5 Digital Marketing & Social Trends 2022 ตอนที่ 2 ของ We Are Social

5 Digital Marketing & Social Trends 2022 ตอนที่ 2 ของ We Are Social

สรุป 5 Digital Marketing & Social Trends 2022 รวมเทรนด์การตลาดออนไลน์ในปีหน้าจากรายงาน Think Forward 2022 ของ We Are Social บทที่ 2 จากบทแรกที่ผ่านไปแล้ว 1 บทนำและ 2 เทรนด์หลัก มาตอนที่ 2 นี้เราจะพาไปรู้จักกับอีก 3 เทรนด์ที่เหลือกัน บอกได้เลยว่าเข้มข้นยิ่งกว่าบทความตอนแรกครับ

สำหรับใครที่ยังไม่ได้อ่านบทความตอนแรกสามารถกดอ่านตรงนี้ก่อนได้ คลิ๊กเพื่ออ่าน สำหรับใครที่อ่านจบแล้วไปลุยรู้จักอีก 3 เทรนด์ที่เหลือกันเลย

  1. In-Feed Syllabuses อยากเรียนรู้เรื่องไหนแค่เลือกตาม Influencer คนนั้น การเรียนออนไลน์กลายเป็นเรื่องง่ายที่ใครๆ ก็ทำได้ (แต่ทำไมผู้ใหญ่หรือคนสอนยังไม่เข้าใจ) ทำให้คนรุ่นใหม่เลือกที่จะติดตาม Influencers ที่ตัวเองสนใจในทักษะนั้นด้วยตัวเอง แล้วเรียนผ่านหน้าฟีดโซเชียลทุกวันในทุกครั้งที่หยิบมือถือ
  2. The Vibe Economy เมื่อชีวิตจริงเต็มไปด้วยความเครียด การใช้ดิจิทัลเพื่อผ่อนคลายจากความกดดันมากมายจึงกลายเป็นเทรนด์ใหม่ที่คนส่วนใหญ่เลือกทำกัน พอแล้วกับโพสไร้สาระหรืออวดชีวิตดี ขอเป็นคนชิลๆ ที่มีความสุขในชีวิตจริงบ้างได้ไหม และนั่นก็ทำให้วิธีทำ Content Marketing 2022 เปลี่ยนไปจากการเน้นสารที่จะสื่อ มาสู่อารมณ์ที่ต้องการส่งผ่านออกไป นี่คือเทรนด์สำคัญที่นักการตลาดต้องเรียนรู้แล้วเอาไปประยุกต์ใช้กับ Marketing Communication Strategy 2022 ของตัวเองครับ
  3. Prime Time Platforms ถ่ายทอดสดยังไม่ตาย แค่ย้ายไปบนแพลตฟอร์ม ใครบอกว่ารายการถ่ายทอดสดนั้นตายแล้ว? แต่ในความเป็นจริงแล้วมันถูกพัฒนาในรูปแบบ LIVE ถ้าแค่ดูคอนเทนต์นิ่งๆ แล้วไม่ได้มีส่วนร่วมก็ไม่มีความจำเป็นที่ต้องเฝ้ารอหน้าจอ นี่คือยุคของ Live Streaming ที่แท้จริง หรือจะเรียกว่า Live Enagement ถึงจะถูก นักการตลาดที่ฉลาดต้องจำไว้ ที่ใดมีคน ที่นั่นมีเงิน จงไปอยู่ในที่ที่กลุ่มเป้าหมายเราอยู่ แล้วเราจะเห็นโอกาสใหม่อีกมากที่ไม่คิดว่ามีอยู่จริง เช่น เกม
  4. Social Cynicism เทรนด์การล้อเลียนที่ไร้สาระกลับมาอีกครั้ง แต่ในขณะเดียวกันก็เตรียมพร้อมการสู้กลับทางกฏหมาย เมื่อผู้คนจำนวนมากบอกว่ายิ่งเล่นโซเชียลมีเดียเท่าไหร่ ก็ยิ่งทำให้รู้สึกแย่กับตัวเองเท่านั้น เพราะต่างคนต่างอวดชีวิตดีกันมากมาย จึงทำให้บรรดาแอคเคาท์หรือเพจประเภทล้อเลียนแดกดันคนอื่นกลับมาได้รับความนิยมอีกครั้งหนึ่ง แบรนด์ต้องรู้จักช่วยให้คนลดความเครียดความกดดันในชีวิตจริงลง ด้วยการชูคอนเทนต์ไร้สาระขึ้นมาให้คนรู้สึกว่าเราต่าง และนั่นจะทำให้แบรนด์เราไปต่อได้ท่ามกลางความเครียดมากมายที่คนจำนวนไม่น้อยบอกพอแล้วกับสาระ
  5. New Materialists หรูหราบนออนไลน์ เมื่อคนมากมายยอมจ่ายเงินกับสิ่งที่จับต้องไม่ได้จริง จากวิวัฒนาการของการจ่ายเงินเพื่อคอนเทนต์บางอย่างมาสู่การจ่ายเงินเพื่อครอบครองความเป็นเจ้าของ Digital Assets ด้วยเทคโนโลยีอย่าง NFT สิ่งนี้จะเข้ามาเปลี่ยนวิธีการทำการตลาดไปอีกมาก ไปจนถึงเริ่มเห็นธุรกิจปรับตัวมาสร้าง Virtual Goods เพื่อดึงดูดให้คนซื้อ Physical Goods เพิ่มขึ้นครับ

Prime time Platforms โซเชียลนิยม ไม่แค่ใช่สดแต่ต้อง LIVE

“57% ของผู้ใช้ TikTok บอกว่าพวกเขาดูทีวีและแอป Streaming น้อยลงตั้งแต่โหลด TikTok มา”

TikTok 2021

เมื่อโซเชียลมีเดียไม่ใช่ Second Screen อีกต่อไป

ก่อหน้านี้โซเชียลมีเดียหรือดิจิทัลมีเดียถูกมองว่าเข้ามาทำให้สื่อดั้งเดิมต้องล้มหายตายจากไปมากมาย หรือแม้แต่มาของการแอปดูวิดีโอออนไลน์ทั้งหลาย ไม่ว่าจะ YouTube หรือ Netflix ก็ถูกมองว่าเข้ามาทำให้การดูแบบสดพร้อมกันหมดความสำคัญอีกต่อไป

เพราะเราอยู่ในโลกที่ทุกอย่างล้วนถูกบันทึกไว้ ดังนั้นจะจำเป็นอะไรที่ต้องนั่งเฝ้าหน้าจอแล้วรอดูถ่ายทอดสดให้เสียเวลา สู้ทำอะไรๆ ให้เสร็จก่อนแล้วค่อยกลับมาดูอีกครั้งก็ยังไม่สาย ดีไม่ดีมีคนสรุปให้ในแบบที่ใช้เวลาไม่กี่นาทีก็เข้าใจเนื้อหาทั้งชั่วโมงได้ในทันทีครับ

แต่ในขณะที่การดูรายการถ่ายทอดสดแบบเดิม โดยเฉพาะทีวีลดน้อยลงไปแต่กระแสการดูถ่ายทอดสดที่คล้ายกันในรูปแบบ LIVE กลับได้รับความนิยมมากจนรายการทีวีแบบเดิมได้แต่มองตาปริบๆ

เราคงเห็นแล้วว่าพิมรี่พาย LIVE ขายของทีคนดูหลายแสนหรือแม้แต่สอง พส ผู้โด่งดังก็มีคนเฝ้ารอดูกันเรียกได้ว่าถ้าเราระบบ Rating TV เดิมมาใช้คงถล่มทลาย

เพราะสเน่ห์ของการดูถ่ายทอดสดแบบ LIVE อยู่ตรงที่เราสามารถคอมเมนต์พูดคุยกับผู้ LIVE หรือแม้แต่กับเพื่อนๆ ที่กำลังดู LIVE ร่วมกับเราได้ แต่นี่ก็ไม่ได้หมายความว่าสื่อเก่าอย่าง TV หรือรายการถ่ายทอดสดแบบเดิมจะสูญพันธุ์ไปแต่อย่างไร เพราะเราต้องจินตนาการถึงมุมมองของการถ่ายทอดสดหรือ LIVE กันอย่างจริงจังถ้ายังอยากไปต่อในปี 2022

Fortnite เกมยอดนิยมกลายเป็นแพลตฟอร์มที่หลายศิลปินดังและแบรนด์เข้ามาใช้เป็นพื้นที่ LIVE กับกลุ่มผู้เล่นมากมายจนใครๆ ก็เข้ามาทำกัน หรือแม้แต่ TikTok ที่ Creator LIVE ทีก็มีคนดูหลายแสนหลายพัน หรือช่องทางอย่าง Twitch ที่เน้นการ LIVE เล่นเกมก็กลายเป็นที่นิยมของแบรนด์จะเข้ามาขอใช้ช่องทางนี้ด้วย

เราจะเห็นได้ว่านี่คือวิวิฒนาการของการถ่ายทอดสดมาสู่ LIVE Streaming โดยไม่ได้ยึดติดว่าต้องเป็นแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียแต่อย่างไร ขอแค่เป็นช่องทางที่มีคนมากมายเข้ามาให้ความสนใจเป็นประจำ แม้จะเป็นเกมแต่เราก็เห็นแล้วว่าได้รับความสนใจยิ่งกว่าการดูถ่ายทอดสดหรือ Streaming แบบเดิม

จากข้อมูลบอกให้รู้ว่า 35% ของผู้ที่โหลดแอป TikTok มามีแนวโน้มจะดูทีวีน้อยลงอย่างชัดเจน หรือแม้แต่การดูคอนเทนต์บนแอป Streaming เองก็ตาม เพราะเมื่อแอปเหล่านี้เราสามารถดูย้อนหลังเมื่อไหร่ก็ได้ ก็เลยถูกจัดลำดับความสำคัญลดลงไปและเวลาที่เคยใช้กับแอปเหล่านั้นก็เอามาใช้กับการดู LIVE ที่คิดว่าไม่อยากพลาดจะดีกว่า

เทรนด์การนิยมดู LIVE แบบนี้จึงทำให้บรรดาผู้ผลิตคอนเทนต์เดิมต้องปรับตัวตามให้ทันกระแส ซีรีส์เรื่อง Scattered เองก็หันมาทำคอนเทนต์บน TikTok เพื่อให้คนดูสามารถเข้ามามีส่วนร่วมได้ หรือ Netflix ฝรั่งเศสเองก็ทำซีรีส์ที่เอามาฉายบน IG TV โดยเฉพาะ โดยออกแบบเป็นตอนละ 4 นาทีทั้งหมด 4 ตอน และไม่ใช่แค่ดูหรือ Engage แบบ Like Comment เท่านั้น แต่คนดูยังสามารถร่วมโหวตตัวละครที่ชอบผ่าน IG Stories หรือแม้แต่กำหนดเนื้อเรื่องในตอนหน้าที่อยากจะเห็นก็ยังได้

นี่คือช่วงเวลาที่โซเชียลมีเดียกลายเป็น First Screen ของผู้คนเรียบร้อยแล้ว ดังนั้นสื่อเดิม ผู้ผลิตคอนเทนต์เดิมต้องรู้จักปรับตัวให้เข้ากับรูปแบบการเสพคอนเทนต์ใหม่ๆ ที่เปลี่ยนไปในปี 2022

