Color Psychology ใช้สีสื่อสารกับอารมณ์ ความรู้สึกคนซื้อ

Color Psychology ใช้สีสื่อสารกับอารมณ์ ความรู้สึกคนซื้อ

เรื่องของสี อาจจะเป็นอะไรที่นักสร้างคอนเท้นต์ คนทำเว็บไซต์ หรือแม้แต่คนคิดผลิตสินค้าให้ความสำคัญในการเลือกมากๆ ว่าสีไหนจะสวยกับสินค้าแบบนี้ หรือ Background ของเว็บควรเป็นสีอะไร โลโก้เป็นสีไหนดี CI ของแบรนด์ละเอาสีทองๆ ไหมจะได้ดู Premium แต่วันนี้เพลินจะบอกว่า ใจเย็นๆ ก่อนค่ะ อย่าเพิ่งตัดสินใจเรื่องสี ถ้ายังไม่ได้อ่านบทความเรื่อง Color Psychology นี้ เพราะสีนั้นมี Impact มากกว่าแค่สวยงาม สีสามารถเป็นตัวกลางที่สื่อสารกับคนซื้อได้ ในแง่ของอารมณ์ ความรู้สึกและพฤติกรรมการตัดสินใจค่ะ

Key highlights:

  • ความสำคัญของสี
  • แม่สี และอารมณ์ความรู้สึกที่เกี่ยวข้องกับแม่สี
  • สีขั้นที่ 2 หรือสีเกิดจากการผสมสีของแม่สี และอารมณ์ความรู้สึกที่เกี่ยวข้องกับสีขั้นที่ 2

จริงๆ ต้องบอกว่า Color Marketing เป็นอะไรที่ไม่ได้ใหม่เลย ตัวอย่างที่เราเห็นได้ในบ้านเราที่ทุกคนคิดออกในหัวตอนนี้ ก็คงหนีไม่พ้นเหล่าแบรนด์ธนาคารทั้งหลาย ที่มีครบแทบทุกสี จนสุดท้ายแบรนด์น้องใหม่อย่าง TMRW จาก UOB ต้องทำตัวหลากสีเลย เพราะสีหลักๆ โดนสอยไปหมดแล้วอะเนอะ งั้นเรามาดูกันเลยว่าสีนั้นมีความสำคัญหรือ Impact อะไรกับนักการตลาดหรือคนทำธุรกิจอย่างเราๆ บ้าง?

ความสำคัญของสี

สาเหตุที่สีนั้นสำคัญมากๆ ต่อมนุษย์ทุกคนก็เพราะ คนเรามักจะเชื่อมโยงสี สีนึงกับของหรือความรู้สึกต่างๆ กันไป แต่อย่างไรก็ตาม มันมักจะมีความรู้สึกบางอย่างที่เกิดขึ้นแบบ Common หรือเราทุกคนรู้สึกแบบเดียวกันเมื่อเห็นสีสีเดียวกัน และด้วยความ Common ที่แชร์ร่วมกันระหว่างสีกับมนุษย์นี้ ทำให้เกิดเป็นจิตวิทยาสีขึ้นมานั่นเองค่ะ

โดยจาก Research ของทีมบริษัท WebFX ก็ได้พบว่า 

  • 93% ของผู้ซื้อสินค้ามันตัดสินใจจากรูปลักษณ์ภายนอกของสินค้าหรือ Visual Appearance เป็นอันดับแรก ว่าหน้าตาสิ่งนั้นเป็นยังไง สวยงามดีไหม ประหลาดแค่ไหน หรือดูไฮโซมากๆ กันแน่
  • 84.7% ของผู้ซื้อมักตัดสินใจโดยดูจากสีเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นสีโปรด สีพาสเทลที่ดูคิ้วท์มากๆ หรือสีประกายวิบวับที่เหมาะกับชั้นมากที่สุด
  • และมีเพียง 6% ของผู้ซื้อเท่านั้นที่จะเลือกซื้อจาก Texture หรือสัมผัสของสินค้าว่าจะแข็ง จะหยาบ จะนุ่มอย่างไร
  • และมี 1% ของผู้ซื้อที่ตัดสินใจจากกลิ่นหรือเสียงค่ะ

ซึ่งผู้ซื้อหรือนักช้อปกว่า 80% ยังเห็นด้วยว่าการใช้ Color Marketing เนี่ย ทำให้เค้าสามารถจดจำแบรนด์ได้ดีขึ้น ก็คงจะคล้ายๆ อย่างเวลาที่เราเห็นสีแดงแล้วเริ่มคิดถึง Coca Cola เนี่ยแหละค่ะ 

โดย Research ก็พบอีกว่ามนุษย์เราเนี่ย ทำการตัดสินใจแบบไม่รู้ตัว หรือเรียกแบบทางการก็คือ sub-conscious judgement เกี่ยวกับสินค้าหรือสภาพแวดล้อมภายในระยะเวลาอันสั้นมากๆ นั่นก็คือ 90 วินาทีหลังจากเห็นสิ่งๆ นั้นแล้ว และที่สำคัญก็คือการตัดสินสิ่งของนั้นๆ ว่าชอบไม่ชอบ หรือสวยไม่สวยเนี่ย เป็นการ Judge จากสีเน้นๆ สูงถึง 90% และต่ำสุดอยู่ที่ 62% ค่ะ

นอกเหนือจากนั้น ทีมยังมีการทดลองทำโฆษณาเพื่อวัด Attention ของคนอ่านกับภาพที่เป็นขาว-ดำและภาพที่เป็นสีสันด้วย จนพบว่า 42% ของภาพโฆษณาที่มีสีนั้นถูกอ่านบ่อยกว่าโฆษณาที่เหมือนกันเด๊ะๆ แต่แค่ไม่มีสีค่ะ โดยสีนั้นสามารถเพิ่มความเข้าใจให้กับมนุษย์ได้เพิ่มขึ้น 73% ช่วยให้คนเราเรียนรู้ได้ดีขึ้น 55-68% และทำให้เราอยู่กับการอ่านได้นานขึ้น ดีขึ้นถึง 40% ค่ะ ต้องบอกว่าข้อสุดท้ายเพลินไม่แปลกใจเลย เพราะเพลินก็ชอบอ่านหนังสือที่เป็นสีๆ สมัยเรียน เวลาอาจารย์ Print สไลด์สีมาให้นี่ดีใจมาก รู้สึกอยากอ่านหนังสือขึ้นมาเลย เป็นเหมือนกันไหมคะ?

แม่สี – และอารมณ์ความรู้สึกที่เกี่ยวข้อง

1. สีแดง

  • ในแง่ของ Personality และอารมณ์
    • สีแดงช่วยสร้างอารมณ์ร้อนแรงที่สูงปรี๊ด
    • ช่วยกระตุ้นความอยากอาหาร อย่างเวลาเราสั่งเค้ก ถ้ามีแต่โทนสี Chocolate สี Cream จืดๆ เย็นๆ อย่างเดียว เราจะรู้สึกเฉือย จนหลายๆ ครั้งต้องสั่งเมนูที่มีสีแดงๆ อย่างสตอร์เบอรี่เข้ามาเพิ่ม รูปภาพก็จะเป๊ะ มีแต่คนบอกน่าทานค่ะ
    • เพิ่ม Passion และความรุนแรงเร่าร้อน อย่างที่เราเห็นในตัวอย่าง Heat Map ของ COVID19 ถ้าประเทศไหนมีกลุ่มผู้ติดเชื้อมาก Map จะกลายเป็นสีแดงค่ะ
    • ดอกกุหลาบแดงที่แสดงถึงความรัก
  • ในแง่ของการตลาด
    • สีแดงช่วยเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจได้ดี
    • และใช้ในร้านอาหาร เพื่อเพิ่มความอยากอาหาร
    • ใช้ในภาวะเร่งรีบหรือฉุกเฉิน อย่างโปรไฟไหม้ ป้าย Sale ต่างๆ
    • แถมยังใช้ในการกระตุ้นความอยากได้ แบบ Impulsive ด้วย
  • ในแง่ของการเมือง
    • สีแดงมักถูกใช้ในการแสดงออกถึงความเป็น Communist หรือ Socialist
    • ใช้สำหรับกลุ่ม Republican ใน US
  • ในแง่ของจักระชีวิต
    • สีแดงเป็น Root Chakra ที่อยู่ล่างสุดของกระดูกสันหลัง
    • เกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิต ความปลอดภัย และร่างกายของมนุษย์ค่ะ
  • แบรนด์ที่ใช้สีแดง เช่น CocaCola / Kellogg’s / Netflix / Toyota / Lego

2. สีเหลือง

  • ในแง่ของ Personality และอารมณ์
    • สีเหลืองเพิ่มความรู้สึกร่าเริงและความอบอุ่น
    • แต่กลับสร้างความเหนื่อย เมื่อยล้าให้กับสายตา
    • แถมยังทำให้เด็กๆ ร้องไห้ได้ด้วย
    • สีเหลืองยังช่วยกระตุ้นความตั้งใจ
    • กระตุ้นระบบประสาท
    • ช่วยให้การสื่อสารเป็นไปได้ดีขึ้นค่ะ
  • ในแง่การตลาด
    • สีเหลืองแสดงถึงความสบายใจ การมองโลกในแง่ดี
    • ใช้ในการดึง attention ของเหล่า Window shopper ตามร้านต่างๆ ให้หันมาสนใจ Display ได้ดีขึ้น
    • ใช้ในการขยายความ เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น
  • ในแง่ของการเมือง
    • สีเหลืองเป็นตัวแทนของกลุ่มลัทธิเสรีนิยม
  • ในแง่ของจักระชีวิต
    • สีเหลืองเป็นตัวแทนของ Solar Plexus Chakra ที่ตั้งอยู่ที่ช่องท้องส่วนบน ระหว่างสะดือกับกระดูกหน้าอก
    • ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับพลังจิต ความตั้งใจ และการเคารพในตัวเอง
  • แบรนด์ที่ใช้สีเหลือ ได้แก่ DHL / IMDb / McDonalds / Shell / National Geographic ค่ะ

3. สีฟ้า

  • ในแง่ของ Personality และอารมณ์
    • สีฟ้ามีความเกี่ยวเนื่องกับน้ำและความสงบนิ่ง
    • ซึ่งส่วนใหญ่ใช้กับผู้ชายเป็นหลัก ผู้ชายส่วนมากก็ชอบสีฟ้าด้วย
    • แถมยังเป็นตัวแทนของความปลอดโปร่ง สบายๆ
    • ที่น่าสนใจคือ สีฟ้าสามารถระงับความอยากอาหารได้
    • เป็นสีของความเยือกเย็น
    • และถูกเข้าใจว่าเป็นตัวแทนของความมั่นคงในชีวิต
    • เป็นสีที่ใช้มากในออฟฟิศต่างๆ ออฟฟิศเพลินก็ใช้สีนี้เช่นกันค่ะ
  • ในแง่ของการตลาด
    • สีฟ้าส่วนใหญ่ใช้ในกลุ่ม Corporate และธุรกิจ เพราะสีฟ้าให้ความรู้สึกสบาย สงบ เพิ่มความ productive ให้สูงขึ้น
    • และยังช่วยสร้างความรู้สึกปลอดภัย สร้างความเชื่อมั่นให้กับแบรนด์
  • ในแง่ของการเมือง
    • สีฟ้าเป็นตัวแทนของกลุ่ม Conservative หรืออนุรักษ์นิยม
    • ใช้ในกลุ่ม Democrats ของ US
  • ในแง่ของจักระชีวิต
    • สีฟ้าเป็นตัวแทนของ Throat Chakra ที่อยู่บริเวณช่วงคอ
    • ซึ่งเกี่ยวข้องกับการสื่อสารและการแสดงอารมณ์
  • แบรนด์ที่ใช้สีฟ้า เช่น Skype / Pepsi / Facebook

4. สีส้ม

  • ในแง่ของ Personality และอารมณ์
    • สีส้มช่วยสะท้อนให้เห็นถึงความตื่นเต้น ความกระตือรือร้น
    • และแสดงถึงความอบอุ่น
    • รวมถึงเป็นสัญญาณของการตักเตือน เตือนภัย
  • ในแง่ของการตลาด 
    • สีส้มเป็นสัญญาณของความรุนแรง
    • กระตุ้นให้เกิด Call-to-action อย่างเช่น ซื้อ/ กดติดตาม/ ดาวน์โหลด เป็นต้น
    • กระตุ้นนักช้อปให้ตัดสินใจซื้อได้ไว
    • โชว์ความเป็นมิตร ความร่าเริง ความมั่นใจของแบรนด์
  • ในแง่ของการเมือง
    • สีส้ม เป็นสีประจำชาติและประจำราชวงศ์เนเธอแลนด์
  • ในแง่ของจักระชีวิต 
    • สีส้มเป็นตัวแทนของ The Sacral Chakra ที่อยู่ในตำแหน่งช่วงล่างของหลังและบริเวณอวัยวะเพศ
    • มีความเกี่ยวข้องกับเรื่องเพศสัมพันธ์ ความคิดสร้างสรรค์ และความสุข
  • แบรนด์ที่ใช้สีส้ม ได้แก่ Amazon / Fanta / Harley Davidson ค่ะ

5. สีเขียว

  • ในแง่ของ Personality และอารมณ์
    • สีเขียวบ่งบอกถึงความสมบูรณ์ของสุขภาพ และความสงบ
    • เป็นสัญลักษณ์ของเงิน
    • แสดงถึงความเป็นธรรมชาติ
    • สำหรับคนที่ทำงานในสภาพแวดล้อมสีเขียว จะมีอาการปวดท้องน้อยลง
    • สีเขียวถูกใช้ในแว่นมองกลางคืนหรือ Night Vision Goggles เพราะมันเป็นสีที่ตามนุษย์มองเห็นได้ง่ายที่สุด (most sensitive) รวมถึงสามารถแยกเฉดของสีเขียวได้ดีกว่าสีอื่นๆ ค่ะ
    • เป็นสัญลักษณ์ของการเกิดขึ้นของสิ่งใหม่ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเลยคือ สีเขียวถูกใช้เวลาหุ้นขึ้น หรือยอดขายเพิ่มขึ้นค่ะ
  • ในแง่ของการตลาด 
    • สีเขียวช่วยให้ร้านมีความรู้สึกผ่อนคลาย สบายๆ มากขึ้น
    • เป็นสีที่เชื่อมโยงถึงความมั่งคั่ง
    • ถูกใช้ในคาแรคเตอร์ M&M’s เม็ดสีเขียว เพื่อสื่อสารถึงความ Sexy
    • เป็นตัวแทนของความอุดมสมบูรณ์มายาวนาน
    • ครั้งหนึ่งชุดแต่งงานสีเขียวเคยเป็นสีที่นิยมในช่วงศตวรรษที่ 15
  • ในแง่ของการเมือง
    • เป็นสีของนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
  • ในแง่ของจักระชีวิต 
    • สีเขียวเป็นตัวแทนของ Heart Chakra ที่อยู่ในจุดกึ่งกลางของร่างกาย บริเวณช่วงอกหรือหัวใจ
    • เกี่ยวข้องกับความรักแบบไม่มีเงื่อนไข และการรักษา การบำบัด
  • แบรนด์ที่ใช้สีเขียว ได้แก่ Spotify / Tropicana / JOOX

6. สีม่วง

  • ในแง่ของ Personality และอารมณ์
    • สีม่วงแสดงถึงราชวงศ์ ความมั่งคั่ง ความสำเร็จ และสติปัญญา
    • กษัตริย์หลายพระองค์สวมใส่ฉลองพระองค์ที่มีสีม่วง
  • ในแง่ของการตลาด 
    • สีม่วงถูกใช้บ่อยๆ ในผลิตภัณฑ์เสริมความงามและสินค้าชะลอวัยหรือ anti-aging products
    • บ่งบอกถึงแบรนด์ที่มีความคิดสร้างสรรค์ จินตนาการและความเฉลียวฉลาด
  • ในแง่ของการเมือง
    • สีม่วงเป็นตัวแทนของราชวงศ์ แต่สีนี้ไม่เป็นที่นิยมในกลุ่มนักการเมืองสมัยใหม่
  • ในแง่ของจักระชีวิต 
    • สีม่วงเป็นตัวแทนของ The Crown Chakra ที่อยู่ตำแหน่งบนสุด บริเวณศรีษะ
    • เกี่ยวข้องกับจิตวิญญาณ และประสบการณ์ในชีวิต เป็นตัวเชื่อมระหว่างสิ่งศักดิ์สิทธิ์/สติสัมปชัญญะ
  • แบรนด์ที่ใช้สีม่วง ได้แก่ Yahoo / Hallmark / T-Mobile ค่ะ

ทั้งหมดนี้ก็เป็น Color psychology และความสำคัญของการเลือกสี ที่ไม่ใช่เฉพาะความสวยงามอย่างเดียว แต่เพื่อความหมายที่สื่อสารกับผู้ซื้อ ผู้อ่านได้ทันทีภายใน 90 วินาทีค่ะ อย่างที่บอกว่าสีนั้น ช่วยดึงอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิดของเราได้ เพราะฉะนั้นหากคุณเป็น Designer นักเขียน Content หรือ R&D ก็ตาม อย่าลืมลองพิจารณาสีเหล่านี้ดู เผื่อจะช่วยในการตัดสินใจได้ค่ะว่าสินค้า ภาพโฆษณา หรือ Background ของเว็บอันถัดไป ควรจะใช้ Pantone หรือสีไหนดี

พูดถึงเรื่องสีแล้ว ถ้ายังไม่ได้อ่าน Color Trend 2020 จาก Shutterstock คลิกตรงนี้ได้เลยนะคะ

Plearn Wisetwongchai

Marketing Strategic Planner ในเครือการตลาดวันละตอน | A Creator สาวพลัสไซส์ @Fabfatkid | A Travel Lover ที่หมดเงินเกือบ 80% ไปกับการเดินทางแบบแมสๆ | An Instagrammer @theplearn ที่ชอบเล่น Story เป็นชีวิตจิตใจ | สุดท้ายคือ Data Researcher ทั้ง Social และ Search Data etc. ค่ะ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

ใช้ Social Listening บ้างไม่ ?

#การตลาดวันละโพล ขอหนึ่งคำถาม ว่าปกติใช้ Social Listening บ้างหรือไม่ แล้วถ้าใช้ ใช้ตัวไหนอยู่