วิธีอ่าน Social Data เวลาน้อยก็รู้เรื่อง! – ตัวอย่างเคสเปิดตัว Galaxy S22 Series

วิธีอ่าน Social Data เวลาน้อยก็รู้เรื่อง! – ตัวอย่างเคสเปิดตัว Galaxy S22 Series

วิธีอ่าน Social Data เวลาน้อยก็รู้เรื่อง! – ตัวอย่างเคสเปิดตัว Galaxy S22 Series

จริงอยู่ที่ Social Data ถือเป็น Big Data และเป็นพื้นที่สุดรกไม่มีระเบียบแต่มี Customer Insight หลายด้านที่รอให้มาเก็บเกี่ยวอยู่ แล้วทำอย่างไรให้คนที่มีเวลาน้อยสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลบนโซเชียลที่มีอยู่อย่างสาธารณะได้บ้างล่ะ?

ซึ่งในการทำการตลาดมีเครื่องมือทั้งหลังบ้านหน้าบ้านช่วยวิเคราะห์อยู่แล้ว ตามขนาดธุรกิจหรือองค์กร ในบทความนี้นุ่นจะขอมาแชร์ 1 วิธีในการอ่านและเข้าใจ Social Data ที่เกี่ยวกับเทรนด์หรือสินค้าค่ะ สามารถใช้งานได้ทั้งในพาร์ท Research, Monitor หรือดู Feedback แม้กระทั่งทำ Report รูปแบบต่าง ๆ ก็ได้เลย ผ่านการใช้ Social Listening Tools : Mandala

Social Listening Tools อย่างที่การตลาดวันละตอนได้แชร์กันมาหลายบทความเกี่ยวกับลักษณะการใช้งานของแบรนด์ดังต่าง ๆ และอธิบายฟีเจอร์ที่น่าสนใจผ่านเคสนั้น ๆ ขั้นตอนการทำงานจริงใช้เวลามากเลยที่จะคลีนเลือกเฉพาะ Data ที่เราต้องการจริง ๆ แต่ทุกวันนี้ฟีเจอร์ของ Mandala มี Data Visualizations ที่ช่วยให้เราอ่านข้อมูลง่าย  ใครอยากจะเริ่มศึกษาก็ลองที่ตัวนี้ได้ค่ะ เวลาน้อยก็รู้เรื่อง 

ดึงข้อมูลตัวอย่างเคสเปิดตัว Galaxy S22 Series

เพื่ออธิบายให้ทุกคนเก็นภาพมากขึ้น ขอใช้เคสการเปิดตัวสินค้า Galaxy S22 Series จากแบรนด์ Samsung และมาดูกันว่าเห็นอะไรบ้างถ้ามีเวลาอันน้อยนิดในการทำพาร์ทนี้ 

นุ่นสร้างโปรเจคโดยใช้ Keyword : GalaxyS22, Galaxy S22, Galaxy S22+ และ Galaxy S22 Ultra ซึ่งเป็นชื่อรุ่นต่าง ๆ การทำงานของ Social Listening Tools คือดึงโพสต์สาธารณะบนแพลตฟอร์มออนไลน์เข้ามา 

การวิเคราะห์ จะมัดรวมทั้ง Series เพื่อดูภาพรวมเป็นตัวอย่างนะคะ ไม่ได้วิเคราะห์แยกรุ่นกัน

ตั้ง Time Fame : 01/01/2022 – 31/03/2022 ซึ่งเป็นช่วงเวลาก่อนและหลังเปิดขายในไทย 1 เดือนค่ะ

ได้จำนวน Mentions หรือ Social Data ที่พูดถึงอย่างในภาพ ถือว่าเยอะมากเลยค่ะในเวลาแค่นี้ แต่ยังเป็นข้อมูลที่ยังไม่ได้ Fliter ภาษา หรือคลีนโพสต์อื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวไม่ต้องการออกนะคะ เช่นโพสต์จากร้านตู้ขาย/ซ่อมโทรศัพท์ ร้านขายเคส ขึ้นตอนคลีนสำคัญที่สุด แต่กรณีมีเวลาน้อยมาก (สั่งเช้าเอาไม่เกินบ่ายโมง) เราสามารถดูอะไรแบบเร็ว ๆ ได้บ้างมาดูกันค่ะ 

Timeline การพูดถึงบนโซเชียล พุ่งขึ้นวันที่ 24 ก.พ 65 จาก Twitter

แมชแรกเราต้องมาดูเส้น Timeline กันก่อนเลยว่ามีรูปแบบเป็นอย่างไร จุดที่พุ่งขึ้นก็คือวันที่มีการพูดถึงสูงที่สุดค่ะ โดยเส้นจะแบ่งเป็นสีแต่ละแพลตฟอร์มชัดเจน เพื่อให้เราอ่านได้สะดวก

จะเรียกดูแบบ Day Week Months ก็ย่อมได้ตามสะดวก และถ้าอยากเรียกดูโพสต์ของวันที่พุ่งว่ามาจากแอคเคาท์ไหน ก็ให้กดไปที่จุดกลม ๆ ของวันนั้นได้เลยค่ะ

ถ้าจิ้มเข้ามาแล้วจะมีหน้าต่างแบบนี้เด้งขึ้นมา แสดงโพสต์ทั้งหมดของวันที่ 24 ก.พ. 65 แพลตฟอร์ม Twitter ไล่ดูแล้วก็รู้เลยว่ามาจาก #SmartWattanawithGalaxyS22 ที่แฟน ๆ ตั้งขึ้น เป็นภาพจากเพจ อารมณ์นิยม ที่ทำคอนเทนต์ถ่ายภาพในที่แสงน้อยด้วย Samsung Galaxy S22 Ultra 5G นำเสนอ Night Potrait ผ่านนายแบบฐานแฟนคลับแน่นอย่างคุณสมาร์ท หนึ่งในผู้เข้าแข่งขันรายการ LAZ iCON และ Samsung ก็ต่อยอดคอนเทนต์จากเดิมที่จ่ายให้คุณช่างภาพเพจอารมณ์นิยม เอามาโพสต์ต่อกระแสบนทวิตเตอร์พร้อมใช้แฮชแท็กเดียวกับแฟน ๆ ถือว่ารวดเร็วและเป็นตัวอย่างที่ดีในการโปรโมตสินค้าจริง ๆ ค่ะ 

แบรนด์ไหนที่กำลังจ้างแล้ว จ่ายค่า Ads แล้วก็คิดว่าจบไปอาจจะไม่ได้ Value อื่น ๆ เพิ่มขึ้นแบบนี้ก็ได้นะคะ เพราะฉะนั้นถ้าทำอะไรได้บนตลาดออนไลน์วันนี้ก็ให้รีบทำกันนะคะ อย่าให้คู่แข่งแซงเราไปไกลได้

ดูการพูดถึงโดยรวมบน Word Cloud / Hashtag Cloud

คำที่มีขนาดใหญ่สุด ก็คือคำที่ถูกใช้มากเมื่อโพสต์ถึง Keyword ของเรา ณ ที่นี่อ่านแว๊บแรกก็ทราบเลยว่า Samsung เน้นขายรุ่น Ultra มาที่สุด เพราะทั้งดูแบบคำและแฮชแท็กต้องมีรุ่นนี้อยู่ TOP3

ประโยชน์ของฟีเจอร์นี้ต่อนักการตลาดคือสามารถดูได้ว่าแฮชแท็กที่เราทุ่มเทผลักดัน มันถูกใช้ถึงเป้าหรือไม่ หรือมีคำอื่น ๆ กระแสอื่น ๆ ที่อยู่ในแวงวงเดียวกับสินค้าเรา แต่ยังไม่ได้หยิบมาทำอะไรต่อหรือไม่ 