และมันก็ไม่ใช่แค่ Social-first formats หรือทำคอนเทนต์บนโซเชียลเป็นหลักก่อนรูปแบบอื่นเท่านั้น แต่สื่อโซเชียลในวันนี้ยังสามารถชี้นำสื่อดั้งเดิมให้ปรับตัวตามในสิ่งที่โซเชียลกำลังสนใจ

เหมือนที่เราเห็นหลายสำนักข่าวหยิบเอาคลิปใน TikTok มาขยายความตีฟูเล่นเป็นข่าวใหญ่ หรือแม้แต่ความเห็นต่อประเด็นทางสังคมที่มากมายก็สามารถเปลี่ยนแปลงการตัดสินใจขององค์กรขนาดใหญ่ให้เราเห็นได้เป็นประจำ

เหมือนที่เราเห็นจากกระแส Squid Game จาก Netflix ที่โด่งดังไปทั่วโลกอย่างฉุดไม่อยู่ มีการทำโพสล้อกระแส มีการสร้างสถานที่แบบในเกมขึ้นมาจริงๆ เพื่อดึงดูดลูกค้าให้เข้าหา จนกลายเป็นปรากฏการณ์ครั้งยิ่งใหญ่จาก Netflix ที่ไม่เคยเกิดขึ้นได้ขนาดนี้มาก่อนครับ

ในปี 2022 จะเป็นปีที่การตัดสินใจใหญ่ๆ กระแสธุรกิจและการตลาดจะปรับตัวตามทิศทางความเป็นบนออนไลน์มากขึ้น เมื่อความเห็นบนออนไลน์จะไม่ใช่แค่การคอมเมนต์อีกต่อไป แต่จะเป็นเหมือนการร่วมโหวตหรือลงประชามติแบบกลายๆ ที่ไม่ว่ารัฐบาลหรือเอกชนคงไม่กล้ามองข้ามสิ่งนี้ไปแน่

What’s Driving IT? แล้วอะไรเป็นตัวแปรที่ทำให้กระแส Social LIVE กลายเป็นเทรนด์ใหญ่ในปี 2022 หละ?

Social Creativity on Mainstream จากหน้าจอสู่หน้ากล้อง

YouTuber Ziwe now has her own late night variety show on Showtime.

เทรนด์นี้อาจไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่จากรายงาน Think Forward 2022 ของ We Are Social ก็ย้ำให้เห็นว่าเรื่องคนดังออนไลน์แล้วกลายเป็นซุปตาร์สื่อหลักจริงๆ มีให้เห็นมากมายขึ้นทุกวัน แถมหลายคนยังดังแซงดาราจอแก้วเดิมมากขึ้นเรื่อยๆ

เมื่อสื่อหลักก็พยายามมองหา Raising Star ใหม่ๆ การจะมัวรอแมวมองไปเฟ้นหาดาวดวงใหม่อาจไม่ใช่วิสัยในปัจจุบัน เพราะในเมื่อวันนี้ฉันทามติของชาวโซเชียลบอกให้เห็นชัดๆ ผ่านตัวเลข stat ต่างๆ ว่า Influencer คนไหนดัง คนไหนดี แล้วก็เลือกจากสิ่งที่เห็นมาสู่สื่อหลักอีกที เรียกได้ว่าตัว Influencer เองก็วิน สื่อหลักก็วิน

หรือสรุปได้ว่าไม่ต้องรอให้รายการไหนมาปั้นให้ตัวเองดัง แต่เราสามารถปั้นตัวเองให้ดังแล้วสื่อใหญ่ก็จะเข้ามาหาเราเองครับ

Video First Short & LIVE เมื่อ TikTok มียอดดาวน์โหลดแซงหน้าพี่ใหญ่ Facebook

เป็นที่ยอมรับกันแล้วว่าแพลตฟอร์มคลิปวิดีโอสั้นๆ อย่าง TikTok ไม่ใช่แค่กระแสชั่วคราวจากช่วงล็อกดาวน์ปี 2020 อีกต่อไป เพราะวันนี้เทรนด์การทำคอนเทนต์ประเภท Short Video โดยเฉพาะคลิปประเภท Lip Sync นั้นกลายเป็นวิถีใหม่ของชาวโซเชียลเรียบร้อยแล้ว

แม้ผมจะโนไอเดียว่าการตลาดวันละตอนควรทำคอนเทนต์บน​ TikTok อย่างไรดี เพราะถูกทีม TikTok ประเทศไทยชวนอยู่แต่ก็ยังไม่ได้ตอบกลับสักที (ใครมีไอเดียช่วยแนะผมทีนะ) แต่ก็เห็น Content Creator มากมายจากโซเชียลมีเดียแพลตฟอร์มเดิมพยายามเรียนรู้ที่จะทดลองการทำคอนเทนต์ลงบน TikTok อยู่เรื่อยๆ จนทำให้การทำคอนเทนต์แบบ LIVE ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เป็นเรื่องที่ใครๆ ต้องเรียนรู้ว่าจะทำอย่างไรในแบบของตัวเองให้เวิร์คครับ (เรามี LIVE การตลาดสัปดาห์ละตอน กับ The Next Level อยู่นะ)

The Behavioral Change

Big moments on small screens แพลตฟอร์มเล็กแต่คนทะลัก

จากการ LIVE ในวันหยุดสุดสัปดาห์ของ TikTok Creator ที่มีคนเฝ้ารอดูมหาศาล ไปจนถึง Clubhouse ที่ Elon Musk หรือพี่โทนี่สร้างห้องพูดแล้วมีคนเข้าฟังจนเต็มห้องอย่างไม่มีใครคาดคิดมาแล้วในช่วงแรก

บอกให้รู้ว่าไม่ว่าจะแพลตฟอร์มเล็กหรือใหม่ก็ไม่สำคัญ ประเด็นคือถ้ามีคนที่คนส่วนใหญ่ให้ความสนใจและเห็นว่าสำคัญ ผู้คนมากมายก็พร้อมจะแห่กันไปยังแพลตฟอร์มแห่งนั้น

หรือแม้แต่การสร้างโรงหนังในเกมดัง Roblox ที่ได้รับความสนใจจากผู้คนมากมาย จนมีการจัดปาร์ตี้เปิดตัวเพลงใหม่ของศิลปินดัง และก็เกิดการจัดกิจกรรมมากมายภายในเกมนี้ จนทำให้แบรนด์ก็เริ่มปรับตัวมาจัดกิจกรรมภายในเกมมากขึ้นทุกที เพราะนี่คือโลกของออนไลน์อีเวนต์ที่แท้จริง ไม่สำคัญว่าแพลตฟอร์มใด แต่สำคัญว่าใคร ทำอะไร ส่วนจะเป็นที่ไหนเดี๋ยวคนพร้อมจะตามไปเอง

Spectators Take Centre Stage เมื่อคนดูไม่อยู่เฉยให้ใครเอาเปรียบ

จากเดิมคนเล่นโซเชียลส่วนใหญ่มักดูหรือแค่คอมเมนต์เป็นหลัก แต่มาวันนี้วิถีชาวโซเชียลเปลี่ยนไปมาก ส่วนหนึ่งก็เพราะ TikTok ที่ดันให้การทำ Short Video Content เป็นเรื่องง่ายที่ใครๆ ก็ลองทำได้ จึงทำให้คนจำนวนมากรู้จักส่งเสียงแสดงความเห็นออกไปในประเด็นที่สนใจ โดยเฉพาะในประเด็นที่เป็นกระแสของช่วงเวลานั้น

ในช่วงเดือนกรกฎาคม 2021 ที่ผ่านมาเกิดกระแสดราม่าในสหรัฐอเมริกาเมื่อบรรดาคนผิวสี หรือคนผิวดำออกมาประท้วงต่อต้านหยุดทำคอนเทนต์บน TikTok เป็นจำนวนมากพร้อมๆ กัน เหตุมาจากคนทำคอนเทนต์ TikTok ผิวขาวหรือคนดังมักหยิบเอาท่าเต้นใหม่ๆ จากคนผิวดำไปใช้สร้างคอนเทนต์ต่อแล้วไม่ให้เครดิตกลับมา ส่งผลให้เกิดกระแสเรียกร้องการหยุดเต้นของ Black Creators ที่เป็นหัวใจสำคัญที่ทำให้แพลตฟอร์มน้องใหม่อย่าง TikTok ได้รับความนิยมจนกลายเป็นสื่อกระแสหลักขึ้นมาได้

เมื่อไม่มีคลิปการเต้นสนุกๆ ใหม่ๆ เกิดขึ้นแน่นอนว่า TikTok ก็กลายเป็นแพลตฟอร์มน่าเบื่อไม่มีอะไรสนุกๆ ใหม่ๆ ให้ดูขึ้นมาทันที

ส่งผลให้เพลงดังอย่าง Thot Shit ของ Megan Thee Stallion ที่หยิบเอาท่าเต้นของคนอื่นมาใช้ใน MV ของตัวเองถูกแบนไม่มีใครอยากจะ Cover หรือ Challenge ต่อให้เป็นกระแสไวรัลดังเหมือนเพลงอื่นๆ และนั่นก็ทำให้เกิดการกลับมาให้เครดิตของ Black Creators ตัวเล็กๆ ที่ไม่ได้ดังมากมายได้เป็นที่รู้จักและยอมรับมากขึ้นครับ

Socially Led Storytelling เมื่อโซเชียลกำหนดเส้นเรื่อง

จากเดิมการจะเล่าเรื่องราวอะไรสักอย่างมักถูกกำหนดโดยใครสักคน หรือคนกลุ่มเล็กที่สรุปมาว่าเราจะเล่าเรื่องราวและดำเนินเส้นเรื่องอย่างไร แต่ในวันนี้โลกเปลี่ยนไปเมื่อโซเชียลกลายเป็นพลังจากคนส่วนใหญ่ที่ถูกนำมาใช้กำหนดเรื่องราวเป็นหลัก

จากตัวอย่างที่โด่งดังของ The Dream SMP ที่มีผู้ติดตามมากมายหลายล้านคนทั่วโลกจาก Game Caster กลุ่มหนึ่งที่สร้างการเล่าเรื่องผ่านโลกที่สร้างขึ้นในเกม Minecraft โดยเป็นเรื่องราวของนิยายน้ำเน่าเรื่องหนึ่งที่ถูกนำมาสร้างบนเกม และเท่านั้นไม่พอพวกเขายังให้คนดูกับคนเล่นเป็นผู้สร้างเรื่องราวระหว่างทางเอง โดยกำหนดโครงเรื่องไว้คร่าวๆ เรียกได้ว่าเป็นการแสดงแบบ Improvise ด้นสดนั่นเองครับ

จาก 34 ตัวละครหลักภายในละครที่เล่าผ่านเกม Minecraft นี้ถูกนำไปต่อขยายตีความเพิ่มเติมโดยบรรดาแฟนคลับมากมาย เรียกได้ว่านี่เป็นมิติใหม่ของการเล่าเรื่องราวผ่านแพลตฟอร์มอย่างเกมยอดยิมจนได้รับความสนใจอีกครั้ง พูดแล้วก็น่าคิดเหมือนกันนะครับว่าถ้านิยายน้ำเน่าขายดีของบ้านเราถูกนำไปเล่าในรูปแบบเกมขึ้นมาจะได้รับความสนใจเหมือนเคสที่หยิบยกขึ้นมานี้หรือไม่

Use IT

เราได้เห็นแล้วว่าวันนี้บทบาทของโซเชียลมีเดียและสื่อออนไลน์เปลี่ยนไปมากมายขนาดไหน จากเดิม Social media platform ถูกมองว่าเป้นส่วนเสริมของสื่อหลัก แต่มาวันนี้แพลตฟอร์มออนไลน์หรือโซเชียลมีเดียกลายเป็นหลักในการขับเคลื่อนทิศทางสื่อทั้งหลาย และไม่ใช่คอนเทนต์เท่านั้นที่ขับเคลื่อนสื่อหลักได้ แต่ความเห็นของผู้คนมากมายที่ใช้งานแพลตฟอร์มนั้นก็ล้วนส่งผลต่อทิศทางของสื่อหลักไปเรียบร้อยแล้ว

Learn from ITV ใส่ใจเมื่อมีใครพูดถึงเรา

ในปี 2022 นักการตลาดควรทำงานร่วมกับ Influencer บนโซเชียลมีเดียให้ดี อย่าพลาดเหมือนที่ช่อง ITV ของต่างประเทศทำ เพราะในรายการ Love Island ที่ควรจะปังกลับแป๊กอย่างน่าเสียดายเมื่อพวกเขาไม่ได้โปรโมทร่วมกับ Black British บน Twitter มากกว่านี้

ทำให้รายการได้รับความสนใจน้อยมาก ท่ามกลางกระแสที่เกิดขึ้นบน Twitter ไม่น้อย แต่รายการก็พลาดที่จะหยิบเอาสิ่งที่เกิดขึ้นบนโซเชียลมีดันสื่หลักให้ปังได้อย่างที่ควรจะเป็น

Learn from KFC ปรับตัวไวก็ได้ไปต่อ

https://www.instagram.com/p/CPX_RljBHBu/

นักการตลาดหลายคนยังคงลังเลว่าตกลง Game นี่มันกลายเป็นสื่อหลักหรือสื่อเฉพาะกลุ่มเฉพาะพวกเนิร์ดติดเกมกันแน่นอน แต่วันนี้บอกได้เลยครับว่า Game กลายเป็นสื่อหลักอีกช่องทางหนึ่งที่มีคนมากมายใช้เวลากับเกมจนลืมโซเชียลมีเดียไปเรียบร้อยแล้ว

เพราะส่วนหนึ่งเกมก็คือโซเชียลมีเดียรูปแบบหนึ่ง เราสามารถคุยกันในเกมได้ และไม่ใช่คุยเพราะเรายังสามารถเล่นกับเพื่อนในเกมได้มากกว่าแค่กดไลก์กันไปมาครับ

ตัวอย่างที่หยิบมาให้ดูคือ KFC แบรนด์เก่าทอดเก่าแก่ที่ไม่ยอมปล่อยให้การตลาดแก่ไปตามวัยหรืออายุลุงผู้พันเลย

ทีม Marketing KFC ได้เอาผู้พันเข้าไปไว้ในเกม Marbella Vice ที่เป็น GTA เวอร์ชั่นออนไลน์อีกอันหนึ่ง ซึ่งเป็นเวอร์ชั่นที่ได้รับนิยมในหมู่ชาวสเปนมากมาย มีทั้งนักฟุตบอลชาวสเปนชื่อดังก็เล่นเกมนี้ ไปจนถึง Influencer สเปนทั้งหลายก็มารวมตัวกันในเกมนี้ครับ

และเมื่อผู้พันแซนเดอส์หนึ่งในของ KFC เข้าไปปรากฏตัวในเกมก็ได้รับความสนใจอย่างล้นหลามจากผู้เล่นมากมาย เรียกได้ว่าเป็นการทำเซอร์ไพรซ์เพราะไม่คิดว่าแบรนด์ใหญ่และเก่าแก่อย่าง KFC จะปรับตัวให้เข้ากับแพลตฟอร์มใหม่ๆ อย่างเกมได้ ดังนั้นถ้าเห็นแบบนี้คุณต้องรีบคิดแล้วหละว่าจะปรับตัวให้เข้ากับแพลตฟอร์มใหม่เหมือนที่ผู้พันทำได้อย่างไรครับ

สรุป Digital Marketing & Social Trends 2022 ที่ 3 Prime Time Platforms

เมื่อออนไลน์โดยเฉพาะโซเชียลกลายเป็นสื่อกระแสหลัก และนิยามของโซเชียลก็กว้างกว่าแค่โซเชียลมีเดียทั่วไป แต่ยังรวมถึงเกมที่กลายเป็นพื้นที่เปิดกว้างให้คนมากมายเข้ามาใช้เวลาร่วมกัน

แล้วไหนจะวิธีการเสพและสร้างคอนเทนต์ที่เปลี่ยนไปในปีนี้จากรูปแบบการโพสภาพนิ่ง โพสวิดีโอ หรือโพสสเตตัสเก๋ๆ กลายเป็นการทำคลิปวิดีโอสั้นๆ เน้นการ Lipsync กับ Challenge กันบน TikTok จนทำให้หลายเพลงดังกลายเป็นกระแสถล่มทลายบนโลกจริง ยังม่นับว่าสื่อหลักต่างก็พยายามหาประเด็นจากโซเชียลมาตีฟูมากขึ้นทุกทีครับ

แถมความเห็นของคนบนโซเชียลยังส่งผลต่อโลกจริงอย่างมาก ไม่ว่าจะในด้านการตลาด ธุรกิจ หรือแม้แต่การเมืองก็ตาม วันนี้เราเห็นความเป็นประชาธิปไตยบนโซเชียลมีเดียที่ชัดขึ้นกว่าไม่กี่ปีก่อนอย่างลิบลับ

และทั้งหมดนี้คือเทรนด์สำคัญที่ 3 ของปีหน้า เมื่อออนไลน์กลายเป็นแพลตฟอร์มที่เปิดให้ทุกคนได้แสดงความเห็นอย่างเท่าเทียมไม่มีอะไรกั้น คำถามสำคัญคือนักการตลาดอย่างเราจะเข้าไปใช้แพลตฟอร์มดังกล่าวได้อย่างไร และเราจะหยิบใช้ความเห็นของชาวโซเชียลมาเป็นโอกาสทางธุรกิจอย่างไรในปีหน้าที่เชื่อกันว่าการตลาดน่าจะยากกว่าปีนี้มากครับ

Social Cynicism กระแสใหม่คือการสวนกระแสชาวโซเชียล

เมื่อ Influencer และ Creator ออกมาสวนกระแสชาวโซเชียลจนกลายเป็นกระแสใหม่ การปล่อยให้พวกมากลากไป หรือการคิดว่ามีคนเห็นด้วยมากกว่าแล้วชนะจะไม่ใช่เรื่องที่ยอมรับโดยง่ายเหมือนก่อน เพราะถ้าเหตุและผลไม่ดีพอบอกเลยว่าโซเชียลระอุแน่ครับ

เทรนด์ Social Cynicism นี้มาจากไหน?

“43% ของ Gen Z ทั่วโลกบอกว่าเล่นโซเชียลมีเดียทีไรมักเห็นแต่คอนเทนต์ที่ทำให้ตัวเองรู้สึกแย่ จนไม่อยากจะเล่นอีกต่อไปแล้ว”

We Are Social 2021

ในเดือนสิงหาคม 2021 ที่ผ่านมา Khaby Lame กลายมาเป็น TikToker ที่มีผู้ติดตามเกิน 100 ล้านเป็นคนที่สอง (คนแรกคือ Charli D’Amelio) ซึ่งแนวทางการทำคอนเทนต์ของเขาก็มีความน่าสนใจตรงที่ใช้คลิปหรือคอนเทนต์คนอื่นเป็นตัวตั้ง จากนั้นก็เอามาล้อเลียนว่าแล้วทำไมไม่ทำแบบนี้หละ ง่ายกว่ากันตั้งเยอะ จะทำให้มันยุ่งยากทำไม (อารมณ์แบบอย่าโง่กับเรื่องง่ายๆ) และนั่นเองก็ทำให้เขาประสบความสำเร็จจนเป็นที่รู้จักไปทั่วโลกได้ในที่สุดครับ

โซเชียลมีเดียกลายเป็นที่ล้อเลียนเสียดสีกันมากในแบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน Creator หรือ Influencer หลายคนดังได้จากการทำอะไรที่ไม่ได้มีสาระ หรือไม่ได้สร้างอะไรใหม่ด้วยตัวเองจริงจัง แต่ก็กลับกลายเป็นที่รู้จักและยอมรับมากขึ้นจากคนส่วนใหญ่ได้

แม้ว่าการทำคอนเทนต์ล้อเลียนเสียดสีคนอื่นจะเป็นเรื่องที่มีมานานแล้วบนโซเขียลมีเดีย แต่เดิมทีเรื่องแบบนี้มักจะเกิดขึ้นกับซูเปอร์สตาร์คนดังมากๆ เท่านั้น ไม่ใช่เรื่องเล็กๆ น้อยๆ คนที่ไม่ได้ดังอะไรมากก็จะสามารถถูกหยิบขึ้นมาเล่นต่อล้อเลียนได้บ่อยๆ แบบทุกวันี้

และนั่นก็ทำให้การทำคอนเทนต์เพื่อเรียก Engagement กลับมาหนักข้อเสมือนยุคแรกของการทำ Facebook Fan Page เมื่อหลายปีก่อน การสร้างสรรค์อะไรใหม่ได้รับความนิยมน้อยลง และนั่นก็ทำให้โลกดิจิทัลเราแคบมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะยิ่งเราเห็นสิ่งไหน เราก็ยิ่งเชื่อและทำตามสิ่งนั้น เรื่องนี้สะท้อนผ่านความเห็นทางการเมืองที่เฮโลไปในกลุ่มเดียวกันแบบสุดโต่งขึ้นทุกที ความเห็นต่อเรื่องรูปร่างหรือความงาม ที่เชื่อว่าต้องแบบนี้ถึงจะดี ต้องอย่างนี้ถึงจะสวย และยังมีอีกมากมายที่เราถูกกดดันให้คิดเหมือนกันมากเกินไป จนลืมไปว่าโลกใบนี้กว้างใหญ่กว่าแค่หน้าจอเล็กจะแสดงได้หมด โดยเฉพาะเมื่อหน้าจอเล็กของเราที่เป็นเสมือนโลกทั้งใบถูกคัดกรองด้วย Algorithm ที่ออกแบบมาเพื่อให้เราเสพย์ติดหน้าจอมากขึ้นเรื่อยๆ มันเลยคัดเฉพาะคอนเทนต์ที่เราน่าจะชอบมาให้เราเห็นเท่านั้นครับ

