Data Research Insight ส่อง ทุเรียน ครึ่งปีหลัง ขายทั้งปียังได้เลย!

Data Research Insight ส่อง ทุเรียน ครึ่งปีหลัง ขายทั้งปียังได้เลย!

ก่อนเริ่มอ่านบรรทัดถัดไป ลองตอบคำถามนี้ในใจว่า หากนึกถึงทุเรียน คุณจะนึกถึงช่วงไหน? หากคุณตอบว่าช่วงมีนา-พฤษภา หรือหน้าร้อน จึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมบทความนี้ถึงเจาะ Data Research Insight ทุเรียน แค่ครึ่งปีหลังนั่นเอง หลายคนอาจไม่เข้าใจว่าทำไมถึงต้องเป็นช่วงปีหลัง ช่วงปีหลังมันน่าสนใจยังไง? มันน่าสนใจตั้งแต่คำตอบพื้นฐานของทุกคนแล้วค่ะ

ใครที่กำลังมองหาข้อมูลในการขายทุเรียน อยากเป็นผู้ประกอบการตัวน้อย ก้าวสู่วงการธุรกิจ ต้องถูกใจบทความนี้แน่นอน เพราะเตยได้รวมรวบข้อมูลที่น่าสนใจและน่าแปลกใจเกี่ยวกับทุเรียนในช่วงครึ่งปีหลังมาให้แล้ว!

โดยใช้ Social Listening Tools : Mandala เพื่อกวาดข้อมูลเพื่อหาคำตอบให้กับกับสิ่งที่อยากรู้ เพื่อให้เจ้าของธุรกิจหรือคนที่สนใจอยากทำการค้าเกี่ยวกับทุเรียน ได้รับไอเดียใหม่ ๆ และสามารถนำไปปรับใช้ ต่อยอดให้เข้ากับสถานการณ์ในปัจจุบันค่ะ

ภาพรวมข้อมูลครึ่งปีหลัง

เพื่อความเข้าใจที่ตรงกัน ทุเรียนถูกแบ่ง 2 ภาคใหญ่ คือ 1. ภาคตะวันออก 2. ภาคใต้ โดยทุเรียนภาคตะวันออกจะคึกคักในช่วงครึ่งปีแรก (กุมภาพันธ์ – พฤษภาคม) ในส่วนครึ่งปีหลัง (กรกฎาคม – พฤศจิกายน) จะเป็นของทุเรียนภาคใต้ ข้อมูลชุดนี้ถูกดึงย้อนหลังมาตั้งแต่ 16/07/2022 – 14/01/2023 ซึ่งเป็นช่วงระยะเวลาของครึ่งปีหลัง และใช้ Keyword ทุเรียนและdurian ค่ะ

จากกราฟจะเห็นได้ว่าในช่วงเดือนกรกฎาคมจนถึงพฤศจิกายนมีการเคลื่อนไหวที่ค่อย ๆ ไต่ระดับและลดลงตามช่วงฤดูกาล เตยถึงกับอ๋อ เพราะมันตรงไปตามคาดค่ะ หน้าราชาผลไม้ คนต้องพูดถึงมันแน่นอนอยู่แล้ว! แต่สิ่งที่ทำให้เอ๊ะคือสองเดือนหลังจากนั้นต่างหาก (เฉลยอยู่หัวข้อถัดไปค่ะ) ส่วนในด้าน Engagement แพลตฟอร์มที่มาแรงสุดคือ YouTube ตามมาด้วย Facebook , TikTok, Instagram และ Twitter ตามลำดับ

หมดช่วงแล้วทำไมยอดยังพุ่ง?

