ดราม่า Momo Paradise จบแล้วมีคนพูดถึงแบรนด์ยังไงบ้าง?

ดราม่า Momo Paradise จบแล้วมีคนพูดถึงแบรนด์ยังไงบ้าง?

ต้องบอกว่ามาช้าแต่มานะอีกเหมือนเคย กับกระแส ดราม่า Momo Paradise ที่เพิ่งเกิดและจบลงภายในไม่กี่วัน แล้วทำไมเพลินยังเอามาเขียน? ก็เพราะว่ากระแสจบจริงแหละ แต่คิวรอกินมันไม่จบและไม่สั้นลงเลยน่ะซิ! วันนี้อดใจไม่ไหว เลยลองใช้ Social Listening กวาดดูเร็วๆ ว่ามีคนบ่นเรื่องคิวไหม จนไปเจอหัวข้ออื่นๆ ที่คิดว่า ไหนๆ ก็ไหนๆ แล้ว เอามาเขียนสรุปเลยแล้วกันค่ะ

เกริ่นก่อนสำหรับคนที่ เอ๊ะ.. กระแส ดราม่า Momo อะไรหรอ เกิดขึ้นตอนไหน ก็ขอเล่าเป็นพารากราฟสั้นๆ ว่ามันเริ่มจากผู้บริโภคท่านนึงที่ดันเขียวรีวิวว่าซดน้ำซุปโมโม่ชาบูแล้วสุดเค็ม หลังจากนั้นแฟนโมโม่ที่อยู่ในกลุ่ม Facebook Group คนรักบุฟเฟต์ (Buffet Lovers) เลยนำมาคอมเม้นต์กันว่า เค็มก็ให้เติมน้ำซุปใสซิจ้ะ อีกอย่างน้ำซุปไม่ได้มีไว้ ‘ซด’ จนมีอีกหลากหลายประเด็นถาโถมเข้ามาหนักหน่วง อะ.. ไปดูกันเลย

Social Listening ที่เพลินใช้วันนี้ก็คือ Mandala ค่ะ เพราะเป็นการกวาด Social Data มาดูแบบเร็วๆ สำหรับการเขียนบทความ แล้ว Mandala เค้ามีระบบกวาด Message เด็ดๆ พร้อมคลีน Spam เบื้องต้นมาให้แล้ว ทำให้เราเจอ Message ที่ตรงและมี Value เร็วมากขึ้น ไม่ต้องคลีนเยอะให้เสียเวลาค่ะ โดย Total Message ที่กวาดสำหรับโมโม่ในช่วงครึ่งเดือนแรกของเดือนกุมภาพันธ์อยู่ที่ 1,424 Messages และ Facebook เป็นช่องทางหลักที่คนพูดถึงโมโม่ ก็ต้องใช่แหละ เพราะกระแสดราม่ามาจากเฟสเนอะ

ซึ่งวิธีการจัดกลุ่ม Topic ว่าคนพูดถึงโมโม่ในแง่ไหนบ้างจาก Total 1,424 กว่าข้อความนั้น เพลินใช้วิธีการติด Tag ใส่ Messages ที่มี Keywords สำหรับประเด็นหัวข้อนี้ เช่น ถ้าเป็นประเด็นเรื่องเมนูที่ผู้บริโภคคิดค้นขึ้นมาเอง เพลินก็ใช้ Keywords ทั้งหมด 2 คำ นั่นก็คือคำว่า เมนู / สูตร ในการค้นหา All Messages แบบฟังก์ชั่น OR ที่มีคำนี้ 

อธิบายเพิ่มสำหรับการหาแบบ OR ก็คือ การให้ Mandala หา Messages ที่มีคำว่าเมนู OR สูตร OR DIY มาให้ทั้งหมด แต่ถ้าเลือก AND ก็จะเป็นการสั่งให้ Mandalaแสดงผลเฉพาะ Message ที่มีทั้ง 2 คำเท่านั้น แต่ถ้า Exclude ก็คือการสั่งให้เครื่องมือโชว์เฉพาะ Message ที่ไม่มี 2 คำนี้นั่นเองค่ะ

หลังจากได้ Total Messages ที่มี Keywords ทั้ง 2 คำมากองรวมกัน เพลินก็ทำการคลีน Message ที่ไม่ใช่ออกไป แล้วติด Tag เรื่องเมนู DIY เข้าไปก็เป็นอันเรียบร้อย หลังจากนั้นก็ใช้ตากวาดแบบ Manual เนี่ยแหละว่ามีเรื่องอะไรอีก ซึ่งหากดูจาก Total Tags แล้วก็มีทั้งหมด 6 เรื่องค่ะ เดี๋ยวไปเจาะที่ละประเด็นกันเลย

1. ประเด็นเมนู DIY สูตรที่ต้องทำกินเมื่อไปโมโม่

ใครจะไปรู้ว่าการทานชาบูบุฟเฟต์ต้องพกสูตรทานไปด้วย เพราะความรักของแฟนคลับคนชอบโมโม่แท้ๆ ไม่ว่าจะเป็นสูตรเมนูไข่ดอง ข้าวหน้าเนื้อใส่ไข่ และอื่นๆ อีก 2-3 เมนูที่คนรักโมโม่ไม่ควรพลาด โดยเมนูที่ฮิตที่สุดคือเมนูไข่ดองค่ะ เรียกได้ว่า เป็นสูตรการทานโมโม่ที่ยังมีอีกหลายๆ ท่านไม่ทราบ พอเกิดกระแสดราม่า หลายเพจเลยแชร์สูตรทานโมโม่แบบเด็ดดวงเข้ามา ทำเอาร้านควรเปิด 24/7 เพื่อรองรับลูกค้าแบบ Hai Di Lao แล้วไหมนะ

2. ประเด็นเรื่องคิวยาว แต่จะรอ

https://twitter.com/plzlistentome39/status/1360577276262322183

เรียกได้ว่าอีกหนึ่งประเด็นฮอตหนีไม่พ้นเรื่องคิว บอกแล้วไงว่าดราม่าจบ แต่คิวไม่จบจริงๆ เพลินโทรไปจองยังได้คิววันพรุ่งนี้ สมกับคำถากถางที่เราชอบพูดเวลาเพื่อนทำอะไรช้าๆ ว่า ‘จะทำให้กินพรุ่งนี้หรอ?’ อะไรแนวๆ นั้นจริงๆ ค่ะ ซึ่งจาก Social Data พบว่ามีคิวยาวตั้งแต่ 30 40 50 หรือ 70 คิว เป็นเหมือน Guilty Pleasure อยากรอแต่ก็ไม่อยากรออะไรทำนองนั้น นี่บอกเลยว่าเพลินก็ยังรอให้คิวลดอยู่นะ อยากกินไม่ไหวแล้วอะ โดยเฉพาะไอติม ฮืออ คิวเยอะจนอยากรู้เลยว่า Momo ปิดรายได้ไปเท่าไรสิ้นเดือนนี้

3. ประเด็นรสชาติ บางว่าเค็ม บางว่ากินไม่เป็น

เรื่องนี้ต้องมีอยู่แล้ว เพราะเป็นหัวใจหลักของกระแสดราม่าในครั้งนี้ แต่ถ้ามองลงไปจริงๆ แล้ว เสียงมีแตกเป็นสองส่วน ถึงแม้คนที่บอกว่าเค็มจริงจะน้อยกว่าก็ตาม แต่ถ้าไม่ได้ใช้ Mandala เข้ามาจับ บอกเลยเพลินคิดว่ามีแต่ฝั่ง #SaveMomo เท่านั้น

ซึ่งโดยหลักการทำแล้ว เราสามารถจัด Category ใหญ่ได้ด้วยนะคะ Category ใหญ่เป็นเรื่องรสชาติ เสร็จแล้วเราก็แบ่ง Tag เล็กๆ ภายใต้หมวดรสชาติ เช่น เช่น Tag เค็ม Tag ไม่เค็ม Tag หวาน Tag เผ็ด เป็นต้น โดยถ้าทำวิธีนั้นก็จะทำให้เราเห็น Details ของ Social Data มากขึ้นไปอีก ยิ่งถ้าใครที่ทำ Data Visualization ได้ แล้วทำ Message ที่เกิดขึ้นตามรสชาติต่างๆ ไป Plot ดู ก็จะเห็นว่าคนพูดถึงรสชาติอาหารเราในด้านไหน มากน้อยเท่าไรค่ะ

4. ราคาที่เหมือนแพง แต่ต้องดูคุณภาพเนื้อที่ได้ด้วย

ในกรณีที่เราหา 2 เรื่องอย่าง #ราคา และ #คุณภาพเนื้อ สิ่งที่เราทำได้ก็คือการใช้ Search Function ที่เพลินบอกไปก่อนหน้ามาช่วย นั่นก็คือฟังก์ชั่น AND นั่นเองค่ะ เมื่อเราใส่ ราคา AND เนื้อ ก็จะเห็น Message ที่มีทั้งสองคำ เสร็จแล้วค่อยมาแยกอีกทีว่า Positive หรือ Negative อีกที

ประเด็นเรื่องราคาก็มีหลายเสียงที่ออกมาบ่น ว่าแพงเกินไป รวมไปถึงการที่ Momo Paradise เองก็เรียกได้ว่าไม่เคยจะลดราคาหรือจัดโปรเด็ดๆ เลยสักครั้ง ทำเอาหลายคนวิงวอนขอแบรนด์ลดราคาให้กับความจงรักภักดีที่ออกมา #SaveMomo กันค่ะ

5. ประเด็นการเหยียด เปรียบเทียบกับบุฟเฟ่ต์ 199

ประเด็นต่อมาก็คือเรื่องของเหยียดชนชั้นที่เกินขึ้น เพราะหลายคนที่เข้ามาก็บอกว่า ถ้าทานโมโม่ไม่เป็นก็ให้กลับไปกินแบบอื่นแทน อย่ามาจ้าบจ้วงแบรนด์ที่เรารัก เรียกได้ว่าโมโม่มีลูกค้าที่มี Loayalty สูงและพร้อมที่จะลุกขึ้นมาสู้เพื่อแบรนด์จริงๆ ค่ะ

6. ปกป้องกันมากยังกะโฆษณาการตลาด

https://twitter.com/peakbeauty/status/1359336829644754948

ประเด็นสุดท้ายที่เป็นปัญหาสืบเนื่องมาจากการที่มีแฟนๆ ออกโรงปกป้องเป็นจำนวนมากจนผิดปกติ ก็เลยทำให้คนสงสัยว่าเอ๊ะ.. หรือมันคือการตลาดของโมโม่หรือเปล่า ที่จ้างเพจมาจุดกระแสแง่ลบ แล้วจ้างหน้าม้ามาแห่ถล่มจัดทัวร์ลง ซึ่งเอาจริงๆ ถ้าเป็นอย่างหลังพอเข้าใจ แต่อย่างแรกที่จ้างคนมารีวิวแบบเสียหายนี่… แบรนด์ต้องมั่นใจมากนะว่าลูกค้ามี Loyalty จริงๆ ไม่งั้นถ้าจ้างจริงเรื่องอาจจะไม่ได้เป็นแบบนี้ก็ได้เนอะ

ทั้งหมดนี้ก็คือ 6 ประเด็น Consumer Talk จากการใช้เครื่องมือ Social Listening – Mandala กวาดมาดูแบบเร็วๆ เกี่ยวกับ ดราม่า Momo Paradise ที่แม้จะจบไปแล้วแต่คิวยังคงยาวเป็นห่างว่าว ไม่รู้ว่าจะมีขายคิว Momo ไหมนะ แต่ทางนี้สนใจมาก ใครคิดเห็นประเด็นไหนของ Momo เพิ่ม ลองแชร์เข้ามาได้นะคะ

ส่วนใครที่สนใจการ Monitor แบรนด์ตัวเองที่ทำได้ง่ายและทำได้เร็วแบบนี้ ว่าลูกค้าคิดกับเรายังไงกันแน่ เพื่อจะได้นำคำเหล่านั้นมาปรับปรุง ลอง Subscribe เครื่องมือ Mandala ดูได้นะคะ ราคาหลักพันที่เพลินคิดว่าเหมาะกับมือใหม่ไม่พอ ยังเหมาะกับคนไม่มีเวลา เวลาน้อย ต้องดูและใส่ใจอย่างอื่นเยอะแยะ ก็เนี่ยแหละค่ะ ให้ Mandala กรอง Filter Spam ออกให้เบื้องต้น ใช้ง่าย ติด Tag ได้เป็น Grouping ค่ะ ลองดูนะคะ

ถ้าใครอยากเรียนรู้การใช้ Social Listening ด้วยตัวเอง หรืออยากให้ทีมของตัวเองใช้เป็น สามารถสมัครเรียนสดทางออนไลน์กับการตลาดวันละตอนด้วยตัวเองได้

คลาสเรียนออนไลน์ Social Listening Analytics

คลาสเรียนออนไลน์ Social Listening เน้น Workshop ลงมือทำจริงด้วยตัวเอง รุ่นล่าสุด ศุกร์สุดท้ายของเดือน เปิดแล้ว
เรียนสดทางออนไลน์ ผ่าน Zoom เต็มวัน 9:00 – 15:00
ค่าเรียนคนละ 9,900 บาท รับจำกัดรุ่นละ 20 คน (ถ้าเต็มรุ่นนี้ต้องขอให้รอรุ่นหน้า)
อ่านรายละเอียดและสมัครก่อนเต็มได้ที่ลิงก์นี้

https://bit.ly/sociallisteningclass

ขอแค่คุณใช้ Social Listening เป็นด้วยตัวเองก็จะพบว่ามี Data มากมายรอให้ใช้งาน และยังมี Consumer Insights ล่องลอยอยู่อีกมาก เหลือแค่ว่าใครจะหยิบมาใช้โอกาสได้ก่อนกัน

Plearn Wisetwongchai

Marketing Strategic Planner ในเครือการตลาดวันละตอน | A Creator สาวพลัสไซส์ @Fabfatkid | A Travel Lover ที่หมดเงินเกือบ 80% ไปกับการเดินทางแบบแมสๆ | An Instagrammer @theplearn ที่ชอบเล่น Story เป็นชีวิตจิตใจ | สุดท้ายคือ Data Researcher ทั้ง Social และ Search Data etc. ค่ะ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

คุณคิดว่าปัญหา PM 2.5 ที่เชียงใหม่วิกฤตหรือยัง ?

#การตลาดวันละโพล ขอหนึ่งคำถามก่อนอ่านการตลาดวันละตอน แล้วเราจะเอาไปทำเป็น Infographic โชว์หน้าเพจให้รู้ด้วยกัน