แต่นอนนี้บรรดาเพจหรือแอคเคาท์พวก meme หรือเอารูปหรือคลิปคนอื่นมาทำต่อในรูปแบบล้อเลียนเป็นที่ถูกจับตามองอย่างมาก Digital artists เองก็ถูกจับตามองว่าเอาผลงานของใครมาใช้ต่อเติมโดยไม่ได้รับอนุญาตหรือเปล่า หรือแม้แต่นักแสดงตลกก็เช่นกัน ทุกคำที่ออกจากปากจะถูกจับจ้องว่าเป็นคำพูดของใครมาก่อนหรือเปล่านะ

ในวันนี้มี Challenge มากมายให้แข่งขันจนล้น TikTok ใครๆ ก็เอาแต่ทำเพื่อเรียก Engagement เพิ่ม Follower ซึ่งเทรนด์การทำคอนเทนต์จากคอนเทนต์คนอื่นอีกทีก็ไม่ใช่สิ่งที่แบรนด์ควรทำ

ผู้คนจำนวนมากในวันนี้ถูกกดดันจากมาตรฐานสังคมรอบตัวมากเกินไปจนรู้สึกเหนื่อยล้า คงคุ้นกับคอนเทนต์ประเภทว่าชีวิตที่สำเร็จต้องมีอะไรบ้าง หรือการทำงานให้เกินความคาดหวังคือสิ่งที่คนทำงานต้องทำให้ได้ เหนื่อยเนอะ

ดังนั้นการเลิกทำตามกระแส เลิกทำตามมาตรฐานสังคมที่เขาๆ เขาก็เชื่อว่าคนอื่นเขาก็ทำกันจึงกลายเป็นอะไรที่เริ่มสดใหม่น่าสนใจ หรือแม้แต่การสวนกระแสคนส่วนใหญ่โดยใช้เหตุผลเข้าสู้ก็ตาม แน่นอนว่าเทรนด์นี้จะเข้ามาเปลี่ยนวิธีการทำ Social media marketing ใหม่ให้กลับมาน่าสนใจอีกครั้ง จากการแห่กันทำตามเพื่อเอาใจ Algorithm จะนำไปสู่การเป็น Original Creator ตัวจริงเสียงจริงที่ไม่อิงกับใครขึ้นมาแทน

เทรนด์การสวนกระแสจะเปลี่ยน Digital Marketing & Social Trends 2022 ไปอย่างไรลองมาดูกันครับ

What’s Driving IT? อะไรทำให้เกิดเทรนด์นี้

The Monoculture เบื่อแล้วมาตรฐานโซเชียล

จากกระแสของ Instagram Face หรือการพยายามทำศัลยกรรมใบหน้าให้ดูสวยเหมือนรูปถ่ายที่โพสลง Instagram มาแรงเหลือเกิน จนมีสื่อใช้คำว่า The Age of Instagram Face คือสวยจากแอปไม่พอก็เลยบอกหมอว่าช่วยทำตัวจริงให้ดูเหมือนในแอปด้วย

และความอยากสวยเหมือน Instagram ก็มาจาก Algorithm ที่คัดคอนเทนต์ที่คนส่วนใหญ่ชอบไลก์ คอมเมนต์ และแชร์ จนทำให้คนจำวนมากเข้าใจไปว่านี่คือเรื่องปกติธรรมดาที่ใครๆ ก็ทำกัน ไม่ว่าจะสีพาสเทล ความงาม สุขภาพ แฟชั่น เรียกได้ว่าโลกดิจิทัลเราแคบขึ้นทุกวัน

จนเริ่มเกิดกระแสต่อต้านว่าให้เลิกแต่งรูปที่ดูดีเกินจริงมากเกินไป เพราะเรากำลังสร้างบรรทัดฐานใหม่ที่กลายเป็นแรงกดดันคนส่วนใหญ่ว่านิยามความสวยคือแบบนี้ ถ้าอยากสวยต้องทำตามรูปในแอปให้ได้ซิ สมแล้วว่าทำไมคนรุ่นใหม่ถึงถอยห่างจากโซเชียลมีเดียเก่าๆ มากขึ้นทุกทีครับ

Collaborative Creativity ทำคอนเทนต์ด้วยกันโดยไม่ต้องอยู่ด้วยกัน หรือรู้จักกันก็ได้

จากกระแสของ TikTok ที่มาแรงเหลือเกิน บวกกับฟีเจอร์ใหม่ที่ทำให้ TikTok ยิ่งดังขึ้นไปอีกอย่าง Duets กับ Stitches เพราะสองฟีเจอร์นี้ทำให้วิถีทำการคอนเทนต์เปลี่ยนไปอย่างมาก

เพราะเราไม่จำเป็นต้องเต้นหรือ Cover เท่านั้น แต่เราสามารถทำคอนเทนต์กับใครอีกคนโดยไม่ต้องอยู่ด้วยกันจริงๆ ก็ได้ หรือเราสามารถดึงเอาคอนเทนต์คนอื่นมาสอดใส้กลายเป็นของตัวเองแล้วแชร์ออกไปอีกทีด้วย Stitches แบบง่ายๆ เรียกได้ว่า TikTok เข้ามาเปลี่ยนการทำ Content Marketing 2022 เป็นอย่างมากในแบบที่แพลตฟอร์มรุ่นพี่ที่อยู่มานานยังจินตนาการไม่ออก

การสร้างคอนเทนต์ใหม่จากศูนย์อาจไม่จำเป็นในวันนี้ เพราะเราสามารถต่อเติม เสริม ดัดแปลงผลงานคนอื่นให้กลายเป็นของเราได้

แต่ในขณะเดียวกันก็เริ่มเห็นการใช้ฟีเจอร์นี้ไปกับการวิพากษ์วิจารณ์คนอื่นมากขึ้น

The Behavioral Change

META-Influencers นักล้อ

https://www.tiktok.com/@khaby.lame/video/7038280908994120966?is_copy_url=1&is_from_webapp=v1

ไม่ใช่แค่ Khaby Lame ที่ทำคอนเทนต์ล้อเลียนเสียดสีคนอื่นจนได้ดีเท่านั้น แต่เทรนด์การทำคอนเทนต์แนวนี้ยังได้รับยอมรับอย่างกว้างขวางมากในปีที่ผ่านมา ตัวอย่างเพจ @afffirmations เองก็โด่งดังด้วยเหตุผลเดียวกันจากการล้อเลียนบรรดาเซเลป ดนดัง อุตสาหกรรมสวยความงาม การเงินและความร่ำรวย จนได้ดิบได้ดีมีผู้ติดตาเกือบล้านคนในวันนี้

The Shitposting Revival นักปั่น

https://www.instagram.com/p/CSnX5oslnmG/

เพจหรือแอคเคาท์ประเภทที่ไม่ได้ครีเอทอะไรใหม่ เน้นการโพสอะไรที่ตลกขบขันไร้สาระจากการใช้รูปคนอื่นมาทำ แล้วก็เน้นการเขียนแคปชั่นตัวใหญ่ๆ ลงไปแทนกลับมาเป็นที่นิยมอีกครั้ง แล้วจากนั้นแอคเคาท์พวกนี้ก็จะเอาจำนวนตัวเลขผู้ติดตามไปเคลมขายโฆษณากับแบรนด์หรือสินค้าต่างๆ เรียกได้ว่าเป็นการหารายได้โดยไม่ได้สร้างคอนเทนต์อะไรของตัวเองขึ้นมาใหม่ เป็นการหยิบฉวยจับสิ่งรอบตัวมาทำคอนเทนต์เป็นส่วนใหญ่ครับ

ในภาษาอังกฤษเค้าใช้คำว่า Shitposting คือโพสที่หาสาระไม่ได้ เพจหรือแอคเคาท์พวกนี้มากมายขึ้นจนเริ่มกลายเป็นกระแสตีกลับจากคนดังบางคนที่มีการเรียกร้องหรือฟ้องร้องให้ปิดแอคเคาท์พวกนี้ไป เพราะอาจจะมีการหยิบรูปภาพบางจังหวะ หรือตัดคลิปแค่บางช่วงเอาไปยำทำใหม่ จนทำให้บริบทของคนในรูปผิดเพี้ยนไป อารมณ์ก็คล้ายๆ แคปโคทในบ้านเราแต่ยังไม่ได้มีมากเท่าต่างประเทศ

ผมว่าส่วนหนึ่งเพราะเมื่อคนเครียดกับการต้องเป็นคนที่ดูดีเสมอบนโซเชียล จึงเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เพจหรือแอคเคาท์ประเภทนี้กลับมาได้รับความนิยมอีกครั้ง ทั้งที่วิธีการทำคอนเทนต์แบบนี้เป็นสิ่งที่เคยได้รับความนิยมในยุคแรกๆ ของการทำเพจ ไม่น่าเชื่อว่าเทรนด์นี้จะกลับมาอีกครั้งในระดับโลกครับ

Critique as Content เล่นบทนักสอน

ในการล้อเลียน เสียดสี หรือดูถูกเหยียดหยามกันบนโซเชียลประเภทสุดท้ายนี้น่าสนใจ นั่นก็คือ Creator หลายคนหันมาใช้วิธีการแสดงความเห็นตรงๆ ลงไปยังโพสหรือคอนเทนต์คนอื่น

ด้วยเครื่องมือของ TikTok อย่าง Stitches ก็ทำให้การเอาคลิปวิดีโอหรือคอนเทนต์คนอื่นมาใช้ต่อเป็นเรื่องง่ายมาก เพียงแต่ความตั้งใจแรกคือการให้ทำคอนเทนต์ใหม่ที่สร้างสรรค์ยิ่งกว่า แต่กลับถูกนักวิจารณ์จำนวนไม่น้อยนำมาใช้เพื่อแสดงความเห็นทับลงไปตรงๆ ในแต่ละประเด็น

ไม่ว่าจะเรื่องกระแสที่สังคมให้ความสนใจ ความสวย ความงาม เรื่องเพศ เชื้อชาติ และอื่นๆ อีกมากก็แล้วแต่ว่าใครอยากจะวิจารณ์ใครในเรื่องอะไรทับเข้าไป

ตัวอย่างจาก @_anastasiagracia_ ที่ใช้วิธีการแบบนี้ในการทำคอนเทนต์ทับคนอื่นให้ดูด้อยค่า เรียกได้ว่ามีความเป็นนักสอน นักสั่ง หรือบางครั้งก็เตือนถึงสิ่งที่คนอื่นกระทำด้วยการบอกให้ทุกคนรู้ แทนที่จะบอกกับเจ้าตัวโดยตรง

บ้านเราคงเป็นบริบทที่ใช้คำว่า “เล่นบทพระเจ้าแล้ว 1” นั่นก็คือแสดงความเห็นวิพากษ์วิจารณ์เรื่องส่วนตัวคนอื่น หรือสไตล์คนอื่นโดยที่เขาไม่ได้ร้องขอ ไม่ว่าจะเรื่องการกินกาแฟ การมีหุ่นหรือรูปร่างอย่างไร การทำงานหนักเพื่อประสบความสำเร็จในชีวิต หรือคนประสบความสำเร็จเค้าต้องทำอะไรบ้าง

ตัวแปรความเหนื่อยของชีวิตบนโซเชียลที่ทำให้นึกย้อนกลับไปว่าทำไมเทรนด์ของ Vibe ถึงมาเพราะเมื่อคนรู้สึกเหนื่อยล้าจากการใช้ชีวิตก็อยากจะได้มุมพักหลบหนีสู่พื้นที่เงียบๆ ของตัวเองครับ

