DEPA เผย Data ดัชนีอุตสาหกรรมดิจิทัลไทย Digital Industry Sentiment Index 2020

DEPA เผย Data ดัชนีอุตสาหกรรมดิจิทัลไทย Digital Industry Sentiment Index 2020

DEPA เผย Data ดัชนีอุตสาหกรรมดิจิทัลไทย 2563 หรือ Digital Industry Sentiment Index 2020 เป็นการเก็บข้อมูลสำรวจความคิดเห็นของคนไทยในอุตสาหกรรมดิจิทัลและอุตสาหกรรมอื่น เพื่อให้คนในแวดวงธุรกิจดิจิทัลสามารถนำข้อมูลไปใช้งานต่อยอดได้ว่าเราควรจะปรับ Business Strategy ไปทางไหน ซึ่งส่วนตัวผมก็คิดว่ารายงานนี้น่าสนใจตรงที่ทำให้ได้เข้าใจความคิดของผู้คนต่อเศรษฐกิจดิจิทัล และก็ทำให้ได้เข้าถึงความจริงว่าเศรษฐกิจดิจิทัลของบ้านเรากำลังจะไปในทิศทางไหนครับ

ถ้าพร้อมแล้วไปอัพเดทข้อมูลพร้อมกันเลยครับ แม้ Slide ในงานนี้จะมีไม่มาก แต่เนื้อหาจัดแน่นและเต็มไปด้วยคุณภาพมากจริงๆ

IMD: Indicator Thailand’s Ranking ธุรกิจดิจิทัลไทยเป็นอย่างไรเมื่อเทียบกับชาวโลก

DEPA เผย Data ดัชนีอุตสาหกรรมดิจิทัลไทย Digital Industry Sentiment Index 2020 ความเชื่อมั่นต่อธุรกิจดิจิทัลไทยเป็นอย่างไรในวันนี้

ทาง DEPA เผยว่าอันดับของประเทศไทยดีขึ้นถึง 3 ใน 4 เมื่อเทียบจากปีก่อน และอีก 1 อันดับก็ไม่ได้แย่ลงแต่คงที่อยู่ตำแหน่งเดิม เริ่มต้นที่ Digital Competitiveness ของประเทศไทยเมื่อปี 2019 เราอยู่อันดับที่ 40 แต่มาปี 2020 นี้เราขยับขึ้นมาอยู่อันดับที่ 39 ซึ่ง Digital Competitiveness นี้ก็คือความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลของคนไทยเมื่อเทียบกับชาวโลกนั้นถือว่าดีขึ้น แม้จะเล็กน้อยแต่อย่างน้อยก็ไม่ติดลบครับ

ในหัวข้อ Knowledge ของประเทศไทยนั้นยังคงที่ในอันดับที่ 43 จากปีที่แล้ว ซึ่งก็ถือว่าไม่แย่นะครับถ้าคิดในภาพรวมว่าชาวโลกเข้าก็ล้วนพัฒนาขึ้นกันรอบด้าน แสดงว่าอย่างน้อยคนไทยก็มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องดิจิทัลไม่ด้อยไปกว่าเดิม

ในหัวข้อ Technology ของคนไทยนั้นขยับสูงขึ้นอย่างมาก จากอันดับที่ 27 ในปี 2019 มาปีนี้ขึ้นมาถึงอันดับที่ 22 บอกให้รู้ว่าจริงแล้วประเทศไทยกำลังก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีภายในประเทศอย่างมากเมื่อเทียบกับกว่าร้อยประเทศทั่วโลกครับ

หัวข้อสุดท้ายของหน้านี้คือ Future Readiness หรือการคาดการณ์ว่าอนาคตของประเทศไทยในด้านดิจิทัลจะเป็นอย่างไร จากการเก็บ ​Data ของ DEPA บอกให้รู้ว่าคนไทยคิดว่าภาพรวมของประเทศไทยจะดีขึ้นในกลุ่มธุรกิจดิจิทัลครับ จากปีก่อนอยู่ในอันดับที่ 50 ของโลก มาปีนี้ขยับขึ้นมาถึงอันดับที่ 45

นั่นก็สะท้อนให้เห็นว่าคนในเศรษฐกิจดิจิทัลเชื่อว่าอนาคตจะต้องสดใส แม้วันนี้จะไม่ค่อยสดใสเท่าไหร่นักก็ตาม

นี่คือภาพใหญ่ของประเทศไทยจากมุมมองของทั้งโลก ทีนี้ลองมาดูกันในภาพย่อยของประเทศไทยเท่านั้นบ้างว่า โดยโครงสร้างเศรษฐกิจไทยทั้งหมดนั้นประกอบด้วยธุรกิจไซส์ไหนเป็นจำนวนเท่าไหร่ แล้วภาคการเกษตรไทยยังคงเป็นกระดูกสันหลังของชาติอยู่หรือไม่ หรือ SME ไทยคือกระดูกสันหลังของคนไทยในยุคดิจิทัลแล้วหรือเปล่า

Thailand’s Economics Structure 2019 โครงสร้างเศรษฐกิจไทยในปี 2019

DEPA เผย Data ดัชนีอุตสาหกรรมดิจิทัลไทย Digital Industry Sentiment Index 2020 ความเชื่อมั่นต่อธุรกิจดิจิทัลไทยเป็นอย่างไรในวันนี้

ส่วนตัวผมชอบข้อมูลหน้านี้มาก เพราะบอกให้รู้ว่าแท้จริงแล้วเศรษฐกิจไทยกำลังมีรูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร LEs ย่อมาจากบริษัทขนาดใหญ่ หรือ Large Enterprise ส่วน SMEs ก็คือธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางที่เราคุ้นเคยกัน และล่างสุดสีน้ำเงิน Agriculture หรือในกลุ่มภาคการเกษตร ถ้าดูจากจำนวนผู้ประกอบการในแต่ละประเภทของธุรกิจ ไปจนถึงจำนวนพนักงานในแต่ละประเภทของธุรกิจ จะเห็นเลยว่าคนไทยส่วนใหญ่ยังคงเป็นเกษตรกร แต่กลับไม่ได้ทำรายได้เป็นส่วนที่น้อยสุดใน GDP เลยทีเดียวครับ

จำนวนของ Enterprise หรือ Entrepreneur ประเทศไทย 2019

Enterprise ของไทยในปี 2019 มีจำนวนทั้งหมด 14,641 ราย หรือนับเป็นสัดส่วนแค่ 0.14% เท่านั้น แต่ในส่วนของผู้ประกอบการ SME นั้นมีมากถึง 3.1 ล้านรายโดยประมาณ หรือคิดเป็นสัดส่วน 29.2% แต่เมื่อดูตัวเลขของผู้ประกอบการในกลุ่มเกษตรกร ชาวนา ชาวสวน ชาวไร่ กลับพบว่ามีตัวเลขสูงที่สุดเพราะมากถึง 7.27 ล้านราย คิดเป็นสัดส่วนก็ 70% ได้เลยทีเดียวครับ แต่ทีนี้พอมาดูตัวเลขของฝั่งลูกค้าในแต่ละกลุ่มภาคอุตสาหกรรมกันบ้างว่าเป็นอย่างไร บอกได้เลยว่าตัวเลขน่าสนใจไม่น้อย

จำนวนพนักงานหรือลูกค้าในแต่ละกลุ่มขนาดธุรกิจของไทย 2019

ในภาคการเกษตรกลับมีตัวเลขการจ้างงานเท่ากับกลุ่มธุรกิจ SME อยู่ที่ 12 ล้านรายโดยประมาณใกล้เคียงกัน แต่เมื่อนำตัวเลขของนายจ้างกับลูกจ้างมาหารหาสัดส่วนกันก็พบว่า ในกลุ่มภาคการเกษตรมีลูกจ้างน้อยสุด อยู่ที่ 1.6 คนโดยเฉลี่ยต่อนายจ้าง 1 ราย ส่วนธุรกิจ SME ไทยก็เฉลี่ยการจ้างงานอยู่ที่ 4 คนต่อหนึ่งธุรกิจครับ

ที่น่าสนใจคือในกลุ่มบริษัทขนาดใหญ่ที่มีจำนวนน้อยมากแต่กลับมีการจ้างงานโดยเฉลี่ยสูงสุด เพราะจำนวนลูกจ้างในระบบของบริษัทขนาดใหญ่มีมากถึง 5.29 ล้านคน ซึ่งเมื่อนำมาหารเฉลี่ยกับจำนวนบริษัทก็พบว่าโดยเฉลี่ย 1 บริษัทมีการจ้างงานที่ 361 คนเลยทีเดียว

แล้วเมื่อมาดูที่ตัวเลข GDP หรือการสร้างรายได้ของในแต่ละภาคอุตสาหกรรมก็น่าสนใจดังนี้ครับ

GDP ไทย 2019 แบ่งตามกลุ่มธุรกิจ

ในกลุ่มบริษัทหรือองค์กรขนาดใหญ่ที่มีจำนวนน้อยสุด มีลูกจ้างน้อยสุด แต่กลับทำ GDP ได้มากที่สุดอยู่ที่ 9.92 ล้านล้านบาท เท่ากับว่าเมื่อเอา GDP มาหารเฉลี่ยต่อหัวลูกจ้างนั้นทำให้พบว่า ลูกจ้างหนึ่งคนในปีที่แล้วทำรายได้ได้มากถึง 1.87 ล้านบาท!

แต่เมื่อเอาตัวเลข GDP ในกลุ่ม SME ไทยเมื่อปี 2019 ที่ทำได้อยู่ 5.96 ล้านล้านบาท มาหารเฉลี่ยกับจำนวนลูกจ้างและนายจ้างที่รวมกันได้ 15.16 ล้านคน ก็จะพบว่าหนึ่งคนในกลุ่ม SME สามารถทำ GDP ได้ราวๆ 393,xxx บาทครับ

เมื่อดูแบบนี้จะเห็นความต่างของความสามารถในการทำรายได้ของธุรกิจใหญ่และเล็กถึง 4 เท่ากว่า และเมื่อมาดูในภาคการเกษตรจะพบว่าน่าจะใจยิ่งกว่า เพราะเมื่อเอาจำนวนของผู้ประกอบการและลูกจ้างมารวมกันซึ่งมากถึง 19.4 ล้านคน แต่กลับทำ GDP ได้แค่ 1.347 ล้านบาทเท่านั้น แล้วยิ่งเมื่อเอามาหารต่อหัวพบว่าเฉลี่ยแล้วหนึ่งคนทำได้แค่ 69,xxx บาทต่อปีเท่านั้นเอง

ส่วนตัวเลข Export หรือการส่งออกของไทยในปี 2019 ก็มีความน่าสนใจอีกด้านดังนี้ครับ

Export ภาคการส่งออกไทย 2019

ในกลุ่มบริษัทหรือหน่วยงานขนาดใหญ่สามารถทำรายได้จากการส่งออกเป็นเงินมากถึง 6.395 ล้านล้านบาท ส่วนในกลุ่ม SME กลับทำตัวเลขได้น้อยที่สุดจากทั้ง 3 กลุ่ม เพราะอยู่ที่แค่ 1.01 ล้านบาท ในกลุ่มภาคการเกษตรกลับทำรายได้มากกว่ากลุ่ม SME เพราะส่งออกได้เป็นเงินถึง 1.315 ล้านบาท

ข้อนี้บอกให้รู้ว่าถ้าภาคการเกษตรไทยส่งออกได้มากขึ้นน่าจะทำให้รายได้ในประเทศเพิ่มขึ้นตาม เพราะต้องบอกว่าที่ผ่านมาของดีๆ ของไทยคนไทยส่วนใหญ่ไม่เคยได้กินเพราะต่างประเทศให้ราคาดีกว่าตลอดครับ

ถัดมาเรามาดูที่ Data ภาพรวม Digital Industry ไทยในปี 2019 กันบ้างว่ามีการขยับเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างไรบ้างครับ

มูลค่าอุตสาหกรรมดิจิทัลไทย 2019

DEPA เผย Data ดัชนีอุตสาหกรรมดิจิทัลไทย Digital Industry Sentiment Index 2020 ความเชื่อมั่นต่อธุรกิจดิจิทัลไทยเป็นอย่างไรในวันนี้

ภาพรวมของธุรกิจดิจิทัลไทยในปี 2019 มีมูลค่ารวมกว่า 647,952 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.61% เมื่อดูในรายละเอียดของแต่ละส่วนของเศรษฐกิจดิจิทัลก็พบว่าโตขึ้นแทบทุกด้าน ยกเว้นแค่ด้านฮาร์ดแวร์และอุปกรณ์อัจฉริยะ

ส่วนหนึ่งก็เพราะต้นทุนในภาคการผลิตและแรงงานของเราเริ่มเพิ่มสูงขึ้นอย่างมากเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านที่ยังด้อยพัฒนากว่า ทำให้ผู้ผลิตเลือกที่จะย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศที่ยังมีต้นทุนค่าแรงถูกกว่า แถมยังได้สิทธิพิเศษในการยกเว้นภาษีต่างๆ นาๆ อีกด้วยครับ

ในหัวข้อ Big Data หลายคนอาจอ่านแล้วงงเหมือนที่ผมงงในตอนแรก ซึ่งในรายละเอียดของหัวข้อ Big Data คือกลุ่มธุรกิจที่ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเป็นหลัก ไม่ว่าจะ Social listening หรืออะไรเอยก็ตามที่โตวันโตคืน บวกกับเมื่ออุปกรณ์ดิจิทัลมีมากมาย แพลตฟอร์มต่างๆ พร้อม ก็ทำให้มี Data อยู่รอบตัวจนก่อให้เกิดธุรกิจที่ทำด้าน Data Analytics มากมาย นั่นแหละครับคือนิยามของหัวข้อบิ๊กดาต้านี้

ในส่วนสุดท้ายมีดูกันที่ดัชนี้ความเชื่อมั่นต่อธุรกิจอุตสาหกรรมดิจิทัลของคนไทยกันครับ

ดัชนีความเชื่อมั่นอุตสาหกรรมดิจิทัล

DEPA เผย Data ดัชนีอุตสาหกรรมดิจิทัลไทย Digital Industry Sentiment Index 2020 ความเชื่อมั่นต่อธุรกิจดิจิทัลไทยเป็นอย่างไรในวันนี้

วิธีการดูให้ดูว่าข้อไหนเกิน 50 ถือว่าดี ข้อไหนต่ำกว่า 50 ถือว่ายังไม่ดี ส่วนข้อไหนขยับขึ้นจากก่อนหน้านี้ก็คือดีขึ้น ถึงแม้จะยังไม่ถึงว่าดีพอก็ตาม

จากภาพรวมของคนไทยที่มีต่อกลุ่มธุรกิจและอุสาหกรรมดิจิทัลจะพบว่า โดยรวมแล้วดีขึ้นทุกด้าน แต่ก็จะยังมีบางด้านที่ยังไม่ดีพอ เริ่มตั้งแต่ภาพรวมอยู่ที่ 49.8 หน่วย ก็น่าจะถือว่าหยวนๆ ใกล้จะผ่านเกณฑ์แล้วล่ะครับ

ซึ่งถ้าวิเคราะห์ในภาพรวมจะเห็นว่า คนในกลุ่มอุตสาหกรรมดิจิทัลแม้จะไม่คิดว่าตัวเองจะมีรายได้มากพอที่จะทำกำไรได้ในตอนนี้ แต่ก็ยังมั่นใจที่จะลงทุนทั้งการจ้างงาน หรือเทคโนโลยีต่างๆ บวกกับมีการเร่งหาพาร์ทเนอร์ที่จะช่วยกันกอดคอรอดพ้นโควิด19 ไปให้ได้

และทั้งหมดนี้ก็คือ Data Digital Industry Index 2020 ของประเทศไทยที่จัดทำโดย DEPA ที่ต้องการให้คนไทยรู้ว่าธุรกิจดิจิทัลในบ้านเรากำลังจะก้าวหน้าไปทางไหน แล้วอะไรบ้างที่ติดขัด เพื่อจะได้ปรับ Business Strategy ของตัวเองได้ถูกว่าเราควรจะวางหมากอย่างไร แล้วตรงไหนที่เราจะก้าวเดินไปเพื่อเติบโตด้วยกันอย่างมั่นคง

DEPA เผย Data ดัชนีอุตสาหกรรมดิจิทัลไทย Digital Industry Sentiment Index 2020 ความเชื่อมั่นต่อธุรกิจดิจิทัลไทยเป็นอย่างไรในวันนี้

สามารถโหลดไฟล์ Digital Industry Sentiment Index 2020 ได้ที่นี่ > คลิ๊กเพื่อดาวน์โหลด

Nattapon Muangtum

เจ้าของเพจการตลาดวันละตอน / อาจารย์พิเศษวิชา Data-Driven Communication / เขียนหนังสือมาแล้ว 5 เล่ม Personalized Marketing, Data-Driven Marketing, Data Thinking, Contextual Marketing และ Social Listening / ที่ปรึกษา Data-Driven Advisor

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

คุณคิดว่าปัญหา PM 2.5 ที่เชียงใหม่วิกฤตหรือยัง ?

#การตลาดวันละโพล ขอหนึ่งคำถามก่อนอ่านการตลาดวันละตอน แล้วเราจะเอาไปทำเป็น Infographic โชว์หน้าเพจให้รู้ด้วยกัน