ดูเทรนด์ NFT Games ในไทยเทียบกับ Global Data – Social Listening Tools

ดูเทรนด์ NFT Games ในไทยเทียบกับ Global Data – Social Listening Tools

ต้องบอกก่อนว่าบทความนี้นุ่นไม่ได้มากชักชวนให้ลงทุนแต่อย่างใดนะคะ แต่จะพานักการตลาดมาวิเคราะห์เทรนด์ที่กำลังเป็นกระแสกัน เชื่อว่าช่วงนี้นักการตลาดหลายคนคงเห็นกระแสเกี่ยวกับคริปโตและ NFT มาสักพักแล้ว ทั้งแบบ NFT Art และ NFT Gaming แต่ที่มีประเด็นในพูดถึงอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งเป็นประเด็นที่นุ่นอยากเปรียบเทียบข้อมูลกับ Global lคือ NFT Gaming Social Data ค่ะ 

เมื่อเราเจอเทรนด์ระดับโลก แล้วนักการตลาดอยากจะเทียบกับกระแสในไทยว่าแตกต่างมากน้อยแค่ไหน หรือไว้นำไปเป็นข้อมูลซัพพอร์ตแพลนการตลาดในอนาคตก็ย่อมได้ เราจะสามารถเห็นได้ประมาณนึงเลยว่าควรเข้ามาจับกระแสคริปโตในแบบที่เล่นกันบน NFT Gaming ดีหรือไม่ 

โดยเครื่องมือที่นุ่นจะใช้เทียบเทรนด์ในบทความนี้คือ Social Listening Tools ที่ชื่อว่า Mandala ค่ะ 

  • Keyword : nft+games, nft+crypto, เกมnft, nft+เกม (ซึ่งการใส่เครื่องหมาย + คือหมายถึงในโพสต์ หรือข้อมูลที่นุ่นต้องการกวาด จะต้องมีคำว่า __+__ ทั้งสองคำเลยค่ะ)
  • Time Frame : 01/01/2021 – 06/11/2021 หรือเกือบ 11 เดือนนับตั้งแต่ต้นปี 2021 ได้ข้อมูล By Mentions มาดังนี้

ในหัวข้อนี้นุ่นจะใช้ Filter Languages มาช่วยกรองภาษา ให้เห็นข้อมูลระหว่างคนไทยและนานาชาติเบื้องต้น หากยังไม่ใส่ฟิลเตอร์ภาษาตรงนี้ เครื่องมือจะแสดงข้อมูลของทุกภาษา ทุกโพสต์ที่มีคำว่า nft+games, nft+crypto, เกมnft, nft+เกม นั่นเองค่ะ

หากต้องการให้ข้อมูลที่ดึงโดย Keyword เข้ามาเฉพาะโพสต์ที่เป็นภาษาไทยให้กดที่ Filter Languages และพิมพ์ชื่อภาษา THAI > Apply > Search ได้เลยค่ะ

มาถึงประเด็นแรกที่นุ่นอยากรู้ เส้นเทรนด์ที่แสดงถึง ‘การพูดถึง’ NFT Gaming ว่าตั้งแต่ต้นปี 2021 มานี้มีพีคช่วงไหนไหม หรือเริ่มพูดถึงกันตั้งแต่ต้นปีเลยหรือเปล่า

Global Social Data All Platform และ Ignore Twitter

สาเหตุที่ต้องมีกราฟ Ignore Twitter ก็เพราะในกราฟรวมทุกแพลตฟอร์ม เราแทบไม่เห็นเส้นของแพลตฟอร์มอื่น Twitter มี Mentions สูงมากจนต้องติ๊กออก จะได้เห็นแพลตฟอร์มอื่นด้วยในเลเยอร์ถัดมานั่นเองค่ะ

ความหมายที่เราจับกันได้เบื้องต้นก็คือข้อมูล Global เริ่มเลือกใช้แพลตฟอร์ม Twitter ในการพูดคุยเรื่อง NTF Gaming กันช่วงเดือนสิงหาคม 2021 ที่ผ่านมานี้เอง แต่มีการพูดคุยกันผ่าน Facebook กันตั้งแต่ช่วงต้นปีแล้ว

นุ่นลองเจาะวันที่ 6 Nov. 2021 เพิ่มเติมเพื่อดูว่าเป็นทวีตแบบไหน

ก็ยังเป็นของต่างชาติที่ทวีตเกี่ยวกับ NFT ทำให้กราฟพีคขึ้นมาค่ะ ต่อไปมาดูกราฟที่ Filter เฉพาะภาษาไทยกันบ้าง ว่าจะมีความแตกต่างมากไหม Twitter เป็นช่องทางหลักเหมือน Global หรือเปล่า?

Thai Social Data All Platform พุ่งท้ายปีเหมือนกัน แต่แพลตฟอร์มไม่เหมือน Global 

เห็นได้ชัดเลยว่าคนไทยยังมีการ Mentios ถึง NFT Gaming น้อยกว่า Global มากค่ะ และแพลตฟอร์มที่ใช้ก็เป็น Facebook มากที่สุด ต่างจากข้อมูลด้านบนที่พูดคุยกัน Twitter มากกว่า นุ่นคิดว่าเป็นเพราะคนไทยยังมีการเสพข่าวและแสดงความคิดเห็นกันผ่าน Facebook อยู่ ไม่ว่าจะเป็นเพจข่าว เพจสำหรับเกมนั้น ๆ และมีหลายแหล่งข้อมูลที่ใช้ชื่อเกม Mentions โดยตรง ไม่ได้ใส่คำว่า NFT Gaming ค่ะ ในกรณีแบบนี้นักการตลาดจะเห็นว่าการสกรีนข้อมูลดี ๆ จะเจอจุดที่ต้องวิเคราะห์และอาจต้องปรับ Keyword เพิ่มในหลาย ๆ ครั้ง ซึ่งไม่แปลกเลย เพราะการดู Insight การเจอสิ่งที่เราไม่ได้คิดไว้ว่าจะมี เท่ากับเราบรรลุการขุดข้อมูลอีกขั้นแล้วค่ะ

หลังจากที่ไปไล่อ่านแล้วคิดว่า Community ของคนที่พูดคุยเรื่อง NFT Gaming จริง ๆ จะไปอยู่ใน Facebook Group ซึ่ง Social Listening ปัจจุบันหรือเครื่องมือตัวไหนก็ตามยังไม่ได้รับอนุญาตจาก Facebook เพราะถือว่าไม่ใช่ข้อมูลสาธารณะค่ะ

เมื่อเจาะวันที่กราฟพีคที่สุดวันที่ 21 Sep. 2021 ทำให้เห็นว่าเป็นโพสต์เกี่ยวกับข่าว และพูดถึงเกม MorningMoon เพราะใกล้จะเปิดตัว นอกจากนี้เครื่องมือยังแสดงข้อมูลว่าเพศชายเป็นเพศที่พูดคุยเรื่อง NFT Gaming มากกว่าผู้หญิงพอสมควรเลย ก็ไม่น่าแปลกใจเท่าไหร่ แต่ก็ต้องเก็บไว้เป็นข้อมูลเสริมด้านอื่น ๆ อีกนะคะ 

เปรียบเทียบ Word & Hashtag Cloud เห็นเทรนด์อื่นที่มาด้วยกัน

เมื่อดู Word & Hashtag Cloud จะเห็นว่ามีการพูดถึงแพลตฟอร์ม ผลตอบแทน และชื่อเกมส์ที่คล้ายกันอยู่บ้าง แต่ของไทยจะมี MoringMoonVillage ที่ถูกพูดถึงเป็นอย่างมาก นอกจากนั้นจะมี AxieInfinity ที่เป็นเกมฮิตแรก ๆ และมีความมั่นคง (ในมุมมองของหลายคน) เปรียบเป็นเจ้าใหญ่ในวงการ NFT Gaming นั่นเองค่ะ เทรนด์ที่ติดมาด้วยคือ Metaverse ถ้าใช้เป็นไกด์ไปหาข้อมูลเพิ่มถึงความเกี่ยวข้องก็จะยิ่งทำให้เข้าใจเทรนด์เร็วขึ้น เป็นต้นค่ะ

นุ่นคิดว่าฟีเจอร์นี้ช่วยมอนิเตอร์แบบรวม ๆ เกี่ยวกับเทรนด์ที่นักการตลาดอยากรู้ได้เลย อย่างเช่น ไม่มีเวลาวิเคราะห์กราฟ หรือหา Context ได้น้อย ก็มาหาประเด็นที่น่าสนใจในฟีเจอร์ Word & Hashtag Cloud ได้เหมือนกัน อย่างเช่น อ่านครั้งแรกยังไม่รู้ว่า NFT Gaming จะได้เงินยังไง แต่ Hashtag Cloud ก็มี #PlayToEarn เข้ามาให้เห็นแล้ว ทีนี้นักการตลาดค่อยไปเจาะอีกครั้งว่ามีแบบอื่นเพื่อ Earn ได้อีกหรือเปล่า