USE IT – Brand Brave

เราเห็นการเปลี่ยนผ่านของโซเชียลจากการทำคอนเทนต์เพื่อเอาใจคนมากๆ จนทำให้ตัวเองโด่งดัง แล้วก็มาสู่การสร้างสรรค์ในรูปแบบใหม่ แม้ว่าเทรนด์นี้ดูแล้วแบรนด์ยากจะหยิบเอามาประยุกต์ใช้ได้ แต่มันก็บอกให้เห็นถึงแนวทางใหม่ๆ ของการทำ Digital Content Marketing 2022 ว่าสามารถปรับและขยับตัวไปทางไหนให้เท่าทันเทรนด์นี้ได้บ้างครับ

Learn from Heinz สวนกระแสโลกสวยด้วยแคมเปญก็(กู)จะกิน

https://www.instagram.com/p/CUMrs-6MPIO/

เมื่อวันนี้อะไรก็ดูดีเสมอเมื่อถูกโพสบนโซเชียล โดยเฉพาะบนแพลตฟอร์มอย่าง Instagram ที่เน้นอวดชีวิตดี๊ดีเป็นหลัก Heinz ก็เห็นว่ารูปภาพอาหารของกินเมื่อถูกโพสบน Instagram มักจะออกไปในแนวทางเดียวกันจนรู้สึกว่าจืดชืด ซ้ำซาก น่าเบื่อ ก็เลยหยิบเอาซอสมะเขือเทศตัวเองมาเล่นเองเสียเลย

กับแคมเปญที่ชื่อว่า #NormaliseHeinzOnEverything ที่เอาซอสตัวเองมากินกับอาหารที่ดูแล้วไม่น่ากิน หรือถ้าพูดภาษาชาวบ้านคือคนดีๆ เขาไม่ทำกัน แต่ Heinz กล้าที่จะทำอะไรบ้าๆ บอๆ เพื่อลดความกดดันบนโซเชียลแทน

เหมือนแคมเปญนี้ Heinz อยากจะบอกเป็นนัยว่า อยากกินอะไรก็กินไปไม่ต้องไปแคร์สายตาชาวบ้านมากหรอก เอาเป็นว่าขอแค่กิน Heinz ก็พอ กินแล้วไม่ต้องขอโทษใครด้วย

Learn from McDonald’s and Martha Stewart

@emilyzugay

A new logo calls for an even newer logo #metapartner

♬ original sound – Emily’sTikTok.edu

แบรนด์ในวันนี้สามารถทำตัวเป็นมนุษย์ปุถุชนผู้ไม่เพอร์เฟคได้ครับ จากเดิมแบรนด์ต้องดูเป๊ะทุกอย่าง แต่เมื่อผู้คนในวันนี้ต้องการอะไรที่ไร้สาระ ผ่อนคลาย ไม่ต้องคิดมาก ขำๆ นั่นก็เลยทำให้แบรนด์อย่าง McDonald’s เข้ามาขอให้ TikToker อย่าง Emly Zugay ผู้โด่งดังจากการเอาโลโก้แบรนด์ดังมาออกแบบใหม่ในสไตล์ของตัวเอง จนกลายเป็น Influencer ด้านการออกแบบแบบงงๆ เพราะมันช่างฉีกทุกตำราจริงๆ

ส่วน Martha Stewart เองก็ไป Collaboration กับแร็ปเปอร์ชื่อดังอย่าง Yung Gravy ให้ช่วยแต่งเพลงถึงเธอให้หน่อย

เรียกได้ว่าเป็นการทำอะไรที่คอนทราสมากสำหรับสองแบรนด์นี้ แต่ทั้งหมดนี้ก็เพื่อปรับตัวให้ทันเทรนด์การทำอะไรขำๆ คลายเครียดที่คนทุกวันนี้ต้องการครับ

Learn from Gucci เลิกการตลาดโลกสวยซ้ำซาก

https://www.instagram.com/p/CNkbCS7Dfu4/

แบรนด์วันนี้ต้องกล้าฉีกออกจากขนบที่แบรนด์อื่นๆ ทำตามกันมานานเกินไปจนน่าเบื่อ

จากตัวอย่างของ Gucci ในช่วงเทศกาลรอมฎอน จากเดิมทุกแบรนด์จะพูดถึงเรื่องของการใช้เวลากับครอบครัวอันอบอุ่นเหมือนกันหมดจนดูซ้ำซากน่าเบื่อ แต่แบรนด์นี้กล้าที่จะถ่ายทอดเรื่องราวในมุมใหม่ คือความวุ่นวายภายในครอบครัวเมื่อต้องอยู่ร่วมกันในเทศกาลนี้

ผ่านการล้อเลียนละครอาหรับยุค 80 ดั้งเดิมกับแฮชแท็กว่า #MusalaGucci เรียกได้ว่าก็มีความเปรี้ยวจากความกล้าที่จะไม่ทำในสิ่งที่ใครๆ ก็ทำกัน แต่ก็นั่นแหละครับวิธีของผู้นำ ถ้าไม่กล้าทำสิ่งใหม่ก่อนใครแล้วจะเป็นผู้นำได้อย่างไรจริงไหมครับ

สรุป Digital Marketing & Social Trends 2022 ที่ 4 Social Cynicism เมื่อโซเชียลเริ่มซ้ำซากจากการทำตามมากเกินไป

จากการที่คนทำตามๆ กันสร้างมาตรฐานใหม่ๆ ขึ้นมากดดันให้เราต้องสวย ต้องใช้ชีวิตในรูปแบบที่เราเห็นซ้ำๆ ผ่านหน้าจอแล้วได้รับการกด Likes เยอะๆ จนกลายเป็นความเครียด ก่อให้เกิด Influencer แนวใหม่ที่ไม่ได้เน้นเนื้อหาสาระ แต่เน้นการล้อเลียนกลุ่มชีวิตดีบนออนไลน์ ไม่ว่าจะคนดังออนไลน์ ไลฟ์โค้ชออนไลน์ หรือแม้แต่ล้อเลียนความร่ำรวยจนกลายเป็น influencer ยอดนิยมหน้าใหม่มากมาย

แต่ก็อาจเกิดคดีความฟ้องร้องจากผู้ที่ถูกนำรูปไปโพส ไปใช้ ไปล้อเลียน ไปทำให้เสียหายจนแอคปลิวได้

บวกกับเครื่องมือในการสร้าง Content ของ TikTok ก็เปลี่ยนวิธีการทำคอนเทนต์เราไปมากมาย ทั้งการทำคอนเทนต์ร่วมกันโดยไม่ต้องอยู่ด้วยกัน หรือการทำคอนเทนต์ทับคอนเทนต์อื่นอีกที

และนั่นก็ก่อให้เกิดวิธีการเป็น Creator ที่เน้นการล้อเลียนหรือวิพากษ์วิจารณ์คนอื่นเกินจำเป็น จนก่อให้เกิดความเครียดหรือกระทบจิตใจอีกฝ่ายได้

สุดท้ายแบรนด์ก็ต้องรู้จักเรียนรู้ที่จะผ่อนคลายลงในโลกที่เต็มไปด้วยแรงกดดันและหมุนไวเหลือเกิน กล้าทำในสิ่งที่ตัวเองไม่เคยกล้า กล้านำเสนอมุมมองใหม่ในประเด็นที่ไม่เคยมีใครคิด หรือได้แต่คิดแล้วไม่ทำ

เมื่อโลกโซเชียลวันนี้วุ่นวายและเต็มไปด้วยเรื่องดราม่า การจะทำให้คนเลือกแบรนด์เรามากกว่าคนอื่นในปีหน้า คือการทำให้คนรู้สึกว่าเราเป็นแบรนด์ที่มีความเป็นมนุษย์ปุถุชนมากขึ้นกว่าปีนี้ครับ

New Materialists หรูราออนไลน์

เมื่อคนใช้เงินกับการซื้อข้าวของออนไลน์ ที่ใช้ได้แค่บนออนไลน์ หรือแม้แต่ใช้อะไรไม่ได้บนออนไลน์ แต่มันคือเครื่องแสดงสถานะอย่างหนึ่งในผู้คนในวันนี้

1 ใน 3 ของ Gen Z ทั่วโลกใช้เงินกับการซื้อของที่จับต้องไม่ได้บนออนไลน์เช่นไอเท็มในเกมหรือดิจิทัลคอนเทนต์

We Are Social 2021

ในเดือนพฤษภาคม 2021 ที่ผ่านมา Gucci ได้เปิดขายกระเป๋าถือออนไลน์ในเกม Roblox ในราคาถึง 350,000 Robux หรือคิดเป็นเงินจริงก็ราวๆ 150,000 บาท (แม่เจ้า! แพงกว่าตัวจริงอีกด้วยมั้ง) ที่ไม่ใช่ NFT เพิ่มความสามารถใดในเกมไม่ได้ และก็ไม่มีกระเป๋าใบจริงให้ และก็เอามาทำอะไรในโลกจริงไม่ได้

และที่น่าทึ่งกว่านั้นคือมันกลับขายได้ดีกว่าของจริงในโลกออฟไลน์ ซึ่งราคาก็เท่ากันเลย นี่คือข้อพิสูจน์ที่ทำให้เห็นว่า Digital asset นั้นมีมาก่อนจะเกิด NFT หรือ Token ใดๆ ที่ต้องมายืนยันว่าไฟล์นี้เป็นของใครด้วยซ้ำครับ

เพียงแค่ผู้คนในวันนี้ต่างยอมรับ Value ของ Digital มากขึ้น จึงยอมจ่ายเงินจริงให้กับสิ่งที่จับต้องไม่ได้จริงและไม่ได้สร้าง Productivity ใดๆ ผิดกับไอเท็มในเกมบางอย่างสมัยก่อนที่ขายได้ราคาแพงเพราะมันมีความสามารถเทพในเกมเหลือเกิน

การจ่ายเงินเพื่อคอนเทนต์หรือสิ่งที่จับต้องไม่ใช่เรื่องใหม่ เพียงแค่มันเปลี่ยนรูปแบบกับวิธีการหรือช่องทางไปจากวันวานเท่านั้น

เมื่อก่อนเราจ่ายเงินเพื่อซื้อหนังสือพิมพ์ วันนี้เราจ่ายเงินเพื่อดู Onlyfan เมื่อก่อนเราจ่ายเงินเพื่อดูเคเบิลทีวี วันนี้เราจ่ายเงินค่า App Streaming อย่าง Netflix หรือ Disney+ เมื่อก่อนเราจ่ายเงินค่าตลับหรือแผ่นเกม วันนี้เราจ่ายเงินเพื่อของในเกมมากขึ้น

และอีกหนึ่งตัวแปรสำคัญที่ทำให้การจ่ายเงินเพื่อ Digital Content หรือ Digital Asset ภายในเกมได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นมากก็มาจากการที่ช่วงล็อกดาวน์ที่ผ่านมาเราใช้เวลาจำนวนมากขึ้นกับเกมที่เราสนใจ จนทำให้เรารู้สึกว่าอยากจะลงทุนกับตัวละครเรามากขึ้น ให้มีความเก๋ไก๋สะท้อนสิ่งที่เราเป็นหรืออยากจะเป็นให้มากกว่านี้ครับ

เพราะในเกมก็มีสังคม ทั้งสังคมจริงจากเพื่อนรอบตัวเรา กับสังคมใหม่ที่เราต่างรู้ว่าอีกฝ่ายเป็นใคร ดังนั้นการได้รับการยอมรับจากในเกมย่อมส่งผลต่อโลกนอกเกมชีวิตจริงไม่มากก็น้อย หรืออย่างน้อยที่สุดมันก็ทำให้เรารู้สึกมั่นใจขึ้นเมื่ออยู่ในเกมนั้น

และนี่ก็ก่อให้เกิดศัพท์ใหม่ทางการตลาด จาก Consumer Goods สู่ Digital Goods

https://www.adweek.com/media/want-to-buy-jack-dorseys-first-tweet-itll-be-2-5-million/

แต่จุดเปลี่ยนสำคัญในปีนี้คือการเกิดขึ้นของเทคโนโลยี NFT ที่ได้รับความสนใจจากผู้คนมากมายไปจนถึงบริษัทยักษ์ใหญ่ทั่วโลก มีผู้ใช้งานโซเชียลมีเดียทั่วโลกกว่า 8% ที่ใช้เงินลงทุนหรือเสี่ยงดวงกับ NFT ไปเรียบร้อยแล้ว (ผมยังนะ แต่เอาไปลงคริปโทเป็นหลัก)

ถ้าถามว่าทำไม NFT ถึงได้รับความสนใจในระยะเวลาอันรวดเร็วขนาดนี้ ปัจจัยหลักก็น่าจะมาจากความ Scaricity หรือการมีจำกัดไม่สามารถปั๊มเพิ่มหรือ copy & paste ได้แม้จะเป็นแค่ไฟล์ดิจิทัล เมื่ออะไรก็ตามถูกประทับตาแล้วว่าของสิ่งนี้เป็นของใคร ต้นฉบับคืออันไหน ต่อให้จะถูกทำซ้ำมากี่ร้อย พัน หรือล้านๆ ครั้งก็ไม่ใช่ปัญหา เพราะสุดท้ายแล้วมันสามารถสืบสาวย้อนกลับไปได้ว่าใครเป็นเจ้าของไฟล์นี้จริงๆ กันแน่

ถ้าให้อธิบายสั้นๆ ว่า NFT คืออะไร มันคือการทำ Tokenising หรือการเอาส่วนหนึ่งของไฟล์ หรือคอนเทนต์ ผูกเข้ากับรหัส token แล้วฝั่งลงบน Blockchain เพื่อจะพิสูจน์ยืนยันกลับไปได้ว่าไฟล์นี้ใครเป็นคนสร้าง แล้วใครเป็นผู้ถือครองล่าสุด หรือก่อนหน้านี้ผ่านมือใครมาบ้าง ซึ่ง NFT เป็นที่ฮือฮาทั่วโลกก็เพราะ Jack Dorsey หนึ่งในผู้ก่อตั้ง Twitter ออกมาประกาศว่าจะประมูลขายทวีตแรกของเขาบน Twitter ซึ่งบอกตามตรงตอนแรกที่ผมได้ยินก็ไม่เข้าใจว่าในเมื่อมันเป็นดิจิทัลแล้วจะขายอย่างไร ซื้อไปแล้วจะได้อะไร แค่เป็นการแคปรูปภาพทวีตแรกให้คนอื่นไปเท่านั้นหรอ?

แต่มาวันนี้ผมเริ่มเข้าใจมากขึ้นว่า Moment ใน Tweet แรกของเขาจะถูกบันทึกแบบ NFT จากนั้นก็เอา​ Token ที่ผูกกับ Tweet นี้ส่งต่อให้ผู้ที่ประมูลเงินสูงสุด เพื่อจะได้เป็นการยืนยันกับคนอื่นว่าผู้ถือครอง Token นี้คือเจ้าของโพสทวีตแรกของ Jack Dorsey นั่นเองครับ

เทียบได้กับการประมูลงานศิลปะไม่ว่าจะภาพวาด ภาพถ่าย หรือการปั้นต่างๆ แม้ผลงานดังกล่าวสามารถถูกทำปลอม ทำซ้ำขึ้นมาได้ แต่คุณค่าที่แท้จริงอยู่กับผลงานที่เป็น Original เท่านั้น ซึ่งเดิมทีต้องใช้การพิสูจน์จากผู้เชี่ยวชาญด้านงานศิลปะหรือนักประวัติศาสตร์ แล้วก็ต้องใช้สถานบันที่น่าเชื่อถือในการออกใบรับรองให้

แต่ในโลกยุคดิจิทัลใหม่เราจะให้ใครมายืนยันทำไม ในเมื่อเราสามารถยืนยันร่วมกันได้ด้วย Blockchain ว่าตกลงผลงานนี้ที่เราเห็น หรือได้ยินอยู่เป็นของใครจริงๆ กันแน่

การซื้อ NFT ก็เป็นเครื่องแสดงถึง Social Status ได้เหมือนกับการที่เราซื้อของหายากราคาแพงๆ ไม่ว่าจะ Rolex หรือ Porsche ก็ตาม ในแง่หนึ่งก็เหมือนกับเสื้อผ้าที่ฟีเจอร์ไม่ได้มีอะไรมากแต่มีไว้เพื่อสะท้อนถึงสถานะของผู้สวมใส่

นั่นเลยเป็นเหตุผลว่า Gen Z กว่า 33 จากทั่วโลกใช้เงินไปกับการซื้อสกินในเกม หรือเสื้อผ้าในเกมออนไลน์ที่ไม่ได้ช่วยอะไรในชีวิตจริง และไม่ได้เพิ่มความเก่งในเกมแต่อย่างไร

เพราะความเก๋ ความเท่ห์ ความ Unique ความแตกต่างไม่เหมือนใคร คือสิ่งที่มนุษย์ส่วนใหญ่ล้วนแสวงหามาตั้งแต่อดีตกาลครับ (สมัยก่อนคือเปลือกหอย หรือหินสีหายาก)

ดังนั้นการสร้างแบรนด์และการทำการตลาดจึงจะยิ่งสำคัญมาก ในวันที่ทุกสิ่งล้วนเป็นนามธรรมจับต้องไม่ได้ การตลาดในปี 2022 ไปจะยิ่งดุเดือดมากกว่าที่เคยเป็นมา เอาเป็นว่าที่เคยคิดว่ายากจะกลายเป็นขนมหวานเลยหละครับ

ในโลก Digital Economy ความร่ำรวยไม่ได้วัดจากว่าคุณรู้จักใคร แต่วัดที่ว่าใครบ้างที่ติดตามคุณ การลงทุนไม่ใช่แค่กับ Digital Assets เท่านั้น แต่เป็นการลงทุนเพื่อให้ได้เข้าไปใน Community นั้น ท้ายที่สุดคือเงินที่คุณใช้ไปกับข้าวของดิจิทัลทั้งหลายจะเป็นตัวชี้วัดว่ารสนิยมคุณเป็นอย่างไร หรือคุณมีสถานะทางการเงินดีแค่ไหนกัน (คิดถึงกระเป๋ากุชชี่ในเกมใบละแสนห้าเมื่อกี้)

การซื้อ Digital Content หรือ Digital Goods ทั้งหลาย หรืออะไรก็ตามที่คุณถือครองบนดิจิทัลไม่ว่าจะแพลตฟอร์มใด จะเป็นตัวสะท้อนชี้วัดว่าคุณเชื่อในอะไร คุณให้ค่ากับสิ่งไหน และให้โอกาสคุณได้แสดงความเห็นในกลุ่มคนที่เชื่อในสิ่งเดียวกัน

What’s Driving IT? เทรนด์นี้มาจากไหนกัน?

เบื่อเศรษฐกิจโลกเก่า ที่มีเจ้ามือไม่กี่คน

จากปัญหาข่าวดังเรื่องหุ้นที่ฉาวไปทั่วโลกอย่าง GameStop ที่ถูกปั่นหุ้นขึ้นมามหาศาลเพื่อหวังจะทุบขายทิ้งเอากำไรส่วนต่างจากการช๊อต กลายเป็นว่าบริษัทการเงินต้องเจ็บหนักแทนจากนักลงทุนรายย่อยที่ช่วยกันเอาคืนบริษัทยักษ์ใหญ่ ภาพนี้สะท้อนให้เห็นว่าเศรษฐกิจโลกส่วนใหญ่ในวันนี้ถูกกุมอำนาจโดยกลุ่มคนเล็กๆ จากโลกยุคเก่า แล้วไหนจะปัญหาดอกเบี้ยเงินฝากที่ต่ำติดดินจนไม่รู้ว่าจะพอค่าธรรมเนียมบัตรเครดิตหรืเปล่า ธนาคารเก่าแก่เริ่มจะสั่นคลอนไม่มั่นคงมากขึ้นทุกวัน ไปจนถึงปัญหาความเหลื่อมล้ำที่ดูจะสูงขึ้นทุกที (คนรวยก็ขึ้นทางด่วนไป ส่วนคนจนหน่อยก็ขับถนนข้างล่างเอา แล้วคนไม่มีรถต้องใช้ระบบขนส่งสาธารณะนี่จะไปอยู่ตรงไหนในสังคมได้หละวันนี้?)

ทั้งหมดนี้ทำให้คนรุ่นใหม่รู้สึกสิ้นหวังกับอนาคตของพวกเขามากในระบบที่ดูจะเสื่อมทรามลงทุกวัน แถมระบบพวกนั้นยังถูกสร้างขึ้นมาเพื่อขูดรีดเอาเปรียบจากคนธรรมดาที่ไม่ร่ำรวยให้ต้องอยู่ในสถานะชนชั้นกลางที่แอบถูกขยับให้เลื่อนลงล่างไปเรื่อยๆ หรือเอาเข้าจริงคือชนชั้นกลางกำลังหายไปกลายเป็นชนชั้นล่างโดยไม่รู้ตัวไปแล้วครับ

สุดท้ายคือเกิดการมองหาโอกาสใหม่ที่ยังไม่มีใครจับจองเพื่อเข้าไปเสี่ยงดวง นั่นก็คือการลงทุนในคริปโทที่ก่อให้เกิดเศรษฐีคริปโทมากมาย ไปจนถึงการลงทุนใน NFT ที่ดูจะได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในกลุ่มคนรุ่นใหม่มากขึ้นทุกวัน

จาก Facebook สู่ Metaverse

จากการประกาศออกตัวครั้งใหญ่ของ Facebook ที่ไม่ใช่แค่ขยายการลงทุนเข้าไปใน Metaverse แต่เป็นครั้งแรกของบริษัทเทคโนโลยีระดับโลกที่เปลี่ยนชื่อบริษัทไปเพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายในระยะยาว

กลายเป็นข่าวคึกโครมไปทั่วโลกไม่เว้นแม้แต่ในไทยว่าอนาคตของ Facebook จะเป็นอย่างไร เชื่อว่าการขยับตัวของยักษ์ใหญ่ครั้งนี้เป็นการทำให้ทุกคนเห็นว่าอนาคตที่มนุษยชาติจะก้าวไปคือการเข้าไปสู่โลก Metaverse เป็นแน่แท้

