngnin (Galaxy Z Fold3 I Flip3 Thom Browne Edition) 

IG : jaylerr (Galaxy Z Flip 3 5G) 

IG : pittkarchai (Galaxy Z Fold3 I Flip3 Thom Browne Edition)

IG : babyjingko (Galaxy Z Flip3 5G)

IG : paloyh (GALAXY Z FLIP 3 5G)

Top Post Mentions : อันดับ 1 ของ OPPO (17 Sep)

เพราะมีแคมเปญ Influencer บน Instagram / Facebook Page / IT Media โพสต์ถึง OPPO Reno6 5G ก่อนเปิดตัวและวางจำหน่ายค่ะ ทำให้มีโพสต์หรือคอมเมนต์เกี่ยวกับแบรนด์มากขึ้น ตัวอย่าง Top Post มีดังนี้ค่ะ

IG : uppoompat (OPPO Reno6 5G)

IG : gulfkanawut (OPPOReno6 5G)

Facebook Page : OPPO (OPPO Reno6 5G)

Facebook Page : OPPO (OPPO New Normal Festival)

Influencer / IT Media : GU ZAP (OPPO Reno6 5G)

Top Post Mentions : อันดับ 1 ของ Xiaomi (Mi) (15 Sep) 

เพราะ Xiaomi (Mi) เป็นแบรนด์ที่ไม่ได้โดดเด่นแค่สมาร์ทโฟน แต่สินค้าอื่น ๆ ก็ได้รับความนิยมและมีการพูดถึงมาก เพราะฉะนั้นตัวอย่าง Top Post จึงมีดังนี้ค่ะ

Facebook Page : โลกไอทีวันนี้ (Xiaomi 11T Pro) 

Facebook Page : SALE HERE (Xiaomi Smart Glasses) 

Facebook Page : Xiaomi Thailand (Redmi Note 10S)

Facebook Page : DroidSans (Xiaomi 11T)

Top Post Engagement : อันดับ 1 ของ Samsung และ OPPO

จากข้อมูลเมื่อกดเข้าไปเจาะดูในวันนั้น ๆ พบว่าเป็นโพสต์ที่คล้ายกับ Top Mentions ค่ะ

จริง ๆ แล้วกราฟประเภทที่ส่วนมากจะเป็น Youtube เพราะยอดวิว แต่ด้วยอิทธิพลของ Influencer/Presenter บน Instagram ที่แบรนด์เลือกใช้ มีผู้ติดตามสร้างยอด Engage ให้ล้นหลามไม่แพ้ Youtube เลยค่ะ

Top Post Engagement Ignore view : อันดับ 1 ของ Samsung (12 Aug)

อย่างที่นุ่นได้อธิบายไปหลายโปรเจกต์ที่นุ่นเคยทำ นอกจากยอดวิวส่งผลต่อ Engagement มาก ๆ เราก็ควรดูกราฟ Ignore View ควบคู่ไปด้วยเพื่อดูเทรนด์อื่น ๆ นอก Youtube ด้วยค่ะ

ซึ่งข้อมูลกราฟนี้เป็นโพสต์เดียวกับ Top Post Mentions เลยค่ะ มาจาก Engagement ของเหล่า Influencer โพสต์ใน IG

Top Post Engagement Ignore view : อันดับ 1 ของ OPPO (10 Aug) 

โพสต์ที่ส่งผลให้มี Engagement สูงมาจากโพสต์วิดีโปรโมต OPPO Reno6 5G โดยสองท่านนี้ค่ะ

IG : gulfkanawut (OPPOReno6 5G)

IG : uppoompat (OPPO Reno6 5G)

นอกจากข้อมูลเบื้องต้นที่เป็นกราฟแล้ว อยากรู้ไหมคะว่าสัดส่วนข้อความมากจากแพลตฟอร์มไหนมากที่สุดล่ะ? นี่เป็นการตั้งคำถามที่ไหลไปตามความอยากรู้ของเรา ซึ่งเป็นเรื่องดีที่นักการตลาดมีคำถามต่อไปเรื่อย ๆ และใช้เครื่องมือช่วยหาคำตอบให้

#ส่องกระแสตลาดสมาร์ทโฟน Android ‘4 Brand’ โดย Channel

มาดูกันว่าแต่ละแบรนด์ ถูก Mentions จากช่องทางไหนมากที่สุด ซึ่งสามารถมองได้หลายแง่มุม ไม่ว่าจะเป็นแพลตฟอร์มที่แบรนด์เลือกใช้โปรโมตมากที่สุด หรือลูกค้าพูดถึงแบรนด์จากแพลตฟอร์มไหนมากที่สุด หากนักการตลาดต้องการคำอธิบายที่ลึกกว่านี้ต้องให้เวลากันหน่อย โดยการค่อย ๆ วิเคราะห์อ่านและทำความเข้า Data ลงไปอีก 1 Layer นะคะ

ซึ่งในฟีเจอร์นี้เราสามารถดูได้ถึง Mentions และ Engagement เลย ในบทความนี้นุ่นขอยก Mentions มาแชร์ให้นะคะ 

  • OVERALL ดูเหมือนว่าภาพรวมของทั้ง 4 แบรนด์จะเทไปทาง Twitter มากที่สุด ตามมาติด ๆ ด้วย Facebook ค่ะ
  • KEYWORDS และดูตัวเลขได้ที่ SOV COMPETITOR COMPARE ในโปรเจคนี้ เราสามารถดู Mentions by Channel ของแต่ละแบรนด์ได้เลย มีถึง 3 แบรนด์ที่ถูก Mentions จาก Twitter สูงสุดคือ Samsung > OPPO > vivo ส่วนแบรนด์ Xiaomi (Mi) มาจาก Facebook ค่ะ 

ทำไม Twitter? เก็บคำถามนี้ไว้ ก่อนนะคะ เราจะได้คำตอบในบทความนี้แน่นอน

ถ้านักการตลาดสังเกตเห็นฝั่งขวาของตาราง ที่เป็น Sentiment : Positive, Negative และ Negative ถ้าอยากจะดูแบบชาร์ตก็สามารถทำได้เช่นกัน โดยดูที่หน้า Dashboard Panorama ค่ะ 

Ai ของเครื่องจะจับให้ได้เบื้องต้น แต่เราก็สามารถตั้งค่าได้เองตัวอย่างเช่น สวย ดี ชอบ = Positive, ไม่ชอบ ช้า ค้าง = Negative ส่วนโพสต์ที่ไม่มีคำ ที่เราตั้งค่าไว้จะไปอยู่ Neutral

คำถามที่นักการตลาดควรต้องขุดต่อคือ มี Topic อะไรบ้างที่คนไปพูดในแพลตฟอร์มนั้น ๆ Topic อะไรที่คนชอบ หรือไม่ชอบ นุ่นจะใช้ฟีเจอร์ Category&Tag ช่วยกรุ๊ป Data ค่ะ

Social Data & Insight : คนพูดถึง ‘4 Brand’ อย่างไร

สำคัญที่สุดของการวิเคราะห์ Social Data คือเราสามารถเข้าใจข้อมูลและสามารถนำ Insight มาใช้ประโยชน์ได้ค่ะ หลายโปรเจกต์ของการตลาดวันละตอนรับทำ Data Research จะมีจำนวน Category&Tag ไม่เท่ากันแล้วแต่อุตสาหกรรมซึ่งสามารถจับกรุ๊ปได้หลายมุมมอง

อย่างสมาร์ทโฟน นุ่นมีตัวอย่างดังนี้ค่ะ

Presenter Screen Design Price Battery Camera Spec Case ก็คือ Category ซึ่ง Tag จะก็แยกย่อยออกมาเหมือนในตัวอย่างนี่แหละค่ะ ^^

