How to use Social Listening แทร็กข้อมูลย้อนหลัง Spider-Man : No Way Home
วันนี้มีคอนเทนต์อ่านเพลิน ๆ มาให้นักการตลาดหรือเหล่าผู้ใช้สื่อออนไลน์กันค่ะ นุ่นจะพามาดู 1 ในวิธีที่นุ่นใช้ทำงาน ตามแทร็ก Data ย้อนหลังเทรนด์ดัง ๆ หรือเรื่องที่กำลังเป็นกระแส แม้กระทั่งใช้ตามดู Timeline คอนเทนต์การตลาดของแบรนด์ที่สนใจ จนสามารถถอดรหัสความสำเร็จของแคมเปญดัง ๆ ได้ง่าย ใช้เวลาไม่นาน แถม Data แน่นแบบใช้ทำงานต่อยอดหรือตอบคำถามหัวหน้าได้ไม่สะดุดแน่นอน
และเทรนด์ที่เราจะตามแทร็กเป็นตัวอย่างก็คือภาพยนตร์เรื่อง สไปเดอร์แมน: โน เวย์ โฮม (Spider-Man: No Way Home) ซึ่งเป็นที่มาของ Keyword หลักที่ใช้กวาดข้อมูลเข้ามาใน Social Listening Tools และมี Keyword เสริมที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งจะทำข้อมูลมีครบขึ้นอย่าง spider+man, สไปเดอร์แมน, spider+man+no+way+home, สไปเดอร์แมน+โน+เวย์+โฮม, ไอ้แมงมุม, สไปดี้
Timefame : 25/11/21 – 10/01/22
จำนวนข้อมูล : 99,999 Mentions ซึ่งโปรเจกต์
Keyword Timeline By Mentions สูงสุดวันที่ 16 Dec 2021
ต่างจากเคสอื่น ๆ ที่มักเริ่มอ่านที่ Platform Timeline คราวนี้นุ่นอยากดูแบบ Keyword Timeline ซึ่งเป็นการแสดงข้อมูลแบบรายวัน แบ่งเส้นกราฟตามคีย์เวิร์ด ซึ่งนอกจากจะเห็นสัดส่วนการใช้คำ/พูดถึง คำที่เราอยากรู้แล้วยังเห็นพัฒนาการ การพิมพ์ของ
ถึงแม้ว่าวันเข้าฉายแบบสาธารณะวันแรกจะเป็นวันที่ 23 Dec. 2021 แต่จากกราฟเริ่มมีคนพูดถึงมาตั้งแต่สิ้นเดือน Nov. แล้วค่ะ เป็นเพราะบางสื่อต่างได้ลงคอนเทนต์ติดตามการกลับมาของสไปเดอร์แมนกันอย่างคึกคัก ไม่นับหลายสื่อที่เริ่มให้คะแนนหนังเรื่องนี้หลังจากที่ดูรอบสื่อมวลชนมา เพื่อให้แฟน ๆ ที่รอติดตามได้ชิมเป็นน้ำจิ้มก่อนจะไปดูด้วยตัวเอง ซึ่งคำที่ใช้เป็นหลักคือ Spider Man 69% และชื่อภาคที่เป็นภาษาอังกฤษ Spider Man No Way Home 27% สูงกว่าภาษาไทยอย่างเห็นได้ชัด
กราฟลักษณะนี้นุ่นและคิดว่าทุกคนที่เคยใช้ Social Listening คงเจอบ่อยกับกรณีที่แบรนด์กำลังจะเปิดตัวสินค้า แล้วมีคอนเทนต์ทีเซอร์จาก Influencer มาเรียกกระแสก่อนเปิดตัวจริงค่ะ
- เจาะดูพีคสูงสุดในวันที่ 15 Dec. 2021 เพจ ฝนตกเป็นหนัง และหลังจากนั้นก็มีการพูดถึงอย่างต่อเนื่องจนถึงวันที่ 5 Jan 21 ก็เริ่มลดลงเล็กน้อยแล้วค่ะ
เป็น Moment น่ารัก ๆ ของนักแสดงเบเนดิกต์ คัมเบอร์แบตซ์ หรือที่แฟน ๆ ไทยเรียกชื่อในวงการว่า ‘หมอแปลก’ ภายในงานปฐมทัศน์ Spider-Man: No Way Home ในคอมเมนต์ต่างเอ็นดูคุณหมอกันใหญ่ ถือเป็นกระแสที่ดีอีก 1 จุดของหนังเรื่องนี้เพราะคอหนังต่างก็รอคอยการปรากฎตัวของหมอแปลกในหนังเรื่องนี้เช่นเดียวกันค่ะ
ก็แหวกแนวดีที่เราไม่จำเป็นต้อง Hard Sell ตลอดเวลา เพราะเดี๋ยวนี้คนไทยไม่ชอบเสพคอนเทนต์ที่จริงจังมากเท่าอะไรที่ผ่อนคลายสมองบ้าง อะไรขำได้ก็อยากจะขำ เพราะชีวิตนอกหน้าจอหลายคนอาจจะเหน็ดหนื่อยกับการทำงานมามากพอแล้ว ยิ่งถ้าได้ความเรียลจาก Influencer ด้วยสังเกตว่า Engagement ทั้งไลค์แชร์คอมเมนต์ยอดสูงสัมพันธ์กันด้วยดีเลยใช่ไหมละคะ
หลังจากนั้นนุ่นใช้วิธีจิ้มอ่านจากกราฟ Keyword Timeline นี่แหละ ไล่ไทม์ไลน์มาเรื่อย ๆ เพื่อทำความเข้าใจเทรนด์ แม้ว่าที่จริงแล้ววิธีการอ่าน Data ที่อาจใช้แบบอ่านทั้งหมดหรือเรียงลำดับโพสต์ที่มี Engagement สูงสุดก็ได้ แต่นุ่นใช้กราฟเพราะจะเร็วขึ้น ใช้ในเคสที่เราไม่ได้จะวิเคราะห์ Insight ที่ละเอียดมาก ๆ แบบนำไปวางแผนกลยุทธ์การตลาดอะไรเบอร์นั้น จนพบว่าเมื่อมีหนังรอบสื่อ หรือหนังฉายไปซักพักแล้วมักเจอคอนเทนต์แบบนี้เยอะ เลยกรุ๊ปมาสรุปให้ด้านล่างค่ะ
เจอ Relate Content ที่เกี่ยวกับการดูภาพยนต์ฟอร์มยักษ์ “การสปอย”
- โพสต์วันที่ 15 Dec. 2021จากเพจ สมาคมผู้คลั่งไคล้ SuperHero
นับว่าเป็นปัญหาโลกแตกก็ได้กับสิ่งที่คอหนังเรียกว่า ‘สปอย’ ยิ่งถ้าเป็นฟอร์มยักษ์ยิ่งเอามาตีกันบนโซเชียลได้ตลอดยันรุ่นลูกรุ่นหลาน ในประเด็นนี้ก็มีหลายแง่มุมให้มองนะคะ ต่างคนต่างคิด บางคนก็หงุดหงิดมาก ๆ พยายามหลบสปอยแต่ก็เจอใน Tiktok Youtube เต็มไปหมด เจอฉากเด็ดด้วยเล่นเอาแทบหมดอารมณ์ไปดู
แต่อีกมุมนึงก็มีบางคนที่ไม่ได้แคร์สปอยขนาดนั้น คนสปอยก็ไม่ได้ทำผิดหนิ เผลอ ๆ บางคนอยากฟังสปอยก่อนจะได้ตัดสินใจว่าจะไปดูดีไหมก็มีนะคะ เพราะฉะนั้นก็ยังคงเป็นประเด็นให้พูดถึงในเรื่องอื่น ๆ ต่อไปไม่รู้จบแน่ ๆ ทางที่ดีนักการตลาดลองทำเตือนก่อนจะเผลอสปอยจุดพีคให้ลูกค้าก็ได้
หรือสร้างขั้นตอนให้คอนเทนต์เพื่อสร้างทางเลือกให้กับคนที่อยากดูสปอย กับไม่ต้องการสปอยใด
รีวิวและให้คะแนน Spider-Man: No Way Home
นักเลงโรงหนัง : รีวิว Spider-man: No way home 10/10 คะแนน สุดมากกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก มันเป็นอะไรที่บ้าคลั่งที่สุดแล้วสำหรับแฟนสไปดี้
Drama-addict : คำแนะนำสำหรับคนที่จะไปดู สไปดี้ภาคใหม่ ขี้เยี่ยวให้เรียบร้อยก่อนเข้าโรง เพราะคุณจะไม่อยากพลาดแม้แต่ซีนเดียว
Movies For You : Spider-Man: No Way Home เป็นหนังที่พีคมาก พีคขั้นสุดเเบบเดียวกับ Avengers Endgame หนังเหมือนพาคนดูขึ้นรถไฟเหาะ คาดเดาเหตุการณ์ระหว่างทางไม่ได้ หักไปหักมาทั้งเรื่อง รู้สึกสนุกสุดๆ
Review Content ถือเป็นคอนเทนต์ทองคำเลยสำหรับนักการตลาด นอกจากแพลตฟอร์มของแบรนด์ที่เปิดให้สามารถรีวิวติชมได้แล้ว เราควรตามแทร็กโพสต์ที่รีวิวสินค้าเรา หรือคู่แข่งเอาไว้นะคะ เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาสินค้าและบริการอย่างมาก และควรเปิดรับทุกฟีดแบ็กที่ได้รับ ให้ลูกค้ารักแบรนด์เรามาก ๆ ดีกว่าค่ะ จะใช้ Keyword+รีวิวก็สะดวกต่อการแทร็กแต่โพสต์ที่รีวิวสินค้าเราโดยเฉพาะ
ถ้านักการตลาดอยากอ่านบทความเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Consumer Review ได้ที่นี่ค่ะ
Language Distribution ไทยอยู่อันดับ 2
เป็นไปได้ว่าเพราะ Keyword ของนุ่นมีภาษาไทยด้วย เลยทำให้ Social Listening กวาดข้อมูลโพสต์จากแฟนไทยมาได้สูงเป็นอันดับ 2 ภายในระยะเวลาแค่ 2 เดือนนิด ๆ เท่านั้น ที่ใช้ฟีเจอร์นี้มาช่วยแทร็กย้อนหลังก็เพราะอยากดูผลรวมของภาษาด้วยค่ะ เช่นเดียวกับนักการตลาดที่ดูเทรนด์ระดับ Global จะได้วิเคราะห์ความสนใจตลาดเทียบนานาชาติเบื้องต้นได้ค่ะ นุ่นมีบทความที่เขียนฟีเจอร์นี้ไว้แล้ว ถ้าอยากอ่านแบบละเอียดสามารถกดที่นี่ได้ค่ะ
Spider-Man: No Way Home ถูกพูดถึงจากหลายประเทศโดยเฉพาะอเมริกา
ใน Mandala เราสามารถใช้ฟีเจอร์ Geolocation เพื่อดูตำแหน่ง ที่แสดงการพูดถึงสถานที่บนออนไลน์ได้ค่ะ จากภาพแสดงให้เห็นเลยว่า Spider-Man: No Way Home ถูกพูดถึงจากหลายประเทศโดยเฉพาะอเมริกา มี Condition เกี่ยวกับฟีเจอร์นี้หมุดที่โชว์ตัวเลขไม่ใช่จำนวนการพูดถึง แต่เป็นจำนวนโพสต์ปักหมุดสีเขียวที่กระจุกตัวอยู่ โพสต์จะต้องเป็นสาธารณะพร้อมเช็คอินพื้นที่นั้น ข้อตกลงเรื่องความปลอดภัย user ส่วนใหญ่ไม่ได้อนุญาตให้เราเข้าถึงค่ะ แต่จากข้อมูลที่มีเห็นมุมต่าง ๆ ของประเทสไทยแน่นอนว่าเป็นกรุงเทพฯ และใกล้เคียง นอกจากนี้ก็มีเชียงใหม่และตอนบนของจังหวัดอุดรธานี
เจอ Relate Content ที่เกี่ยวกับการดูภาพยนต์ฟอร์มยักษ์ “การสปอย” ที่มีความคิดเห็นจากผู้บริโภคหลายแง่มุม การรีวิว ให้คะแนนหนังของเพจดังต่าง ๆ รวมทั้งการโพสต์อิงภาษาเมื่อเทียบกับนานาชาติ ถ้ามีเวลาได้เล่นกับเครื่องมือก็จะเห็น Data อีกหลายอย่างที่นักการตลาดหรือเจ้าของธุรกิจเอาไปปรับใช้ได้แน่นอน ยิ่งกับคนที่ทำงานกับสื่อโซเชี่ยลยิ่งต้องอัปเดตให้ทัน
ส่วนใครที่สนใจเครื่องมือ Mandala Analytics อยากลองเอาไปขุด Insight เองเพิ่มเติม นุ่นแนะนำให้สมัคร Package Anyone 49$ https://www.mandalasystem.com/plans มาใช้ซักเดือนสองเดือน เล่นทุกฟีเจอร์ให้เต็มที่เลยเพื่อหาข้อมูลที่ละเอียดขึ้นได้ตามใจ
นอกจากนี้การตลาดวันละตอนยังมีเคสการใช้งานอื่น ๆ ให้อ่านมากมาย อ่านหมดอาจจะใช้ได้คล่องเลยก็ได้ใครจะรู้ สามารถศึกษาผ่านบทความ Social Listening Tools ก่อนหน้าของการตลาดวันละตอนตรงนี้ได้เลยนะคะ
หรือเพื่อน