นั่นหมายความว่า Digital Goods หรือ Virtual Goods จะกลายเป็นหนึ่งในธุรกิจใหญ่ของยุคหน้านับแต่ปี 2022 เป็นต้นไป เราจะเห็นการใช้เงินเพื่อตัวตนบนออนไลน์มากขึ้น ใช้เงินกับโลกเสมือนจริงมากขึ้น เพราะโลกเสมือนจริงหรือโลกดิจิทัลนับจากนี้จะสะท้อนกลับมายังตัวตนเราในโลกจริง เพราะมนุษยชาติส่วนใหญ่ในวันนี้อยู่โดยขาดอินเทอร์เน็ตไม่ได้เสียแล้ว

นี่ยิ่งเป็นการตอกย้ำเรื่องของ NFT หรือ Digital Assets อื่นๆ ที่ไม่ใช่แค่ของคนเฉพาะกลุ่ม แต่กำลังจะกลายเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องสนใจและให้ความสำคัญ ในวันนี้อาจจะยังยากที่จะจินตนาการได้ว่าโลกหลังยุคอินเทอร์เน็ต หลังยุคดิจิทัล เข้าสู่ยุค Metaverse จะเป็นอย่างไร แต่ในขณะที่ใครๆ ก็ไม่รู้เพราะเริ่มต้นจากศูนย์นับหนึ่งเหมือนกันใหม่ ใครที่นับได้เร็วกว่าก็ย่อมจะได้เปรียบคนที่มาที่หลังเป็นแน่แท้แน่นอนครับ

The Behavioural Change

People are investing in virtual worlds ซื้อบ้านเสมือนจริงที่แพงกว่าบ้านจริงกันแล้ว

https://www.dezeen.com/2021/03/22/mars-house-krista-kim-nft-news/

อีกหนึ่งเคสที่เกิดขึ้นจริงกับการซื้อขายทรัพย์สินบนดิจิทัลผ่าน NFT คือศิลปินนักออกแบบคนหนึ่งที่ชื่อว่า Krista Kim ขาย Virtual house ได้ในราคา 500,000 ดอลลาร์สหรัฐ โดยผู้ใช้หรือเจ้าของสามารถเข้าไปดูบ้านของตัวเองได้ผ่าน VR Platform ที่ชื่อว่า Spartial แบบ Exclusive สุดๆ (ราคาแพงกว่าบ้านจริงผมอี๊ก!)

แล้วถ้าจนกว่านั้นทำยังไง พอจะซื้อหาอะไรมาอวดชาวโซเชียลได้บ้าง? แน่นอนครับว่าตลาดพร้อมจะตอบรับกับทุกความต้องการในตลาด ถ้าเงินน้อยกว่านั้นหน่อยก็ลองดู Digital Collection ของ Balenciaga อย่างเสื้อฮู้ดหรือกระเป๋าเป้สะพานหลังที่สามารถใส่เก๋ๆ โชว์เท่ห์ในเกมดัง Fortnite ครับ

Creators Reclaiming the value of their images เมื่อล้อเลียนยอดนิยมถูกเจ้าตัวในภาพกลับมาทวงสิทธิ์

ภาพนี้ขายบน NFT 500,000 เหรียญ
https://www.nftsstreet.com/bad-luck-brian-meme-sells-for-36000-as-an-nft/

บรรดาภาพที่ถูกนำไปใช้ทำ Meme ปรับแต่งเติมคำพูดมากมายที่ได้รับความนิยมบนโซเชียลล้นหลาม ในทำนองที่ว่าภาพนี้ใครๆ ก็รู้จักและใครๆ ก็แชร์กัน แต่กลับมีน้อยคนนักที่ตั้งคำถามว่าแล้วคนในรูปนั้นเป็นใคร? เค้าได้อะไรจากการที่พวกเราใช้รูปภาพเขาบ้างไหม?

เมื่อก่อนยากที่จะเคลมได้ว่าตกลงแล้วภาพนี้เป็นของใคร ใครถ่าย ใครสร้าง ใครคือเจ้าของปัจจุบัน ด้วยความที่มันเป็นดิจิทัลก็แค่แชร์ๆ กันไปสุดท้ายก็จับมือใครดมไม่ได้ ไม่ต้องพูดถึงการสาวถึงต้นตอด้วยซ้ำคงไม่มีใครสนใจทำกัน

แต่เมื่อเรารู้จัก NFT แล้วก็เป็นเรื่องง่าย เมื่อเจ้าของรูปหรือคนที่อยู่ในภาพฮิตกลับมาเรียกร้องสิทธิ์ของตัวเองในภาพถ่าย นั่นก็ให้ภาพอย่าง Disaster Girl เด็กผู้หญิงคนหนึ่งที่ยิ้มแสยะกับบ้านหลังหนึ่งที่ถูกไฟไหม้ต่อหน้า วันนี้เข้าสามารถขายภาพดังกล่าวของตัวเองได้ในราคาสูงถึง 500,000 ดอลลาร์สบายๆ ครับ

ไหนจะภาพ Bad Luck Brain หนุ่มเนิร์ดที่ดูแปลกประหลาดหน่อยๆ ที่ถูกเอาไปใช้กันมานักต่อนักก็ถูกนำไปขายบน NFT ได้ราคาสูงถึง 36,000 เหรียญ นี่คือยุคของเศรษฐีดิจิทัลตัวจริงตั้งแต่เราสามารถแสดงความเป็นเจ้าข้าวเจ้าของผ่าน NFT ได้สบายๆ

Fans are investing in creators for IP rights ลงทุนกับศิลปินที่ใช่ในวันนี้เพื่อความร่ำรวยของตัวเองในวันหน้า

ศิลปินบางคน Creator บางท่านออกมาประกาศว่าถ้าใครลงทุนซื้อผลงาน NFT เขาวันนี้มีสิทธิ์จะได้รับผลตอบแทนจากการนำผลงานไปใช้ในวันหน้า ตัวอย่างจากเกม CryptoKitties ประกาศว่าผู้ที่ถือ NFT ผลงานของเขามีสิทธิ์จะได้รับค่าตอบแทนจากการนำลิขสิทธิ์ไปใช้เพื่อการพานิชย์สูงถึง 100,000 ดอลลาร์ต่อปี (ผมเข้าตอนนี้ทันไหม?) หรือ DJ 3Lau ก็ประกาศว่าถ้าใครซื้อ NFT งานเพลงเขาในวันนี้ สัญญาว่าวันหน้าจะแบ่งค่าตอบแทนให้กับ Fan ที่ซื้ออีกด้วย

เรียกได้ว่าลงทุนวันนี้เพื่อวันหน้าอย่างแท้จริง แต่ไม่ได้ลงทุนกับบริษัท แต่ลงทุนกับตัวศิลปินหรือผลงานที่เชื่อว่ามันจะทำเงินได้ในอนาคต (ว่าแต่ถ้าขาย NFT ให้คนอื่นแล้วไม่ได้ถือว่าลิขสิทธิ์การทำเงินจากผลงานนั้นตกเป็นของผู้ซื้อไปแล้วหรอ?)

https://www.morningbrew.com/daily/stories/2021/04/21/nfts-intellectual-property-really-means-digital-kitty

Use IT – NFT Marketing

ในปีนี้เป็นปีที่เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ พร้อมกับการเกิดขึ้นของสิ่งใหม่ที่เปลี่ยนโลกอย่าง NFT ขึ้นมา ทำให้เกิดการเปลี่ยนผ่านจากการจ่ายเงินเพื่อเข้าถึง Digital Content บางอย่างมาสู่การครอบครองบางสิ่งที่เป็นดิจิทัลจริงๆ ด้วยการยืนยันความเป็นเจ้าของผ่าน NFT บน Blockchain

และการเป็นเจ้าของ Digital Assets ใดก็สามารถสะท้อนถึงสถานะทางสังคม สถานะทางการเงิน ไปจนถึงโอกาสที่จะทำเงินได้จากทรัพย์สินที่ถือครองนั้น

นี่คือโอกาสสำคัญที่แบรนด์จะก้าวเข้ามาทำธุรกิจใหม่ๆ และการตลาดผ่าน NFT โดยไว เพื่อจะได้เรียนรู้ว่าเราจะต้องทำอย่างไรต่อไปในปีหน้า 2022 ครับ

Learn from Nike ซื้อ Physical Goods แถม Virtual Goods

https://tokenist.com/cryptokicks-nike-to-tokenize-shoe-ownership-on-ethereum/

การตลาดแบบลดแลกแจกแถมแบบเดิมคงน่าเบื่อ การซื้อคู่แถมคู่กำลังกลายเป็นเรื่องล้าสมัย เมื่อวันนี้คนรุ่นใหม่มากมายสนใจลงทุนใน NFT มากขึ้นเรื่อยๆ แบรนด์ต้องรู้จักปรับตัวใช้โอกาสนี้เพื่อเพิ่มยอดขายสินค้าจริงให้ได้มากขึ้น

เหมือนที่ NIKE ทำด้วยการประกาศว่าจากนี้ไปใครที่ซื้อรองเท้า NIKE ของจริงไป จะได้รับรองเท้า NIKE แบบเดียวกันบน Metaverse ที่มี NFT กำกับ ไม่มีซ้ำ ไม่มีปลอม เพราะมีการยืนยันความเป็นเจ้าของบน Blockchain เรียบร้อยแล้ว (นั่นหมายความว่าจะขายต่อให้ใครก็มีราคาในตัวของมันเองครับ)

ต่อไปนี้จะไม่ใช่แค่ใส่เท่ห์เมื่อออกไปเดินตามห้าง แต่ยังสามารถใส่ NIKE อวดเพื่อนใน Metaverse ได้อีกด้วยครับ

Learn from Paloma Wool สร้าง Virtual Experience บน Metaverse ให้คนเข้ามารู้สึกก่อนสัมผัสจริง

https://www.instagram.com/p/CSEqj5Vrhet/

แบรนด์ควรเรียนรู้ที่จะกลับมาทำ Virtual Experience อีกครั้ง หลังจากยุคของ VR เคยมาเมื่อ 4-5 ปีก่อน มาวันนี้เมื่อ Metaverse เข้ามาใครๆ ก็อยากจะเข้ามาสัมผัสประสบการณ์แบบ Virtual Reality อีกครั้งหนึ่ง

ตัวอย่างจากแบรนด์ Paloma Wool แบรนด์แฟชั่นสัญชาติสเปนที่จับมือกับศิลปิน 3D ชาวอาร์เจนตินาอย่าง Mercedes Luna Larrahona เพื่อสร้าง Virtual Showroom เสมือนจริงหรืออาจะเรียกว่าสวยเกินจริงในการโชว์สินค้าต่างๆ ที่แบรนด์มีขาย เรียกได้ว่าอย่างน้อยถ้าไปโชว์รูมไม่ได้ ก็ขอเข้ามาลองดูผ่าน Virtual Showroom ก่อนตัดสินใจก็ยังดี ดีไม่ดีซื้อแบบ NFT เอาไปใช้ในบ้านที่เป็น Virtual Home ก็ยังได้ครับ