ดู Language Distribution ไทยอยู่ในอันดับสูง

ฟีเจอร์ Languages เนื่องจากเรามี Keyword NFT+เกม ด้วย เลยทำให้ภาษาไทยมีถึง 3.08% แม้จะเทียบได้ระดับนึง แต่นุ่นคิดว่าเราลองปรับให้เหลือแค่ 2 Keyword แรกคือ nft+games และ nft+cypto ดูดีกว่าค่ะ จะได้เห็นกันชัด ๆ เลย

เมื่อเลือกให้โชว์ข้อมูลที่ถูกกวาดมาจาก 2 Keyword แรกแล้วภาษาไทยก็ลดลงมาเหลือ 1.18% ค่ะ ถึงแม้จะน้อย แต่ถ้านักการตลาดเอาไปประกอบกับข้อมูลกราฟในช่วงแรก จะรู้เลยว่าเทรนด์ NFT Gaming กำลังถูกพูดถึงมากขึ้นเรื่อย ๆ นะคะ

Top Channels มักเป็นเพจให้ความรู้และ เพจเกม เพื่อติดตามข่าวสาร

หากจะเจาะ Top Channel นุ่นชอบข้อมูลที่ลำดับจาก Engagement ค่ะ เพราะเราดูและจะรู้เลยว่าใครที่พูดเรื่อง NFT Gaming หรือเทรนด์ที่เราต้องการแล้วมีคนสนใจ ฟีเจอร์นี้นักการตลาดสามารถเอาไว้ใช้ค้นหา Influencer ที่เหมาะกับสินค้าในตลาดของแบรนด์เราก็ได้นะคะ

มาลองเจาะ 5 อันดับแรกดูเพิ่มเติมกันดีกว่า

อันดับ 1 : ลงทุนแมน 32.8K Engagement

เพจที่ทุกคนต่างรู้ดีกว่ามักมีข่าวสารและข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับการลงทุนหลายรูปแบบมานำเสนอ และได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก ซึ่งก็ได้มีคอนเทนต์เกี่ยวกับแพลตฟอร์มเทรดคริปโตรวมทั้งอัปเดตเกี่ยวกับ Facebook Metaverse คู่กับการให้ความรู้ว่า NFT คืออะไร จึงไม่แปลกใจที่เป็นเพจที่มี Eagagement อันดับ 1 ในเรื่องที่เกี่ยวกับการลงทุนค่ะ

อันดับ 2 : MariaUrsula  27.4K Engagementเป็น Influencer ท่านนึงที่เป็นที่รู้จักในวงการ Finance อยู่แล้วค่ะ

อันดับ 3 : DeFi For You  16.2K Enagagement อัปเดตข่าวสารและยังให้บริการทางการเงินในสหรัฐอีกด้วย

อันดับ 4 : Bomb Cypto 14.7K Engagement หนึ่งใน NFT Gaming ที่ได้รับความนิยมในวงการ โพสต์ที่ได้รับเอนเกจไปล้นหลามเป็นโพสต์ให้ประกาศเกี่ยวกับ 𝐋𝐢𝐪𝐮𝐢𝐝 𝐩𝐨𝐨𝐥 𝐚𝐝𝐝𝐫𝐞𝐬𝐬’𝐬 เหมือนการันตีว่าจะเปิดตัวมาให้เล่นกัน และพร้อมสำหรับธุรกรรมทางการเงินต่าง ๆ อย่างแน่นอน

อันดับ 5 : LDA World 12K Engagement ได้โพสต์วิดีโอคอนเทนต์เกี่ยวกับ Axie Infinity ที่เป็นระบบ NFT Gaming แบบ Play to Earn ทำให้หลายคนได้รู้จักและเข้าใจมากขึ้นเพราะอธิบายเข้าใจง่าย มีภาพประกอบน่ารัก ๆ ค่ะ

ถ้านักการตลาดดู Top Channels : Youtube จะแสดงให้เห็นถึงข้อมูลของช่องนั้น ๆ ด้วย จากที่ปกติต้องไปนั่งหาข้อมูลทั้งวัน ไล่แคปตัวเลขผู้ติดตามทีละช่องมานำเสนอหัวหน้า ก็ใช้ฟีเจอร์นี้ได้เลย สามารถกดเข้าไปดูโพสต์ Top Engagement ได้เหมือนกับ Facebook ข้างบนเลยค่ะ ดูภาพรวมแล้วมีความคล้ายกับแพลตฟอร์มอื่นที่จะเป็นช่องเกี่ยวกับการให้ความรู้ ข้อมูลข่าวสารของเกม หรือผู้ที่แคส NFT Gaming ค่ะ 

และนี้คือข้อมูลเทรนด์ NFT Gaming ในไทยเทียบกับ Global Data โดย Social Listening Tools : Mandala ในบทความนี้ค่ะ ตั้งแต่การวิเคราะห์ Volume การพูดถึงโดยกราฟทั้ง 4 แพลตฟอร์ม แสดงให้เห็นว่าคนไทยเริ่มพูดถึง NFT Gaming กันในช่วงปลายปีที่ผ่านมานี้เอง ยังมีการดูภาพรวมเทรนด์ หาไกด์สำหรับตีวงข้อมูลผ่าน Word & Hashtag Cloud จนเจอคำว่า Metaverse ที่มีความเกี่ยวข้องกับโลก NFT และนุ่นยังลองใช้ Language Distribution ดูการพูดถึงเมื่อเทียบกับภาษาต่าง ๆ ซึ่งต้องบอกเพิ่มว่าขึ้นอยู่กับ Keyword ที่เราใส่ด้วยนะคะ

สุดท้ายนุ่นใช้ฟีเจอร์ที่นักการตลาดน่าจะชอบกันอย่าง Top Channels เพื่อดูคนที่พูดเรื่อง NFT Gaming แล้วได้รับความสนใจ 10 อันดับแรกยกตัวอย่าง Facebook และ Youtube ส่วนตัวนุ่นคิดว่าคอนเทนต์ประเภทให้ความรู้และข่าวสารยังคงสำคัญสำหรับ NFT Gaming ค่ะ เพราะเทรนด์กำลังเป็นกระแสคนก็มักจะหาข้อมูลกัน ส่วนคนที่อยู่ในวงการแล้วก็ต้องติดตามข่าวสาร รวมทั้งประกาศสำคัญ ๆ จากเกมที่เล่นอยู่เป็นต้น ทิศทางของเทรนด์ NFT Gaming ทั้งไทยและ Global ยังไปต่อได้อีกยาวแน่นอน และมีแนวโน้มจะสูงขึ้นต่อเนื่องในปีหน้าอีกด้วยค่ะ

สำหรับใครที่อยากลองสมัครมาใช้เองมี Coupon Code ของ Online Subscription เพื่อรับส่วนลดพิเศษ ให้กรอก โค้ด EVDAYMKT ได้ที่ลิงก์นี้เลย https://www.mandalasystem.com

โดยจะได้รับส่วนลด 5% สำหรับบิลแรกเท่านั้น ซึ่งสามารถใช้ได้กับทั้ง Pay as you go และ 12 months with One Time Payment

หากเพื่อนๆ นักการตลาดคนไหนอยากเรียนรู้การเริ่มต้นใช้ Social Listening เพื่อหา Insight และ Opportunity ใหม่ๆ ก่อนใครทางการตลาดวันละตอนมีเปิดสอนแบบคลาสเรียนออนไลน์ Social Listening Analytics รุ่น 29 // เรียนวันศุกร์ที่ 29 มีนาคม 2567 ค่าเรียนคนละ 9,900 รับจำกัด 20 คน // อ่านรายละเอียดและลงทะเบียนก่อนเต็มได้ที่ลิงก์นี้ครับ https://bit.ly/sociallistening29

หรือจะอ่านบทความตัวอย่างการใช้เพิ่มเติมของ Mandala จากการตลาดวันละตอนก็สามารถกดตรงนี้ได้เลยค่ะ 

Noon Inch

นุ่น Business Data Research Analyst Specialist | Martech 🙋🏻‍♀️💻ใช้ชีวิตอยู่กับ Social Listening Tools เกือบทุกวันมาร่วม 6 ปี 🙋🏻‍♀️📈ทำงานด้าน Social Data Research ให้กับหน่วยงานรัฐและแบรนด์เอกชน 6 ปี 🙋🏻‍♀️✈️ชอบทำงานและชอบใช้เงิน แล้วก็เป็น K-POP🇰🇷 & Salmon Lover 🍣

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

ใช้ Social Listening บ้างไม่ ?

#การตลาดวันละโพล ขอหนึ่งคำถาม ว่าปกติใช้ Social Listening บ้างหรือไม่ แล้วถ้าใช้ ใช้ตัวไหนอยู่