Social Listening – Insight จาก Social Data คนไทยกับ ‘ของแพง’ สงครามเงินเฟ้อ

Social Listening – Insight จาก Social Data คนไทยกับ ‘ของแพง’ สงครามเงินเฟ้อ

Social Listening – Insight จาก Social Data คนไทยกับ ‘ของแพง’ สงครามเงินเฟ้อ

ในปี 2022 นี้ที่เพิ่งผ่านมาแค่ครึ่งทาง… นุ่นได้เขียนเกี่ยวกับ ‘สินค้าขึ้นราคา’ ไปพาร์ทนึงแล้ว จนเดือน 7 ต้องเอามาเป็นเคส Social Data อีกรอบเพราะมี Insight น่าสนใจ เหมาะจะเล่าให้นักการตลาดฟังค่ะ  

เพราะอย่างที่ทราบกันว่านักการตลาดไม่ใช่แค่คนที่ตั้งหน้าตั้งตาทำแผนขายของ โดยไม่อิง Consumer Insights 

ยิ่งเป็นเรื่องเศรษฐกิจบ้านเมือง ที่ส่งผลต่อความสามารถในการใช้จ่ายของลูกค้ามากขึ้น เรายิ่งต้องอัปเดตต่อเนื่อง สถานการณ์รอบตัวเราต้องรู้ถ้าจะปรับตัวให้ทัน

หากได้เทรนด์หรือเรื่องที่เราต้องการเจาะแล้ว อย่าง ‘ของแพง’ นุ่นอยากให้ลองใช้ Social Listening เข้ามาเป็นพาร์ทนึงของการหาแหล่งอ้างอิง หาข้อมูลของลูกค้าบนโซเชียลว่าคิดเห็นอย่างไร ใช่อย่างที่ทีมเราเถียงกันในที่ประชุมเมื่อเช้าไหมนะ 

แหละการเข้าถึง Social Data แม้ต้อนนี้เราจะต้องใช้ภายใต้นโยบายความเป็นส่วนที่ปรับใหม่มากขึ้น ก็เชื่อว่าดีกว่าเรานั่งมโนเองแน่นอนค่ะ อีกทั้งตัวเครื่องมือไม่ยากเลย แค่รู้คอนเซ็ปต์พยายามฝึกครั้งแรก ๆ ให้ชินมือ ทีเหลือ Social Listening ทุกเจ้าเค้าจะมีฟีเจอร์ต่าง ๆ เพื่อตอบโจทย์การใช้งานของเราค่ะ

มาดูกันว่านุ่นเจออะไรน่าสนใจบ้างหลังจากใช้เวลาอ่านข้อมูลและเรียบเรียงเป็นบทความประมาณ 1 วัน 

Keyword : ของแพง แพง ขึ้นราคา ปรับราคา

Timeline : 1/06/65 – 07/07/65

Platform : Facebook Twitter TikTok Youtube

สงครามยูเครน น้ำมันแพง เงินเฟ้อ ค่าไฟ และอื่น ๆ ไหลจากข่าวใน Facebook มากที่สุด

ใช้สำหรับบทความของการตลาดวันละตอนเท่านั้น

เช็ก Insight Timeline ทั้งสองแง่มุม ทั้ง Mentions และ Engagement ลองเข้าไปอ่านดูพบว่าเป็นข่าวเดียวกัน น้ำมันแพง เงินเฟ้อ ขึ้นค่าไฟ แต่สาเหตุที่ความสูงแท่งชาร์ตไม่เท่ากัน เพราะ By Mentions หลายเพจข่าวดังเอาไปลง Week นั้น เครื่องมือจะคำนวนจำนวนเพจเป็น Mentions ค่ะ

แต่ By Engagement คือมีโพสต์ที่ได้รับเอนเกจสูงกระจุกในวันนั้น มีถล่มไลค์แชร์คอมเมนต์ เครื่องมือจะคำนวนเป็น Enagagement ค่ะ

อย่าเพิ่งเกาหัวค่ะ นุ่นมีภาพประกอบอธิบายเพิ่มเติมให้ด้านล่าง

ใช้สำหรับบทความของการตลาดวันละตอนเท่านั้น

พอเราคลิกเข้าไปในชาร์ต ซึ่งใน 1 แท่งมีแยกสัดส่วนให้ว่าเข้ามาจากแพลตฟอร์มไหน เราก็จะเห็นว่าจำนวนโพสต์วันนั้นมีเท่าไหร่ เห็น Social Data โดยละเอียด

ในภาพก็นุ่นคลิกที่แท่ง Facebook เข้าไปเจอข่าวค่าเงินบาทอ่อน ข่าวเศรษฐกิจ น้ำมัน เป็นต้นค่ะ ที่น่าสนใจคือด้านข้าง ดูคู่กันได้