หลังจากที่ติด Category & Tag ให้กับข้อมูลเรียบร้อยแล้วสามารถดู Stat ได้ผ่านเครื่องมือ Zanroo Listening เลยค่ะ จะสามารถดูได้เบื้องต้นทันทีเลย นอกจากนี้นักการตลาดยัง Export Data ออกมาทำ Visualize ในแบบที่นักการตลาดต้องการใช้ได้อีกเยอะเลยนะคะ

ยกตัวอย่างการอ่านข้อมูล

Xiaomi (Mi) มีคนพูดถึงหน้าจอที่สวยคมมากที่สุด ผ่านช่องทาง Facebookvivo และ OPPO มีการใช้ Influencer/Presenter เทรนด์แฮชแท็กใน Twitter โดดเด่นมาก ๆ แต่แระเด็นรองลงมาจะแตกต่างกันที่ vivo ราคาดี ส่วน OPPO ขายความสวยงามของดีไซน์ใหม่

คนพูดถึง ‘Samsung’ อย่างไร

อย่างที่นุ่นได้เกริ่นเอาไว้ตั้งแต่ต้นบทความว่าจะเจาะ Insight โทรศัพท์รุ่นนึงจากแบรนด์ที่มี Social Data สูงเพิ่มเติมเพื่อให้นักการตลาดได้เข้าใจมากขึ้น เพราะฉะนั้นเรามาเริ่มข้อมูลแบรนด์ Samsung ที่เปิดตัว Samsung Galaxy Z Flip3 และ Galaxy Z Fold3 5G ในเดือนสิงหาคมกันนะคะ

Samsung Galaxy Z Flip3 และ Galaxy Z Fold3 5G เป็นไปตามที่นุ่นคาดไว้ว่าถูกพูดถึงในเรื่อง ‘หน้าจอพับได้’ ตามมาด้วย ‘Presenter’ ที่ได้ศิลปินระดับโลกอย่างวง BTS มาร่วมงานด้วยค่ะ 

นักการตลาดสามารถดู TOP Post by Tag ได้ง่ายมาก แค่เลือกแท็กเครื่องมือก็จะขึ้นโพสต์ทั้ง 3 โพสต์ที่มี Engagement สูงสุดมาให้เลยค่ะ แบบนี้เราจะได้เข้าใจข้อมูลเร็วขึ้นด้วย

เริ่มตั้งแต่เปิดตัว Samsung Galaxy Z Flip3 | Galaxy Z Fold Samsung เน้นโปรโมตในแพลตฟอร์ม Twitter เป็นหลักเพราะแฟนคลับของพรีเซ็นเตอร์ที่พร้อมจะ Support ต่างรวมตัวกันที่นี่ค่ะ

หลังจากนั้นจะสังเกตว่ากราฟ Twitter แทบไม่ดรอปลงเลย ถึงแม้นุ่นจะตาม Track แค่ข้อมูลที่มีคำว่า Samsung เท่านั้น เพราะหลังจากเปิดให้จองและซื้อขาย วันที่ 24 Aug ก็มีคอนเทนต์ภาพโปรโมต GalaxyXBTS ออกมาเรื่อย ๆ ยังมีเทรนด์แต่งเคส Galaxy Z Flip3 จากเกาหลีมาพูดถึงกันอยู่ตลอดทั้งเดือน

Galaxy Z Flip3 | Galaxy Z Fold เขย่า Social Share ได้อย่างสวยงาม

เมื่อเทียบกับสมาร์ทโฟนในตลาดแล้วถือว่าซีรีส์ Z เรียกความสนใจและกวาดเปอร์เซ็นจาก Social Share ไปได้อย่างดีเลยค่ะ ยังไงก็ตาม แบรนด์อื่น ๆ ก็ไม่ทิ้งห่างไปมาก เพราะความดุเดือดของตลาดสมาร์ทโฟนคึกคักตลอดทั้งปีจริง ๆ นี่ขนาดนุ่น Focus Timeline แค่เดือนครึ่งยังมี Data ให้เล่นเยอะขนาดนี้เลย