มีเคสตัวอย่างการใช้ฟีเจอร Word / Hashtag Cloud ได้น่าสนใจจาก Coca Cola ที่เค้าเห็น Relate Trend จนพัฒนามาเป็นโค้กรสชาติไม่มีน้ำตาลที่เราทุกคนคุ้นเคยเดินไปเปิดตู้เย็นหรือหน้าปากซอยก็ต้องเจอ 

Sentiment และ Gender คนที่พูดถึง Galaxy S22 คิดประมาณไหน เพศอะไร

เจ้า Sentiment อาจจะเชื่อถือได้แค่เล็กน้อย เท่านั้นนะคะ เพราะ AI จับจากคำว่า ดี แย่ ห่วย ไม่โอ แต่ดวยภาษาไทยของเรา ‘ดีเหลือเกิน’ น้องก็จะจับเข้า Positive ทั้ง ๆ ที่จริงผู้โพสต์อาจประชดประชันก็ได้ค่ะ หรือถ้า Keyword เราเป็นชื่อสินค้าที่มีคำว่า Good ก็เขียวทั้งแถบแน่นอน เพราะฉะนั้น นุ่นแนะนำคนที่มีเวลาน้อยมากจนแวะอ่านไม่ได้เลยให้กระโดดข้ามไปก่อน

ส่วนเรื่องของเพศ อธิบายว่า AI เค้าจับจาก ค่ะ คะ ครับ เลยทำให้แยกได้ประมาณนี้เลย หญิง ชาย และโพสต์ที่ไม่มีคำเหล่านี้จะถูกจัดใน Unknow นั่นเอง ที่บอกว่าให้คนเวลาน้อยดูเพราะมันสามารถช่วยเราตัดสินใจได้ประมาณนึงค่ะ ไม่ควรทิ้ง เป็นมิติของ Data อย่าง Galaxy S22 Series นี้คุณผู้ชายโพสต์มากกว่าผู้หญิงเยอะเลยค่ะ อาจเพราะพอเป็นเรื่อง IT คุณผู้ชายขยันคุยมากขึ้นกว่าเรื่องอื่น ๆ ที่นุ่นเคยวิเคราะห์มา ตอนแรกนุ่นเดาอย่างมั่นใจมากว่าผู้หญิงชัวร์เพราะพรีเซ็นเตอร์ดึงดูดได้ดีจริง ๆ

เลื่อนดู TOP POST แต่ละ Channel ภายในจอเดียว

ขอดูโพสต์ที่มี Engagement เยอะ ๆ ได้ไหมเทียบกัน 4 แพลตฟอร์มหัวหน้าขอด่วน ก็จัดไปค่ะแคปหน้าฟีเจอร TOP Post ไปได้เลย เพราะเค้าแยกเป็น 4 เลนส์มาให้แล้ว ในภาพตัวอย่างนุ่นเลื่อนดูโพสต์ที่มาจาก Influencer หรือเพจของสื่อฯ IT นะคะ เพราะอันดับแรก ๆ มักเป็นของ Samsung เอง

โดยแต่ละ Channel ก็สามารถเลือก Sort ได้ด้วยตัวเองอีกว่าจะเรียงแบบไหน อยากจะเป็นของ Youtube ให้เรียงตามยอดคอมเมนต์เท่านั้น หรือ Facebook อยากให้เรียงจากโพสต์ที่มีคนแชร์เยอะที่สุดก่อนก็ย่อมได้ค่ะ สะดวกไปไหนเนี่ย

แต่จะมีใครสังเกตไหมนะว่าบางโพสต์ของนุ่นถูก Add Tag ติดป้ายไว้ว่าโพสต์พูดถึง Galaxy S22 Series ว่าอย่างไร ซึ่งขั้นตอนนี้ขอเป็นคนที่มีเวลามากพอสมส่วนกับ Data แล้วกันนะคะ….

ขอเวลาเพิ่มอีก (ไม่) นิดเพื่อ Data Insight ทองคำ

ใครที่อ่านมาถึงตรงนี้แล้วรู้สึกว่า เห่ยยย จริง ๆ เราก็มีเวลานะเริ่มสนุกกับ Data แล้ว นุ่นมีอีก 101 อย่างที่อยากแชร์เลย แต่บทความนี้เอาไป 1 ก่อนน้า ^^ 

ด้านบนนุ่นถามว่ามีใครสังเกตเห็น Add Tag บ้างมั้ยนะ นั่นคือวิธีการหนึ่งที่จัดระเบียบ จับกลุ่มข้อมูลให้เราทำงานง่ายขึ้น จากเดิมเป็น Data รก ๆ ยากจะใช้งานแบบลึกซึ้งขั้น Customer Insight 

ตัวช่วยนั้นเรียกว่าฟีเจอร์ Tag Management ค่ะ รายละเอียดการใช้ Tag Management ขั้นตอนการจับกลุ่มข้อมูลให้สะดวกต่อการวิเคราะห์ต่อ นุ่นเคยเขียนไว้ที่บทความนี้นะคะ นักการตลาดสามารถเข้าไปอ่านและใช้งานตามขั้นตอนได้เลย

คนไทยพูดถึง Galaxy S22 Series ในเรื่อง ดีไซน์, เปรียบเทียบ และพรีเซ็นเตอร์มากที่สุด

เสร็จแล้ว Export ออกมาสร้าง Pie chart เองค่ะ เพราะอยากรู้ว่าคนไทยพูดถึง Series นี้ในด้านไหนบ้าง เห็นเป็นเรื่องดีไซน์มากที่สุด หลายโพสต์บอกว่าเรียบหรูบางดี ถือแล้วดูดีมาก และแน่นอนเรื่องของสมาร์ทโฟนจะขนาดคอนเทนต์ประเภท ‘เปรียบเทียบ’ ไปได้อย่างไร ทั้งเทียบกับแบรนด์อื่น ๆ และใน Series เดียวกันเลย เพื่อให้เห็นถึงความคุ้มค่า และช่วยตัดสินใจซื้อได้มากขึ้นว่าเหมาะหรือไม่เหมาะกับเรา ใครที่จะถอยรุ่นใหม่แล้วคิดหนักคอนเทนต์แบบนี้แหละจะอยู่ในประวัติเต็มไปหมด นุ่นเข้าใจเพราะนุ่นก็เคยเป็นเหมือนกันค่ะ

อย่างว่าถ้าทุกคนอ่านข้างบน ๆ แบบเร็ว ๆ มาทั้งหมดแล้วมีเวลามาทำ Report ฉบับเต็มต่อนุ่นอยากให้ลองฝึกฟีเจอร์นี้จริง ๆ เปลี่ยนจาก Tag managment จากนี้เป็นอื่น ๆ ที่เข้ากับสินค้าของนักการตลาดก็ได้ แต่ควรเป็นเรื่องที่น่าจะมี Data หรือคนพิมพ์ออกมานะคะ ถ้าแคบเกินไปอย่างชื่อสีเฉพาะสินค้าเรา Data อาจจะน้อยมาก ๆ เกินไป

นี่เป็นตัวอย่างการทำแท็กเบา ๆ ใน 1 ชั่วโมงเท่านั้นค่ะให้ทุกคนเห็นเป็นไอเดีย แต่เราสามารถแยก Tag ออกไปได้อีกเป็น 10 หรือ 20 insight เลยถ้ามีเวลา เช่นพรีเซ็นเตอร์เอามาตั้งเป็น 1 กรุ๊ป แล้วย่อยเป็นชื่อของแต่ละคนเพื่อดูว่าการพูดถึงเท่าไหร่ คนชมว่าอะไร ส่วนใหญ่แล้วก็จะชมกล้องสวยค่ะถ่ายพรีเซ็นเตอร์ได้คมชัดเต็มตา

สรุปวิธีอ่าน Social Data เวลาน้อยก็รู้เรื่อง

เป็นอย่างไรคะกับการอ่าน Social Data ฉบับสั่งเช้าขอบ่าย โดยใช้ฟีเจอร์บน Social Listening Tools ที่เลือกมาแชร์กันบางส่วนจากทั้งหมดเท่านั้น แถมส่วนสุดท้ายที่เป็นการพูดถึง Galaxy S22 Series ในด้านในมากที่สุดซึ่งถ้ามีเวลาก็อย่าลังเลที่จะใช้มันค่ะ ใครรู้สึกชอบสามารถลองฝึกด้วยตัวเองแล้วมาสมัครงานที่การตลาดวันละตอนได้นะคะ ตามหาคนรักการอ่าน Social Data ประมาณนี้อยู่เลยค่ะ ^^  

ถ้านักการตลาดอยากอ่านฟีเจอร์อื่น ๆ หรือบทความวิเคราะห์ผ่าน Social Listening เพิ่มเติม สามารถกดที่นี่ ได้เลยนะคะ เรามีอีกหลายเคสตัวอย่าง ที่อยากให้ลองศึกษาดูค่ะ ตั้งใจเขียนทุกบทความเลยจริง ๆ

สำหรับใครที่อยากลองสมัครมาใช้เองมี Coupon Code ของ Online Subscription เพื่อรับส่วนลดพิเศษ ให้กรอก โค้ด EVDAYMKT ได้ที่ลิงก์นี้เลย https://www.mandalasystem.com

โดยจะได้รับส่วนลด 5% สำหรับบิลแรกเท่านั้น ซึ่งสามารถใช้ได้กับทั้ง Pay as you go และ 12 months with One Time Payment

คอร์สเรียนออนไลน์ Social Listening Analytics Boostcamp รุ่นที่ 29

เนื้อหาที่จะได้เรียน

  1. ทำความรู้จักเครื่องมือ Social listening tool ถึงความสามารถ และข้อจำกัดในการทำงาน
  2. เรียนรู้ผ่าน Case study การใช้ Social listening เพื่อหา Insight และ Opportunity ให้กับธุรกิจจากประสบการณ์ผู้สอนและทีมการตลาดวันละตอน
  3. เรียนผ่านการทำ Workshop ไปด้วยกัน ในการฝึกหา New Insight จาก Data ที่กระจัดกระจายอยู่บนโลกโซเชียล
  4. เรียนผ่านแนวคิด CPVAI Model ตามแบบหนังสือ Data Thinking ในการประยุกต์ใช้จริงเพื่อให้มีประสบการณ์
  5. ปรึกษาแนวทางการประยุกต์ใช้ส่งท้าย สำหรับธุรกิจแต่ละคน

คลาสเรียนออนไลน์ Social Listening Analytics รุ่น 29 // เรียนวันศุกร์ที่ 29 มีนาคม 2567 ค่าเรียนคนละ 9,900 รับจำกัด 20 คน // อ่านรายละเอียดและลงทะเบียนก่อนเต็มได้ที่ลิงก์นี้ครับ https://bit.ly/sociallistening29

Noon Inch

นุ่น Business Data Research Analyst Specialist | Martech 🙋🏻‍♀️💻ใช้ชีวิตอยู่กับ Social Listening Tools เกือบทุกวันมาร่วม 6 ปี 🙋🏻‍♀️📈ทำงานด้าน Social Data Research ให้กับหน่วยงานรัฐและแบรนด์เอกชน 6 ปี 🙋🏻‍♀️✈️ชอบทำงานและชอบใช้เงิน แล้วก็เป็น K-POP🇰🇷 & Salmon Lover 🍣

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

ใช้ Social Listening บ้างไม่ ?

#การตลาดวันละโพล ขอหนึ่งคำถาม ว่าปกติใช้ Social Listening บ้างหรือไม่ แล้วถ้าใช้ ใช้ตัวไหนอยู่