Insight E-Commerce 2021 เจาะลึกพฤติกรรมการใช้เงินบนออนไลน์ของคนไทย

Insight E-Commerce 2021 เจาะลึกพฤติกรรมการใช้เงินบนออนไลน์ของคนไทย

จากบทความแรก Insight E-Commerce 2021 ข้อมูลเจาะลึกพฤติกรรมการใช้เงินช้อปปิ้งออนไลน์ของคนไทย ทุกเพศ ทุกวัย ทุก Gen ทำให้เราได้ค้นพบว่าคนไทยใช้เงินบนออนไลน์เก่งไม่แพ้ชาติใดในโลก แถมยิ่งสูงวัยยิ่งมีแนวโน้มว่าจะใช้เงินในการซื้อของออนไลน์ได้มากกว่า เรียกได้ว่าสังคมไทยก้าวเข้าสู่ความเป็น Digital Lifestyle เต็มรูปแบบ มาตอนนี้เราจะมาดูกันถึงอะไรบ้างที่เป็นแรงจูงใจหรือสิ่งกระตุ้นให้คนอยากใช้เงินได้ และลงไปดูในส่วนของพฤติกรรมการเล่นเกมของคนไทย ไปจนถึงการเจาะลึกว่า Gaming หรือ E-sports นั้นสามารถทำให้คนอยากใช้เงินซื้อตามได้มากน้อยแค่ไหนครับ

แต่ไหนแต่ไรมาผู้บริโภคส่วนใหญ่หรือโดยทั่วไปแล้วเวลาเราจะตัดสินใจหรือซื้ออะไรสักอย่าง เรามักจะเชื่อตามคนใกล้ชิดอย่างเพื่อนหรือคนในครอบครัวมากกว่าใครก็ไม่รู้บนโซเชียลมีเดีย หรือแม้แต่กับพนักงานขายภายในร้าน

เทรนด์เรื่อง E-Commerce Influencer ในประเทศจีนนั้นยิ่งใหญ่มาก พวกเขาก่อให้เกิดคำว่า Mega-influencer ที่แค่โพสหรือ Live ขายของทีก็สามารถเรียกยอดขายหลายสิบล้านได้สบาย

แต่ E-commerce ที่จีนเองก็ไม่ได้จบแค่การทำ Influencer marketing แต่พวกเขายังผสมผสานกันอย่างล้ำลึกไปถึงการทำ Social commerce ในหลากหลายมิติ ไม่ว่าจะเป็นการทำ Peer-to-peer commerce คือให้คนทั่วไปสามารถแชร์ลิงก์จากแบรนด์ไปขาย แล้วถ้าเมื่อไหร่มีคนซื้อก็สามารถได้ส่วนแบ่งจากยอดขายไปง่ายๆ เท่านั้นเอง

ถ้าพร้อมแล้วเรามาลงลึกในรายละเอียดกันดีกว่าครับว่ามีปัจจัยหรือตัวแปรใดบ้างที่ส่งผลต่อความอยากได้อยากมีของเราคนไทยมากที่สุด

12 Key Influences ให้เราอยากซื้อ

  1. คนในครอบครัว 24%
  2. Social media influencers 19%
  3. ไม่มีเลย 18%
  4. เพื่อนฝูง 12%
  5. ดาราคนดัง 8%
  6. พนักงานขายในร้าน 8%
  7. เพื่อนร่วมงาน 4%
  8. คนในแวดวงธุรกิจ 3%
  9. นักกีฬา หรือคนในแวดวงกีฬา 2%
  10. นักการเมือง 1%
  11. นักข่าว 0.3%
  12. อื่นๆ 1%

ข้อมูลส่วนนี้จะเป็นการถามความเห็นว่าคุณคิดว่าจะซื้อของบนโซเชียลมีเดียมากขึ้นหรือไม่หลังจากนี้ จากข้อมูลจะเห็นว่าผู้บริโภคชาวไทยเป็นชาติที่ตอบว่าจะซื้อบนโซเชียลมีเดียมากขึ้นว่าเดิมถึง 88% แซงหน้าผู้บริโภคชาวจีนที่ตามมาเป็นอันดับสองที่ 80%

และเมื่อสำรวจลงไปดูข้อมูลแยกตามเพศก็จะพบว่าในกลุ่มผู้บริโภคชาวไทยทั้งชายและหญิงต่างก็คิดตรงกันว่าจะจับจ่ายใช้สอยบนออนไลน์เพิ่มขึ้น โดยมีสัดส่วนของผู้หญิงเยอะกว่าเล็กน้อย ระหว่าง 89% ในผู้หญิง และ 87% ในผู้ชาย

ซึ่งต่างจากคนญี่ปุ่นมากที่จะเห็นได้ชัดว่าเรื่องนี้มีสัดส่วนไปทางผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย

สรุปง่ายๆ ก็คือว่าคนไทยพร้อมจะใช้เงินซื้อของออนไลน์มากขึ้นอีกเยอะมาก โดยไม่มีการแบ่งแยกชายและหญิงเพราะทุกคนต่างเห็นตรงกันว่าการซื้อของออนไลน์เป็นอะไรที่สะดวกสบายจริงๆ

LIVE Commerce เทรนด์การซื้อของออนไลน์ที่เริ่มต้นโลกตะวันออกส่งผ่านไปยังโลกตะวันตก

อย่างที่รู้กันนะครับว่าเทรนด์ LIVE Commerce หรือการใช้ LIVE เพื่อขายของขั้นเกิดขึ้นในประเทศฝั่งโลกตะวันออกก่อนจะขยายออกไปยังฝั่งโลกตะวันตก ตัวอย่างที่เห็นในบ้านเราก็มีมากมาย ไม่ว่าจะการ LIVE ขายอาหารทะเลของบังฮาซันคนดัง พิมรี่พาย หรือใครต่อใครมากมายในบ้านเรา

ทาง Wonderman Thompson ก็ทำการสำรวจมาจนพบว่าคนไทยกว่า 28% บอกว่าพวกเขามีแนวโน้มว่าจะใช้เงินไปกับ LIVE Commerce เพิ่มขึ้น

Seamless Experience หรือ Omni Channel ประสบการณ์ไร้รอยต่อ

เมื่อการซื้อของออนไลน์นั้นมีมากมายหลากหลายช่องทาง ไม่ใช่แค่การซื้อบนโซเชียลมีเดียเท่านั้น แต่ยังมีการซื้อผ่านเว็บไซต์ หรือโปรแกรมแชทต่างๆ หรือแม้แต่การไปรับของที่หน้าร้านก็ยังเป็นอะไรที่จะมองข้ามไปไม่ได้

ดังนั้นการสร้าง Customer Experience แบบ Seamless หรือที่เราอาจจะคุ้นเคยกับคำว่า Omni channel จึงเป็นสิ่งที่ส่งผลต่อการใช้เงินของผู้บริโภคชาวไทย เมื่อจากข้อมูลการสำรวจบอกให้รู้ว่าคนไทยให้ความสำคัญกับประสบการณ์แบบไร้รอยต่อเป็นอย่างมากถึง 86% มากกว่าทุกชาติที่ทำการสำรวจในครั้งนี้

ดังนั้นการทำเรื่องของ Customer Data Platform หรือ Single View Customer 360 จึงเป็นสิ่งที่ธุรกิจยุคใหม่และนักการตลาดยุคดาต้า 5.0 ต้องรีบปรับตัว เรียนรู้ และนำมาใช้ให้ไว เพราะผู้บริโภคยุคใหม่อยากให้คุณรู้ว่าเขาเป็นใคร ไม่ใช่เอาซ้ำไปซ้ำมาว่าคุณชื่ออะไร ต้องการติดต่อเรื่องอะไร ควรเชื่อมต่อข้อมูลลูกค้าทุกช่องทางไว้ในแพลตฟอร์มเดียวได้แล้ว

Insight การเล่นเกมกับคนไทย

และการตลาดยุคใหม่ในวันนี้ไม่ได้มีแค่ช่องทางโซเชียลมีเดียที่เติบโตอย่างมากในช่วงเวลาที่ผ่านมา แต่ยังมีช่องทางผ่านการเล่นเกม หรือ Gaming Platforms ที่เติบโตอย่างมากในกลุ่มคนไทย โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ เราคงเห็นผ่าน Gamer Influencer มากมาย และเห็นผ่านเทรนด์ Esports ที่กลายเป็นสื่อกระแสหลักในระดับโลกมานับต่อนับ

ทีนี้เราจะลองมาสำรวจเจาะลึกดูข้อมูลพฤติกรรมการเล่นเกมของคนไทยในปี 2021 หลังโควิดกันบ้างว่าพวกเขาชองเล่นเกมผ่านอะไร และในแต่ละช่วงอายุนั้นชอบเล่นเกมกันมากขนาดไหนกัน

  1. Mobile Phone 91%
  2. Computer 54%
  3. Console (เครื่องเล่นเกม) 19%
  4. อื่นๆ 1%
  5. ไม่เล่นเลย 4% (ผมจัดอยู่ในกลุ่มนี้)

แล้วเมื่อดูเจาะลึกลงไปตามเพศก็จะพบว่าไม่ได้มีความต่างแต่อย่างไรสำหรับคนไทย เพราะจำนวนผู้หญิงที่เล่นเกมก็มีมากกว่าผู้ชายเสียด้วยซ้ำ ส่วนตามช่วงอายุนั้นก็จะเห็นว่าแม้จะเป็นวัย 55+ แต่ก็เล่นเกมกันมากถึง 82% ครับ

เรียกได้ว่า Game in New Back หรือ Gaming is New Mainstream ได้เต็มปากสำหรับคนไทยในวันนี้

Game Commerce ไทย 2021

มาถึง Insight สำคัญทีนักการตลาดอยากรู้ นั่นคือเกมส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อของคนไทยบ้างหรือไม่ เพราะนักการตลาดหลายคนยังคงไม่แน่ใจว่าคนไทยเล่นเกมกันอย่างจริงจังจริงหรือ

จากข้อมูลบอกให้รู้ว่าคนไทยที่เล่นเกมกว่า 72% นั้นจ่ายเงินให้กับเกมที่พวกเขาเล่นอยู่ และเมื่อแยกตามเพศก็จะเห็นว่าเป็นผู้ชายเยอะกว่าผู้หญิงเล็กน้อย อยู่ที่ 78% ในผู้ชายส่วนผู้หญิงอยู่ที่ 68%

แล้วเมื่อแยกตามช่วงวัยลงไปก็จะพบว่าส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มวัยรุ่นและคนรุ่นใหม่ แต่กับวัย 55+ ที่ยอมจ่ายเงินให้กับเกมนั้นอยู่ที่ 32% ซึ่งก็ไม่น้อยเลยนะครับ

Virtual Collection คนไทยซื้อของในเกมมากแค่ไหน?

เมื่อทำการสำรวจเก็บข้อมูลลงไปเพิ่มเติมอีกว่าแล้วบรรดาคนที่เล่นเกมทั้งหลายนั้นยอมเสียเงินที่จะซื้อข้าวของในเกมให้กับตัวเองหรือไม่ ไม่ว่าจะเป็น Virtual Collection จากแบรนด์ต่างๆ ที่สร้างขึ้นมาเพื่อขายภายในเกมเท่านั้น พบว่า 66% ของคนไทยที่เล่นเกมนั้นทำ ส่วนเมื่อแยกตามเพศก็จะพบว่าผู้ชายยอมเสียเงินเพื่อเรื่องนี้มากกว่าผู้หญิงเล็กน้อยครับ

ข้อมูลชุดนี้บอกให้รู้ว่าถ้าใครเป็นแบรนด์สินค้า แฟชั่น ไลฟ์สไตล์ สามารถขยายตลาดเข้าไปยังกลุ่มคนเล่นเกมก็เป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ที่น่าสนใจ ไม่แน่ว่าคุณจะได้กลุ่มลูกค้าใหม่ๆ ที่พร้อมจะจ่ายเงินเพื่อคอลเลคชั่นในเกมบนออนไลน์ ที่อาจจะนำพามาสู่การซื้อสินค้าในโลกออฟไลน์จริงๆ เพื่อให้แมชเข้ากับคาแรคเตอร์ในเกมก็ได้ครับ

เมื่อลงเจาะลึกข้อมูลส่วนนี้ดูถึงช่วงวัยว่ามีความต่างกันมากน้อยขนาดไหนกับการซื้อสินค้าคอลเลคชั่นในเกม พบว่าสูงสุดยังคงเป็นกลุ่มอายุน้อยไล่ตามลำดับไปยังกลุ่มอายุมาก แต่แม้จะเป็นกลุ่มคนเล่นเกมชาวไทยที่อายุ 55+ ก็ยังคงจ่ายเงินเพื่อสิ่งนี้กว่า 36% ครับ

สรุป Insight E-Commerce 2021 รายงานเจาะลึกพฤติกรรมการช้อปปิ้งและซื้อของออนไลน์ของคนไทย

รายงานเจาะลึกพฤติกรรมการช้อปปิ้งซื้อของออนไลน์ของผู้บริโภคชาวไทย Insight E-Commerce 2021 ข้อมูลเปรียบเทียบก่อนและหลังโควิด

จากบทความตอนที่ 1 และตอนที่ 2 นี้จะเห็นว่าตั้งแต่โควิดเกิดขึ้นมาส่งผลให้เราต้องล็อกดาวน์ จากนั้นเราทุกคนต้องเรียนรู้การใช้ชีวิตบนออนไลน์หรือ Digital Lifestyle กันอย่างฉับพลัน แต่ก็โชคดีที่คนไทยเรียนรู้ไวสามารถก้าวกระโดดมาทำหลายสิ่งบนออนไลน์ได้ในระยะเวลาสั้นๆ แถมที่สำคัญไปกว่านั้นคือเราเรียนรู้ที่จะทำธุรกิจและค้าขายบนออนไลน์ ซึ่งส่งผลให้ผู้บริโภคไทยคุ้นเคยกับการช้อปปิ้งซื้อของออนไลน์ได้ทุกอย่าง และก็มีแนวโน้มว่าจะใช้เงินกับการซื้อของทางออนไลน์เพิ่มขึ้นอีกในอนาคต

เกมก็เป็นอีกหนึ่งช่องทางหลักของการเข้าถึงผู้บริโภคที่ไม่ใช่แค่ยุคใหม่ แต่เป็นผู้บริโภคส่วนใหญ่ที่ก้าวเข้าสู่โลกของเกมกันถ้วนหน้าแล้ว และไม่ใช่แค่การเล่นฟรีเพียงอย่างเดียว แต่เกมยังส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้เงินที่ทุกเพศ ทุกวัย ล้วนกล้าที่จะจ่ายเงินเพื่อ Virutal collection ในเกม

และนั่นก็หมายความว่าเกมเป็นอีกช่องทางใหม่ในการทำเงินของแบรนด์ต่างๆ อย่างที่เราได้เห็นว่าหลายแบรนด์มีการทำการตลาดผ่านเกมดังๆ ไม่ว่าจะเป็นซื้อของจริงแล้วเอาไปแลกของในเกม หรือทำของในเกมขายไปเลยเพื่อกระตุ้นให้คนอยากมาซื้อของจริง

ทั้งหมดนี้คือพฤติกรรมผู้บริโภคชาวไทยที่เปลี่ยนไปในปี 2021 และก็คาดว่าจะต่อเนื่องไปถึงปี 2022 ผมรู้ว่านักการตลาดทุกคนกำลังเจอกับช่วงเวลาที่ยากลำบากแบบสุดๆ แต่การจะผ่านวิกฤตครั้งนี้ไปได้ก็คือต้องมีข้อมูลรอบด้านในการตัดสินใจ เพื่อที่เราจะสามารถตัดสินใจได้อย่างถูกต้องและแม่นยำที่ไม่ใช่ใช้แค่การคาดเดาจากประสบการณ์ส่วนเหมือนยุค 4.0 หรือ 3.0. แต่อย่างไร

การตลาดวันละตอนเองก็มีบริการสำหรับธุรกิจหรือแบรนด์ที่ต้องการใช้ Data ในการตัดสินใจ จากประสบการณ์ที่ทำให้กับแบรนด์น้อยใหญ่ไม่ว่าจะธุรกิจ SME หรือธุรกิจใหญ่ระดับประเทศ หรือแม้แต่แบรนด์ดังข้ามชาติ สามารถติดต่อเข้ามาพูดคุยสอบถามกันได้ที่ [email protected] ผม เจ้าของเพจการตลาดวันละตอน จะเป็นคนตอบคำถามคุณด้วยตัวเองครับ

Source

Nattapon Muangtum

เจ้าของเพจการตลาดวันละตอน / อาจารย์พิเศษวิชา Data-Driven Communication / เขียนหนังสือมาแล้ว 5 เล่ม Personalized Marketing, Data-Driven Marketing, Data Thinking, Contextual Marketing และ Social Listening / ที่ปรึกษา Data-Driven Advisor

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

ใช้ Social Listening บ้างไม่ ?

#การตลาดวันละโพล ขอหนึ่งคำถาม ว่าปกติใช้ Social Listening บ้างหรือไม่ แล้วถ้าใช้ ใช้ตัวไหนอยู่