ดูชาวเน็ตคุยกันเรื่องสินค้าขึ้นราคา โดยใช้ Social Listening Tools

ดูชาวเน็ตคุยกันเรื่องสินค้าขึ้นราคา โดยใช้ Social Listening Tools

ดูชาวเน็ตคุยกันเรื่อง ‘สินค้าขึ้นราคา’ – โดยใช้ Social Listening Tools

ประเด็น ‘สินค้าขึ้นราคา’ จะไม่พูดถึงก็ไม่ได้เพราะเป็นสิ่งที่มีผลกระทบกับทุกคนโดยเฉพาะแบรนด์และลูกค้า วันนี้เราจะมาดูกันว่า Social Media User เค้ามีพฤติกรรมการแสดงความคิดเห็นแบบไหนบ้าง แล้วแบรนด์ควรจะสื่อสารอย่างไรต่อไปดี หรือจะนำข้อมูลในบทความนี้ไปวิเคราะห์ต่อเป็นกลยุทธ์ของตัวเองก็ยินดีเลยค่ะ

จริง ๆ ของขึ้นราคาเริ่มเป็นปัญหากับทุกฝ่ายตั้งแต่ปีที่แล้ว จากที่เราเห็นร้านบุฟเฟต์ทยอยประกาศขอเพิ่มราคา รวมถึงร้านค้าทั่วไป แต่เริ่มอย่างเป็นทางการจริง ๆ ต้นปี 2022 นี้เลย นุ่นเลยเลือกกำหนด Data Time Fame : 01/01/2022 – 16/01/2022 มาดูกันว่าแค่ 15 วันเกิดอะไรขึ้นกับราคาสินค้าบ้าง สินค้าประเภทไหนถูกพูดถึงมากที่สุดเมื่อขึ้นราคา และความเห็นของชาวเน็ตเป็นอย่างไร

แพลตฟอร์มที่คนเลือกแชร์ข่าวและโพสต์ถึงประเด็นนี้มากที่สุดคือ Facebook กราฟด้านบนแสดงถึงจำนวน Mentions มากน้อยตั้งแต่วันที่ 1 – 16 Jan ที่ผ่านมา โดยนุ่นเจาะเข้าไปดูโพสต์ที่มี Engagment สูงสุดในแต่ละวัน สรุปชื่อสินค้าที่คนโพสต์ถึงมากในวันนั้น ๆ 

สูงสุดคือวันที่ 10 Jan 2022 ที่มาจากวิดีโอข่าว Voice TV – Overview แคปชั่น : ยิ่งศักดิ์-อ๋อมอัดประยุทธ์สะใจ แค้นของแพง ฉิบหายแล้ว ถ้าแก้ไม่ได้ก็ออกไป หมู-ไก่-ไข่ขึ้นราคาหมด คนเลิกเลี้ยง เจ๊งหลังหมูตายเป็นแสน แฉรัฐปกปิดโรคระบาด ถ้าเปิดเผยคนเลี้ยงคงไม่พังขนาดนี้

แน่นอนมีหลายประเด็นส่งเสริมกันตั้งแต่ปัญหาเงินเฟ้อ การขนส่งที่เพิ่มภาระต้นทุนให้ผู้ประกอบการรายเล็กรายใหญ่ วันอื่น ๆ ส่วนมากเริ่มที่หมูแล้วลามมาที่วัตถุดิบที่เกี่ยวข้องกับสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นของประชาชน มีสวนกระแสจากแบรนด์มาม่าที่ประกาศไม่ขึ้นราคาอย่างแน่นอน ตรงนี้แบรนด์ก็ได้ใจหลายคนไปอยู่นะคะ

ซึ่งคอมเมนต์บนโพสต์ข่าวดังกล่าวก็มีหลากหลายมุมมองจากชาวโซเชียลค่ะ และเพื่อให้เห็น Data หลายมิติมากขึ้นนุ่นเลยลองใช้ฟีเจอร์อื่น ๆ ของ Social Listening Tools ช่วยวิเคราะห์ให้เบื่องต้นเพิ่มเติมดังนี้

Facebook ยังเป็นแพลตฟอร์มที่คนเลือกตามข่าวสาร

จากกราฟ Timeline แรกนั้นทุกคนจะเห็นว่า Facebook เป็นแพลตฟอร์มที่คนเลือกพูดถึงประเด็นต่าง ๆ โดยเฉพาะข่าวได้ดีในแง่ Mentions และถ้าเราลองดูแบบ Platfroms Matrix ก็จะยิ่งเห็นชัดเลย ว่า 15 วัน FB กระโดดไปไกลกว่าแพลตฟอร์มอื่น ๆ ถ้าใครยังมองไม่ชัดลองดูแบบ Platform Comparison ก็ได้ Mandala มีให้ดูข้อมูลได้หลายแบบค่ะ

ชาร์ตแท่งก็จะทำให้เห็นความต่างกับ Twitter กับ Instagram มากกว่าเท่าตัวเลย และสาเหตุที่แท่งสีเขียวแทบมองไม่เห็นเป็นเพราะตัวเลข Engagement มักมากกว่าเป็นปกติ เพราะนับทั้งไลก์ แชร์ คอมเมนต์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งยอดวิว Youtube

ทำให้ถึงแม้ Mentions จะมีหลักหมื่น แต่ Engagement สามารถแตะหลักล้านหรือมากกว่าสิบล้านได้ค่ะ เพราะฉะนั้นหากนักการตลาดจะเลือกลงข่าวหรือทำการตลาดกับเทรนด์ราคาสินค้าตอนนี้ Facebook ดูจะเป็นแพลตฟอร์มที่ทำ Enagage ได้ดีที่สุด แต่ในทางกลับกันอาจจะไปเล่นใน Twitter หรือ IG ก็ได้เพราะไม่ใช่ Red Zone เลยไม่ต้องแย่งชิงยอดจากเพจใหญ่ ๆ เท่า Facebook ค่ะ ลองวิเคราะห์แบบนี้เพื่อเลือกเฉลี่ยงบประมาณ Online Marketing ดูนะคะ 

Sentiment แง่ลบถือว่าสูง และ Gender เป็นผู้ชายมากกว่าเล็กน้อย

นุ่นคงไม่ต้องอธิบายให้นักการตลาดฟังมากกว่าทำไมตัวเลข Negative ที่ปกติหลาย ๆ โปรเจกต์อื่นไม่ค่อยมีเยอะขนาดนี้ เพราะ AI จับจากคำแรง ๆ ทั้งนั้น เช่น ห่วยแตก แย่ หลังจากที่เข้าไปดูส่วนมากวิจารณ์การทำงานที่ไม่ได้ประสิทธิภาพและการให้สัมภาษณ์ที่ฟังดูไม่มีความรับผิดชอบของผู้ที่เกี่ยวข้องบางท่าน ที่ปลุกระดมคอมเมนต์ของ Social Media User ให้แป้นพิมพ์ลุกเป็นไฟพอ ๆ กับหัวที่เดือดทะลุร้อยองศาหลังได้เห็นการแก้ปัญหา (เรียกแบบนี้ได้ไหมนะ) ต่าง ๆ ที่ประชาชนได้รับ ทั้งเรื่องกระบวนการเตรียมรับมือ และการซุกปัญหาไว้ใต้พรมที่ถ้าแกล้ง ๆ เอาขาเขี่ยดูก็เจอแล้ว จะมีประโยชน์อะไรที่ต้องอดทนกับสิ่งที่เกิดขึ้น ในเมื่อหิววันนี้ก็ต้องได้กินวันนี้ ต่อให้รถพุ่มพวงท*ารผ่านหน้าบ้านวันละ 3 รอบแต่ไม่มีเงินและค่าแรงขั้นต่ำที่ควรจะเป็นมันก็เท่านั้นแหละค่ะ แก้ปัญหาระยะยาวไม่ได้ สุดท้ายมันจะเกิดขึ้นในแบบที่รุนแรง หนักหนากว่าเดิม #ขึ้นทุกอย่างยกเว้นค่าแรง

กราฟด้านบนนี้ เป็นข้อสรุปที่นุ่นรวมมาจาก Social Data ที่เข้าไปอ่านใน Negative และข่าวที่เห็นทุก ๆ วันมาให้เรียบร้อยแล้วค่ะ ^^

User Comment มหาศาลแบบไม่มโน เพราะเป็นปัญหาระดับชาติ

Mention Analyzer หรือ Mention Type วิเคราะห์เรียบร้อยแล้วว่า ‘สินค้าขึ้นราคา’ มีการพูดถึงจาก User Comment ถือเป็นประเภทที่มากสุดเทียบกับการโพสต์จาก เพจ หรือช่องต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นสำนักข่าวหรือ Influencer 

เป็นครั้งแรกหลังจากโปรเจกต์วัคซีนปีที่แล้ว ที่นุ่นเห็นว่า User มี Interaction กับสื่อโซเชียลมากกว่าเหล่าคอนเทนต์ที่ถูกปล่อย ปกติจะมี Channel Mention สูงมากกก ยิ่งเป็นงานเปิดตัวที่ใช้ข่าว PR ลงเยอะ ๆ แทบไม่มีแท่งสีเหลืองจาก User ขึ้นมาเลยค่ะ แต่ก็พอเข้าใจอยู่เพราะนี่เป็นปัญหาระดับชาติ การแสดงความเห็นย่อมถล่มทลาย ถ้าแบรนด์อยากจะเข้าไปอยู่ในเทรนด์นี้จริง ๆ อย่าเอาตัวเองเข้าไปอยู่ในหมวด Negative อย่างคอนเทนต์ที่อาจซ้ำเติมความรู้สึกคนทั่วไปตอนนี้เลยนะคะ เพราะเปอร์เซ็นต์อาจจะพุ่งขึ้นเพราะทัวร์ลงแบรนด์เราก็เป็นได้ นุ่นคิดว่าควรหาอะไรที่ทำให้ Follower หรือลูกค้ารู้สึกผ่อนคลายกังวลมากที่สุด นาทีนี้เราต้องช่วยกันเท่านั้นแล้วค่ะ

TOP Post Engagement จาก 4 Platform

  • Facebook : THE STANDARD  ค่าครองชีพพุ่ง ร้านตามสั่ง-ก๋วยเตี๋ยว แห่ปรับขึ้นราคา หลังต้นทุนวัตถุดิบเพิ่ม
  • Twitter : @egg_family4 มีมน้องแมว ล้อไปกับข่าวไข่ขึ้นราคา (คนไทยเครียดมากแต่ก็ตลกท่ามกลางความขำแห้ง ๆ ให้กับชีวิตได้ตลอด) 
  • Instagram : punpromotion  ข่าวดีสำหรับคนรักเส้น #มาม่า ยืนยันกับกระทรวงพาณิชย์ว่าจะไม่ขึ้นราคามาม่าแบบซองแน่นอน 
  • Youtube : เรื่องเล่าเช้านี้ เจ้าของครัวลุงรงค์ โพธาราม บอกว่า โอดแทนแม่ค้าเลย โควิดปิดร้านกันไปยาว พอลืมตาอ้าปากได้ หมูก็แพงขึ้นจนน่าตกใจ

สรุปว่าสินค้าที่ถูกพูดถึงเยอะมาก ๆ นอกจากหมู ไข่ไก่ แต่ยังมีสินค้าที่สามารถควบคุมต้นทุนเพราะข้อจำกัดไม่เหมือนสินค้าอื่น ๆ สวนกระแส ‘ไม่ขึ้นราคา’ อย่างบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป นุ่นคิดว่านอกจากสวนกระแสแล้วมาม่าเป็นของกินที่มีแทบทุกบ้านเพราะราคาถูก ทานง่าย อิ่มนาน ผู้บริโภคต่างรู้ว่าส่วนประกอบและคุณประโยชน์ของสินค้าแต่ละตัวเป็นยังไง แต่ไม่ใช่ทุกคนจะเลือกทานได้

เพราะฉะนั้นถ้าแบรนด์ไหนสามารถควบคุมราคาโดยที่ไม่เดือดร้อน ก็เป็นเวลาที่เราต้องช่วยกันเอง เรียกคะแนนใจจากลูกค้ากันตอนนี้เลยค่ะ ชาวเน็ตเดี๋ยวนี้ไม่ใช่คนลืมง่ายอีกแล้ว เพราะจิตวิญญาณนักแคปของคนไทยไม่แพ้ชาติไหนในโลกอีกต่อไป แบรนด์ไหนทำดีคนก็แห่แชร์ แต่ถ้ามีประเด็นก็ใช้เวลาเรียกคะแนนคืนนานเลยค่ะ  

ในเมื่อเราตกอยู่ในสถานการณ์แบบนี้แล้ว ทางเลือกหนึ่งที่ทำได้ คงเป็นการพยายามรักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า สร้างความเชื่อมั่นว่าถึงแม้ปลายทางที่ลูกค้ามาใช้บริการ แบรนด์จะยังสามารถคงคุณภาพ พร้อมทั้งตกลูกค้าให้เป็นทาสรักแบรนด์ได้ ตัวอย่างเช่นบุฟเฟต์เจ้าแรก ๆ เลยที่ประกาศว่าขอขึ้นราคาเนื่องจากต้นทุนเพิ่มสูงขึ้น คือ Mo-Mo-Paradise (Thailand) แต่ในคอมเมนต์แทบไม่มีใครบ่น แถมบอกให้เพิ่มสาขา หวังว่าทุกคนจะสามารถตามเทรนด์และวิเคราะห์หากลยุทธ์ให้แบรนด์ไปพร้อม ๆ กับการทำธุรกิจให้เติบโตอย่างมีประสิทธิภาพไปพร้อมกับสังคมของเราได้นะคะ การตลาดวันละตอนขอเป็นกำลังใจให้ทุกฝ่ายทั้งผู้ประกอบการและผู้บริโภคค่ะ

ถ้าใครอยากเรียนรู้การใช้ Social Listening ด้วยตัวเอง หรืออยากให้ทีมของตัวเองใช้เป็น สามารถสมัครเรียนสดทางออนไลน์กับการตลาดวันละตอนด้วยตัวเองได้

คลาสเรียนออนไลน์ Social Listening Analytics

คลาสเรียนออนไลน์ Social Listening เน้น Workshop ลงมือทำจริงด้วยตัวเอง รุ่นล่าสุด ศุกร์สุดท้ายของเดือน เปิดแล้ว
เรียนสดทางออนไลน์ ผ่าน Zoom เต็มวัน 9:00 – 15:00
ค่าเรียนคนละ 9,900 บาท รับจำกัดรุ่นละ 20 คน (ถ้าเต็มรุ่นนี้ต้องขอให้รอรุ่นหน้า)
อ่านรายละเอียดและสมัครก่อนเต็มได้ที่ลิงก์นี้

https://bit.ly/sociallisteningclass

ขอแค่คุณใช้ Social Listening เป็นด้วยตัวเองก็จะพบว่ามี Data มากมายรอให้ใช้งาน และยังมี Consumer Insights ล่องลอยอยู่อีกมาก เหลือแค่ว่าใครจะหยิบมาใช้โอกาสได้ก่อนกัน

Noon Inch

นุ่น Business Data Research Analyst Specialist | Martech 🙋🏻‍♀️💻ใช้ชีวิตอยู่กับ Social Listening Tools เกือบทุกวันมาร่วม 6 ปี 🙋🏻‍♀️📈ทำงานด้าน Social Data Research ให้กับหน่วยงานรัฐและแบรนด์เอกชน 6 ปี 🙋🏻‍♀️✈️ชอบทำงานและชอบใช้เงิน แล้วก็เป็น K-POP🇰🇷 & Salmon Lover 🍣

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

คุณคิดว่าปัญหา PM 2.5 ที่เชียงใหม่วิกฤตหรือยัง ?

#การตลาดวันละโพล ขอหนึ่งคำถามก่อนอ่านการตลาดวันละตอน แล้วเราจะเอาไปทำเป็น Infographic โชว์หน้าเพจให้รู้ด้วยกัน