ปกติเราดูโดยรวมได้ดีอยู่แล้วนะคะ ในรูปถัดไปด้านล่าง แต่ในตัวอย่างคือจำกัดแค่เฉพาะวันนั้น คำว่าหุ้น ลงทุน ราคา น้ำมันขึ้นมาใหญ่มากเพราะมีเพจลงทุนแมนกล่าวถึง Keyword ที่เราจับ Social Data เข้ามานั่นเอง

แล้วก็ยังดูแบบเวลาที่คนพูดถึงเรื่องนี้กันเยอะ ๆ ด้วยค่ะ ที่เห็นในภาพจะเป็นช่วง 15:00 – 17:00 เยอะที่สุด ไม่หวั่นแม่วันทำงาน เรื่องปากท้องรอเมาท์วันหยุดไม่ได้จริง ๆ เพราะเติมน้ำมันไปทำงานตอนเช้าก็นอยแล้ว

Word Cloud ใน Insight Analytics

ใช้สำหรับบทความของการตลาดวันละตอนเท่านั้น

หลังจากที่เขียนอัปเดตฟีเจอร์ล่าสุด Insight Analytics ก็หยุดใช้ไม่ได้เลย เรื่องของแพงเราอาจจะเดาได้ว่าคงจะมีข่าวหรือการพูดถึงสงครามรัสเซีย ยูเครน เงินเฟ้อ และอื่น ๆ อีก ซึ่งไม่รู้หลังปล่อยบทความนี้ไปจะมีปัญหาไหมแต่ขอโชว์ข้อมูลที่ Social Listening จับได้แบบไม่ตัดออกเลยนะคะ

  • สำหรับนักการตลาด ลองนำไปใช้กับ Keyword ที่เกี่ยวกับตลาดของเราดู น่าจะเห็นข้อมูลดี ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างที่เห็นด้านบนค่ะ ลดเวลาถกในห้องประชุมได้มากโขถ้าคุณมีข้อมูลอ้างอิงที่ดี

AI จับประเภท Social Data ให้เบื้องต้น ขอแพงมี Request และ Why เข้ามาเยอะเลย

ใช้สำหรับบทความของการตลาดวันละตอนเท่านั้น

ความฉลาดเบื้องต้นของหลังบ้านคือจับคำว่า ขอ ทำไม แนะนำ อย่างไร และแบ่งหมวดหมู่ให้นักการตลาดค่ะ แต่ภาษาไทยเนี่ยมีความซับซ้อนมากกว่านั้นหลายเท่า เลยทำให้เราต้องเช็กโพสต์ด้านในก่อนจะเอาชาร์ตในฟีเจอร์นี้ไปวางแผนต่อนะคะ

อย่างเรื่องของแพงก็มีกระแสการขอลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นเช่นชุดลูกเสือ เนตรนารี มีคนโพสต์ว่าทำไงจะมีเงินเติมน้ำมัน เครื่องมือเลยเก็บมาไว้ในหมวด How ให้เพราะเจอทำว่า ‘ทำไง’ ค่ะ

ถ้าใช้ดี ๆ คนทำคอนเทนต์ตอบปัญหา ทำไมแพง จะต้องรีบทำด่วน ๆ เลย เพราะข้อมูลแสดงให้เห็นเบื้องต้นแล้วว่ามีประชาชนบางส่วนไม่เข้าใจว่าทำไมแพง

  • สำหรับนักการตลาดฟีเจอร์นี้ใช้เอาไปทำคอนเทนต์ให้ตรงทำธุรกิจตัวเองได้เลยนะคะ ขุดไปเยอะ ๆ เข้าไปอ่านเยอะ ๆ แล้ววางได้ตรงเรื่อง ตรงวันเวลา ให้ Data เป็นพาร์ทนึงของเข็มทิศได้เลย
ใช้สำหรับบทความของการตลาดวันละตอนเท่านั้น

ถ้าไม่ชอบชาร์ตต่าง ๆ ในเครื่องมือ สามารถดูตารางตัวเลข หรือ Export ออกมาทำพรีเซ็นเองได้นะคะ

Social Data อื่น ๆ ที่เจอถ้าใช้เครื่องมือกวาดคำว่า ‘แพง’

สิ่งที่ดีงามเมื่อใช้เครื่องมือกวาด Social Data จากคีย์เวิร์ดคือ นุ่นใส่เรื่อของแพงก็จริง เดิมทีจะดูแค่น้ำมันเอย ค่าไฟเอย ว่าคนไทยคิดเห็นอย่างไร แต่ของแถมคือได้รีแคปตัวเองว่า อีกอย่างที่อัดอั้นมาหลังโควิดคืองานต่าง ๆ ทั้งในและนอกประเทศ