หวังว่า Exclusive Report จาก Zanroo ที่นุ่นนำมาแชร์ส่วนหนึ่งให้นักการตลาดจะได้ประโยชน์จากบทความนี้ไป และนักการตลาดที่อยู่ในอุตสหากรรมอื่น ๆ ก็สามารถนำไอเดียไปปรับใช้กับแบรนด์ตัวเองได้ไม่มากก็น้อยนะคะ

ข้อมูลที่นำมาแชร์มาจาก Data ที่เป็นสาธารณะตามแพลตฟอร์มนั้น ๆ Tracking ตาม Keyword ที่นุ่นตั้งค่าจากชื่อแบรนด์ ดึงข้อมูลย้อนหลังและวิเคราะห์แบบที่สามารถนำมาเล่าได้ง่าย ๆ แต่ในความเป็นจริงแล้ว Data สามารถเล่าแง่มุมอื่นได้อีกมากมาย ถ้านักการตลาดอยากจะพูดคุยหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลอื่น ๆ เพิ่มเติมสามารถคอมเมนต์ด้านล่างโพสต์ของการตลาดวันละตอนไว้ได้เลยนะคะ ^^

บริษัทไหนหรือแบรนด์ใดอยากได้ Data แบบนี้ไปช่วยตัดสินใจ อยากเห็น Insight ใน Data ที่เจาะลึกครบทุกแง่มุมที่ผู้คนมีต่อสินค้าของคุณ แบรนด์ของคู่แข่ง หรือแม้แต่ตลาดภาพรวมทั้งหมดทางการตลาดวันละตอนก็มีบริการให้คำปรึกษาเรื่องการทำ Data Research แบบนี้ สามารถติดต่อได้ที่อีเมล [email protected] พี่หนุ่ยเจ้าของการตลาดวันละตอนจะเป็นคนตอบคำถามด้วยตัวเองค่ะ

หรือถ้าอยากเรียนการใช้ Social Listening ให้เป็นด้วยตัวเอง ก็สามารถลงเรียนกับการตลาดวันละตอนได้ หรือจะส่งทีมมาเรียนก็ได้

คลาสเรียนออนไลน์ Social Listening Analytics

คลาสเรียนออนไลน์ Social Listening เน้น Workshop ลงมือทำจริงด้วยตัวเอง รุ่นล่าสุด ศุกร์สุดท้ายของเดือน เปิดแล้ว
เรียนสดทางออนไลน์ ผ่าน Zoom เต็มวัน 9:00 – 15:00
ค่าเรียนคนละ 9,900 บาท รับจำกัดรุ่นละ 20 คน (ถ้าเต็มรุ่นนี้ต้องขอให้รอรุ่นหน้า)
อ่านรายละเอียดและสมัครก่อนเต็มได้ที่ลิงก์นี้ครับ

https://bit.ly/sociallisteningclass

แล้วคุณจะรู้ว่าการเข้าถึง Insight และ Opportunity ใหม่ๆ เป็นเรื่องง่ายแค่ใช้ Social Listening ให้เป็น

อ่านบทความเรื่องการใช้ Social listening ในการตลาดวันละตอนต่อ > https://www.everydaymarketing.co/tag/social-listening-tools/

Noon Inch

นุ่น Business Data Research Analyst Specialist | Martech 🙋🏻‍♀️💻ใช้ชีวิตอยู่กับ Social Listening Tools เกือบทุกวันมาร่วม 6 ปี 🙋🏻‍♀️📈ทำงานด้าน Social Data Research ให้กับหน่วยงานรัฐและแบรนด์เอกชน 6 ปี 🙋🏻‍♀️✈️ชอบทำงานและชอบใช้เงิน แล้วก็เป็น K-POP🇰🇷 & Salmon Lover 🍣

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

คุณคิดว่าปัญหา PM 2.5 ที่เชียงใหม่วิกฤตหรือยัง ?

#การตลาดวันละโพล ขอหนึ่งคำถามก่อนอ่านการตลาดวันละตอน แล้วเราจะเอาไปทำเป็น Infographic โชว์หน้าเพจให้รู้ด้วยกัน