Learn from ASICS ร่วมมือกับ Artist สร้าง Virtual Product ใหม่ร่วมกัน

GIF by We Are Social - Find & Share on GIPHY

การตลาดแบบ Collaboration Marketing จะทวีความสำคัญมากขึ้น ในวันที่ Digital มี Value ขึ้นมาอย่างจริงจังด้วย NFT ทำให้แบรนด์อาจจะไม่สามารถตามเทรนด์ได้ทัน แล้วทำไมแบรนด์อย่างเราไม่ทำตัวเป็นผู้สนับสนุนนักสร้างเทรนด์ที่เป็น Creator มากมายในการสร้างโอกาสใหม่ๆ ร่วมกันแทนหละ

อย่าง ASICS รองเท้าวิ่งชื่อดังก็ใช้วิธีร่วมมือกับบรรดาศิลปินที่เป็น Digital Artist มากมายในการสร้างรองเท้ารุ่นใหม่ๆ ดีไซน์ใหม่ๆ ขึ้นมาเป็น NFT Collection ก่อนจะทำของจริงออกมาขาย แล้วก็เอารายได้ที่ได้มาจากการขายกลับมาสนับสนุนศิลปินรุ่นใหม่อีกที ถือเป็นการสร้าง Business Ecosystem ที่ดีในอนาคตเลยครับ

https://www.highsnobiety.com/p/asics-nft-sunrise-red-collection/

สรุป Digital Marketing & Social Media Trends ที่ 5 New Materialists หรูหราออนไลน์เมื่อผู้บริโภคยอมจ่ายเงินจริงเพื่อสิ่งที่จับต้องไม่ได้จริงมากขึ้น

เราคงเห็นแล้วว่าเดิมทีคนรุ่นใหม่ยอมจ่ายเงินเพื่อ Digital Content มาก่อน แม้หลายอย่างจะเข้าถึงได้ฟรี แต่พวกเขาก็เลือกที่จะจ่ายเงินเพื่อเข้าถึงเนื้อหาพิเศษบางอย่างก่อนใคร หรือให้เข้าถึงได้ง่ายดายขึ้น จากนั้นก็พัฒนามาสู่การจ่ายเงินเพื่อ Digital Goods บางอย่าง เช่นไอเท็มในเกมบางชิ้นที่ช่วยเพิ่มความสามารถ แต่ที่น่าสนใจที่สุดคือ Digital Collection ของแบรนด์แฟชั่นดังที่จับมือร่วมกับเกมดังในการทำออกมาขาย ซึ่งเหล่าเกมเมอร์จะเรียกกันว่า “สกิน”

ซึ่งเจ้าสกินนี้เองหลายครั้งก็ไม่ได้มีความสามารถอะไรพิเศษให้กับผู้ใช้ เรียกได้ว่าใส่ไปก็ไม่ได้เก่งขึ้น ไม่ได้เปรียบคนอื่นในเกมแต่อย่างไร เพียงแต่แค่มีใส่เอาไว้ขิงเพื่อนในเกมก็เกินพอแล้ว เหมือนกระเป๋ากุชชี่ที่สามารถขายได้ในราคาเท่าของจริง และก็ยังมีคนซื้อเอามาอวดกันในเกมจริงๆ ด้วย

จุดเปลี่ยนสำคัญที่สุดของเทรนด์นี้คือ NFT ที่ก้าวเข้ามาทำให้เราสามารถแสดงความเป็นเจ้าข้าวเจ้าของของสิ่งที่เป็น Digital จับต้องไม่ได้ จะก้อปปี้กันก็ง่าย แต่ถึงจะก้อปปี้ไปก็ยังมีสิ่งที่บอกได้ว่าผลงานนี้ใครสร้าง และล่าสุดเป็นของใครแล้ว

นี่เองที่ทำให้คนรุ่นใหม่มากมายหันมาลงทุนกับ NFT มากขึ้น จนส่งให้ผลายแบรนด์ดังต้องกระโดดเข้ามาสร้าง Virtual Goods บน NFT เพื่อทำให้ยอดขายไม่ตกเพราะไม่ทันความต้องการใหม่ๆ ของลูกค้า

อนาตตของดิจิทัลกำลังจะก้าวเข้าสู่โลกของ Metaverse มากขึ้นทุกที เพราะดูจากที่ Facebook ออกมาประกาศเปลี่ยนชื่อบริษัทจนสะเทือนโลกก็เป็นการป่าวประกาศชัดว่าพวกเขาพร้อมจะรื้อตัวตนทุกอย่างใหม่หมดเพื่อภารกิจใหม่ครั้งนี้

นี่เป็นแค่จุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ซึ่งยังมีอะไรใหม่รอให้เราเรียนรู้อีกมาก แต่ถ้าเราไม่รีบเรียนรู้ในแบบของเราก่อนใคร รับรองว่าคุณจะรู้สึกเสียดายเหมือนตอนตกขบวน Digital Marketing แน่ๆ ครับ

สรุป 5 Digital Marketing & Social Media Trends 2022 จาก We Are Social กับ 5 การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่นักการตลาดออนไลน์ต้องรู้ก่อนเข้าปี 2022

ใครจะคิดว่าปี 2021 จะเกิดการเปลี่ยนแปลงมากมายขนาดนี้เมื่อเทียบกับสิ่งที่เจอในปี 2022 จาก Digital Shift ครั้งใหญ่นำมาสู่ Digital Behavioural ใหม่ๆ มากมายที่โลกทั้งใบกำลังก้าวเข้าสู่เศรษฐกิจดิจิทัลหรือ Digital Economy ที่แท้จริงมากขึ้นทุกทีโดยที่เราไม่ทันรู้ตัว

  1. In-Feed Syllabuses อยากเรียนรู้เรื่องไหนแค่เลือกตาม Influencer คนนั้น การเรียนออนไลน์กลายเป็นเรื่องง่ายที่ใครๆ ก็ทำได้ (แต่ทำไมผู้ใหญ่หรือคนสอนยังไม่เข้าใจ) ทำให้คนรุ่นใหม่เลือกที่จะติดตาม Influencers ที่ตัวเองสนใจในทักษะนั้นด้วยตัวเอง แล้วเรียนผ่านหน้าฟีดโซเชียลทุกวันในทุกครั้งที่หยิบมือถือ
  2. The Vibe Economy เมื่อชีวิตจริงเต็มไปด้วยความเครียด การใช้ดิจิทัลเพื่อผ่อนคลายจากความกดดันมากมายจึงกลายเป็นเทรนด์ใหม่ที่คนส่วนใหญ่เลือกทำกัน พอแล้วกับโพสไร้สาระหรืออวดชีวิตดี ขอเป็นคนชิลๆ ที่มีความสุขในชีวิตจริงบ้างได้ไหม และนั่นก็ทำให้วิธีทำ Content Marketing 2022 เปลี่ยนไปจากการเน้นสารที่จะสื่อ มาสู่อารมณ์ที่ต้องการส่งผ่านออกไป นี่คือเทรนด์สำคัญที่นักการตลาดต้องเรียนรู้แล้วเอาไปประยุกต์ใช้กับ Marketing Communication Strategy 2022 ของตัวเองครับ
  3. Prime Time Platforms ใครบอกว่ารายการถ่ายทอดสดนั้นตายแล้ว? แต่ในความเป็นจริงแล้วมันถูกพัฒนาในรูปแบบ LIVE ถ้าแค่ดูคอนเทนต์นิ่งๆ แล้วไม่ได้มีส่วนร่วมก็ไม่มีความจำเป็นที่ต้องเฝ้ารอหน้าจอ นี่คือยุคของ Live Streaming ที่แท้จริง หรือจะเรียกว่า Live Enagement ถึงจะถูก นักการตลาดที่ฉลาดต้องจำไว้ ที่ใดมีคน ที่นั่นมีเงิน จงไปอยู่ในที่ที่กลุ่มเป้าหมายเราอยู่ แล้วเราจะเห็นโอกาสใหม่อีกมากที่ไม่คิดว่ามีอยู่จริง เช่น เกม
  4. Social Cynicism การแดกดันบนโซเชียลกลับมาอีกครั้ง แต่ในขณะเดียวกันก็เตรียมพร้อมการสู้กลับทางกฏหมาย เมื่อผู้คนจำนวนมากบอกว่ายิ่งเล่นโซเชียลมีเดียเท่าไหร่ ก็ยิ่งทำให้รู้สึกแย่กับตัวเองเท่านั้น เพราะต่างคนต่างอวดชีวิตดีกันมากมาย จึงทำให้บรรดาแอคเคาท์หรือเพจประเภทล้อเลียนแดกดันคนอื่นกลับมาได้รับความนิยมอีกครั้งหนึ่ง แบรนด์ต้องรู้จักช่วยให้คนลดความเครียดความกดดันในชีวิตจริงลง ด้วยการชูคอนเทนต์ไร้สาระขึ้นมาให้คนรู้สึกว่าเราต่าง และนั่นจะทำให้แบรนด์เราไปต่อได้ท่ามกลางความเครียดมากมายที่คนจำนวนไม่น้อยบอกพอแล้วกับสาระ
  5. New Materialists หรูหราบนออนไลน์ เมื่อคนมากมายยอมจ่ายเงินกับสิ่งที่จับต้องไม่ได้จริง จากวิวัฒนาการของการจ่ายเงินเพื่อคอนเทนต์บางอย่างมาสู่การจ่ายเงินเพื่อครอบครองความเป็นเจ้าของ Digital Assets ด้วยเทคโนโลยีอย่าง NFT สิ่งนี้จะเข้ามาเปลี่ยนวิธีการทำการตลาดไปอีกมาก ไปจนถึงเริ่มเห็นธุรกิจปรับตัวมาสร้าง Virtual Goods เพื่อดึงดูดให้คนซื้อ Physical Goods เพิ่มขึ้นครับ

ทั้งหมดนี้คือ 5 Digital Marketing & Social Media Trends 2022 สำคัญที่ต้องรีบรู้แล้วเอาไปประยุกต์ใช้ เพราะโลกหมุนเร็วขึ้นทุกวัน และสิ่งใหม่ก็เกิดขึ้นทุกวินาที คนที่จะได้ไปต่อในปีหน้าที่ว่ากันว่าจะยากเย็นกว่าปีนี้ คือคนที่พร้อมยอมรับว่าตัวเองยังไม่รู้ และก็หมั่นหาความรู้ใหม่ใส่เติมหัวทุกวันครับ

เพราะความรู้หมดอายุไว ผมจึงอยากให้เราเรียนรู้เรื่องใหม่ๆ ไปด้วยกัน

อ่านบทความตอนที่ 1 > https://www.everydaymarketing.co/trend-insight/5-digital-marketing-and-social-trends-2022-we-are-social/

สรุป 5 Digital Marketing & Social Trends 2022 จาก We Are Social เทรนด์การตลาดออนไลน์ในปี 2022 กับแนวทาง Content Marketing 2022 ที่รื้อใหม่หมด

Source: https://thinkforward.wearesocial.com/index.html

Nattapon Muangtum

เจ้าของเพจการตลาดวันละตอน / อาจารย์พิเศษวิชา Data-Driven Communication / เขียนหนังสือมาแล้ว 5 เล่ม Personalized Marketing, Data-Driven Marketing, Data Thinking, Contextual Marketing และ Social Listening / ที่ปรึกษา Data-Driven Advisor

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *