หมดยุคของ CSR ยินดีต้อนรับเข้าสู่ยุค Brand Democracy, What your Brand Stand for?

หมดยุคของ CSR ยินดีต้อนรับเข้าสู่ยุค Brand Democracy, What your Brand Stand for?

เพราะปัญหาในสังคมนั้นมากขึ้นทุกวัน และผู้บริโภคทั่วโลกในวันนี้นั้นต่างก็ได้เห็นถึงปัญหานั้นเร็วขึ้นและบ่อยขึ้นทุกที ดังนั้นการทำ CSR แบบเดิมไม่ตอบโจทย์การสร้างแบรนด์ให้คนรัก แต่ต้องเป็นการแสดงจุดยืนของแบรนด์ว่าจะทำอย่างไรกับประเด็นที่กำลังเกิดขึ้นในสังคม หรือ Social Issues นั้นๆจนกลายเป็นเทรนด์ใหม่ในการสร้างแบรนด์ที่เรียกว่า Brand Democracy ครับ

เมื่อผู้บริโภคในคาดหวังกับแบรนด์สูงขึ้นกว่าทุกวันที่ผ่านมา ว่าแบรนด์จะทำในสิ่งที่ถูกที่ควร ทำเพื่อช่วยแก้ปัญหาจริงๆในสังคมหรือแม้กระทั่งการเมือง เมื่อพวกเค้ายืนอยู่หน้าชั้นวางของที่ห้างสรรพสินค้า ผู้บริโภคยุคใหม่ไม่ได้คิดแค่ว่ารองเท้าคู่นี้ดีกว่ารองเท้าคู่นั้นอย่างไร เค้าไม่ได้คิดแค่ว่าโฆษณาของแบรนด์นี้สะท้อนภาพลักษณ์ของฉันมั้ย แต่เป็นแบรนด์นี้มีจุดยืนในสังคมเดียวกับฉันหรือเปล่าต่างหากครับ

Brand Democracy

ดังนั้นการประกาศจุดยืนของแบรนด์ว่าแบรนด์คุณนั้น Stand for อะไร ไม่ใช่แค่ทางเลือกอีกต่อไป แต่เป็นสิ่งที่ต้องทำถ้าแบรนด์คุณไม่อยากถูกทิ้งไว้ข้างหลังเพราะไม่กล้าเลือกข้าง

Brand Democracy
Brand Democracy

จากการศึกษาด้านแบรนด์จาก Edelman เมื่อปี 2018 พบว่าเกือบ 2 ใน 3 ของผู้บริโภคทั่วโลกซื้อสินค้าหรือบริการจากแบรนด์ที่มีจุดยืนเดียวกับตัวเอง เพิ่มขึ้นกว่า 13 คะแนนเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว กลุ่มลูกค้ายินดีที่จะเลือกแบรนด์ที่มีจุดยืนเดียวกับเค้า และยินดีที่จะแบนแบรนด์ที่อยู่คนละข้าง หรือแม้แต่เมินและมองข้ามแบรนด์ที่ไม่มีจุดยืนใดๆเลย

ความเชื่อและจุดยืนกลายเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญของผู้บริโภคยุคใหม่ทั่วโลก ไม่ใช่แค่กลุ่มคนรุ่นใหม่ แต่เป็นกับทุกกลุ่มทุกเพศทุกวัยและทุกช่วงรายได้ ไม่ว่าจะเป็น Gen Y หรือ Gen X ต่างก็ยินดีสนับสนุนแบรนด์ที่ลงมือทำอะไรซักอย่างกับประเด็นทางสังคมหรือ Social Issues ที่ตัวเองเห็นด้วย โดยเฉพาะยิ่งในกลุ่มผู้บริโภคที่มีอายุ 55 ปีขึ้นไป เป็นที่รู้กันว่ากลุ่ม Silver Age นี้นั้นมีกำลังซื้อสูงมากกว่าทุกวัย และยังมีเวลาว่างใช้เงินมากกว่าด้วย

ดังนั้นต่อให้สินค้าคุณในวันนี้อาจไม่ดีเท่าคู่แข่ง แต่ถ้าแบรนด์คุณมีจุดยืนที่ชัดเจน ไม่เพิกเฉยกับประเด็นทางสังคมหรือ Social Issues คุณก็มีโอกาสคว้าใจและได้เงินในกระเป๋าพวกเขามาไม่ยาก หรือตีภาพง่ายๆว่าผู้บริโภคในวันนี้ยินดีโหวตให้กับแบรนด์ที่เชื่อในสิ่งเดียวกันผ่านการซื้อสินค้า

ยิ่งแบรนด์แสดงจุดยืนที่ชัดเจนกับตัวเอง Stand for อะไร กับประเด็นทางสังคมหรือ Social Issues ไหน ก็ยิ่งเป็นการเพิ่มยอดขายและกำไรให้ตัวเอง เพราะร้อยละ 60 บอกว่าถ้ารู้ว่าแบรนด์ไหน Stand for อะไรที่เหมือนกัน ก็ยินดีสนับสนุนด้วยการซื้ออย่างไม่ยั้งครับ

Brand Democracy

และนี่ก็บอกให้รู้ว่า บางทีศรัทธาของผู้คนกับการเมืองนั้นเริ่มตกต่ำมาก จนเริ่มมองหาทางเลือกใหม่ๆที่จะตอบสนองความต้องการพวกเขาได้ และนั่นก็คือธุรกิจหรือแบรนด์ต่างๆนั่นเอง ดังนั้นการสร้างแบรนด์ในวันนี้แค่ CSR เพื่อให้ได้ภาพข่าว PR นั้นไม่เพียงพออีกต่อไป เมื่อผู้บริโภคต้องการเห็นแบรนด์แสดงจุดยืนกับ Social Issues บางอย่างที่ชัดเจน จะซ้ายหรือขวาต้องเลือก เพราะถ้าคุณไม่เลือกซักข้าง ไม่เอาใครซักกลุ่ม ก็จะไม่มีใครเลือกคุณอีกเลย

อ่านเทรนด์ Brand Democracy ต่อ > https://www.everydaymarketing.co/?s=brand+democracy

อ่านผลรายงาน Brand Democracy เต็มๆได้ที่ https://www.edelman.com/earned-brand?utmsource=mediaexclusive&utm_campaign=2018edelmanearned_brand

Brand Democracy

Nattapon Muangtum

เจ้าของเพจการตลาดวันละตอน / อาจารย์พิเศษวิชา Data-Driven Communication / เขียนหนังสือมาแล้ว 5 เล่ม Personalized Marketing, Data-Driven Marketing, Data Thinking, Contextual Marketing และ Social Listening / ที่ปรึกษา Data-Driven Advisor

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *