Insight คนไทยในยุค Discovery Generation

Insight คนไทยในยุค Discovery Generation

เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2020 Facebook TH และ Bain & Company จัดงานแชร์ข้อมูล Consumer Insights สำหรับผู้บริโภคกลุ่มใหม่ที่เรียกว่า Discovery Generation ซึ่งจริงๆ แล้วการตลาดวันละตอนได้แอบแชร์ข้อมูลชุดนี้ไปก่อนล่วงหน้าแล้ว หากใครยังไม่ได้อ่านสามารถเข้าไปอ่านกันได้ที่นี่เลย ส่วนใครที่สงสัยว่าแล้วบทนี้เราจะพูดถึงอะไรกัน ต้องบอกว่าสรุปฉบับนี้เพลินจะนำเสนอแบบเจาะ Insights เฉพาะในฝั่งของคนไทยมาให้ค่ะ

Discovery Generation คืออะไร?

Recap กันสักนิดค่ะ Discovery Generation คือนิยามสำหรับกลุ่มผู้บริโภคยุคใหม่ที่ไม่ได้วางแผนมาก่อนว่าจะซื้ออะไร แต่เวลาไล่ไถหน้าจอบนออนไลน์ไปเรื่อยๆ กลับพบกับแรงบันดาลใจและสินค้าใหม่ๆ จนต่อมกิเลสเริ่มทำงาน ซึ่งจริงๆ มันก็เหมือนกับเวลาเราเดินห้างแหละค่ะ บางทีเราก็ไม่รู้ว่าเราต้องการอะไร จนเราเดินไปเจอกระเป๋าที่ถูกใจแล้วเกิดอาการอยากได้ขึ้นมา แล้วจู่ๆ กระเป๋าใบนั้นก็กลายเป็นของจำเป็นที่เราต้องมี

Thai Discovery Generation

Southeast Asia Consumer Insight surveyed by Facebook เรื่อง Discovery Generation
Thai Consumer Insight surveyed by Facebook เรื่อง Discovery Generation

Facebook และ Bain & Company ได้ร่วมกันทำแบบสอบถาม โดยทางบริษัทได้เข้าไปพูดคุยกับผู้บริโภคทั้งหมด 12,965 คน ใน Southeast Asia โดยในจำนวนนี้มีคนไทยทั้งหมด 1,954 คน โดยผลสำรวจพบว่า 71% ของคนไทยที่เข้าร่วมตอบแบบสอบถามนั้น ยอมรับว่าพวกเขาไม่รู้หรอกค่ะ ว่าเค้าต้องการซื้ออะไรหรือสามารถซื้อสิ่งนั้นได้ที่ไหนขณะไถหน้าจอไปเรื่อยๆ   ที่นี่เรามาดูตัวเลขที่น่าสนใจของผู้บริโภคชาวไทยกันค่ะ

Insight คนไทยในยุค Discovery Generation
  • ร้อยละ 76 ของคนไทย บอกว่าพวกเขาค้นพบหรือรู้จักแบรนด์ใหม่ๆ หรือสินค้าใหม่ๆ ผ่านช่องทางออนไลน์ต่างๆ
  • ร้อยละ 58 ของคนไทย บอกว่าพวกเขาเคยสั่งซื้อของออนไลน์จากแบรนด์ที่เขาไม่รู้จักมาก่อนในปีที่ผ่านมา โดยเหตุผลที่ทำให้พวกเขากล้าซื้อก็คือ รีวิวสินค้า ราคาโปรโมชั่น และความน่าสนใจของสินค้านั้นๆ
  • ร้อยละ 90 ของคนไทย บอกว่าพวกเขาเปรียบเทียบสินค้าจากหลากหลายช่องทาง ทั้งออนไลน์ออฟไลน์ ก่อนซื้อจริง

นักช้อปคนไทยในเมืองและนอกเมืองมีพฤติกรรมต่างกันยังไง?

คนไทยในเมือง และคนไทยในต่างจังหวัดมีพฤติกรรมซื้อของออนไลน์ต่างกันอย่าไงไร ในยุค Discovery Generation

หลายคนอาจจะคิดไปเองว่า คนเมือง (Tier 1) กับคนต่างจังหวัด (Tier 2) มีพฤติกรรมการช้อปที่ต่างกัน แต่จากผลสำรวจชุดนี้ ทำให้เราเห็นว่า นิสัย ความชอบ และพฤติกรรมการซื้อของแบบ Omni-channel ของคนไทยทั้ง 2 tier นั้นคล้ายกันมาก แต่ต่างกันเพียงเล็กน้อยจนเรียกได้ว่า slightly different ของจริงค่ะ

ความแตกต่างของการซื้อของออนไลน์ ระหว่างคนเมืองและคนต่างจังหวัด
  • คนนอกเมืองไม่รู้ว่าตัวเองต้องการซื้ออะไร 74% ในขณะที่คนในเมืองตอบว่า 69%
  • คนนอกเมืองใช้สื่อโซเชียลในการค้นพบสินค้าจากแบรนด์ต่างๆ ที่ 57% ในขณะที่คนเมืองอยู่ที่ 54% ซึ่งไม่ต่างกันมากเท่าไร
  • คนไทยทั้งในและนอกเมือง เช็คเว็บออนไลน์อื่นๆ หรือแม้กระทั่งไปดูสินค้าจริงที่ร้านแบบ Omni-channel สูงถึง 90% เท่ากันเลยค่ะ
  • คนนอกเมืองบอกว่าไม่มีแบรนด์ที่ชื่นชอบเป็นพิเศษและพร้อมพิจารณาแบรนด์ใหม่ๆ หรือซื้อสินค้าจากหลายๆ แบรนด์ได้ถึง 67% ซึ่งจำนวนนี้ก็สูงกว่าคนในเมืองไม่มากค่ะ เพราะคนในเมืองก็ขาด loyalty และพร้อมซื้อจากแบรนด์อื่นที่ 65%

ยุคที่คนพร้อมเปิดรับสิ่งใหม่แต่ขาด Brand Loyalty

หากอ่านข้อมูลด้านบนลงมาถึงตรงนี้ แบรนด์ใหม่ๆ อาจจะยิ้มออก เพราะคนไทยพร้อมเปิดรับสินค้าจากแบรนด์ใหม่ๆ อยู่ตลอด ขอแค่ให้พวกเค้าพบแบรนด์ของคุณบนหน้า feed ก็พอ แต่ในอีกมุมก็คือ เมื่อเรท openness เพิ่มขึ้นแสดงให้เห็นถึงความ loyalty ที่ลดลงไปตามค่ะ และเมื่อตลาดขาดลูกค้าที่มี Brand loyalty ก็เท่ากับว่าไม่มีผู้เล่นเจ้าใหญ่ในตลาดเช่นกัน นี่จึงเป็นโอกาสของหลายๆ แบรนด์ที่จะทำยังไงก็ได้ให้คนติดแบรนด์ของคุณ

จำเป็นไหมที่ต้องสร้าง Brand Loyalty?

ลูกค้าประจำช่วยทำให้ยอดขายสูงขึ้น

จากข้อมูลชุดนี้ ชี้ให้เห็นชัดว่า หากแบรนด์นึงสามารถเปลี่ยนจากลูกค้าขาจรให้กลายเป็นขาประจำได้คุณจะได้ยอดขายมากขึ้นแบบไม่ต้องลุ้น เพราะลูกค้าขาประจำของคุณเนี่ยแหละ มีเรทใช้จ่ายซื้อของจากแบรนด์คุณมากกว่าขาจรถึง 3 เท่า โดยกลุ่ม industries ที่ลูกค้าขาประจำกลับมาซื้อซ้ำสูงสุดคือกลุ่ม Personal Care และความสวยความงาม โดยเรทที่ลูกค้าขาประจำจะซื้อเพิ่มขึ้นคือ 3.5 เท่าค่ะ

ทำไมคนไทยบางคนยังกลัวการซื้อออนไลน์

ในส่วนของลูกค้าขาจรที่ไม่เปลี่ยนไปเป็นขาประจำซักที 5 เหตุผลหลักเป็นเพราะ

  • ไม่มั่นใจในคุณภาพสินค้า
  • ไม่พบข้อมูลของสินค้าครบถ้วน
  • ไม่มีระบบการคืนสินค้า หรือระบบการเปลี่ยนสินค้าที่ไม่ดี
  • ระบบการส่งสินค้าไม่ถูกใจ เช่น ค่าส่งที่เพิ่มเข้ามา เป็นต้น
  • ไม่รู้จะซื้ออะไร ไม่มีสิ่งที่ต้องการในร้านเลย

Loyalty Program เพื่อสร้าง Stickiness ให้ลูกค้าติดหนึบ

วิธีทำให้ลูกค้ากลับมาซื้อของที่ร้านเราซ้ำๆ บนออนไลน์

ซึ่ง Loyalty โปรแกรมที่จะช่วยเปลี่ยนขาจรคนไทยให้กลายเป็นขาประจำได้มีอยู่ 2 อย่างค่ะหลักๆ นั้นก็คือ ดีลที่ดีกว่าและค่าจัดส่งฟรี แม้ว่ามันจะถูกบวกไปกับราคาขายแล้วก็เถอะ แค่บอกว่าส่งฟรีก็รู้สึกดีแล้วว่าไม่ต้องเสียเพิ่ม โดยจากแบบสอบถามพบว่าหากมีดีลที่ดีหรือได้ค่าจัดส่งฟรีละก็ 1.4 เท่าของขาจรพร้อมเปลี่ยนใจมาอุดหนุนซ้ำๆ ทันที โดย 40% ของลูกค้ายังพร้อมที่จะแนะนำสินค้าหรือแบรนด์ให้คนอื่น ยังไม่พอ 20% บอกว่าจะกลับมาซื้อซ้ำถี่ขึ้น และ 5% ของขาประจำมีแนวโน้มที่จะใช้เงินมากขึ้นด้วย

จุดเด่นที่แตกต่างของ Digital Consumers ชาวไทย

  • การเติบโตของ Digital Consumers คนไทยเป็นอันดับ 2 ใน SEA: ตอนนี้อัตราการเติบโตของมูลค่าการใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้าออนไลน์ในไทยอยู่ที่ 4.9 เท่า เป็นรองแค่ประเทศเวียดนามที่มีอัตราการเติบโตอยู่ที่ 6 เท่า
  • Conversational Commerce: พุ่งแรงเป็นอันดับ 1 ของโลก ซึ่งตรงนี้การตลาดวันละตอนก็เคยสรุปเอาไว้ให้แล้วเช่นกัน ไปอ่านต่อกันได้ที่นี่เลยนะคะ
  • Openness rate: ถือได้ว่าคนไทยพร้อมเปิดรับสินค้าและแบรนด์ใหม่ๆ ตลอดโดยเรทการเปิดรับอยู่ที่ 66%

Discovery Generation ส่งผลกระทบกับใครบ้าง? แล้วควรปรับตัวยังไง?

วิธีทำอย่างให้ลูกค้ารู้สึกดีกับร้านค้าออนไลน์ของเราในยุค Discovery Generation

สำหรับ Smaller brands:

สำหรับ Smaller brands หรือกลุ่มธุรกิจขนาดเล็ก ต้องบอกว่ายินดีด้วยค่ะ เพราะอย่างที่บอกว่าคนไทยมี Openness กับแบรนด์ใหม่ๆ ค่อนข้างสูง พวกเค้าพร้อมเปิดรับแล้ว แบรนด์เองก็อย่าลืมที่จะสร้างประสบการณ์ดีๆ กลับไปหาลูกค้าด้วยเช่นกัน เริ่มตั้งแต่การทำให้ผู้บริโภคหาเราเจอก่อน เสร็จแล้วตามราคาที่ควรล่อไปกับแผนของแบรนด์ ต่อมาคือเรื่องของสต็อกสินค้าคอนเท้นต์บนออนไลน์และรีวิวมีให้พร้อมค่ะ

สำหรับ Larger brands:

สำหรับ Larger brands ถ้าเห็นตัวเลข Openness อาจจะมีตกใจกันบ้าง ว่าแบบนี้แล้วแบรนด์ใหญ่ อย่างเราควรจะไปยืนอยู่จุดไหนกัน ประเด็นสำคัญเลยคือเราต้องกลับมา Focus ที่จุดแข็งของเรานั่นก็คือ เรื่องของความน่าเชื่อถือและคุณภาพสินค้า เพราะอย่าลืมว่าสิ่งนึงที่คนไทยกลัวไม่ค่อยกล้า loyal กับร้านเล็กๆ บนออนไลน์ทั่วไปก็เพราะ คุณภาพสินค้าและข้อมูลต่างๆ ที่ขาดหายไป เพราะฉะนั้นเราต้องจับจุดแข็งนี้ให้มั่นค่ะ เพราะการตลาดที่ดีที่สุดเกิดจากการทำสินค้าที่ดีจนใครๆ ก็อยากบอกต่อ แทบจะไม่ต้องพึ่งการโปรโมตเลยด้วยซ้ำค่ะ

อ่านสรุป Report เวอร์ชั่นตัวเต็มที่การตลาดวันละตอนทำไว้แล้ว คลิกที่นี่ได้เลยค่ะ

ดาวน์โหลดรายงานฉบับเต็มได้ที่ > http://bit.ly/2QJIJg0

Plearn Wisetwongchai

Marketing Strategic Planner ในเครือการตลาดวันละตอน | A Creator สาวพลัสไซส์ @Fabfatkid | A Travel Lover ที่หมดเงินเกือบ 80% ไปกับการเดินทางแบบแมสๆ | An Instagrammer @theplearn ที่ชอบเล่น Story เป็นชีวิตจิตใจ | สุดท้ายคือ Data Researcher ทั้ง Social และ Search Data etc. ค่ะ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

ใช้ Social Listening บ้างไม่ ?

#การตลาดวันละโพล ขอหนึ่งคำถาม ว่าปกติใช้ Social Listening บ้างหรือไม่ แล้วถ้าใช้ ใช้ตัวไหนอยู่