เจอคนบ่นเป็นเสียงเดียวกันโดยเฉพาะใน Twitter ว่าบัตรต่าง ๆ ราคาสูงขึ้นแบบน่าตกใจ ตัวนุ่นเองชอบไปคอนเสิร์ตมาก ยังคิดหนักว่าจะไปงานไหนดีเพราะงบที่มีมัน…

ไม่ว่าจะงานศิลปนสากล ไทย เกาหลีหรืออื่น ๆ บัตรราคาถูกสุดที่เคย 900 แทบจะไม่มีแล้ว หรือมีไม่เกิน 3 แถวค่ะ

ซึ่งก็แน่นอนว่ามันมีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้ต้องมีการปรับราคา คนที่อยากไปยังไงก็ก้มหน้าหาเงินซื้อบัตรกันจนได้อยู่ดี ความรักล้วน ๆ

นี่คือ Relate Topic ที่เราอาจเจอโดยที่นักการตลาดบางคนไม่รู้มาก่อนเพราะลำพังเคลียงานให้กลับบ้านก่อนฟ้ามืดก็แย่แล้ว เวลาตามข่าวในโซเชียลตัดทิ้งไปได้เลยใช่ไหมล่ะคะ

สิ่งที่นุ่นพยายามจะบอกจากทั้งหมดที่เล่ามานี้คือการดู Consumer Insight สำหรับนักการตลาดควรดูจากหลาย ๆ แง่มุม รีเสิร์ชให้กว้างและอย่ามองข้าม Social Data ที่จะทำให้นักการตลาดได้ข้อมูลสุดเรียล ได้เห็น Topic อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับตลาดของเรา ดีที่สุดคือนักการตลาดจะได้ Opportunity ใหม่กลับไปเป็นตันแน่นอนค่ะ

อย่างที่นุ่นอธิบายช่วงฟีเจอร์ Question ก็เพิ่มไอเดียคอนเทนต์ได้ กำหนดแนวทางการสื่อสารได้ตรงจุดกว่าเดิม

ลองใช้เครื่องมือทุ่นแรงให้มากกว่า 1 ดูนะคะ ไม่จำเป็นต้องใช้อย่างที่นุ่นแชร์ 100% เพียงแต่นำไปเป็นแนวทางนุ่นก็ดีใจแล้วค่ะ ^^ เริ่มเลอ

ถ้าใครอยากเรียนรู้การใช้ Social Listening ด้วยตัวเอง หรืออยากให้ทีมของตัวเองใช้เป็น สามารถสมัครเรียนสดทางออนไลน์กับการตลาดวันละตอนด้วยตัวเองได้

คลาสเรียนออนไลน์ Social Listening Analytics

คลาสเรียนออนไลน์ Social Listening เน้น Workshop ลงมือทำจริงด้วยตัวเอง รุ่นล่าสุด ศุกร์สุดท้ายของเดือน เปิดแล้ว
เรียนสดทางออนไลน์ ผ่าน Zoom เต็มวัน 9:00 – 15:00
ค่าเรียนคนละ 9,900 บาท รับจำกัดรุ่นละ 20 คน (ถ้าเต็มรุ่นนี้ต้องขอให้รอรุ่นหน้า)
อ่านรายละเอียดและสมัครก่อนเต็มได้ที่ลิงก์นี้

https://bit.ly/sociallisteningclass

ขอแค่คุณใช้ Social Listening เป็นด้วยตัวเองก็จะพบว่ามี Data มากมายรอให้ใช้งาน และยังมี Consumer Insights ล่องลอยอยู่อีกมาก เหลือแค่ว่าใครจะหยิบมาใช้โอกาสได้ก่อนกัน

Noon Inch

นุ่น Business Data Research Analyst Specialist | Martech 🙋🏻‍♀️💻ใช้ชีวิตอยู่กับ Social Listening Tools เกือบทุกวันมาร่วม 6 ปี 🙋🏻‍♀️📈ทำงานด้าน Social Data Research ให้กับหน่วยงานรัฐและแบรนด์เอกชน 6 ปี 🙋🏻‍♀️✈️ชอบทำงานและชอบใช้เงิน แล้วก็เป็น K-POP🇰🇷 & Salmon Lover 🍣

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

คุณคิดว่าปัญหา PM 2.5 ที่เชียงใหม่วิกฤตหรือยัง ?

#การตลาดวันละโพล ขอหนึ่งคำถามก่อนอ่านการตลาดวันละตอน แล้วเราจะเอาไปทำเป็น Infographic โชว์หน้าเพจให้รู้ด้วยกัน