สงสัยกันไหมคะว่าทำไมในช่วงเดือนธันวาคมถึงมกราคมยอดถึงพุ่งขึ้นสูงแบบนั้นล่ะ? ทั้งๆที่เป็นช่วงที่หมดฤดูของทุเรียนใต้ นั่นก็เป็นเพราะ สิ้นปีมีการแจกโบนัสโดยเจ้าของแผงทุเรียน ทำงานมาทั้งปี ใครๆก็หวังกันใช่ไหมล่ะคะ สิ้นปีโบนัสจุกๆ คนให้ความสนใจ สื่อประโคมข่าวออกกันแทบทุกสำนัก กราฟพุ่งก็คงไม่แปลก ส่วนในเดือนมกราคม

จะเห็นได้ชัดว่ามีการพูดถึงทุเรียนใน Twitter มากกว่าช่องทางอื่น สาเหตุก็คือ ‘เนเน่’ สาวไทยเดบิวต์เป็นไอดอลที่จีนได้ไปออกรายการในช่วงปีใหม่และได้นำทุเรียนไปเป็นของขวัญ แฟนคลับเลยพูดถึงไม่หยุดกันนั่นเองค่ะ

Top 3 จังหวัดที่คนพูดถึงทุเรียน

ก่อนอื่นต้องบอกว่าค่อนข้างเซอร์ไพร์สกับผลลัพธ์ที่ออกมามากค่ะ อย่างที่ได้กล่าวไปในตอนแรกว่าช่วงครึ่งปีหลัง เป็นช่วงของทุเรียนใต้ คนก็ควรจะพูดถึงทุเรียนใต้มากที่สุดสิ ในทางกลับกัน ทุเรียนจากภาคตะวันออกอย่างจันทบุรีกลับแซงขึ้นมาเป็นอันดับหนึ่ง ปัดตกทุเรียนจากชุมพรและยะลาเป็นอันดับสองและสาม ตามลำดับ

แม้กระทั่งใน word cloud เอง จาก77 จังหวัด มีแค่จันทบุรีจังหวัดเดียวที่ปรากฏอยู่ในนั้น แสดงให้เห็นว่าทุเรียนจากภาคตะวันออกโดยเฉพาะทุเรียนจันทบุรีมีคาแรคเตอร์ที่ชัดเจนในจิตใจผู้บริโภคเป็นอย่างมาก ตรงนี้แหละที่สร้างแต้มต่อให้กับผู้ประกอบการทางฝั่งภาคตะวันออกในการเพิ่มยอดขาย หรือผู้ประกอบการจากฝั่งอื่นที่อยากขายทุเรียนแต่ไม่รู้จะขายทุเรียนอะไร ไม่ควรมองข้ามทุเรียนจากจันทบุรีค่ะ

อย่างไรก็ตาม ผลลัพธ์นี้อาจส่งผลไม่ดีสำหรับผู้ประกอบการทางฝั่งใต้ เนื่องด้วยภาพจำและความเข้าใจของคนทั่วไปที่มีต่อทุเรียนใต้นั้นไม่ดีนัก เช่น ทุเรียนใต้ไม่อร่อยเท่าทุเรียนจันทบุรี

ในจุดนี้เตยมองว่าเราจะต้องแก้เกมความคิดของผู้บริโภคให้ได้ จะด้วยวิธีอะไรก็แล้วแต่ เช่น ทำคอนเทนต์ชูลักษณะเด่น ความพิเศษ ความแปลกใหม่ของทุเรียนใต้เพื่อชวนให้คนอยากลิ้มลอง หรือ รวมกลุ่มความคิดเห็นในเชิงบวกของทุเรียนใต้และนำไปประชาสัมพันธ์ต่อไปค่ะ

Top 5 พันธุ์ทุเรียนที่คนพูดถึงมากที่สุด

จริง ๆ แล้วทุเรียนมีหลากหลายสายพันธุ์มากค่ะ แต่ในบทความนี้เตยคัดมา 5 อันดับแบบเน้น ๆ โดยสายพันธุ์ที่ถูกพูดถึงมากที่สุดคือ หมอนทอง ด้วยเนื้อสีเหลืองนวล หอมมัน เม็ดลีบ เนื้อเยอะ กลิ่นไม่แรงมาก จึงไม่แปลกใจที่ทุเรียนสายพันธุ์นี้จะได้รับความนิยมแบบถล่มทลายและครองตำแหน่งอันดับหนึ่ง

รองลงมาคือ ก้านยาว ชะนี พวงมณี และมูซังคิง บางคนอาจเพิ่งเคยได้ยินชื่อมูซังคิง มูซังคิงเป็นทุเรียนพันธุ์พื้นเมืองของประเทศมาเลเซีย และได้รับการขนานนามว่าเป็น ‘ราชาแห่งทุเรียนมาเลย์’ ค่ะ ที่น่าสนใจคือ ในช่วงปีในหลังมานี้คนไทยนิยมทานและพูดถึงกันมากขึ้นจนไต่อันดับขึ้นมาแซงทุเรียนสายพันธุ์ไทยอื่น ๆ แสดงให้เห็นว่าน้ำกำลังขึ้น ต้องรีบตัก!

เหตุผลที่ทำให้คนเลือกซื้อทุเรียน

อย่างที่เรารู้กันดีว่าทุเรียนราคาแพง ซื้อทั้งทีก็ขอให้มันคุ้มกับสิ่งที่จ่ายไปหน่อย ดังนั้นสิ่งที่ผู้บริโภคให้ความสำคัญเป็นอันดับแรกคือ คุณภาพ นั่นเองค่ะ (คุณภาพในที่นี้คือ สินค้าตรงปก ทุเรียนแก่และอร่อย) ซึ่งเตยมองว่าผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญในส่วนนี้มาก ๆ เช่นกัน

นอกจากจะทำให้ธุรกิจดำเนินไปได้ยาว ๆ แล้ว ยังซื้อใจผู้บริโภคให้กลับมาซื้อซ้ำอีกด้วย ของดี แถมอร่อย ตรงปก แค่นี้ลูกค้าก็หนีไปไหนไม่รอดแล้วจริงไหมล่ะคะ หากยกตัวอย่างให้เห็นภาพง่าย ๆ ร้านทุเรียนเจ้าดังแห่งตลาดอตก. กิโลหลักพันถึงหลักหมื่น คนยังตบเท้าเข้าไปซื้ออย่างไม่ขาดสาย แสดงให้เห็นว่าคุณภาพต้องมาก่อน ถูกใจไม่มีคำว่าแพง!

พูดถึงทุเรียน คงหนีไม่พ้นเรื่อง ‘กลิ่น’ ซึ่งเจ้ากลิ่นนี่แหละค่ะที่สร้างปัญหาให้กับคนทานทุเรียนใน ‘ทางอ้อม’ จากข้อมูลเตยพบว่า มีคนจำนวนมากไม่น้อยที่ประสบปัญหากับกลิ่นทุเรียนแม้เจ้าตัวจะไม่ได้ซื้อมาโดยก็ตาม ซึ่งตรงนี้อาจเป็นปัญหาที่ทำให้คนชอบทุเรียนซื้อสินค้าปริมาณน้อยลง

ลองนึกภาพตามนะคะ ในครอบครัวประกอบด้วยพ่อ แม่ และลูก คนเป็นพ่อ แม่ชอบทานทุเรียน แต่ลูกไม่ชอบทานและเหม็นกลิ่นทุเรียน ความรักของพ่อแม่ยิ่งใหญ่เสมอ จากเดิมที่เคยซื้อเยอะ เก็บและแช่ในตู้เย็น เมื่อลูกไม่ชอบ พฤติกรรมการซื้อเหล่านั้นจะลดลงหรือหายไปค่ะ

ในอีกกรณีคือ ตอนกินหอมอร่อย ตอนหมดหรือแช่ตู้เย็นไว้กลับมีกลิ่นเหม็น กลิ่นติดตู้/อาหารในตู้เย็น ทั้ง ๆ ที่ในความเป็นจริง คนทานทุเรียนส่วนใหญ่เขาไม่ค่อยมีปัญหากับกลิ่นทุเรียนกันเท่าไหร่ถูกไหมคะ แต่กลิ่นที่ติดตู้/รถกลับมาทำร้ายพวกเขาในทางอ้อมซะงั้น

เมื่อปัญหาเกิดมาแล้ว หากปล่อยทิ้งไว้และไม่หาทางแก้ไข ลูกค้าอาจทิ้งเราไปได้เหมือนกันเพราะจุดเล็ก ๆ ของปัญหาที่ถูกสะสมมา เตยมองว่า ถ้ามีทุนเพื่อนำไปวิจัยหรือเลือกใช้แพคเกจจิ้งที่เก็บกลิ่นที่สามารถให้ลูกค้านำไปแช่ตู้เย็นได้ หรือแถมสเปรย์ดับกลิ่นให้ลูกค้า ทำโปรโมชั่นชุดเซตสำหรับทานวันเดียวก็เป็นแนวทางทางแก้ปัญหาที่น่าสนใจค่ะ

นอกเหนือจากทุเรียนสด มีอะไรอีกที่ขายได้บ้าง?

Data Research Insight ส่อง ทุเรียน ครึ่งปีหลัง ฉีกภาพจำ King of fruit ขายทั้งปียังได้เลย!

จากข้อมูลบ่งชี้ว่า ในครึ่งปีหลังคนส่วนใหญ่ยังคงมองหาทุเรียนทอด เป็นอันดับหนึ่ง กรุบกรอบ ท่านง่าย กลิ่นไม่แรง ไม่แปลกที่คนจะชอบทานค่ะ รองลงมาคือ ขนมไหว้พระจันทร์ไส้ทุเรียน เป็นอันดับสอง ซึ่งตรงนี้เตยมองว่าเป็นสัญญาณที่ดีในการเพิ่มยอดขายสำหรับผู้ประกอบการร้านเบเกอรี่อีกด้วย ใครที่ขายสินค้าสายขนมหวานลองเพิ่มเป็นเมนูใหม่ขายในช่วงเทศกาลไหว้พระจันทร์กันดูนะคะ หรือจะเพิ่มเมนูอื่น ๆ ที่ปรากฏในรูปก็เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจเช่นกันค่ะ

ทั้งหมดนี้คือ Data Research Insight ทุเรียน ในครึ่งปีหลัง ที่น่าสนใจและอยากนำมาแชร์ หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ให้กับผู้ประกอบการและผู้ที่สนใจทุเรียนกันค่ะ

สำหรับใครที่อยากอ่านบทความเกี่ยวกับการตลาดเพิ่มเติม สามารถติดตามได้จาก เพจการตลาดวันละตอน รวมไปถึงเว็บไซต์ Twitter Instagram YouTube และ Blockdit ของการตลาดวันละตอนด้วยนะคะ

ถ้าใครอยากเรียนรู้การใช้ Social Listening ด้วยตัวเอง หรืออยากให้ทีมของตัวเองใช้เป็น สามารถสมัครเรียนสดทางออนไลน์กับการตลาดวันละตอนด้วยตัวเองได้

คลาสเรียนออนไลน์ Social Listening Analytics

คลาสเรียนออนไลน์ Social Listening เน้น Workshop ลงมือทำจริงด้วยตัวเอง รุ่นล่าสุด ศุกร์สุดท้ายของเดือน เปิดแล้ว
เรียนสดทางออนไลน์ ผ่าน Zoom เต็มวัน 9:00 – 15:00
ค่าเรียนคนละ 9,900 บาท รับจำกัดรุ่นละ 20 คน (ถ้าเต็มรุ่นนี้ต้องขอให้รอรุ่นหน้า)
อ่านรายละเอียดและสมัครก่อนเต็มได้ที่ลิงก์นี้

https://bit.ly/sociallisteningclass

ขอแค่คุณใช้ Social Listening เป็นด้วยตัวเองก็จะพบว่ามี Data มากมายรอให้ใช้งาน และยังมี Consumer Insights ล่องลอยอยู่อีกมาก เหลือแค่ว่าใครจะหยิบมาใช้โอกาสได้ก่อ

ถ้าอยากดูบทความเกี่ยวกับฟีเจอร์ต่าง ๆ สามารถดูเพิ่มเติมได้ที่นี่ เลยค่ะ พวกเราทีมการตลาดวันละตอนมีหลายเคสที่ใช้ฟีเจอร์ของ Mandala มาวิเคราะห์ข้อมูล เทรนด์ และทำ Insight เจ๋ง ๆ แบบนี้ออกมาค่ะ😊

Toey Waritsa

ใบเตย หรือเรียกว่าเตยก็ได้ค่ะ ทำ Data Research Insight เป็นอาชีพเสริม อาชีพหลักเลี้ยงแมว ทุกบทความเขียนออกมาด้วยความมุ่งมั่นและตั้งใจเพื่อหาเงินเลี้ยงแมวค่ะ😺🫶🏻

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *