เผย insight ค่าครองชีพ ใน Twitter ด้วย Social Listening  

เผย insight ค่าครองชีพ ใน Twitter ด้วย Social Listening  

การตลาดวันละตอนบทนี้เราจะพาทุกคนทิ้งทวนกับ Topic ส่งท้ายปี 2022 ที่คนมักจะพูดถึงอยู่บนโลกโซเชี่ยลอยู่บ่อยๆ เกี่ยวกับเรื่อง insight ค่าครองชีพ เราเลยอยากพาทุกคนไปสำรวจกันว่าคนทั่วโลกคิดเห็นยังไงกับเรื่องค่าครองชีพในปี 2022 กันบ้างด้วยการไปส่องความคิดเห็นของพวกเขาเหล่านั้นบน Twitter จากการใช้ Social Listening Tools เพื่อเข้าใจถึงปัญหาและความคิดเห็นอย่างแท้จริงจากการ Grouping หัวข้อที่คนพูดถึง พฤติกรรมและมุมมองของคนที่ส่งผลกระทบกับการใช้ชีวิตในอนาคต และการสำรวจ Sentiments จากความคิดเห็นค่ะ

จากรายงานต้นฉบับพบว่ามีการพูดถึงเรื่องของค่าครองชีพ (Cost of Living) สูงถึง 16.2 ล้านทวีตเลยทีเดียว ซึ่งเราจะมีด้วยกัน 4 หัวเรื่องและเราจะมาไล่กันที่ละบทกันค่ะ 

ค่าครองชีพที่สูงขึ้นหลายเท่าตัวโดยเฉพาะกลุ่มคนอายุน้อย

ค่าครองชีพนั้นเป็นค่าใช้จ่ายที่ครอบคลุมถึงการใช้ชีวิตของเรา เช่น ค่าอาหาร ค่าน้ำมัน และอื่นๆ ซึ่งจะรูปด้านล่างจะเห็นได้ว่าเดือนธันวาคม 2564 ถึงเดือนมีนาคม 2565 มีคีย์เวิร์ดที่พูดถึงเรื่องของค่าครองชีพสูงขึ้น 130% และมีสัญญาณที่บ่งบอกว่ามีการพูดถึงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา 

Cr. Talkwalker

ช่วงอายุที่พูดถึงมากที่สุดนั้นก็คือคนที่มีอายุตั้งแต่ 18 – 30 ปีมีแนวโน้มที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดจากการเปลี่ยนแปลงของค่าครองชีพและจะเป็นกลุ่มที่พูดถึงเรื่องนี้บ่อยๆ บน Twitter แต่ถ้าหากเราดูข้อมูลชุดนี้ลึกเข้าไปอีกจะเห็นว่ากลุ่มคนที่อายุ 25-34 ปี เป็นกลุ่มที่กระตุ้นบทสนทนาเรื่องนี้เป็นอย่างดี โดยบ่งบอกได้ว่าเป็นกลุ่มวัยทำงานที่มีเงินเดือนไม่สูงมากและเริ่มที่จะมีค่าใช้จ่ายที่ต้องรับผิดชอบสูงขึ้น และมีการ spike ขึ้น 144% ในช่วงเดือนมีนาคม 2565

Cr. Talkwalker

นอกจากนี้ยังมีการใช้ AI เข้ามา forecast ถึงบทสนทนาเกี่ยวกับค่าครองชีพในอนาคตจากการใช้ historical data ซึ่งนั่นก็ทำให้เห็นเทรนด์ที่คนขะพูดถึงหัวขึ้นนี้สูงขึ้น โดยเฉพาะช่วงเดือนเดือนกันยายน 2565 เนื่องจากปัญหาค่าครองชีพยังคงเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องเผชิญอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทางแบรนด์หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถใช้เทรนด์ที่พูดถึงและกลุ่มช่วงอายุที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดในการจัดทำแคมเปญต่างๆที่ทำให้แสดงถึงการเข้าใจและการใส่ใจถึงปัญหาได้ 

ค่าน้ำมันและก๊าซถูกพูดถึงมากที่สุดใน Twitter

คราวนี้เรามาเจาะลึกถึงการแบ่งกลุ่มหัวข้อที่คนพูดถึงอยู่บ่อยๆ หรือ Conversation Cluster จะเห็นได้ว่า 14.5% ของการพูดถึงค่าครองชีพนั้นเกี่ยวกับการวิจารณ์รัฐบาล US ต่อการขึ้นราคาของก๊าซ และอีกส่วนนึง 6.8% ก็เกิดมาจากความไม่พอใจต่อรัฐบาล UK ที่มีการเพิ่มขึ้นราคาพลังงาน ซึ่งก็เป็นส่วนนึงในการที่ทำให้ค่าครองชีพสูงขึ้นมากๆ ค่ะ 

Cr. Talkwalker

นอกจากที่เราจับประเด็นแบ่งกลุ่ม Topic ที่คนพูดถึงออกมาแล้ว ด้านล่างนี้ทางรายงานยังแบ่งปัจจัยที่เกี่ยวข้องที่มีผลกระทบต่อค่าครองชีพของพวกเขา โดยจะใช้ Custom theme panels หรือการแบ่งกลุ่ม object นั้นออกเป็นก้อนๆ เพื่อให้เห็นว่าถ้าหากเราพูดถึงสิ่งไหนบ่อยๆ ขนาดของวงกลมก็จะใหญ่ตามมาด้วย 

Cr. Talkwalker

จากหัวข้อเรื่องค่าครองชีพ สามารถแบ่งออกมาได้มากถึง 50 ปัจจัย โดยก๊าซเป็นอันดับหนึ่งที่มีผลกระทบมากที่สุด เนื่องจากก๊าซนั้นสามารถรวมถึงต้นทุนเชื้อเพลิงทำความร้อนใน UK และน้ำมันเบนซิลในอเมริกาค่ะ ถัดมาเป็นค่าเช่า ตัวเลขนี้น่าสนใจมากๆ เพราะว่ามีการพูดถึงเรื่องนี้เยอะกว่าการจำนองถึง 5.17 เท่า เพราะเนื่องจากว่าผู้เช่าส่วนใหญ่นั้นต้องดิ้นรนเพื่อรับมือกับค่าเช่าบ้านและต้องแบกรับกับภาระค่าครองชีพที่สูงมากขึ้นด้วย ทำให้ความฝันในการอยากซื้อบ้านนั้นมองว่าเป็นเรื่องไกลตัวมากๆ ถึงแม้ว่าเขาจะรู้ดีว่าการซื้อบ้านนั้นคุ้มกว่าในระยะยาว แต่พวกเขาก็เลือกที่จะเช่าบ้านมากกว่า

อีกหนึ่งหัวข้อที่น่าสนใจคือค่ารักษาและยา ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งในอันดับที่ 6 ที่คนพูดถึงกันมากในทั่วโลก แต่ก็มีถึง 78.2% ของทวิตเตอร์ใน US พูดถึงเรื่องประกันสุขภาพของรัฐบาล (Universal healthcare system) หรือจะพูดง่ายๆว่าถึงแม้ US จะเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว แต่คนกลับพูดถึงเรื่องประกันสุขภาพจากรัฐบาลอยู่ไม่น้อย ซึ่งนั่นก็อาจจะเป็นสัญญาณเตือนถึงรัฐบาลที่คนนั้นเริ่มหันมาใส่ใจกับเรื่องการรักษาพยาบาลจากทางรัฐมากขึ้น

สำหรับข้อที่ 2 สรุปได้สั้นๆว่าผู้คนส่วนใหญ่กำลังโฟกัสในเรื่องของการคุมค่าใช้จ่ายที่เหมาะสมกับรายได้ที่ตัวเองได้รับ เช่น การเช่าบ้านอยู่ที่มีขนาดเล็กลง เพื่อนำเงินไปใช้จ่ายในส่วนอื่นๆ นอกจากนี้คนยังสนใจเรื่องของค่าน้ำมันและค่าพลังงานต่างๆที่สูงขึ้นที่เป็นต้นทุนของค่าใช้จ่ายทั่วไป 

คนวางแผนระยะยาวให้กับชีวิตตัวเองมากขึ้น

จากพิษเศรษฐกิจที่ทำให้คนนั้นเริ่มมี perception เปลี่ยนไป ทำให้คนระมัดระวังในการใช้จ่ายมากขึ้น ซึ่งก็รวมไปถึงการที่คนเริ่มวางแผนการใช้ชีวิตของตัวเองในระยะยาวเพิ่มมากขึ้น เช่น การย้ายบ้าน การเปลี่ยนงาน หรือการหางานเสริมที่มีการพูดถึงเพิ่มสูงขึ้น 42% ภายในระยะเวบาแค่ 1 ปี และมี 41% ที่พูดถึงเรื่องการย้ายบ้านที่มีขนาดเล็กลง เดี๋ยวเราจะพามาดู stat ที่น่าสนใจกันด้านล่างค่ะ

คนพูดถึงเรื่องการเปลี่ยนไปใช้รถ EV แต่ว่าพวกเขานั้นยังไม่สามารถซื้อได้

เนื่องด้วยสาเหตุใหญ่เลยที่คนต้องการหันมาใช้รถ EV เลยก็คือต้องการประหยัดเงินมากขึ้น เนื่องจากค่าน้ำมันที่พุ่งแรงขึ้นอยู่เรื่อยๆ ซึ่งนั่นก็เกี่ยวข้องกับเทรนด์ของรถยนต์ไฟฟ้าที่พุ่งกระฉูดถึง 60% ใน 1 ปี 

Cr. Talkwalker

จากการที่วิเคราะห์ออกมาอีกขั้นด้วยการทำ Sentiment Analysis เราจะเห็นสิ่งที่คนพูดถึงเป็นเชิงลบมากกว่าเชิงบวกอยู่หลายเท่าตัว สิ่งที่คนพูดถึง 1.2% นั้นกว่าวว่าพวกเขาแทบจะไม่สามารถซื้อรถ EV ได้ และอีก 1.2% นั้นพูดว่าไม่สามารถซื้อรถ EV ได้เลย ทั้งๆที่ทุกคนรู้ว่าการมีรถยนต์ EV นั้นจะทำให้พวกเขาประหยัดขึ้นมากก็ตาม แต่ที่น่าตกใจไปกว่านั้นมีอีก 53% ใน US กล่าวว่าพวกเขายังไม่เห็นด้วยกับการจ่ายเงินให้กับ alternative energy อย่างรถ EV ค่ะ

คนเริ่มมีความคิดที่จะเกษียณช้าลงเพราะต้องการรับมือกับเงินเฟ้อ

เงินเฟ้อนั้นก็เป็นปัจจัยหลักในการเก็บเงินเกษียณเพราะเราต้องเก็บเงินวันนี้ เพื่ออนาคตให้เราได้เกษียณเร็วขึ้น แต่ถ้าหากเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้นก็จะทำให้เราต้องทำงานนานขึ้นนั่นเองค่ะ ในหัวข้อการเกษียณบนทวิตเตอร์ก็พุ่งสูงถึง 33% ภายใน 1 ปี ไม่แพ้กับหัวข้ออื่นๆเลยค่ะ 

Cr. Talkwalker

จากปัญหาเงินเฟ้อก็ทำให้คนมีการแก้ไขปัญหาอยู่ 2 แบบคือ 2.6% เลือกที่จะเกษียณช้าลง เพราะรู้ว่าตอนนี้ยังไม่สามารถเก็บเงินให้พอกับค่าใช้จ่ายในตอนบั้นปลายชีวิตค่ะ อย่างถัดมาคือทำงานให้นานขึ้น โดยเฉพาะ 25% คนของ US ค่ะ เห็นได้ชัดเลยว่าคนทั่วโลกใส่ใจกับการวางแผนระยะยาวให้กับชีวิตมากขึ้น ทั้งการหาสิ่งที่ทดแทนค่าใช้จ่าย การย้ายบ้าน และการวางแผนการเกษียณที่คนต้องการทำงานให้นานขึ้น 

คนเรียกร้องความช่วยเหลือจากรัฐบาลแบรนด์ที่เกี่ยวข้องและ Twitter Community

อย่างที่กล่าวไปด้านบนว่ารายงานนี้เราได้นำข้อมูลทั้งหมดจากทั่วโลกที่คนพูดถึงเรื่องค่าใช้จ่ายจากใน Twitter ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 4 หัวข้อหลักๆค่ะ 

Government Action 

อย่างแรกเลยก็คือเรื่องการเรียกร้องจากรัฐบาลที่คนออกมาเรียกร้องเรื่องภาษีมากที่สุด ซึ่งเป็นหัวข้อหลักๆของค่าใช้จ่าย หรือคิดเป็น 15% เลยค่ะ คนพูดถึง #TaxTheRich เป็นเทรนด์ที่คนพูดถึงมาก 193.7% ในช่วงเดือน มิถุนายน 2021 ถึงเดือนพฤษภาคม 2022 เกี่ยวกับการเรียกร้องให้เพิ่มภาษีกลุ่มคนที่มีเงินเยะที่สุดและการเพิ่มภาษีของบริษัท 

Food Banks 

ธนาคารอาหาร (Food Bank) เป็นโปรเจ็คที่เปิดโอกาสให้เราสามารถรวบรวมอาหารที่เกินมาเป็นส่วนหนึ่งในการแบ่งปันอาหารกับผู้ที่ขาดแคลน ในช่วงเดือนพฤษภาคม 2022 ที่ผ่านมามีการทวิตกว่า 372,700 ครั้งและถือว่าเป็นตัวเลขที่มากที่สุดใน 13 เดือนที่ผ่านมา สาเหตุที่พูดถึงเพราะว่าตอนนี้คนก็เริ่มไม่สามารถแบ่งปันอาหารได้เหมือนแต่ก่อนแล้ว 

Cr. Talkwalker

#Save Money 

ประเด็นนี้คนใช้ #Save Money และแฮชแท็กอื่นๆที่เกี่ยวข้องเช่น #FinancialTips #EnergySavings #MoneySaving #MoneyTips และอื่นๆ พูดถึงในชุมชนทวิตเตอร์เพื่อแชร์วิธีการเก็บเงิน และใีจำนวนมากไม่น้อยที่ช่วยกันแชร์คุปอง ส่วนลดต่างๆ ให้กับเพื่อนๆในทวิตเตอร์ 

Principles vs Profiteering 

ผู้คนในหลายประเทศอาจจะยังไม่ชินกับสถานการณ์ราคาข้าวของเครื่องใช้สูงเกินไป  แต่ในช่วงเดือนพฤษภาคม 2022 ที่ผ่านมา ที่อยากให้ตั้งราคาที่สมเหตุสมผลมากขึ้น เลิกการผูกขาด หรือการค้ากำไรเกินงาม แต่ในทางเดียวกันพวกเขาอาจจะรับได้ ถ้าหากมีรายได้ที่สูงขึ้นตาม หรือพูดสั้นๆว่าราคาได้สัมพันธ์กับราคาจ่ายนั่นเองค่ะ 

Cr. Talkwalker

บทสรุปของรายงานที่อยากฝากถึงแบรนด์ที่รับมือกับ insight ค่าครองชีพ (Cost of Living)

  1. Empathy (ความเห็นอกเห็นใจ) อันนี้เป็นสิ่งแรกที่ทางแบรนด์หรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องโดยเฉพาะรัฐบาลนั้นควรใส่ใจกับปัญหาและเข้าใจเหตุและผลอย่างแท้จริง ซึ่งเราอาจจะได้ความคิดเห็นมาจากหลายๆที่ และการนำ Social listening tools เข้ามาใช้ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ทำให้เราเข้าถึง insight ของคนได้มากขึ้น เพื่อนำความเห็นเหล่านี้มาใช้ strategy ในการปรับตัวของแบรนด์ 
  2. ค่าใช้จ่ายที่สูงสูงขึ้นในทั่วโลกทำให้พฤติกรรมการใช้เงินและความคิดเรื่องการใช้ชีวิตเปลี่ยนไป แบรนด์ควรหาทางปรับกลยุทธ์ใน long-term  เพื่อให้สอดคล้องกับพฤติกรรมของคนที่เปลี่ยน

มีอีกบทความนึงที่น่าสนใจในการใช้ Social Listening เกี่ยวกับของแพง สามารถอ่านต่อได้ที่นี่เลยค่ะ

Pitchakorn Sirimonta

Freelance at Everyday Marketing.co and current social media management who has a passion for business innovation and believe in data-driven marketing.

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

ใช้ Social Listening บ้างไม่ ?

#การตลาดวันละโพล ขอหนึ่งคำถาม ว่าปกติใช้ Social Listening บ้างหรือไม่ แล้วถ้าใช้ ใช้ตัวไหนอยู่