เมื่อ Ride Hailing กับ E-Commerce กลายเป็นหัวใจหลักที่ทำให้ Digital Economy ไทยขยายตัว

เมื่อ Ride Hailing กับ E-Commerce กลายเป็นหัวใจหลักที่ทำให้ Digital Economy ไทยขยายตัว

รายงาน e-Conomy SEA 2019 ที่ Google จัดทำร่วมกับ Temasek และ Bain & Company คาดการณ์ว่า Digital Economy ของไทยจะมีมูลค่า 1.6 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็นเงินไทยประมาณ 500,000 ล้านบาท โดยจะมีขนาดใหญ่เป็นอันสองของเอเซียตะวันออกเฉียงใต้รองจากอินโดนีเซีย และมีสองปัจจัยหลักที่ขับเคลื่อนอย่าง Ride Hailing และ E-Commerce ครับ

เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2562 ที่ผ่านมา การตลาดวันละตอนมีโอกาสได้เข้าร่วมฟังรายงานอัพเดทแนวโน้มเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศไทย และเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ที่ทาง Google Thailand จัดขึ้น เลยถือโอกาสนี้มาอัพเดทให้ไม่ใช่แค่นักการตลาดได้รู้ทัน แต่ยังสำคัญต่อผู้บริหาร นักธุรกิจ รวมถึงเจ้าของกิจการอีกด้วยครับ

การตลาดวันละตอนขอสรุปเทรนด์ที่เห็นว่าประเด็นสำคัญที่คุณควรรู้ บวกกับมุมมองของผมเองที่จะขยายในบางส่วนให้คุณได้เห็นบริบทอื่นๆนอกเหนือข้อมูลชุดนี้มากขึ้น และสุดท้ายสำหรับคนที่สนใจรายงานตัวเต็ม เรามีลิงก์ดาวน์โหลดให้พร้อมครับ

e-Conomy SEA 2019 Digital Economy Google

สิ่งที่ผมเห็นว่าน่าสนใจในงานนี้ไม่ใช่แค่เรื่องของ Digital Economy ไทยจะขยายตัว แต่เป็นเรื่องของ 2 Digital Business หลักที่เป็นหัวใจสำคัญที่จะทำให้เศรษฐกิจดิทัลขยายตัวเหมือนกันทั่วทั้งภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ครับ

e-Conomy SEA 2019 Digital Economy Google

Ride Hailing และ E-Commerce สองหัวใจหลักในการขยายเศรษฐกิจดิจิทัล

Ride Hailing คืออะไร?

e-Conomy SEA 2019 Digital Economy Google

Ride Hailing คือบริการเรียกรถไม่ว่าจะ Grab หรือ Lineman ที่เราคุ้นเคย ด้วยบริการเรียกรถผ่านแอพเพื่อรับส่งไม่ว่าจะคน สิ่งของ หรืออาหารในวันนี้ส่งผลต่อเศรษฐกิจดิจิทัลอย่างมาก เพราะแค่ไทยเองในส่วนนี้โตขึ้นถึง 8 เท่า เอาง่ายๆผมเชื่อว่าถ้าคุณมองออกไปที่ถนนไม่เกิน 2 นาที คงจะต้องเห็นคนขับมอเตอร์ไซค์ไม่ใส่เสื้อแจ็คเก็ตไม่ Get ก็ Grab ไม่ก็ Lineman หรือ Lalamove แบรนด์ใดแบรนด์หนึ่งแน่นอนครับ

สิ่งที่ทำให้แอพเรียกรถโตเอ๊าโตเอาไม่ใช่ว่าเราเดินทางกันไปไหนมาไหนบ่อยมากขึ้น หรือว่าเราใช้รถกันน้อยลงซักเท่าไหร่หรอกนะครับ แต่เพราะว่าเราหิวร้านอร่อยๆกันบ่อยขึ้นต่างหาก

e-Conomy SEA 2019 Digital Economy Google

เพราะจากตัวเลขบอกให้เห็นชัดๆว่า เมื่อปี 2015 ตอนที่แอพเหล่านี้เริ่มเปิดตัวได้ไม่นาน ธุรกิจนี้ทำรายได้อยู่ที่ 2.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยมีสัดส่วน 2.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐเป็นการเรียกรถเพื่อเดินทางไปไหนมาไหน และมีแค่ 0.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐเท่านั้นที่เป็นการสั่งอาหาร หรือที่เรียกกันว่า Online Food Delivery นี่แหละครับ

แต่ตัวเลขปี 2019 สัดส่วนเหล่านี้ก็เปลี่ยนไปแทบจะพลิกขั้วเป็นคนละข้าง เพราะตลาดรวมของการเรียกรถผ่านแอพแม้จะสูงขึ้นกว่า 4 เท่า จาก 2.9 พันล้านเหรียญไปอยู่ที่ 12.7 พันล้านเหรียญ แต่สัดส่วนของ Online Food Delivery นั้นเพิ่มขึ้นกว่า 13 เท่า จาก 0.4 พันล้านเหรียญไปอยู่ที่ 5.2 พันล้านเหรียญ โดยการเรียกรถเพื่อไปไหนมาไปนกลับเพิ่มขึ้นแค่ 3 เท่า มาหยุดอยู่ที่ 7.5 พันล้านเหรียญเท่านั้นครับ

ทาง Google ก็คาดการณ์ว่าถ้ายังเป็นแบบนี้ สัดส่วนของ Online Food Delivery น่าจะมีขนาดเท่ากับ Online Transport (หรือการเรียกรถแท็กซี่นี่แหละ) ซึ่งตลาดน่าจะมีมูลค่ารวมถึง 40,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2025 ครับ

e-Conomy SEA 2019 Digital Economy Google

แน่นอนว่าในธุรกิจ Ride Hailing นี้จากเดิมที่แข่งกันที่อัดส่วนลดและโปรโมชั่นเพื่อให้คนหันมาใช้งาน แต่เราจะเริ่มเห็นว่าส่วนลดต่างๆเหล่านี้หายากมากขึ้นเรื่อยๆ อย่างตัวผมเองแต่ก่อนมี Promo Code ให้กดใช้ทุกวัน มาวันนี้กว่าจะได้แต่ละ Code มารู้สึกยากเย็นแถมยังต้องรีบใช้อีกต่างหาก เพราะตอนนี้บรรดา Grab หรือ Get หรือ Lineman และ Line Taxi ก็ปรับตัวเข้าสู่การพยายามสร้าง Loyalty และ Rewards ด้วยอย่างอื่นที่ไม่ใช่ส่วนลด ไม่ว่าจะเป็นการสะสมแต้ม หรือเป็นการมีเมนูพิเศษที่ให้สั่งผ่านตัวเองเท่านั้น หรืออาจจะเป็นบริการใหม่ๆที่จะเพิ่มขึ้นมาในอนาคตก็ตามครับ

และจากแอพเรียกรถเหล่านี้ก็ส่งผลให้ธุรกิจ e-commerce โตขึ้นตามลำดับ เพราะอะไรน่ะหรอครับ ก็คนสมัยนี้ใจร้อนและขี้เกียจมากขึ้น (อ่านเทรนด์เรื่อง Lazy Consumer ต่อได้) หลายคนที่ผมรู้จึกออฟฟิศอยู่ตรงข้ามกับห้างสรรพสินค้า แต่ยังเลือกจะกดช้อปออนไลน์จากร้านห้างฝั่งตรงข้ามให้มาส่งที่ออฟฟิศหรือที่บ้านแทนหลายครั้งครับ

E-Commerce เพราะโอนง่าย ส่งไว เลยทำให้โตเกินคาด

ทางคุณเอพริล ศรีวิกรม์ (รักษาการ Country Manager, Google ประเทศไทย) ผู้ให้ความรู้ในครั้งนี้บอกว่า จากเดิมที่ทาง Google เคยคาดการณ์ว่าจะโตแค่ 43,000 ล้านเหรียญในปี 2025 แต่พอตัวเลขเหล่านี้ขยับขึ้นมาก็เลยต้องทำให้เรียกสื่อเข้ามาอัพเดทตัวเลขใหม่อีกครั้ง เป็นภาพรวมของเศรษฐกิจดิจิทัลน่าจะโตได้ถึง 50,000 ล้านเหรียญในปี 2025 ครั้ง

e-Conomy SEA 2019 Digital Economy Google

ภาพรวมตัวเลข E-Commerce ของทั่ว SEA (South East Asia) โตขึ้นจากปี 2015 ถึง 7 เท่า ในปี 2019 จาก 5,500 ล้านเหรียญเป็น 38,200 ล้านเหรียญ และเธอคาดการณ์ว่าตัวเลขในปี 2025 น่าจะพุ่งไปได้ถึง 153,000 ล้านเหรียญเลยทีเดียวครับ

ที่ E-Commerce โตได้ก็เพราะปัจจัยสำคัญอย่าง Online Shopping Festival หรือเทศกาลช้อปปิ้งทั้งหลายที่เริ่มต้นจาก 11.11 จนแตกน่อมาเป็น 9.9 10.10 และ 12.12 เรียกได้ว่ามีวันช้อปปิ้งแทบจะทุกเดือนกันแล้ววันนี้ ถ้าจะบอกว่าชีวิตมีไว้ช้อปก็ไม่ผิดนักครับ

และผมคิดว่าด้วยการเติบโตของ Ride Hailing เองที่ทำให้การส่งของเป็นไปได้ง่ายขึ้น และสะดวกขึ้นมาก เรียกได้ว่า 3 ชั่วโมงก็ส่งถึงได้ ทำให้การช้อปออนไลน์ยิ่งสนุกสนานมากขึ้น แล้วไหนจะการพัฒนาของบริการขนส่งที่ดีกว่าก่อนมาก สั่งวันนี้พรุ่งนี้ได้ ในราคาค่าส่งที่ถูกใจมากขึ้นด้วยครับ

e-Conomy SEA 2019 Digital Economy Google

ยังไม่นับอีกว่าบรรดาเว็บและแอปช้อปปิ้งออนไลน์ทั้งหลายพยายามหาลูกเล่นใหม่ๆมาดึงดูดใจลูกค้านักช้อปมากขึ้น ทั้งเอา Influencer มาชวนช้อป หรือชวนกันมา Unbox แบบสดๆ หรือพวกส่วนลดแบบไฟลุกที่ใช้กลยุทธ์แบบ Now or Never ที่ทำให้บรรดานักช้อปต้องล้มละลายกันไม่รู้เท่าไหร่ต่อเท่าไหร่แล้ว

e-Conomy SEA 2019 Digital Economy Google

อีกสิ่งที่น่าสนใจในรายงาน e-conomy SEA 2019 นี้ ก็คือพบว่าเศรษฐกิจดิจิทัลกว่าครึ่งเกิดจากคนเมืองที่มีสัดส่วนประชากร 15% ของทั้งหมดเท่านั้น นั่นหมายความว่าคนที่ไม่ได้อยู่ในเหมืองหลวงของทั้ง 7 ประเทศหลักที่เป็นข้อมูลในงานนี้ที่มีมากกว่า 85% นั้นยังจับจ่ายใช้สอยผ่านออนไลน์น้อยมาก

e-Conomy SEA 2019 Digital Economy Google

แต่คุณเอพริลก็บอกว่านี่เป็นโอกาสให้ธุรกิจต่างๆรีบจับคนเหล่านี้มาใช้บริการบนออนไลน์ให้ไว เธอยังแนะนำ strategy ในการเข้าถึงคนสองกลุ่มนี้ที่ต่างกันอย่างชัดเจน เธอบอกว่ากับคนเมืองที่ใช้อยู่แล้วต้องทำให้เค้าสะดวกสบายมากขึ้น ใช้หรือช้อปให้บ่อยขึ้น ส่วนกับกลุ่มคนนอกเมืองเธอบอกว่าต้องพยายามให้พวกเขาเห็นถึงความสะดวกสบายจากการช้อปและจับจ่ายบนดิจิทัลให้มากกว่านี้ครับ

แต่เรื่องนี้ผมมีอีกมุมมองที่อยากจะเสนอว่า แนวโน้มของการย้ายเข้าสู่เมืองที่เห็นกันมาพักใหญ่เหมือนกันทั่วโลก อาจจะทำให้ตัวเลขนี้ต้องมาการปรับกันอีกรอบแน่ๆ เพราะเมื่อคนย้ายเข้ามาสู่เมืองหลวงมากขึ้น มาแนวโน้มว่าภายในปี 2050 เมืองหลวงทั่วโลกจะกลายเป็นที่อยู่อาศัยของผู้คนมากถึง 70% นั่นหมายความว่าคนเมืองจะยิ่งเป็นผู้ใช้เงินกับเศรษฐกิจดิจิทัลมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ครับ

e-Conomy SEA 2019 Digital Economy Google

ผมขอส่งท้ายด้วยภาพนี้ Heat map ของธุรกิจต่างๆที่แตกแขนงแนวกว้างออกไปสู่ธุรกิจอื่น

ภาพซ้ายเป็นปี 2015 ส่วนภาพขวาเป็นปี 2019 เราจะเห็นว่าธุรกิจที่เคยทำแค่หนึ่งอย่าง กำลังขยายออกไปสู่ธุรกิจต่างๆให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะธุรกิจ Ride Hailing หรือการเรียกรถผ่านแอป ที่ในวันนี้ไม่ใช่แค่เรียกรถ ไม่ใช่แค่สั่งอาหาร แต่ยังมีบางรายเปิดพื้นที่ขายโฆษณาแล้วครับ

ธุรกิจ E-Commerce ก็เหมือนกัน ในวันนี้กำลังกลายเป็นคู่แข่งสำคัญของธุรกิจ Search Engine มากขึ้นทุกที เพราะจากตัวเลขล่าสุดที่ผมเห็นมา ผู้ใช้กว่าครึ่งตรงเข้าไปเสริชหาสินค้าที่ต้องการผ่านเว็บช้อปปิ้งแล้ว มีไม่ถึงครึ่งที่ยังเข้า Google เพื่อเสริชหาของที่จะช้อปอีกต่อไป นอกเสียจากจะมาเสริชหาข้อมูลอื่นๆก่อนตัดสินใจนั่นก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง

e-Conomy SEA 2019 Digital Economy Google

การแตกไลน์ธุรกิจออกไปสู่ธุรกิจใหม่ๆในวันนี้เป็นไปได้ง่ายขึ้นมากกับองค์กรที่เป็น Digital Business ครับ เพราะในวันที่ Data กลายเป็นหัวใจสำคัญของธุรกิจ และผู้ใช้เองก็กลายเป็นทรัพย์สินที่มีค่าที่สุดของบริษัท ดังนั้นใครมี User มากกว่า แพลตฟอร์มไหน Users เข้ามาใช้งานนานกว่า แน่นอนว่าย่อมหาทางสร้างเงินจาก Users เหล่านั้นได้ไม่ยากจริงมั้ยครับ

เรื่องนี้ก็ย้อนกลับไปที่หัวข้อ Attention Economy ในวันที่เราเต็มไปด้วยเนื้อหาหรือ Content มากมายที่พร้อมจะแย่งความสนใจจากเราไปทุกเสี้ยววินาที ดังนั้นไม่แปลกใจที่หลายแอปพยายามทำตัวเป็นแพลตฟอร์ม พยายามทำตัวเป็น Everyday App มากขึ้น เพราะยิ่งคนใช้เวลากับเรามากเท่าไหร่ เราก็ยิ่งเก็บ data เพื่อเอาไป Monitization ได้มากเท่านั้นครับ

e-Conomy SEA 2019 Digital Economy Google

เพราะจากกราฟนี้จะเห็นว่า ระยะเวลาที่ผู้ใช้งานอยู่ในแพลตฟอร์มมีความสัมพันธ์กันกับรายได้ของธุรกิจนั้นครับ

และนี่ก็เป็นการสรุปในแบบฉบับการตลาดวันละตอน ที่อาจไม่ค่อยเหมือนที่ไหนสรุป

ปล.ในช่วงท้ายมีคนถามว่า ทำไมธุรกิจประเภท Financial ถึงไม่ค่อยขยายธุรกิจออกไปสู่ธุรกิจอื่นๆเลย ทั้งที่ดูมีความพร้อมมากกว่า จากมุมมองผมคิดว่าเพราะธุรกิจ Financial ในวันนี้ไม่จำเป็นต้องขยายด้วยตัวเอง แต่กลับถูกธุรกิจเข้ามาจีบให้ร่วมด้วยมากกว่า เพราะธุรกิจ Financial ไม่ได้มีแค่เรื่องเงิน แต่เป็นเรื่องของ Data Transaction ที่สามารถเอาไปปลั๊กอินกับธุรกิจอื่นๆได้โดยที่ตัวเองไม่ต้องลงมือทำด้วยตัวเอง

ธุรกิจในวันนี้เป็นเรื่องของ Data Driven เพราะความจริงแล้วเงินก็เป็น Data อีกชนิดหนึ่ง ดังนั้นไม่ว่าคุณกำลังทำธุรกิจอะไร ขอให้จำไว้ว่าคุณมี Data อยู่ในมือครับ

สนใจดาวน์โหลดรายงาน e-Conomy SEA 2019 ตัวเต็มกว่า 88 หน้าได้ที่ > http://bit.ly/2WtokNH

e-Conomy SEA 2019 Digital Economy Google

Source: https://www.thinkwithgoogle.com/intl/th-th/consumer-insights/e-conomy-sea-2019-thailand/

Nattapon Muangtum

เจ้าของเพจการตลาดวันละตอน / อาจารย์พิเศษวิชา Data-Driven Communication / เขียนหนังสือมาแล้ว 5 เล่ม Personalized Marketing, Data-Driven Marketing, Data Thinking, Contextual Marketing และ Social Listening / ที่ปรึกษา Data-Driven Advisor

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *